ข้ามไปเนื้อหา

ชาลส์ ฮอร์แมน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาลส์ ฮอร์แมน
ไฟล์:CharlesHormanImage.jpg
เกิดชาลส์ เอ็ดมันด์ ลาซาร์ ฮอร์แมน
15 พฤษภาคม ค.ศ. 1942(1942-05-15)
นครนิวยอร์ก สหรัฐ
เสียชีวิต19 กันยายน ค.ศ. 1973(1973-09-19) (31 ปี)
ซันติอาโก ชิลี
อาชีพนักหนังสือพิมพ์, นักเขียน
คู่สมรสจอยซ์ ฮอร์แมน
บิดามารดาเอลิซาเบธ และ เอ็ดมันด์ ฮอร์แมน

ชาลส์ เอ็ดมันด์ ลาซาร์ ฮอร์แมน (อังกฤษ: Charles Edmund Lazar Horman; 15 พฤษภาคม 1942 – 19 กันยายน 1973[1][2]) เป็นนักหนังสือพิมพ์และนักสร้างภาพยนตร์สาครดีชาวอเมริกัน[3][4] เขาถูกประหารชีวิตในประเทศชิลีหลังเกิดรัฐประหารในปี 1973 ที่นำโดยนายพล เอากุสโต ปิโนเชต์[4][5][6] ที่โค้นล้มรัฐบาลสังคมนิยมของซัลบาดอร์ อาเญนเด ที่มาจากการเลือกตั้ง การเสียชีวิตของฮอร์แมนเป็นประเด็นที่นำไปสร้างภาพยนตร์ปี 1982 กำกับโดยคอสตา-กัฟรัส เรื่อง มิสซิง ที่ซึ่งบทของฮอร์แมนนำแสดงโดยจอห์น เชีย[3][4]

ในเดือนมิถุนายน 2014 ศาลในชิลีตัดสินว่ารัฐบาลสหรัฐมีบทบาทสำคัญในการฆาตกรรมฮอร์แมน[7][8] ในเดือนมกราคม 2015 อดีตเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองของชิลีในรัฐบาลคณะรัฐประหารถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานฆาตกรรมชายสัญชาติอเมริกันสองคนซึ่งคือ ชาลส์ ฮอร์แมน และ แฟรงก์ เทอรุจจี หลังเกิดการรัฐประหาร[9]

ชีวิตในประเทศชิลี

[แก้]

ขณะเกิดการรัฐประหาร ฮอร์แมนอยู่ที่เมืองชายฝั่ง วีญาเดลมาร์ ใกล้กับท่าวัลปาราอีโซ ซึ่งเป็นฐานที่มั่นสำคัญของกลุ่มวางแผนการรัฐประหารจากทั้งสหรัฐกับชิลี เจ้าห้นาที่สหรัฐในเวลานั้นตั้งข้อสงสัยวว่าฮอรืแมนน่าจะหลงเชื่อเป็นเหยื่อของ "ความหวาดระแวงแบบคนชิลี" (Chilean paranoia) แต่ก็ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวอะไรด้วย เป็นไปได้ยากมากว่าฮอร์แมนจะถูกสังหารชิลีโดยปราศจากการรู้เห็นหรือคำอนุญาตจากซีไอเอ ตามที่ระบุในเอกสารที่ปล่อยในปี 1999 ภายใต้รัฐบัญญัติเสรีภาพข้อมูล[10] ในตอนแรกที่เขาหายตัวไป ความพยายามจากทั้งภรรยา ครอบครัว และมิตรสหายของเขาในตอนแรกที่จะตามหาตัวของเขาถูกตอบรับจากสถาทูตสหรัฐในซันติอาโกด้วยความพยายามบ่ายเบี่ยงไม่ตอบคำถามหรือช่วยเหลือโดยตรง[4]

ในวันที่ 16 กันยายน 1973 หกวันหลังการรัฐประหาร ฮอร์แมนถูกจับกุมโดยทหารชิลี และพาตัวไปยังสนามกีฬาแห่งชาติในซันติอาโก ซึ่งแปรสภาพมาเป็นค่ายกักกันนักโทษทางการเมือง นักโทษในสนามกีฬาแห่งชาติถูกสอลสวนและซ้อมทรมาน จำนวนมากถูกประหารชีวิตที่นี่ เจ้าหน้าที่ของสหรัฐไม่ทราบเลยว่าร่างของฮอร์แมนอยู่ที่ไหนเป็นเวลาเกือบเดือนนับตั้งแต่เขาถูกประหารชีวิตในสนามกีฬาแห่งชาติ ต่อมาจึงเป็นที่ทราบว่าเขาถูกประหารชีวิตในวันที่ 19 กันยายน และร่างของเขาถูกฝังอยู่ในผนังของสนามกีฬา นักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกันอีกคน แฟรงก์ เทอรุจจี ก็เสียชีวิตในสถานการณ์คล้ายคลึงกันกับเขา

ร่างของเขาถูกส่งกลับสหรัฐ 7 เดือนหลังการพบศพ ทำให้การผ่าชันสูตรพลิกศพเป็นไปไม่ได้

บันทึกของสหรัฐ

[แก้]

เป็นเวลาอีกหลายปีนับจากการเสียชีวิตของฮอร์แมนที่รัฐบาลสหรัฐยืนกรานปฏิเสธบทบาทในกรณีนี้ กระทั่งเดือนตุลาคม 1999 รัฐบาลสหรัฐปล่อยเอกสารที่ยอมรับว่าเจ้าหน้าที่ของซีไอเออาจมีส่วนร่วมโดยไม่ได้ตั้งใจในการสังหารฮอร์แมน[11][12] บันทึกของกระทรวงต่างประเทศ ระบุวันที่ 25 สิงหาคม 1976 ได้รับการเปิดเผยสู่สาธารณัในวันที่ 8 ตุลารม 1999 พรอ้มกับเอกสารอื่นอีก 1,100 ฉบับซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับบทบาทของสหรัฐก่อนการรัฐประหาร

ในบันทึกที่เขียนโดยเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศสามคน รูดี ฟิมเบรส (Rudy Fimbres), อาร์ เอส ดริสคอลลี (R.S. Driscolle) และ ดับเบิลยู วี รอเบิร์ตสัน (W.V. Robertson) จั่วหัวถึง แฮรี ชเลาเดอมัน (Harry Schlaudeman) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐในแผนกละตินอเมริกาของกระทรวง เขียนบรรยายถึงกรณีของฮอร์แมนว่า "น่ารำคาญ" (bothersome) และระบุว่าซีไอเอมีส่วนในการเสียชีวิตของฮอร์แมนจากความบกพร่องในการใส่ใจ หรือแย่กว่านั้น คือไปมีส่วนให้เกิดโดยอ้อม ("negligence on our part, or worse, complicity in Horman's death.") และระบุให้กระทรวงทำการปฏิเสธข้อกล่าวหาเกี่ยวกับกรณีนี้ แม้ว่าบ้อกล่าวหานี้จะเป็นจริง[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Vergara, Eva (กรกฎาคม 21, 2016). "Chile toughens sentences in 'Missing' killings of Americans". Star Tribune. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กันยายน 24, 2016. สืบค้นเมื่อ กันยายน 17, 2016.
  2. "English Translation of Findings, Penal and Civil Judgments by Judge Zepeda" (PDF). University of Texas, Joyce Horman and Edmund Horman Papers. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-16. สืบค้นเมื่อ 2016-09-17.
  3. 3.0 3.1 "Missing Charlie, 40 Years Later". The Progressive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 19, 2013. สืบค้นเมื่อ กันยายน 1, 2013.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "Charles Horman, the good American (in Spanish)". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-26. สืบค้นเมื่อ 2009-12-29.
  5. "Sept. 11, 1973: A CIA-backed Military Coup Overthrows Salvador Allende, the Democratically Elected President of Chile". Democracy Now!. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-09. สืบค้นเมื่อ 2010-11-07.
  6. "Chile and the United States: Declassified Documents Relating to the Military Coup, September 11, 1973". nsarchive2.gwu.edu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 23, 2021. สืบค้นเมื่อ December 17, 2021.
  7. Chilean Court Rules U.S. Had Key Role in 1973 Killings of 2 Americans เก็บถาวร 2014-07-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Democracy Now! 1 July 2014. Retrieved 4 July 2014.
  8. Pascale Bonnefoy (30 June 2014). Chilean Court Rules U.S. Had Role in Murders เก็บถาวร 2015-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The New York Times. Retrieved 4 July 2014.
  9. Pascale Bonnefoy (28 January 2015). 2 Sentenced in Murders in Chile Coup เก็บถาวร 2016-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The New York Times. Retrieved 20 June 2015.
  10. Schemo, Diana Jean (13 February 2000). "U.S. Victims of Chile's Coup: The Uncensored File". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2014. สืบค้นเมื่อ September 11, 2013.
  11. "Foreign Relations of the United States, 1969–1976, Volume E–11, Part 2, Documents on South America, 1973–1976 - Office of the Historian". history.state.gov. สืบค้นเมื่อ 2023-11-01.
  12. "State Department Release on Chile Shows Suspicions of CIA Involvement in Charles Horman "Missing" Case" เก็บถาวร 2011-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, George Washington University. October 8, 1999. Accessed June 8, 2011