ฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร
ฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี เขต 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 (2 ปี 159 วัน) | |
ก่อนหน้า | ปารเมศ โพธารากุล สันทัด จีนาภักดิ์ |
ถัดไป | สมเกียรติ วอนเพียร |
คะแนนเสียง | 44,540 (51.42%) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 เมษายน พ.ศ. 2513 อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2550–2551) ประชาธิปัตย์ (2554–ปัจจุบัน) |
ฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร (เกิด 20 เมษายน พ.ศ. 2513) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตคณะที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์)
ประวัติ
[แก้]นายฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร (ชื่อเล่น: แมน) เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2513 ที่ตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรของนายม่วง กับนางน้ำจืด กระต่าย เขาได้รับประทานนามสกุลจากสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกเป็น "เดชกิจสุนทร"
ฉัตรพันธ์ เข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดอินทาราม "โกวิทอินทราทร" จ.กาญจนบุรี และโรงเรียนบูรณะศาสตร์ จ.นครปฐม ชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดห้วยจระเข้วิทยาคม จ.นครปฐม โรงเรียนหนองขาวโกวิทพิทยาคม จ.กาญจนบุรี ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวิสุทธรังษี จ.กาญจนบุรี จากนั้นเข้าเรียนปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาโท มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง)
ประวัติการทำงาน-การเมือง
[แก้]ฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 2 จ.กาญจนบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554[1] โดยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 2 จังหวัดกาญจนบุรี ด้วยคะแนน 45,540 คะแนน[2] ชนะ พล.ต.ศรชัย มนตริวัต สังกัดพรรคเพื่อไทย และนายสันทัด จีนาภักดิ์ สังกัดพรรคภูมิใจไทย
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[3]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ [1],ไทยรัฐ.
- ↑ [2] เก็บถาวร 2016-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน,ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งเรื่องผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง (ครั้งที่ 4).
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-02-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๗๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๑๘๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2513
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอท่าม่วง
- นักการเมืองจากจังหวัดกาญจนบุรี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี
- นักการเมืองพรรคชาติไทย
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนวิสุทธรังษี
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.