ชินชิยา
ชินชิยา | |
---|---|
ชินชิยาหางยาวที่สวนสัตว์วรอตสวัฟในโปแลนด์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | Eukaryota |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Rodentia |
วงศ์: | Chinchillidae |
วงศ์ย่อย: | Chinchillinae |
สกุล: | Chinchilla Bennett, 1829 |
ชนิดต้นแบบ | |
Chinchilla lanigera[1] Bennett, 1829 | |
ชนิด[2][3] | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของ C. chinchilla และ C. lanigera C. chinchilla
C. lanigera
|
ชินชิยา (สเปน: chinchilla) คือสกุลของสัตว์แทะ 2 ชนิด ได้แก่ ชินชิยาหางสั้น (Chinchilla chinchilla) และชินชิยาหางยาว (Chinchilla lanigera)[4] มีถิ่นกำเนิดอยู่บริเวณเทือกเขาแอนดีสในทวีปอเมริกาใต้[5] ชินชิยาเป็นสัตว์ที่ออกหากินยามสนธยา อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงในพื้นที่สูงจนถึง 4,270 เมตร (14,000 ฟุต) ในอดีตกระจายพันธุ์อยู่ในพื้นที่บางส่วนของโบลิเวีย เปรู และชิลี แต่ในปัจจุบันพบประชากรในธรรมชาติที่ชิลีเท่านั้น[6] ชินชิยาจัดเป็นสัตว์ในวงศ์ชินชิยา (Chinchillidae) ร่วมกับบิซกาชาซึ่งเป็นญาติใกล้ชิด อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์กับหนูชินชิยาอีกด้วย
ชินชิยาเป็นสัตว์ที่มีขนหนาแน่นที่สุดในบรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดที่อาศัยอยู่บนบก โดยมีขนประมาณ 20,000 เส้นต่อตารางเซนติเมตร และมีขนประมาณ 50 เส้นงอกออกมาจากรากขนแต่ละราก[7] (ในน้ำ นากทะเลเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนหนาแน่นกว่า) ชินชิยาได้รับการตั้งชื่อตามชาวชินชาแห่งเทือกเขาแอนดีส เนื่องจากครั้งหนึ่งพวกเขาเคยนำขนชินชิยาซึ่งมีผิวสัมผัสนุ่มคล้ายกำมะหยี่มาทำเครื่องนุ่งห่ม[8] เมื่อถึงช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชินชิยากลายเป็นสัตว์หายากหลังจากถูกล่าอย่างหนักเพื่อเอาขน ชินชิยาส่วนใหญ่ที่ถูกจับไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมขนสัตว์ทุกวันนี้มาจากฟาร์มเพาะเลี้ยง[9] ชินชิยาบ้านที่สืบเชื้อสายมาจากชินชิยาหางยาวมักถูกเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินและอาจถือเป็นสัตว์เลี้ยงฉบับกระเป๋าชนิดหนึ่ง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Wilson, D.E.; Reeder, D.M., บ.ก. (2005). Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494.
- ↑ Roach, N.; Kennerley, R. (2016). "Chinchilla chinchilla". IUCN Red List of Threatened Species. 2016: e.T4651A22191157. doi:10.2305/IUCN.UK.2016-2.RLTS.T4651A22191157.en.
- ↑ Woods, C. A. and Kilpatrick, C. W. (2005). Infraorder Hystricognathi. In: D. E. Wilson and D. M. Reeder (eds), Mammal Species of the World, pp. 1538–1599. The Johns Hopkins University Press, Baltimore, MD, USA. ISBN 9780801882210
- ↑ "Chinchilla". Integrated Taxonomic Information System. สืบค้นเมื่อ 2022-09-05.
- ↑ Chisholm, Hugh, บ.ก. (1911). . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 6 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 232.
- ↑ Patton, James L.; Pardiñas, Ulyses F. J.; D'Elía, Guillermo (2015). Rodents. Mammals of South America. Vol. 2. University of Chicago Press. pp. 765–768. ISBN 9780226169576.
- ↑ "Chinchilla History and Care Recommendations". MedVet. 3 December 2016. สืบค้นเมื่อ 24 November 2023.
- ↑ "What Is A Chinchilla?". Davidson Chinchillas. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-27. สืบค้นเมื่อ 2008-02-01.
- ↑ Jiménez, Jaime E. (1996). "The extirpation and current status of wild chinchillas Chinchilla lanigera and C. brevicaudata" (PDF). Biological Conservation. 77 (1): 1–6. Bibcode:1996BCons..77....1J. doi:10.1016/0006-3207(95)00116-6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-10. สืบค้นเมื่อ 2007-04-16.