ชุงงะ
ชุงงะ (ญี่ปุ่น: 春画; โรมาจิ: Shunga) เป็นประเภทของศิลปะกามวิสัยญี่ปุ่น (erotic art) โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของภาพอูกิโยะบนภาพพิมพ์แกะไม้ (woodblock print) หรือลงบนม้วนหนังสือซึ่งผลงานหลายชิ้นได้ใช้ตั้งแต่ก่อนการมีอยู่ของภาพอูกิโยะ[1] แปลตามตัวอักษร ชุงงะ แปลว่า "ภาพแห่งฤดูใบไม้ร่วง" โดยคำว่า "ฤดูใบไม้ร่วง" เป็นคำรื่นหูของการมีเพศสัมพันธ์[1]
ทุกกลุ่มทางสังคมในยุคเอโดะเพลิดเพลินกับศิลปะชุงงะซึ่งเป็นประเภทย่อยของภาพยูกิโยะแม้รัฐบาลโชกุนไม่ให้การสนับสนุน ชุงงะสร้างขึ้นโดยการนำสุนทรียภาพของชีวิตประจำวันที่มักแสดงออกมาพร้อมกับเรื่องเพศ ศิลปินภาพยูกิโยะส่วนใหญ่ล้วนเคยผ่านการสร้างภาพแบบชุงงะสักครั้งในอาชีพของพวกเขา
ประวัติ
[แก้]ชุงงะได้อิทธิพลอย่างมากจากภาพวาดตำราแพทย์แผนจีนโบราณในยุคมูโรมาจิ (ค.ศ. 1336–1573) บ้างเชื่อว่าได้รับอิทธิพลจาก Zhou Fang จิตรกรชาวจีนที่มีชื่อเสียง เขาและจิตรกรหลายคนในยุคนั้นมักวาดอวัยวะเพศในขนาดที่ใหญ่กว่าจริง นอกจากคำว่า "ชุงงะ" ที่แปลตรงตัวว่า ภาพแห่งฤดูใบไม้ร่วง (เพศสัมพันธ์) ชุงงะยังเป็นคำย่อของคำว่าชุนกีวฮิงิงะ (春宮秘戯画, shunkyū-higi-ga) ม้วนภาพจีน 12 ม้วน แสดงท่วงท่าทางเพศ 12 ท่าซึ่งเจ้าชายจะต้องปฏิบัติเพื่อเป็นการสำแดงถึงความเป็นหยินหยาง[1]
การปฏิรูปปีเคียวโฮ คำสั่งนโยบาย ค.ศ. 1722 สั่งห้ามการผลิตหนังสือใหม่ ๆ ทุกเล่ม เว้นแต่เจ้าเมืองจะอนุญาต ภายหลังคำสั่งนี้ ชุงงะมุดลงใต้ดิน[2]
ในช่วงคริสต์ศควรรษที่ 19 ชาวตะวันตกเริ่มไม่รื่นรมย์กับชุงงะเพราะความสังวาสในศิลปะ[3] แฟรนซิส ฮออล์ นักธุรกิจชาวอเมริกันที่เดินทางมายังโยโกฮามะใน ค.ศ. 1859 เขาอธิบายชุงงะว่า "ภาพสถุลชั้นต่ำ (vile) ซึ่งถ่ายทอดออกมาในแบบอย่างศิลปะญี่ปุ่นที่ดีที่สุด"[3] ฮออล์ตกตะลึงและรู้สึกรังเกียจเมื่อมีชาวญี่ปุ่นให้ชมภาพชุงงะที่บ้านของพวกเขา[3]
การเข้ามาของวัฒนธรรมและเทคโนโลยีตะวันตกในต้นยุคเมจิ (ค.ศ. 1868–1912) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเข้าเทคนิคการสร้างภาพซ้ำนั้นสร้างผลกระทบอย่างหนักต่อชุงงะ ยังคงมีการพิมพ์บล็อกไม้ไประยะหนึ่ง แต่บุคคลที่ปรากฏเริ่มสวมเสื้อผ้าและตัดผมอย่างตะวันตก[4] ท้ายสุด ชุงงะไม่สามารถแข่งขันกับภาพแนวสังวาสอื่นได้และนำไปสู่การถดถอย
เนื้อหา
[แก้]ในยุคเอโดะ ชุงงะพยายามแสดงออกถึงความเป็นไปได้ทางเพศของโลกร่วมสมัย นักเขียนบางคนกล่าวว่าเป็นการสร้างของโลกคู่ขนานกับชีวิตอย่างชาวเมืองร่วมสมัย แต่ผ่านจินตนาการ ทำให้เป็นเรื่องทางเพศ และจินตนิมิต (fantasy)[1][5]
ชุงงะส่วนใหญ่พรรณาให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงสังวาสระหว่างปุถุชน, โชนิง, ผู้หญิง, ชนชั้นพ่อค้า, ช่างฝีมือ และชาวนา บางครั้งอาจปรากฏชาวดัตช์หรือชาวโปรตุเกส[1]
โสเภณียังปรากฏในชุงงะหลายภาพ อูตามาโระยังได้รับการกล่าวขานสำหรับการวาดโสเภณีในผลงานหลายชิ้นของเขา โดยอาจเป็นผู้มีชื่อเสียงแห่งยุค และโยชิวาระ ย่านโคมแดงในยุคเอโดะมักได้รับการเปรียบเทียบกับฮอลลีวูด[6] ผู้ชายมองโสเภณีเหล่านั้นว่ามีความอีโรติกสูงเพราะอาชีพของพวกเขา แต่ขณะเดียวกันไม่สามารถครองคู่ด้วยได้ เพราะมีเพียงแค่ชายที่ร่ำรวยที่สุดและมีตระกูลเท่านั้นจะสามารถมีความสัมพันธ์เชิงสังวาสได้เท่านั้น ผู้หญิงมองโสเภณีว่าดูห่างไกล เป็นบุคคลแบบอย่างที่น่าดึงดูด และการแต่งกายสมัยนิยม (fashion) ของทั้งประเทศได้รับแรงบันดาลใจจากการแต่งกายของพวกเขา ด้วยเหตุผลเหล่านี้ ความหลงใหลในโสเภณีจึงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย[5]
ม้วนภาพและหนังสือภาพเชิงสังวาส (เอ็มปง) มักปรากฏภาพกิจกรรมทางเพศที่ไม่ปะติดปะต่อกันมากกว่าการเล่าเรื่องอย่างมีโครงสร้าง อาจพบกับความหลากหลายมากมาย เช่น ผู้ชายเล้าโลมผู้หญิง–ผู้หญิงเล้าโลมผู้ชาย ผู้ชายและผู้หญิงต่างมีชู้ต่อกัน วัยรุ่นถือพรหมจารีไปจนถึงคู่รักวัยแก่ที่แต่งงานกัน แม้แต่กระทั่งหมึกยักษ์[1]
ชุงงะส่วนใหญ่เป็นเรื่องรักต่างเพศ แต่บางครั้งอาจปรากฏภาพชายกับชาย ขณะที่หญิงกับหญิงอาจะพบได้น้อยกว่าแต่มีมากเช่นกัน[7] นอกจากนี้ ยังพบการสำเร็จความใคร่ ความเข้าใจเรื่องทางเพศแตกต่างจากโลกตะวันตกสมัยใหม่ในประเทศญี่ปุ่นของโทกูงาวะ และผู้คนมีแนวโน้มที่จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับความปรารถนาทางเพศอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจง ทำให้การจับคู่ทางเพศ (sexual pairing) ในภาพชุงงะมีความหลากหลายเพื่อรองรับความพึงพอใจที่แตกต่างกัน[1]
ระเบียงภาพ
[แก้]
|
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Kielletyt kuvat: Vanhaa eroottista taidetta Japanista / Förbjudna bilder: Gammal erotisk konst från Japan / Forbidden Images: Erotic art from Japan's Edo period (ภาษาฟินแลนด์, สวีเดน และ อังกฤษ). Helsinki, Finland: Helsinki City Art Museum. 2002. pp. 23–28. ISBN 951-8965-53-6.
- ↑ Kornicki, Peter F. (December 2000). The Book in Japan: A Cultural History from the Beginnings to the Nineteenth Century. Honolulu: University of Hawaii Press. pp. 331–353. ISBN 0-8248-2337-0.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Hayakawa, Monta; C. Andrew Gerstle (2013). "Who Were the Audiences for "Shunga"". Japan Review (26): 26. JSTOR 41959815.
- ↑ Munro, Majella. Understanding Shunga, ER Books, 2008, p92, ISBN 978-1-904989-54-7
- ↑ 5.0 5.1 Screech, Timon (1999). Sex and the Floating World. London: Reaktion Books. pp. 13–35. ISBN 1-86189-030-3.
- ↑ Shugo Asano & Timothy Clark (1995). The Passionate Art of Kitagawa Utamaro. Tokyo: Asahi Shinbunsha. ISBN 978-0-7141-1474-3.
- ↑ Such as "Women having intercourse using a harikata [a dildo]", Katsushika Hokusai, ป. 1814.
หนังสืออ่านเพิ่ม
[แก้]- Rosina Buckland, Shunga: Erotic Art in Japan (Abrams Press, 2013) ISBN 9781468306989
- Timothy Clark et al. (eds), Shunga: sex and pleasure in Japanese art (London: British Museum Press, 2013) ISBN 978-0714124766