ปารเมศ โพธารากุล
ปารเมศ โพธารากุล | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2543–2547) ประชาธิปัตย์ (2547–2565) ภูมิใจไทย (2565–ปัจจุบัน)[1] |
คู่สมรส | อภิสมา โพธารากุล |
ปารเมศ โพธารากุล (เกิด 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502) ชื่อเล่น บอย ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นางสาว ซาบีดา ไทยเศรษฐ์) และประธานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (มนัญญา ไทยเศรษฐ์) และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี 1 สมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ปัจจุบันสังกัดพรรคภูมิใจไทย
ประวัติ
[แก้]ปารเมศ เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 เป็นบุตรของนายประกอบ กับ นางมาเรียม โพธารากุล และเป็นพี่ชายของธัญญา โสภณ นักแสดง และเป็นภรรยาของพงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการเงินและการธนาคาร จากมหาวิทยาลัยสยาม[2]สมรสกับนาง อภิสมา โพธารากุล นายกเทศมนตรีตำบลท่ามะกา
งานการเมือง
[แก้]ปารเมศเคยดำรงตำแหน่งเป็น กำนันตำบลท่ามะกา และ นายกเทศมนตรีตำบลท่ามะกา ตามลำดับ
ปารเมศลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้รับเลือกตั้งใน พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ก่อนที่จะถูกใบแดงจากคณะกรรมการการเลือกตั้งในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตาม ปารเมศก็ได้รับเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ ใน พ.ศ. 2550 ซึ่งดำรงตำแหน่งสมัยเดียว
เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[3] ต่อมาเขาย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย และได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อโดยอยู่ในลำดับที่ 18
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ปารเมศ โพธารากุล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 'กำนันบอย' คนดังเมืองกาญจน์ ทิ้ง 'ประชาธิปัตย์' เข้ารังหนู
- ↑ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๓ เก็บถาวร 2016-04-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร
- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๗๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2502
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอท่ามะกา
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดกาญจนบุรี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี
- นายกเทศมนตรีในจังหวัดกาญจนบุรี
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองพรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.