ชางลั่งถิง
Classical Gardens of Suzhou * | |
---|---|
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก | |
ประเทศ | China |
ภูมิภาค ** | Asia-Pacific |
ประเภท | Cultural |
เกณฑ์พิจารณา | i, ii, iii, iv, v |
อ้างอิง | [whc |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 1997 (คณะกรรมการสมัยที่ 21st) |
เพิ่มเติม | 2000 |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
ชางลั่งถิงหรือพลับพลาเกลียวคลื่น (อังกฤษ: Canglang Pavilion; จีน: 沧浪亭; พินอิน: Cāng Làng Tíng) มีชื่อที่แปลเป็นภาษาอังกฤษหลากหลายว่า the Great Wave Pavilion หรือ Surging Wave Pavilion หรือ Blue Wave Pavilion เป็นหนึ่งในสวนโบราณ เมืองซูโจวที่ได้รับการยกย่องโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ให้เป็นมรดกโลกอีกแห่งหนึ่ง ชางลั่งถิงตั้งอยู่ที่เลขที่ 3 ถนนชางลั่งถิงในเมืองซูโจว มณฑลเจียงซู ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สวนแห่งนี้เป็นหนึ่งในสี่สวนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเมืองซูโจวและยังเป็นสวนที่มีอายุเก่าแก่มากที่สุดแห่งหนึ่ง เนื่องจากสามารถสืบค้นประวัติของสวนย้อนหลังได้ถึงสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ (Northern Song Dynasty) ในราวปี ค.ศ. 906-1127[1]
ประวัติศาสตร์
[แก้]ชางลั่งถิงสร้างขึ้นเมือปี ค.ศ. 1044 โดยบัณฑิตและข้าราชการในสมัยราชวงศ์ซ่ง ซูซุนชิง (Su Shunqing; 1008–1048) สวนแห่งนี้จึงเป็นสวนที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในบรรดาสวนโบราณเมืองซูโจวที่ได้รับการบันทึกให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ โดยคงผังการออกแบบเช่นเดียวกับต้นฉบับในสมัยราชวงศ์ซ่งไว้[2] ชื่อของสวนได้มาจากบทกวีชื่อ "ชาวประมง (Fishermen)" โดยนักประพันธ์ชื่อ ชวูหยวน (อังกฤษ: Qu Yuan; จีน: 屈原; 340BCE-278BCE) ซึ่งเขียนโดยกวีจากทางใต้ของรัฐฉู่ (อังกฤษ: Chu; จีน: 楚) ในช่วงของยุครณรัฐ (หรือจั้นกั๋ว; อังกฤษ: Warring States; จีนตัวย่อ: 战国; จีนตัวเต็ม: 戰國時; พินอิน: Zhànguó ) ในหนังสือของเขาชื่อ บทเพลงจากทางใต้ (อังกฤษ: Songs of the South หรือ Chu Ci; จีนตัวเต็ม: 楚辭; จีนตัวย่อ: 楚辞) กล่าวไว้ว่า "ถ้าแม่น้ำชางลั่งสกปรก ฉันจะล้างเท้าอันเปื้อนโคลนของฉัน หากแต่แม่น้ำชางลั่งสะอาดแล้ว ฉันก็จะล้างริบบิ้นของฉัน (If the Canglang River is dirty I wash my muddy feet; If the Canglang River is clean I wash my ribbon)"[3] บทกวีนี้บรรยายถึงข้าราชการผู้ซึ่อสัตย์ที่ยอมละตำแหน่งทางการเมืองมากกว่าจะยอมกระทำการอันทุจริต เป็นบทกวีที่ซูซุนชิงเลือกใช้เพื่อสะท้อนความรู้สึกของเขาที่ถูกปลดและย้ายมาอยู่ในเมืองซูโจว[1]
หลังจากที่ซูซุนชิงเสียชีวิตลง มีการเปลี่ยนเจ้าของสวนหลายครั้งรวมถึงถูกปล่อยทิ้งร้างไป จนถึงปี ค.ศ. 1696 ซ่งลั่ว (Song Luo) ผู้ปกครองมณฑลเจียงซูได้บูรณะส่วนขึ้นใหม่ ในปี ค.ศ. 1955 จึงมีการเปิดสวนให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชม[3]
การออกแบบ
[แก้]สวนชางลั่งถิงแตกต่างจากสวนแห่งอื่นตรงที่เน้นความกลมกลืนระหว่างอาคารที่มนุษย์สร้างขึ้นกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติเข้าด้วยกัน[1] ด้วยขนาด 1.6 เฮกตาร์ (ha; hectare) แห่งนี้แบ่งพื้นที่ออกเป็นสองส่วนสำคัญ[2] คือสวนส่วนตะวันออกและตะวันตก การออกแบบได้ผสมผสานให้เข้ากับธรรมชาติด้วยการเลียนแบบเนินเขาธรรมชาติ มีการปลูกต้นไม้และต้นไผ่ที่สร้างความรู้สึกเสมือนเดินอยู่ในป่าจริง ๆ นอกจากนี้ยังมีศาลาที่เชื่อมเนินเขาและสระน้ำเข้าด้วยกัน สถาปัตยกรรมภายในสวนแห่งนี้มีความเรียบง่ายและบ่งชัดถึงลักษณะดั้งเดิมของการออกแบบสมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644-1911) ได้เป็นอย่างดี[1] ทางเดินคดเคี้ยวรอบสวนเชื่อมจุดชมวิวต่าง ๆ ภายในสวนเข้าด้วยกัน ผนังของทางเดินนั้นมีหน้าต่างไม้ฉลุแกะสลักถึง 108 บาน ซึ่งแต่ละบานมีการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง[3]
องค์ประกอบของสวนและคำอธิบาย | |
---|---|
บ้านไผ่ (Elegant Bamboo House)
ได้ชื่อมาจากคำกล่าวของซูซุนชิง (Su Shunqing) ที่ว่า "Autumn darkens the reddish woods, the sunlight goes through the bamboo elegantly"[3] บางครั้งใช้เป็นห้องวาดภาพ | |
โถงโพธิญาณ (Enlightenment Hall)
ได้ชื่อมาจากคำกล่าวของซูซุนชิง (Su Shunqing) ที่ว่า "ผู้ตาบอดและหูหนวกจากสิ่งเลวร้ายทั้งหลายคือผู้รู้แจ้ง (He Who turns a blind eye and a deaf ear to what is evil will be enlightened)" ที่ปรากฏอยู่ใน บันทึกพลับพลาเกลียวคลื่น (A Record of the Great Wave Pavilion)[3] ใช้เป็นห้องสำหรับการเรียนการสอน มีด้านข้างทั้งสามด้านติดกับสวนและทางเดินเชื่อม | |
โถงทางเข้า (Entry Hall) | |
ศาลาชมปลา (Fish Watching Place)
เป็นศาลาริมน้ำที่มีความแตกต่างจากอาคารอื่น ๆ ภายในสวนเนื่องจากตั้งอยู่นอกเขตรั้วของสวนชางลั่งถิง | |
ศาลาพลับพลาเกลียวคลื่น (Great Wave Pavilion)
ศาลานี้ย้ายมาจากที่ตั้งเดิมคือลำธารเฟิงซี (Fengxi Stream) โดยซ่งลั่ว (Song Luo) เมื่อเขาบูรณะสวนขึ้นใหม่อีกครั้ง มีความโดดเด่นด้วยโครงสร้างที่เป็นหินทั้งหมด A pillar couplet has been formed by one verse from Ouyang Xiu's The Canglang Pavilion, and Su Shunqin's (苏舜钦) Passing by Suzhou (过苏州), "The refreshing breeze and the bright moon are priceless; And water nearby and hills afar how beautifully they rate". This composite couplet was composed by governor Liang Zhangju, in honor of the garden.[3] | |
ศาลาเสาหินสลักพระราชสำนัก (Imperial Stele Pavilion)
เป็นศาลาที่เชื่อมต่อจากอาคารหลักทางทิศตะวันตก ภายในมีการเก็บหินสลักที่เขียนบทกวีโดยสมเด็จพระจักรพรรดิคังซีไว้ | |
หอทิวทัศน์ทิวเขา (Mountain-in-View Tower)
ชื่อของหอแห่งนี้มีความหมายถึงทิวทัศน์ของภูเขาเมื่อมองจากศาลานี้ มีลักษณะอาคารคล้ายรูปเรือ ตั้งอยู่เหนือถ้ำที่มีชื่อว่า โถงหินพี่น้อง (Mutual Affinity Stone Chamber) | |
ศาลาริมน้ำ (Pavilion Fronting the Water)
ได้ชื่อมาจากคำกล่าวของตู้ฝู่ ที่ระบุว่า "ศาลาทุกหลังตั้งตระหง่านริมน้ำและต้นไม้เก่าแก่ (All the pavilions front the water and old trees are weather beaten)"[3] | |
ศาลาดอกบ๊วย (Prunus mume Pavilion) | |
อาคารกลิ่นหอมอันบริสุทธิ์ (Pure Fragrance House)
ได้ชื่อมาจากบทประพันธ์ของหลี่ชางอิน (Li Shangyin, courtesy name Yishan (義山), 813–858) กวีชาวจีนในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ถัง ที่กล่าวว่า "Keep Cassia under lock and key not letting its pure fragrance escape"[3] โดยได้แรงบันดาลใจจากต้นแคสเซีย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Osmanthus fragrans; อังกฤษ: Cassia trees; จีน: 桂花; หรือรู้จักในชื่ออื่น ๆ ว่า sweet osmanthus, sweet olive, tea olive, fragrant olive) อายุกว่า 170 ปี ที่อยู่ด้านหน้าอาคาร | |
อาณาจักรของ Yaohua (Realm of Yaohua)
ได้ชื่อมาจากข้อความใน บันทึกประวัติเมืองซูโจว (Historical Record of Suzhou) โดย Lu Xiong ที่กล่าวถึง ดอกกัญชง หรือดอกเยาฮัวในภาษาจีน (Yaohua flower) อันเป็นตำนาน[3] ซึ่งเชื่อว่ามีดอกไม้ชนิดนี้อยู่ในสวนอีเดนของจีน (Chinese Garden of Eden) ซึ่งมีกลิ่นหอมหวานเป็นอย่างมาก | |
ศาลาบรรยาย (Recitation Pavilion)
เป็นศาลาที่เชื่อมต่อจากอาคารหลักทางทิศตะวันออก ภายในมีการเก็บหินสลักที่เขียนบทกวีโดยสมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลงไว้ | |
ศาลาคารวะ (Reverence Pavilion)
เป็นศาลาเชิ่อมต่อจากอาคาร ภายในมีหินแกะสลักภาพเหมือน (portrait) ของเหวิ๋น เจิงหมิง (Wen Zhenming) | |
ศาลาหอมกลิ่นดอกบ๊วย (Smelling Prunus mume Pavilion)
ได้ชื่อมาจากคำกล่าวของตู้ฝู่ ที่ว่า "By lamplight I couldn't sleep as the wonderful smell of Prunus mume purified my mind" โดยบริเวณด้านหน้าศาลามีสวนต้น บ๊วย (Rosaceae) ปลูกอยู่[3] | |
วัด 500 ปราชญ์ (Temple of 500 Sages)
สร้างโดยผู้ปกครองเมืองชื่อ Tao Shu ในปี ค.ศ.1827 เพื่อเก็บรักษาของสะสมงานแกะสลัก 584 ชิ้น ที่ทำขึ้นโดยปราชญ์ผู้มีชื่อเสียงในสมัยโบราณของเมืองซูโจว จากยุควสันตสารท (หรือยุคชุนชิว) ถึงสมัยราชวงศ์ชิง | |
ศาลาดอกบัวบาน (Water Pavilion of Lotus Blossoms) |
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- Suzhou Mingcheng Information Port Co., LTD, The Surging Wave Pavilion, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03, สืบค้นเมื่อ 2009
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
- China Internet Information Center (June 24, 2004), Canglang (Surging Wave) Pavilion, สืบค้นเมื่อ 2009
{{citation}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
- Yuan (袁), Xuehan (学汉); Gong Jianyi (2004). The Classical Gardens of Suzhou (苏州古典园林). CIP. p. 217. ISBN 7-214-03763-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-25. สืบค้นเมื่อ 2014-06-13.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Classical Gardens of Suzhou, องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ's official website on มรดกโลก.
- Surging Waves Pavilion (Canglangting) at Asian Historical Architecture.