ข้ามไปเนื้อหา

อรรธนารีศวร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระอรรธนารีศวร
พระอรรธนารีศวร
ชื่อในอักษรเทวนาครีअर्धनारीश्वर
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤตArdhanārīśvara
ส่วนเกี่ยวข้องปางรวมของพระศิวะและพระปารวตี
อาวุธตรีศูล
พาหนะโคนนทิ (โดยทั่วไป), สิงโต (รวมด้วยบางครั้ง)

พระอรรธนารีศวร (สันสกฤต: अर्धनारीश्वर, Ardhanārīśwara) เป็นรูปรวมเพศ (androgynous) ของเทพเจ้าฮินดูสององค์คือพระศิวะและพระปารวตี (ต่อมามักเรียกว่าเทวี, ศักติหรือศักติ-ศิวา และพระแม่อุมา) ลักษณะกายแบ่งครึ่งตรงกลางตามแนวตั้ง เท่า ๆ กัน ออกเป็นสองส่วน ครึ่งทางขวามือเป็นเพศบุรุษ คือพระศิวะ มีพระลักษณะแบบพระศิวะปางทั่วไป ส่วนฝั่งซ้ายปรากฏเป็นนารีผู้งดงาม คือ พระแม่ปารวตี

รูปเคารพพระอรรธนารีศวรที่เก่าแก่ที่สุดที่พบมาจากยุคจักรวรรดิกุษาณะ ราวคริสต์ศตวรรษที่หนึ่ง รูปเคารพมีการพัฒนาและสมบูรณ์ในยุคจักรวรรดิคุปตะ มีการระบุตำนานและประติมานวิทยาของพระอรรธนารีศวรในปุราณะต่าง ๆ พระอรรธนารีศวรสามารถพบรูปเคารพทั่วไปตามโบสถ์พราหมณ์ส่วนใหญ่ที่มีพระศิวะเป็นองค์ประธาน ถึงแม้ว่าโบสถ์พราหมณ์ที่สร้างโดยมีพระอรรธนารีศวรเป็นองค์ประธานโดยตรงจริง ๆ มีอยู่ไม่มาก

เทวตำนาน

[แก้]

ในตำนานกล่าวว่า ในสมัยการสร้างจักรวาล กล่าวคือ พระพรหมได้รับภารกิจให้สร้างมนุษย์เพศชายเพียงเพศเดียว แต่เพศชายเพียงอย่างเดียวไม่มีกำลังในการขยายเผ่าพันธุ์ในโลกได้ ครั้งจะสร้างเพศหญิงขึ้นมาก็ไม่รู้ว่าจะเอาแบบอย่างมาจากไหน พระพรหมจึงต้องบวงสรวง พระศิวะ เพื่อให้เสด็จมาแก้ปัญหาที่ค้างคาใจอยู่ พระพรหมบวงสรวงจนเป็นที่พอใจก็เลยเสด็จมา นับเป็นครั้งแรกที่มาในปางอรรธนารีศวร เพศหญิงและเพศชายที่รวมกันอยู่ในร่างเดียวกัน ทำให้พระพรหมเข้าใจในกำลังเสริมของเพศคู่นี้ อันจะนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์และชีวิตใหม่

พระนาม

[แก้]

คำว่าอรรธนารีศวร แปลตรงตัวว่า "เทพเจ้าบุรุษผู้ครึ่งหนึ่งทรงเป็นสตรี" พระนามอื่น ๆ ที่พบ เช่น อรรธนรนารี (अर्धनरनारी; ครึ่งบุรุษ-สตรี), อรรธนารีนเฏศวร (Ardhanarinateshvara; นฏราชผู้ทรงมีครึ่งหนึ่งเป็นสตรี),[1][2] ปรังคทะ (Parangada),[3] นรนารี (Naranari; บุรุษ-สตรี), อัมมิอัปปัน (Ammiappan; บิดา-มารดา ในภาษาทมิฬ)[4] และ อรรธยุวตีศวร (เทพเจ้าบุรุษที่ทรงมีครึ่งหนึ่งเป็นยุวสตรี ในภาษาอัสสัม)[5] เป็นต้น ในมหิมนสตวา (Mahimnastava) งานเขียนยุคคุปตะ เรียกปางนี้ว่า เทหรธฆัตนะ (dehardhaghatana; เขาและเธอเป็นครึ่งของกายหนึ่งเดียว) ส่วนในพฤหัตสังหิตา (Bṛhat Saṃhitā) เรียกว่า อรธ-เคารีศวร (Ardha-Gaurishvara; เทพเจ้าบุรุษซึ่งครึ่งหนึ่งเป็นผู้ที่ยุติธรรม คำว่า “เคารี” ซึ่งแปลว่าผู้ยุติธรรมในที่นี้คือพระปารวตี)[6] และในวิษณุธรรโมตตรปุราณะ (Vishnudharmottara Purana) เรียกสั้น ๆ เพียง เคารีศวร (Gaurishvara; เทพเจ้าบุรุษ, พระสวามีของพระเคารี[7]

ต้นกำเนิดและรูปเคารพในยุคแรก

[แก้]
เศียรพระอรรธารีศวรยุคต้นกุษาณะ ค้นพบที่ราชฆัต ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์มฐุรา

แนวคิดเรื่องพระอรรธนารีศวรนั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากทั้งตัวละครในลักษณะรวมรูปที่พบในวรรณกรรมพระเวท พระยะมะ-ยะมี[8][9], คำอธิบายในพระเวทที่ระบุพระผู้สร้างในยุคแรก วิศวรูป หรือ ปรชปตี กับ เทพเจ้าแห่งไฟ อัคนี เป็น “กระทิงที่เป็นวัวด้วย”[10][11], อาตมัน (วิญญาณ) ในรูปมนุษย์จักรวาลรวมเพศ ปุรุษ ที่ระบุในพริหัถรันยกาอุปนิศัท[8] และตำนานกรีกโบราณที่พูดถึง รูปรวมเพศของเฮอร์มาโพรดิตุสและพริเกียน แอกดิสติส[10][12]

แนวคิดเรื่องพระอรรธนารีศวรนั้นมีต้นกำเนิดในจักรวรรดิกุษาณะและกรีกโบราณตามลำดับ ประติมานวิทยาเริ่มในสมัยกุษาณะ (ค.ศ. 30-375) และสมบูรณ์ในยุคคุปตะ (ค.ศ. 320-600)[13][14] แผ่นจารึกยุคกุษาณะจากยุคกลางศตวรรษที่หนึ่งที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์มฐุราแสดงให้เห็นภาพครึ่งบุรุษ-ครึ่งสตรี ท่ามกลางพระวิษณุ คชลักษมี และ ท้าวกุเวร[9][15] ครึ่งที่เป็นบุรุษมีอวัยวะเพศแข็งตัว (ithyphallic) หรือเรียกว่า “อุรธวลึงค์” ทำมืออภัยมุทรา ส่วนครึ่งสตรีมีหน้าอกกลม เชื่อกันว่าเป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่แสดงภาพของพระอรรธนารีศวร[9][16] ส่วนเศียรเทวรูปพระอรรธนารีศวรที่พบในยุคแรก ๆ ในราชฆัต ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์มฐุราเช่นกัน แสดงลักษณะที่ครึ่งหนึ่งทางขวาเป็นบุรุษมีเส้นผมที่พันกันยุ่ง และมีจันทร์เสี้ยวปักอยู่ ส่วนครึ่งทางซ้ายเป็นสตรี หวีผมเรียบร้อย และตกแต่งด้วยดอกไม้ เครื่องประดับ และปัตรกุนทลา (ต่างหู) ทั้งสองหน้ามีตาที่สามร่วมกันตรงกลาง[9]

นักเขียนชาวกรีก โสบีส (Stobaeus; ค.ศ. 500) เคยกล่าวถึงพระอรรธนารีศวร โดยยกคำของบาร์ดาซาเนส (Bardasanes: ค.ศ. 154-222) ผู้เรียนรู้เรื่องนี้มาจากทูตอินเดียที่เดินทางมาซีเรียในรัชสมัยของเอลกาบาลุส (Elgabalus; ค.ศ. 218-22)[8][13]

ตีความกันว่าพระอรรธนารีศวาเป็นความพยายามในการผสานความเชื่อของนิกายหลักของฮินดูสองนิกาย ไศวะ ซึ่งบูชาพระศิวะ และ ศักติ ซึ่งบูชามหาเทวี รูปรวมลัทธิที่คล้ายกันนี้ยังพบในพระหริหระ ปางรวมพระศิวะและพระวิษณุ (บูชาในไวษณพ)[3][17][18][19]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Monier Williams Sanskrit-English Dictionary (2008 revision)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-24. สืบค้นเมื่อ 2021-10-03.
  2. Gopal, Madan (1990). K.S. Gautam (บ.ก.). India through the ages. Publication Division, Ministry of Information and Broadcasting, Government of India. p. 69.
  3. 3.0 3.1 Garg (ed), pp. 598–9
  4. Jordan, Michael (2004). Dictionary of gods and goddesses (2 ed.). Facts on File, Inc. p. 27. ISBN 0-8160-5923-3.
  5. Swami Parmeshwaranand p. 57
  6. Swami Parmeshwaranand p. 60
  7. Collins p. 80
  8. 8.0 8.1 8.2 Chakravarti p. 44
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Swami Parmeshwaranand p. 58
  10. 10.0 10.1 Kramrisch pp. 200–3, 207–8
  11. Srinivasan p.57
  12. Daniélou pp. 63–7
  13. 13.0 13.1 Swami Parmeshwaranand pp. 55–6
  14. Chakravarti p. 146
  15. See image in Goldberg pp. 26–7
  16. Goldberg pp. 30
  17. Chakravarti p. 43
  18. Dehejia pp. 37–9
  19. Pande, Dr. Alka. "The Icon of Creation – Ardhanarisvara". Official site of author. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2008. สืบค้นเมื่อ 6 February 2011.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Collins, Charles Dillard (1988). The iconography and ritual of Śiva at Elephanta. SUNY Press. ISBN 0-88706-773-5.
  • Chakravarti, Mahadev (1986). The concept of Rudra-Śiva through the ages. Motilal Banarsidass Publ. ISBN 81-208-0053-2.
  • Daniélou, Alain (1992). Gods of love and ecstasy: the traditions of Shiva and Dionysus. Inner Traditions International. ISBN 0-89281-374-1.
  • Dehejia, Harsha V. (1997). Pārvatīdarpaṇa: an exposition of Kāśmir Śaivism through the images of Śiva and Parvati. Motilal Banarsidass Publ. ISBN 81-208-1484-3.
  • Goldberg, Ellen (2002). The Lord who is half woman: Ardhanārīśvara in Indian and feminist perspective. SUNY Press. ISBN 0-7914-5325-1.
  • Garg, Ganga Ram, บ.ก. (1992). Encyclopaedia of the Hindu world. Vol. 3: Ar-Az. Concept Publishing Company. ISBN 81-7022-376-8.
  • Kramrisch, Stella (1981). The Presence of Siva. Princeton University Press. ISBN 0-691-01930-4.
  • Rao, T.A. Gopinatha (1916). Elements of Hindu iconography. Vol. 2: Part I. Madras: Law Printing House.
  • Srinivasan, Doris Meth (1997). Many Heads, Arms, and Eyes: Origin, Meaning, and Form of Multiplicity in Indian Art. BRILL. OCLC 208705592.
  • Swami Parmeshwaranand (2004). "Ardhanārīśvara". Encyclopaedia of the Śaivism. Vol. 1. Sarup & Sons. ISBN 81-7625-427-4.
  • Yadav, Neeta (2000). Ardhanārīśvara in art and literature. D.K. Printworld. ISBN 81-246-0169-0.