ข้ามไปเนื้อหา

ชัย มุกตพันธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศาสตราจารย์ ชัย มุกตพันธุ์ (6 กรกฎาคม พ.ศ. 2460-25 พฤษภาคม พ.ศ. 2530) เป็นนักวิชาการชาวไทยซึ่งได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิชาปฐพีกลศาสตร์แห่งประเทศไทย[1] ในอดีตเป็นเลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน อธิบดีกรมอาชีวศึกษา คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลงานสำคัญชิ้นหนึ่งคือ ร่วมเป็นผู้แทนของประเทศไทยในการก่อตั้ง บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ ส.ป.อ. (องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ซึ่งปัจจุบันคือ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

ศาสตราจารย์ ดร.ชัย มุกตพันธุ์ หรือ ศาสตราจารย์ ชัย มุกตพันธุ์ ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้สอน นิสิต และนักศึกษา วิศวกรรม ทั้งปริญญาตรี โท และเอก มากกว่า 40 รุ่น ทั้งชาวไทยและชาวเอเชีย อื่น ๆ นับเป็นปูชนียบุคคลที่สำคัญของชาวไทย ซึ่งประสิทธิประสาทวิชาการ แก่วิศวกร เพื่อให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติในปัจจุบัน

การศึกษา

[แก้]

การทำงาน

[แก้]

ศ.ชัย มุกตพันธุ์ เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2482 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2502 และได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นรองศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2504 ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นในปี พ.ศ. 2518 ได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ผลงาน

[แก้]
  • ด้านวิชาการ ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ มีมากกว่า 70 เรื่อง ที่สำคัญ ได้แก่
    • Steel Frames for Industrial Buildings ในหนังสือ Building in Atomic Age ของ M.I.T.
    • Bangkok Subsoils ในหนังสือ Proceedings of a Conference on Architecture and Structure Engineering in Relation of the Construction of Large Buildings, Bangkok
    • Engineering Properties of Bangkok Subsoil ในหนังสือ Prcoceeding of the South-east Asian Regional Conference on soil engineering. A.I.T.
    • คุณสมบัติของดินบาดาลบริเวณกรุงเทพฯ ในหนังสือวิศวกรรมสาร ฉบับพิเศษ ครบรอบ 25 ปี พ.ศ. 2511 ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม จากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
    • ปฐพีกลศาสตร์และวิศวกรรมฐานราก พ.ศ. 2526
    • การทรุดตัวของนครหลวง ในการสัมมนาเรื่อง ปัญหานครหลวง ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ด้านการออกแบบทางด้านวิศวกรรม อาคารทางศาสนา
  • ด้านการออกแบบทางด้านวิศวกรรม อาคารสถานศึกษาและโรงพยาบาล
    • ตึกสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
    • ตึกคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • ตึกทดลองวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • ตึกทดลองวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • ตึกออร์โทปิดิส์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
    • ควบคุมการก่อสร้างตึก “วชิรญาณวงศ์” โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
    • ควบคุมการก่อสร้างตึก “ภ.ป.ร.” โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • หนังสือ
    • ปฐพีกลศาสตร์และวิศวกรรมฐานราก เขียนร่วมกับ กาซูโต นากาซาวา : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว กรุงเทพฯ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

เกียรติคุณที่ได้รับ

[แก้]
  • 2509: นายกสโมสรอาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2510: วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2516: สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • 2518: ผู้ตรวจการลูกเสือ สำนักงานคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติ
  • 2519: ศาสตราจารย์อุปการคุณ วิชาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2519: ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์
  • 2523: เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน ติดต่อกัน 4 วาระ
  • 2529: D.Sc.(กิตติมศักดิ์) สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งวิชาปฐพีกลศาสตร์แห่งประเทศไทย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-06. สืบค้นเมื่อ 2019-01-03.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๖ มกราคม ๒๕๒๐
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2011-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๕ ฑฤษภาคม ๒๕๓๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๘๔, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๒ ตุลาคม ๒๕๒๑

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]