ข้ามไปเนื้อหา

คัตสึชิกะ โฮกูไซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Katsushika Hokusai)
คัตสึชิกะ โฮกูไซ
北斎
เกิดTokitarō
時太郎

ตุลาคม หรือ พฤศจิกายน ค.ศ. 1760
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
เสียชีวิต10 พฤษภาคม ค.ศ. 1849
ประเทศญี่ปุ่น
สัญชาติญี่ปุ่น
มีชื่อเสียงจากภาพพิมพ์แกะไม้
ผลงานเด่นคลื่นยักษ์นอกฝั่งคานางาวะ
แบบแผนการกล่าวถึงจิตรกรรม และภาพอูกิโยะ

โฮกูไซ หรือ คัตสึชิกะ โฮกูไซ (ญี่ปุ่น: 葛飾北斎?, อังกฤษ: Hokusai หรือ Katsushika Hokusai) (ตุลาคม หรือ พฤศจิกายน ค.ศ. 1760 - 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1849[1]) เป็นจิตรกรภาพอูกิโยะและภาพพิมพ์แกะไม้ชาวญี่ปุ่นของสมัยเอโดะของคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมจีน[2]

โฮกูไซเกิดที่เอโดะ (ปัจจุบันคือโตเกียว) งานที่มีชื่อเสียงของโฮกูไซที่เป็นที่รู้จักกันดีคือภาพพิมพ์แกะไม้ชุด “ทัศนียภาพ 36 มุมของภูเขาฟูจิ” (富嶽三十六景) ที่รวมภาพ “คลื่นยักษ์นอกฝั่งคานางาวะ” ซึ่งเป็นภาพสัญลักษณะอันเป็นที่รู้จักกันดีไปทั่วโลกที่เขียนในคริสต์ทศวรรษ 1820

โฮกูไซได้วาดภาพ “ทัศนียภาพ 36 มุมของภูเขาฟูจิ” เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของกิจการท่องเที่ยวภายในประเทศที่ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว และความหลงใหลส่วนตัวในการวาดภาพภูเขาฟูจิ[3] ภาพชุดนี้และโดยเฉพาะภาพ “คลื่นยักษ์” และภาพ “ภูเขาฟูจิวันอากาศดี” เป็นภาพที่สร้างความมีชื่อเสียงให้แก่โฮกูไซทั้งภายในและภายนอกประเทศ นักประวัติศาสตร์ริชาร์ด เลนสรุปว่า “อันที่จริงแล้ว ถ้าจะให้เลือกงานชิ้นหนึ่งที่สร้างชื่อเสียงให้แก่โฮกูไซทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศแล้ว ก็เห็นจะเป็นงานชิ้นใหญ่ชุดนี้...”[4] โดยเฉพาะภาพ “คลื่นยักษ์” ที่เป็นภาพที่สร้างความประทับใจให้แก่โลกตะวันตก

ชีวิตเบื้องต้นและการฝึกงานทางด้านศิลปะ

[แก้]

โฮกูไซเกิดเมื่อวันที่ 23 ของเดือนที่เก้าของปีที่สิบของสมัยโฮเรกิ (ตุลาคม หรือ พฤศจิกายน ค.ศ. 1760) ในครอบครัวช่างฝีมือในตำบลคัตสึชิกะในเอโดะ[5] เมื่อยังเด็กโฮกูไซมีชื่อว่าโทกิตาโร ญี่ปุ่น: 時太郎โรมาจิTokitarō[1] เชื่อกันว่าบิดาชื่อนากาจิมะ อิเซะ เป็นช่างทำกระจกสำหรับโชกุน[1] แต่บิดาไม่ได้ให้โฮกูไซเป็นทายาท ซึ่งทำให้สันนิษฐานว่าแม่ของโฮกูไซอาจจะเป็นภรรยาน้อย[5] โฮกูไซเริ่มเรียนการเขียนภาพเมื่อมีอายุได้หกขวบ อาจจะเรียนจากบิดา ที่งานการทำกระจกรวมทั้งการเขียนภาพรอบกระจกด้วย[5]

โฮกูไซมีนามที่เป็นที่รู้จักกันอย่างน้อยก็ 30 ชื่อระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ แม้ว่าการใช้ชื่อหลายชื่อจะเป็นเรื่องปกติที่ทำกันโดยจิตรกรญี่ปุ่นในยุคนั้น และจำนวนชื่อของโฮกูไซก็ยังถือว่ามีมากกว่าผู้อื่นมาก ชื่อที่เปลี่ยนบ่อยมักจะพ้องกับการเปลี่ยนลักษณะการเขียน ที่มีประโยชน์ในการแบ่งสมัยงานของโฮกูไซ[5]

คลื่นยักษ์นอกฝั่งคานางาวะ” งานชิ้นที่มีชื่อเสียงที่สุดของโฮกูไซซึ่งเป็นภาพแรกของภาพชุด “ทัศนียภาพ 36 มุมของภูเขาฟูจิ

เมื่ออายุได้ 12 ปี บิดาก็ส่งโฮกูไซให้ไปทำงานกับร้านหนังสือและห้องสมุดให้ยืมหนังสือ ซึ่งเป็นสถาบันที่เป็นที่นิยมมีกันในเมืองใหญ่ ๆ ของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสถานที่ที่สำหรับอ่านหนังสือที่พิมพ์จากภาพพิมพ์แกะไม้ สำหรับคนชั้นกลางและชนชั้นสูง[6] เมื่ออายุได้ 14 ปีโฮกูไซก็ไปฝึกงานกับช่างแกะไม้เป็นเวลาสี่ปีจนอายุ 18 ปีเมื่อได้รับให้เข้าทำงานกับห้องศิลป์ของคัตสึกาวะ ชุนโช ผู้เป็นศิลปินผู้เขียนภาพอูกิโยะซึ่งเป็นงานพิมพ์แกะไม้และจิตรกรรมประเภทที่โฮกูไซกลายมาเป็นปรมาจารย์ต่อมา และเป็นผู้นำของตระกูลงานทำนองที่เรียกว่าตระกูลงานศิลปะแบบคัตสึกาวะ (Katsukawa school)[1] ภาพอูกิโยะที่เขียนโดยจิตรกรเช่นชุนโชจะเน้นการเขียนภาพสตรีในราชสำนักหรือนักแสดงคาบูกิที่มีชื่อเสียงตามเมืองต่าง ๆ ในญี่ปุ่นในขณะนั้น[7]

หลังจากนั้นปีหนึ่งโฮกูไซก็เปลี่ยนชื่อเป็นครั้งแรกโดยอาจารย์ว่า “ชุนโร” (Shunrō) ขณะที่ใช้ชื่อนี้โฮกูไซก็ได้สร้างภาพพิมพ์ของตนเองเป็นครั้งแรกซึ่งเป็นภาพชุดของนักแสดงคาบูกิในปี ค.ศ. 1779 ระหว่างช่วงสิบปีที่ทำงานกับห้องแกะไม้ของชุนโช โฮกูไซก็แต่งงานเป็นครั้งแรกแต่ก็ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับภรรยาซึ่งเสียชีวิตเมื่อต้นคริสต์ทศวรรษ 1790 โฮกูไซแต่งงานครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1797 ผู้เสียชีวิตไม่นานหลังจากนั้น โฮกูไซมีบุตรสองคนและมีบุตรีสามคนกับภรรยาสองคน ลูกสาวคนเล็กสุดซากาเอะ (Sakae) หรือ โออิ (Ōi) ต่อมาเป็นศิลปินเหมือนพ่อ[7]

เมื่อชุนโชเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1793 โฮกูไซก็เริ่มศึกษาลักษณะงานศิลปะประเภทต่าง ๆ ที่รวมทั้งลักษณะแบบยุโรป ที่มีโอกาสได้เห็นภาพพิมพ์ทองแดงของฝรั่งเศสและดัตช์[7] ต่อมาโฮกูไซถูกขับออกจากตระกูลงานศิลปะแบบคัตสึกาวะโดยชุงโก (Shunkō) ผู้เป็นผู้นำในบรรดาผู้ติดตามงานของชุนโช ที่อาจจะเป็นเพราะโฮกูไซไปศึกษากับโรงเรียนคู่แข่งสำนักคาโนะ (Kanō school) ก็เป็นได้ เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นสิ่งที่เป็นแรงผลักดันทางกำลังใจโฮกูไซกล่าวว่า “สิ่งที่ทำให้ผมพัฒนางานเขียนของผมก็คือความอับอายที่ได้รับจากน้ำมือของชุงโก”[4]

ภาพพิมพ์ “ภูเขาฟูจิสีแดง” จากภาพชุด “ทัศนียภาพ 36 มุมของภูเขาฟูจิ
ภาพพิมพ์ “นักเดินทางข้ามแม่น้ำโออิ” ภาพที่โฮกูไซเพิ่มเติมเข้าไปในภาพชุด “ทัศนียภาพ 36 มุมของภูเขาฟูจิ” ในภายหลัง เพราะความนิยมที่แพร่หลายของภาพชุดแรก

ต่อมาโฮกูไซก็เปลี่ยนหัวข้องานเขียนจากการวาดภาพของสตรีภายในราชสำนักและนักแสดงที่มักจะเป็นหัวเรื่องของการวาดภาพอูกิโยะ ไปวาดภาพภูมิทัศน์และภาพชีวิตประจำวันของชาวญี่ปุ่นจากชนระดับต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลงหัวข้อเป็นการสร้างแนวเขียนภาพอูกิโยะแบบใหม่และแนวการเขียนใหม่ของโฮกูไซเอง[7] Fireworks at Ryōgoku Bridge (1790) dates from this period of Hokusai's life.[8]

จุดสูงสุดของการเป็นจิตรกร

[แก้]

ช่วงต่อมาของงานเขียนเป็นช่วงที่เป็นงานเขียนแบบตระกูลทาวารายะ (Tawaraya School) เมื่อโฮกูไซได้นามใหม่ว่า “ทาวารายะ โซริ” (Tawaraya Sōri) ในช่วงนี้งานที่เขียนเป็นการเขียนด้วยแปรงแบบที่เรียกว่า “ซูริโมโนะ” และภาพประกอบสำหรับ “เกียวกะ เอฮง” (kyōka ehon) ซึ่งเป็นหนังสือประกอบภาพของกวีนิพนธ์ชวนขัน ในปี ค.ศ. 1798 โฮกูไซก็มอบชื่อตนเองให้แก่ลูกศิษย์และออกไปตั้งตัวเป็นศิลปินอิสระ โดยไม่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนการเขียนใดใดเป็นครั้งแรก และเริ่มใช้ชื่อ “โฮกูไซ โทมิซะ”

เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1800 โฮกูไซก็แปลงการเขียนภาพอูกิโยะที่นอกไปจากการเขียนภาพเหมือน และเปลี่ยนชื่อใหม่ที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักเป็น “คัตสึชิกะ โฮกูไซ” ส่วนแรกหมายถึงบริเวณในเอโดะที่เป็นที่เกิดและส่วนที่สองแปลว่า “ห้องเขียนภาพทางเหนือ” ในปีนั้นโฮกูไซก็พิมพ์งานชุดภูมิทัศน์สองชิ้น “ทัศนียภาพอันงดงามของทางตะวันออกของเมืองหลวง” และ “ทัศนียภาพ 8 มุมของเอโดะ” ในช่วงนี้ โฮกูไซก็เริ่มมีผู้ต้องการจะมาเป็นลูกศิษย์ ในชั่วชีวิตก็มีนักเรียนถึง 50 คนที่ได้ร่ำเรียนกับโฮกูไซ[7]

นกกระยางจาก “บทเรียนการเขียนภาพง่าย ๆ
ภ่าพคนอาบน้ำใน “โฮกูไซ มังงะ

ในช่วงสิบปีต่อมาโฮกูไซก็มีชื่อเสียงมากขึ้นทุกขณะ ทั้งจากงานเขียนที่ทำและความความสามารถในการเผยแพร่ชื่อเสียงของตนเอง ระหว่างงานเทศกาลในโตเกียวในปี ค.ศ. 1804 โฮกูไซเขียนภาพพระโพธิธรรมที่กล่าวกันว่ายาวถึง 180 ฟุต (600 เมตร) โดยใช้ไม้กวาดและถังหมึกเขียน อีกเรื่องหนึ่งกล่าวถึงโฮกูไซว่าได้รับเชิญโดยสำนักโชกุนอิเอนาริ ให้ไปเปรียบเทียบผลงานกับศิลปินของสำนักผู้เขียนงานด้วยแปรงที่มีลักษณะแบบดั้งเดิม งานเขียนของโฮกูไซที่เขียนต่อหน้าโชกุนเป็นงานเขียนเส้นโค้งสีน้ำเงินบนกระดาษ เสร็จแล้วโฮกูไซก็ไล่ไก่ที่ขาข้างหนึ่งจุ่มสีแดงให้วิ่งไปบนกระดาษที่เขียนเส้นไว้ โฮกูไซบรรยายต่อโชกุนว่าเป็นภาพภูมิทัศน์ของแม่น้ำทัตสึตะที่มีใบเมเปิลแดงลอยตามสายน้ำ ซึ่งเป็นภาพที่ทำให้โฮกูไซได้รับรางวัลในการแข่งขัน[9]

ในปี ค.ศ. 1807 โฮกูไซก็ร่วมมือกับนักเขียนนวนิยายผู้มีชื่อเสียงทากิซาวะ บากิง (Takizawa Bakin) ในการเขียนภาพประกอบในหนังสือหลายเล่ม แต่ศิลปินสองคนนี้ก็ไม่ลงรอยกันเพราะมีความคิดเห็นทางศิลปะที่ต่างกัน ซึ่งทำให้ความร่วมมือมาหยุดชะงักลงในหนังสือเล่มที่สี่ เจ้าของสำนักพิมพ์ต้องเลือกระหว่างโฮกูไซหรือบากิงไว้ทำโครงการต่อ ซึ่งทางสำนักพิมพ์ก็เลือกโฮกูไซ ซึ่งแสดงถึงการเน้นความสำคัญของภาพประกอบสำหรับงานพิมพ์ในยุคนั้น[10]

ในปี ค.ศ. 1811 เมื่อมีอายุได้ 51 ปีโฮกูไซก็เปลี่ยนชื่อเป็น “ไทโตะ” (Taito) ซึ่งเป็นช่วงที่เขียนงานแบบที่เรียกว่า “โฮกูไซ มังงะ” (Hokusai Manga) และ “etehon” หรือตำราศิลปะต่าง ๆ[1] โฮกูไซเริ่มงานเขียนตำราในปี ค.ศ. 1812 ด้วย “บทเรียนเขียนภาพเบื้องต้น” ซึ่งเป็นงานเขียนเพื่อหาเงินและหาลูกศิษย์เพิ่มเติม หนังสือ “มังงะ” เล่มแรกตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1814 ต่อมาก็มีอีก 12 เล่มที่ตีพิมพ์ก่อนปี ค.ศ. 1820 และอีกสามเล่มที่พิมพ์หลังจากที่เสียชีวิตไปแล้ว ที่รวบรวมภาพเขียนเป็นจำนวนพันของสัตว์, บุคคลในศาสนา และบุคคลทั่วไป ที่มักจะแซกอารมณ์ขัน และเป็นงานที่นิยมกันแพร่หลายในยุคนั้น[10]

ในปี ค.ศ. 1820 โฮกูไซก็เปลี่ยนชื่ออีกเป็น “อีตสึ” (Iitsu) ซึ่งเป็นช่วงที่มีความมั่นคงในฐานะจิตรกรไปทั่วญี่ปุ่น (ในขณะนั้นเป็นสมัยญี่ปุ่นปิดประเทศ (Sakoku) จากโลกภาพนอก ฉะนั้นชื่อเสียงของโฮกูไซจึงมิได้เป็นที่เลื่องลือไปยังโลกตะวันตกจนกระทั่งเสียชีวิตไปแล้ว) โฮกูไซมามีชื่อเสียงถึงจุดสุดยอดในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1820 งานเขียนชุดสำคัญ “ทัศนียภาพ 36 มุมของภูเขาฟูจิ” ที่รวมทั้งภาพ “คลื่นยักษ์นอกฝั่งคานางาวะ” ก็เป็นงานที่เขียนในช่วงที่ว่านี้ และเป็นที่นิยมจนกระทั่งโฮกูไซตัดสินใจเพิ่มภาพอีกสิบภาพเข้าไปในชุด ภาพชุดอื่น ๆ ที่เป็นที่นิยมที่พิมพ์ในช่วงนี้ก็ได้แก่ชุด “การเที่ยวชมน้ำตกในจังหวัดต่าง ๆ” และชุด “ทัศนียภาพที่แตกต่างของสะพานอันงดงามของจังหวัดต่าง ๆ[11] นอกจากนั้นแล้วโฮกูไซก็ยังผลิตก็ยังเขียนงานดอกไม้และนกแบบที่มีรายละเอียดอีกหลายภาพ ที่รวมทั้งภาพที่เด่นชื่อ “ดอกฝิ่น” และ “ฝูงไก่[12]

ชีวิตช่วงต่อมา

[แก้]
ชาวต่างประเทศคนแรกในญี่ปุ่น” โดยโฮกูไซ ค.ศ. 1817 คำบรรยาย: “เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1543 ชาวต่างประเทศกลุ่มนี้มาขึ้นที่เกาะทาเนงาชิมะ แคว้นจังหวัดโอกูมะ ตามด้วย “มูราชูกูชะ” (Murashukusha - ไม่ทราบว่าเป็นผู้ใด) และ “กิริชิโมตะ” (อันโตนิโอ ดา โมตา หรือ คริสโตเฟอร์ ดา โมตา)[13]

ช่วงการเขียนต่อมาเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1834 ซึ่งเป็นช่วงที่ใช้ชื่อ “Gakyō Rōjin Manji” (ชายแก่ผู้คลั่งเขียนภาพ)[8] ในช่วงนี้เป็นช่วงที่เขียน “ทัศนียภาพ ร้อยมุมของภูเขาฟูจิ” ซึ่งเป็นงานเขียนชุดภูมิทัศน์ที่สำคัญอีกชุดหนึ่ง[12]

โฮกูไซเขียนคำลงท้ายสำหรับงานชุดนี้ว่า:

ตั้งแต่อายุได้หกขวบผมก็ชอบร่างภาพจากแบบจริง ผมเป็นจิตรกร และตั้งแต่อายุได้ห้าสิบปีเป็นต้นมาก็ได้เขียนงานที่ทำให้มีชื่อเสียงบ้าง แต่งานที่เขียนก่อนอายุได้เจ็บสิบก็ไม่มีชิ้นใดที่มีคุณค่าที่ควรจะกล่าวถึง เมื่ออายุได้เจ็ดสิบสามปีผมก็เริ่มเข้าใจโครงสร้างของนกและสัตว์, แมลงและปลา, และการเติบโตของพันธุ์ไม้ ถ้าผมพยายามต่อไปผมก็คงจะเข้าใจยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อไปถึงอายุแปดสิบหก ซึ่งพอถึงอายุเก้าสิบผมก็คงจะเข้าถึงหัวใจของธรรมชาติได้ ถ้าอายุได้ร้อยปีผมก็อาจจะมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ยิ่งขึ้นไปอีก ขณะที่เมื่ออายุไปถึงร้อยสามสิบ, ร้อยสี่สิบ หรือกว่านั้นผมก็คงจะถึงจุดที่ทุกจุดทุกฝีแปรงที่ผมเขียนก็คงมีชีวิตจิตใจขึ้นมาได้ ขอให้สวรรค์ให้ผมมีอายุยืนเพื่อให้ผมได้มีโอกาสพิสูจน์ได้ว่าสิ่งที่ผมพูดมานี้ไม่ใช่เรื่องเท็จ[1]

ในปี ค.ศ. 1839 ห้องเขียนภาพและภาพเขียนเป็นจำนวนมากของโฮกูไซถูกเพลิงไหม้ เมื่อมาถึงช่วงนี้ชื่อเสียงของโฮกูไซก็เริ่มจะลดถอยลง เมื่อมีศิลปินรุ่นเด็กกว่าเช่นฮิโรชิเงะที่มามีชื่อเสียงแทนที่ แต่โฮกูไซก็ไม่ได้หยุดเขียนภาพ เช่นยังคงเขียนภาพ “เป็ดในสระ” เมื่ออายุ 87 ปี[14]

โฮกูไซพยายามอยู่ตลอดเวลาที่จะเขียนที่ดีกว่าเดิม เล่ากันว่าเมื่อใกล้จะเสียชีวิต โฮกูไซอุทานว่า “ถ้าสวรรค์จะให้เวลาอีกสิบปีเท่านั้น...หรือเพียงอีกห้าปี ผมก็ได้กลายเป็นจิตรกรที่แท้จริง” โฮกูไซเสียชีวิตเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1849 และถูกฝังไว้ที่วัดเซเกียวในโตเกียว[1]

สี่ปีหลังจากที่โฮกูไซเสียชีวิต กองเรืออเมริกันที่นำโดยแมทธิว ซี. เพอร์รีย์ก็สามารถบังคับให้ญี่ปุ่นเปิดประตูติดต่อกับทางตะวันตกได้ โฮกูไซเป็นจิตรกรผู้มีชื่อเสียงของญี่ปุ่นในช่วงสุดท้ายก่อนที่จะมีการติดต่อกับชาวตะวันตกที่เป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าของญี่ปุ่นไปโดยสิ้นเชิง[14]

งานและอิทธิพล

[แก้]
“Hodogaya on the Tokaido”
“ควันลอยออกจากภูเขาฟูจิ”
“ปลาตะเพียนกระโดดในน้ำตก”
“ภาพเหมือนสตรีถือพัด”

โฮกูไซเป็นจิตรกรอยู่เป็นเวลานานแต่งานชิ้นสำคัญ ๆ เขียนหลังจากที่อายุ 60 แล้ว งานที่มีชื่อเสียงที่สุดชุด “ทัศนียภาพ 36 มุมของภูเขาฟูจิ” เขียนระหว่าง ค.ศ. 1826 ถึง ค.ศ. 1833 ที่อันที่จริงแล้วมีด้วยกันทั้งหมด 46 ภาพ (10 ภาพเป็นภาพที่มาเขียนเพิ่มภายหลัง)[4] งานเขียนภาพอูกิโยะของโฮกูไซเปลี่ยนแปลงจากการเขียนภาพของสตรีในราชสำนักและนักแสดงที่เป็นที่นิยมกันในสมัยเอโดะ มาเป็นการเขียนที่กว้างขึ้นที่รวมภูมิทัศน์, ต้นไม้ และสัตว์เข้าไปด้วย[7]

ทั้งการเลือก “ชื่อ” และการเขียนภาพภูเขาฟูจิมาจากความเชื่อทางศาสนา ชื่อโฮกูไซที่แปลว่า “ห้องเขียนภาพเหนือ” ซึ่งเป็นคำย่อของ “Hokushinsai” (北辰際)หรือ “ห้องเขียนภาพดาวเหนือ” โฮกูไซนับถือ Nichiren ซึ่งเป็นลัทธิหนึ่งของพุทธศาสนาที่เห็นว่าดาวเหนือ เกี่ยวข้องกับ Myōken (妙見菩薩)[4] ภูเขาฟูจิตามธรรมเนียมแล้วมีความเชื่อมโยงกับความเป็นอมตะ ความเชื่อนี้ย้อนหลังไปถึงเรื่อง “ตำนานคนตัดไผ่” (竹取物語?) ของคริสต์ศตวรรษที่ 10 ที่เล่ากันว่าเป็นที่พระจักรพรรดินำยาอายุวัฒนะไปไว้บนยอดเขา เฮนรี สมิธอธิบายว่า “ฉะนั้นตั้งแต่โบราณกาลเป็นต้นมาภูเขาฟูจิจึงถือกันว่าเป็นแหล่งของความลับของความเป็นอมตะ ซึ่งเป็นหัวใจของความผูกพันอันล้ำลึกของโฮกูไซกับภูเขา”[3]

งานชิ้นใหญ่ที่สุดของโฮกูไซคืองานเขียน “โฮกูไซ มังงะ” (北斎漫画) ที่มีด้วยกันทั้งหมด 15 เล่มที่ประกอบด้วยภาพราว 4,000 ภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1814[4] งานมังงะของโฮกูไซมักจะเข้าใจผิดกันว่าเป็นที่มาของมังงะสมัยใหม่ แต่มังงะของโฮกูไซเป็นภาพวาดชุด (ของสัตว์, คน, สิ่งของ หรืออื่น ๆ) ซึ่งต่างจากหนังสือคอมมิคที่เป็นเรื่องราว[4]

อิทธิพลทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม

[แก้]

โฮกูไซเป็นแรงบันดาลใจให้แก่งานรวมเรื่องสั้น “24 มุมของภูเขาฟูจิโดยโฮกูไซ” ที่ได้รับรางวัลฮิวโกโดยนักเขียนนวนิยายเชิงวิทยาศาสตร์โรเจอร์ เซลาซนี ในเรื่องนี้ตัวเอกของเรื่องเดินทางรอบบริเวณภูเขาฟูจิและทุกที่ที่หยุดเป็นที่เดียวกับที่โฮกูไซเขียนภาพ

อิทธิพลของโฮกูไซมีต่อจิตกรร่วมสมัยของยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่กำลังนิยมแนวเขียนใหม่ที่เรียกว่าอาร์ตนูโวหรือที่เรียกว่า “Jugendstil” ในเยอรมนีที่ได้รับอิทธิพลจากงานเขียนของโฮกูไซและศิลปะญี่ปุ่นโดยทั่วไป และเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ ที่จะเห็นได้จากงานเขียนในหัวข้อที่คล้ายคลึงกันกับโฮกูไซในงานเขียนของโคลด โมเนท์ และ ปีแยร์-ออกุสต์ เรอนัวร์ นอกจากนั้นก็ยังจะเห็นได้ในงานเขียน “Peitschenhieb” ของแฮร์มัน โอบริสท์ซึ่งเป็นแนวการเขียนใหม่ที่มีอิทธิพลโดยตรงจากงานเขียนของโฮกูไซอย่างเห็นได้ชัด

งานเขียนบางชิ้น

[แก้]

งานเขียนในรายการข้างล่างเรียงตามลำดับเวลาที่เขียน งานเขียนแต่ละชิ้นได้รับการกล่าวถึงหรือใช้เป็นภาพประกอบในงานชีวประวัติชิ้นหนึ่งชิ้นใด ที่อาจจะเป็นงานที่ถือว่าเป็นงานชิ้นเด่นหรืองานที่เป็นตัวแทนของแต่สมัยการเขียนของโฮกูไซ[15]

  • Lady and Attendants” (c. 1779) ภาพเขียนบนไหม
  • Asakusa Shrine, Edo” (c. 1780) ภาพพิมพ์แกะไม้
  • Four Courtesans of the House of Chojiya” (1782) ภาพพิมพ์แกะไม้
  • Seyawa Kikujuro Acting Woman's Part” (1783) ภาพพิมพ์แกะไม้
  • Actor Danjurō” (1784) ภาพพิมพ์แกะไม้
  • Chinese Boys at Play” (1789) ภาพพิมพ์แกะไม้
  • Attack on Moranoa's Castle from Chusingura” (1789–1806) ภาพพิมพ์แกะไม้[16]
  • A Ferryboat with Passengers Bearing New Year's Gifts” (c. 1800) Surinomo
  • Portrait of the Artist from The Tactics of General Oven” (1800) ภาพพิมพ์แกะไม้ประกอบนวนิยาย
  • Amusements of the Eastern Capital” (1800–1802) ภาพชุดภาพพิมพ์แกะไม้
  • Shower at Shin-Yangi Bridge from Both Banks of the Sumida River” (1803) ภาพพิมพ์แกะไม้ในหนังสือตำรา
  • สถานี 53 สถานีบนเส้นทางโตไกโดะ” (1806) ภาพชุดภาพพิมพ์แกะไม้
  • Chinese Tortures from Bakin's Cruelties of Dobki” (1807) ภาพพิมพ์แกะไม้ in novel
  • Quick Lessons on Simplified Drawing” (1812) ภาพเขียนในหนังสือตำรา
  • โฮกูไซ มังงะ” (1814–1834) ภาพร่าง, 15 เล่ม
  • ทัศนียภาพ 36 มุมของภูเขาฟูจิ” (1823–1829) ภาพชุดภาพพิมพ์แกะไม้
  • Painting in Three Forms” (1816) ภาพเขียนในหนังสือตำรา
  • ความฝันของเมียคนหาปลา” (1820) Famous erotic wood block print
  • Designs with a single stroke of the brush” (1823) ภาพเขียนในหนังสือตำรา
  • การเที่ยวชมน้ำตกในจังหวัดต่าง ๆ” (1827–1830) ภาพชุดภาพพิมพ์แกะไม้ น้ำตก
  • ทัศนียภาพที่แตกต่างของสะพานอันงดงามของจังหวัดต่าง ๆ” (1827–1830) ภาพชุดภาพพิมพ์แกะไม้
  • Small Flowers” (1830) ภาพชุดภาพพิมพ์แกะไม้
  • Large Flowers (Hokusai) ” (1830) ภาพชุดภาพพิมพ์แกะไม้
  • มหาสมุทรแห่งปัญญา” (1833) ภาพชุดภาพพิมพ์แกะไม้
  • ทัศนียภาพ 100 มุมของภูเขาฟูจิ” (1834)
  • Book of Warriors” (1836) ภาพชุดภาพพิมพ์แกะไม้
  • ภาพเหมือนตนเอง” (1839) ภาพวาดลายเส้น
  • Willow and Young Crows” (1842) ภาพเขียนบนไหม
  • A Wood Gatherer” (1849) ภาพเขียนบนไหม

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Nagata
  2. Daniel Atkison and Leslie Stewart. "Life and Art of Katsushika Hokusai" in From the Floating World: Part II: Japanese Relief Prints, catalogue of an exhibition produced by California State University, Chico. Retrieved 9 July 2007; archive link
  3. 3.0 3.1 Smith
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 Nagata, Seiji. Hokusai: Genius of the Japanese Ukiyo-e. Kodansha, Tokyo, 1999.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 Weston, p. 116
  6. Weston, pp. 116–117
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 Weston, p. 117
  8. 8.0 8.1 "Hokusai Heaven retrieved March 27, 2009". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-03. สืบค้นเมื่อ 2009-11-27.
  9. Weston, p. 117–118
  10. 10.0 10.1 Weston, p. 118
  11. Weston, p. 118–119
  12. 12.0 12.1 Weston, p. 119
  13. Noel Perrin "Giving up the gun", p.7 ISBN 978-0-87923-773-8
  14. 14.0 14.1 Weston, p. 120
  15. These selected works are drawn from biographies by Richard Douglas Lane, Seiji Nagata, Elizabeth Ripley, and Mark Weston.
  16. Attack on Moranoa's Castle is from Act XI of Chusingura, the story known in the west as the Forty-Seven Ronin.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Richard Douglas Lane (1989). Hokusai: Life and Work. E.P. Dutton, New York. ISBN 0-525-24455-7.
  • Nagata, Seiji (1995). "Hokusai: Genius of the Japanese Ukiyo-e." Kodansha International, Tokyo.
  • Smith, Henry D. II (1988). Hokusai: One Hundred Views of Mt. Fuji. George Braziller, Inc., Publishers, New York. ISBN 0-8076-1195-6.
  • Weston, Mark (1999). Giants of Japan: The Lives of Japan's Most Influential Men and Women. New York: Kodansha International. ISBN 1-56836-286-2.
  • Ray, Deborah Kogan (2001). "Hokusai : the man who painted a mountain" Frances Foster Books, New York. ISBN 0-374-33263-0

ดูเพิ่ม

[แก้]

ประวัติ

[แก้]
  • Bowie, Theodore (1964). The Drawings of Hokusai. Indiana University Press, Bloomington.
  • Forrer, Matthi (1988). Hokusai Rizzoli, New York. ISBN 0-8478-0989-7.
  • Forrer, Matthi; van Gulik, Willem R., and Kaempfer, Heinz M. (1982). Hokusai and His School: Paintings, Drawings and Illustrated Books. Frans Halsmuseum, Haarlem. ISBN 90-70216-02-7
  • Hillier, Jack (1955). Hokusai: Paintings, Drawings and Woodcuts. Phaidon, London.
  • Hillier, Jack (1980). Art of Hokusai in Book Illustration. Sotheby Publications, London. ISBN 0-520-04137-2.
  • Lane, Richard (1989). Hokusai: Life and Work. E.P. Dutton. ISBN 0-525-24455-7.
  • van Rappard-Boon, Charlotte (1982). Hokusai and his School: Japanese Prints c. 1800–1840 (Catalogue of the Collection of Japanese Prints, Rijksmuseum, Part III). Rijksmuseum, Amsterdam.

งานศิลปะ

[แก้]

For readers who want more information on specific works of art by Hokusai, these particular works are recommended.

  • Hillier, Jack, and Dickens, F.W. (1960). Fugaku Hiyaku-kei (One Hundred Views of Fuji by Hokusai). Frederick, New York.
  • Kondo, Ichitaro (1966). Trans. Terry, Charles S. The Thirty-six Views of Mount Fuji by Hokusai. East-West Center, Honolulu.
  • Michener, James A. (1958). The Hokusai Sketch-Books: Selections from the 'Manga'. Charles E. Tuttle, Rutland.
  • Morse, Peter (1989). Hokusai: One Hundred Poets. George Braziller, New York. ISBN 0-8076-1213-8.
  • Narazaki, Muneshige (1968). Trans. Bester, John. Masterworks of Ukiyo-E: Hokusai — The Thirty-Six Views of Mt. Fuji. Kodansha, Tokyo.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โฮกูไซ