ข้ามไปเนื้อหา

ชาตินิยมตุรกี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธงชาติตุรกี
บุคลาธิษฐานของชาติในการปลดปล่อยอิซมีร์เมื่อ ค.ศ. 1922

ชาตินิยมตุรกี (ตุรกี: Türk milliyetçiliği) เป็นแนวคิดชาตินิยมในบรรดาประชากรตุรกีและบุคคลที่มีอัตลักษณ์ประจำชาติเป็นชาวตุรกี ชาตินิยมตุรกีประกอบด้วยการเคลื่อนไหวทางการเมืองและสังคม กับความรู้สึกที่กระตุ้นด้วยความรักต่อวัฒนธรรม ภาษา และประวัติศาสตร์ตุรกี และความภาคภูมิใจในประเทศตุรกีและชาวตุรกี แม้ว่าสำนึกความเป็นชาติในตุรกีสามารถสืบย้อนไปได้หลายศตวรรษ แนวคิดชาตินิยมเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดทัศนคติของชาวตุรกี โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 แนวคิดชาตินิยมสมัยใหม่เจริญขึ้นในช่วงสมัยทันซีมัต และยังมีความสัมพันธ์อันซับซ้อนกับอัตลักษณ์มุสลิม อุดมการณ์รวมกลุ่มเติร์ก และลัทธิตูรัน

ประวัติ

[แก้]
ภาพวาดแสดงการปฏิรูปของอาทาทืร์คจากขวาไปซ้าย: ชัยชนะเหนือการรุกรานของกรีก การละทิ้งแฟซ, การปิดพำนักศาสนา, การรับชุดตัวอักษรตุรกีใหม่ การรับประมวลกฎหมายแพ่งตุรกี
ธนบัตร 5 ลีราในสมัยอาทาทืร์ค[1][2] หมาป่าเทาเป็นสัญลักษณ์ชาตินิยมตุรกีและอุดมการณ์รวมกลุ่มเติร์ก[3]

หลังจักรวรรดิออตโตมันล่มสลาย มุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์คขึ้นมามีอำนาจ เขาเป็นผู้นำการปฏิรูปภาษามาใช้ โดยมีจุดมุ่งหมาย "ชำระล้าง" ภาษาตุรกีจากอิทธิพลต่างชาติ (ส่วนใหญ่จากอาหรับและเปอร์เซีย)[4] เขายังสนับสนุนวิทยานิพนธ์ประวัติศาสตร์ตุรกีในวงการทางการเมืองและการศึกษาตุรกีตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930 นักวิจัยชาวตุรกีในเวลานั้นอย่าง Hüseyin Cahit Yalçın และ Rıfat Osman Bey ก็เกิดมีแนวคิดว่าชาวซูเมอร์ยุคต้นคือชาวเติร์กดั้งเดิม[5]

นักชาตินิยมตุรกีช่วงแรกโดยทั่วไปเป็นฆราวาส และส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจาก Ziya Gökalp (1876–1924)[6] Gökalp มีจุดมุ่งหมายในการทำให้ศาสนาอิสลามกลายเป็นเติร์ก (Turkification) เช่น อัลกุรอานควรแปลจากภาษาอาหรับไปเป็นภาษาตุรกี และการอะษานจากหออะษานควรร้องเป็นภาษาตุรกีแทนที่จะเป็นภาษาอาหรับ[6] ในช่วงต้นของสาธารณรัฐ ธรรมเนียมศาสนาไม่เป็นสิ่งสำคัญ และกลุ่มชาตินิยมตุรกีเปิดกว้างต่อความเป็นตะวันตกในสังคมตุรกีมากกว่ากลุ่มอื่น[6]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. E 1 - Beş Türk Lirası I. Tertip tcmb.gov.tr
  2. "Türkiye Cumhuriyeti Kağıt Paraları". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-24. สืบค้นเมื่อ 2007-02-24.
  3. "ATATÜRK VE BOZKURT". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-11. สืบค้นเมื่อ 2007-01-11.
  4. Landau, Jacob M. (1984). Atatürk and the Modernization of Turkey (ภาษาอังกฤษ). Boulder: Westview Press. p. 133. ISBN 0865319863.
  5. Shay, Anthony (2002). Choreographic Politics: State Folk Dance Companies, Representation, and Power. Wesleyan University Press. p. 210. ISBN 0-8195-6521-0.
  6. 6.0 6.1 6.2 Aytürk, İlker (2014). "Nationalism and Islam in Cold War Turkey, 1944–69". Middle Eastern Studies. 50 (5): 693–694. doi:10.1080/00263206.2014.911177. hdl:11693/12599. ISSN 0026-3206. JSTOR 24585883. S2CID 143785390 – โดยทาง JSTOR.

ข้อมูล

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Çetin, Zafer M. (October 2004). "Tales of past, present, and future: mythmaking and nationalist discourse in Turkish politics". Journal of Muslim Minority Affairs. 24 (2): 347–365. doi:10.1080/1360200042000296708. S2CID 143320570.
  • Poulton, Hugh (May 1999). "The struggle for hegemony in Turkey: Turkish nationalism as a contemporary force". Journal of Southern Europe and the Balkans. 1 (1): 15–31. doi:10.1080/14613199908413984.
  • Uslu, Emrullah (March 2008). "Ulusalcılık: The Neo-nationalist Resurgence in Turkey". Turkish Studies. 9 (1): 73–97. doi:10.1080/14683840701814018. S2CID 145194000.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Turkish nationalism