ข้ามไปเนื้อหา

ชัยชนะ เดชเดโช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชัยชนะ เดชเดโช
ชัยชนะ ใน พ.ศ. 2566
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
18 ธันวาคม พ.ศ. 2564
(2 ปี 188 วัน)
หัวหน้าจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
เฉลิมชัย ศรีอ่อน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช
เริ่มดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562
(5 ปี 91 วัน)
ก่อนหน้าเทพไท เสนพงศ์
เขตเลือกตั้งเขต 6 (2562–2566)
เขต 5 (2566–ปัจจุบัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 มิถุนายน พ.ศ. 2529 (38 ปี)
อำเภอร่อนพิบูลย์
จังหวัดนครศรีธรรมราช
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2556–ปัจจุบัน)
คู่สมรสชฎาลักษณ์ วรพงศ์
ชื่อเล่นแทน

ชัยชนะ เดชเดโช (เกิด 14 มิถุนายน พ.ศ. 2529) รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ดูแลพื้นที่ภาคใต้ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ 2 สมัย และประธานคณะกรรมาธิการการตำรวจ ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26

ประวัติ[แก้]

ชัยชนะ เดชเดโช เกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2529 เป็นบุตรคนโตของนายวิฑูรย์ เดชเดโช อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช และ นางกนกพร เดชเดโช นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช มีน้องชายจำนวน 3 คน โดยหนึ่งในนั้นคือ พิทักษ์เดช เดชเดโช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช

ชัยชนะสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช ปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ และ ระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเดียวกัน จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง[1] ปัจจุบันอยู่ระหว่างการอบรมหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรสำหรับผู้บริหารแห่งอนาคต วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 1[2]

ชัยชนะ อยู่กินกันฉันสามีภริยากับชฎาลักษณ์ วรพงศ์ มีบุตร 3 คน[3]

งานการเมือง[แก้]

ชัยชนะ เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่น คือ สมาชิกสภาจังหวัด เมื่อปี 2556-2561 ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อีกสองปีต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

ชัยชนะ เดชเดโช ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "รู้จัก "เท่ห์-เบอร์ 1" เขต 3 "เมืองคอน" ให้มากขึ้น ก่อนตัดสินใจลงคะแนน". M TODAY. 2023-04-14.
  2. ""อุ๊งอิ๊ง" ติดโผเรียน มินิ วปอ.รุ่น 1 พร้อมทายาทนักการเมืองร่วมชั้นเพียบ". mgronline.com. 2024-02-28.
  3. ประชาธิปัตย์ องค์ประชุมล่ม 2 ขั้วงัดข้อ เลื่อนโหวตหัวหน้าพรรค
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕