ฉบับร่าง:โรงเรียนอ่างศิลาพิทยาคม
นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ วรุฒ หิ่มสาใจ (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 14 วันก่อน (ล้างแคช) |
โรงเรียนอ่างศิลาพิทยาคม | |
---|---|
Angsilapittayakom School | |
ที่ตั้ง | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | อ.ศ.พ. หรือ A.S.P. |
ชื่อเดิม | โรงเรียนชลราษฎรอำรุง 2 |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล |
คติพจน์ | Scholarly Athletic Virtuous ศึกษาดี กีฬาเด่น เน้นคุณธรรม |
สถาปนา | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2518 |
ผู้ก่อตั้ง | นายโกมลวัตร นาคสถิตย์ |
เขตการศึกษา | ชลบุรี |
ผู้อำนวยการ | ดร.จุรีพร รักสบาย |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่สอนภายในโรงเรียน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนกลาง |
ชั่วโมงเรียน | 08:30 น. - 13:20 น. |
สี | ฟ้า - แดง |
เพลง | มาร์ชอ่างศิลาพิทยาคม |
ศิษย์เก่า | สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนอ่างศิลาพิทยาคม พี่น้องฟ้าแดง |
ต้นไม้ประจำโรงเรียน | ต้นมะขาม |
เว็บไซต์ | https://asp.ac.th/home (เว็บไซต์ทางการของโรงเรียน) https://www.facebook.com/aspchonburi/ (เพจเฟซบุ๊ก) |
โรงเรียนอ่างศิลาพิทยาคม (อังกฤษ: Angsilapittayakom School) (อักษรย่อ: อศพ, ASP) เป็นโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมศึกษาประจำตำบลอ่างศิลาขนาดกลาง อยู่ภายใต้สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงปีที่ 6
ประวัติ
[แก้]การก่อตั้งโรงเรียน
[แก้]ก่อตั้งเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2518 บนเนื้อที่ 26 ไร่ 40 ตารางวา การเปิดเรียนครั้งแรกยังไม่มีสถานที่เรียน จึงต้องไปอาศัยเรียนอยู่กับโรงเรียนสหะพาณิชย์ ซึ่งเป็นโรงเรียนราษฎร์ อยู่ในเขตตำบลอ่างศิลา โดยมี นายบุญชู ริยาภรณ์ ครูช่วยราชการโรงเรียนชลบุรี "สุขบท" เป็นผู้รักษาการ โดยให้ดำรงในตำแหน่งครูใหญ่ไปชั่วคราวก่อน
ต่อมา ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดแจงและแต่งตั้ง นายโกมลรัตร นาคสถิต ครูโทโรงเรียนบ้านบึง "อุตสาหกรรมนุเคราะห์" อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ณ โรงเรียนอ่างศิลาพิทยาคม ถือเป็นผู้บริหารโรงเรียนคนแรกอย่างเป็นทางการของโรงเรียนอ่างศิลาพิทยาคม
พัฒนาต่อเติมสถานศึกษา
[แก้]ในปี พ.ศ. 2519 ก็ยังคงเปิดการศึกษาอยู่ที่เดิม และในปีนี้เองทางโรงเรียนจึงหาทางสร้างอาคารชั่วคราวขึ้นโดยได้รับความกรุณาจากท่านพระครูพรหมสมาจาร เจ้าอาวาสวัดโกมุทรัตนาราม ตำบลอ่างศิลา เป็นผู้อุปการะโรงเรียน ท่านไม่ขัดข้องและท่านได้ขอความร่วมมือจากชาวอ่างศิลาและผู้มีจิตศรัทธาโดยได้เงินมาจำนวนทั้งสิ้น 101,000 บาท ซึ่งในจำนวนเงินดังกล่าวนี้มีกลุ่มเกษตรกรทำการประมงอ่างศิลาบริจาครวมอยู่ในนั้น 60,000 บาท ส่วนที่เหลือนอกนั้นได้รับความรวมมือจากประชาชนตำบลอ่างศิลาช่วยบริจาค ทำการสร้างเสร็จและได้รับมอบอาคารเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2519 จำนวน 6 ห้องเรียน โดยก่อสร้างในเนื้อที่ของโรงเรียนปัจจุบันนี้
งบประมาณสร้างบ้านพักครูหลังที่ 1 และหลังที่ 2 ราคาค่าก่อสร้างหลังละ 80,000 บาท ส่งมอบเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2520 และได้งบประมาณสร้างห้องน้ำชาย 6 ที่นั่ง งบประมาณ 60,000 บาท ส่งมอบเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2520 (ปัจจุบันรื้อถอนแล้ว) ได้งบประมาณสร้างบ้านพักการโรง 1 หลัง ราคาศาก่อสร้าง 40,000 บาท ส่งมอบเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2520 (ปัจจุบันรื้อถอนแล้ว)
ช่วงปี พ.ศ. 2520 ได้ย้ายจากโรงเรียนสหะพาณิชย์ มาเรียนที่อาคารชั่วคราวที่สร้างขึ้น และกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดสรรงบประมาณก่อสร้างอาคารชั่วคราวแบบมาตรฐานอีก 3 ห้องเรียน ราคาค่าก่อสร้าง 90,000 บาท
ในปี พ.ศ. 2521 ทางกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เห็นชอบอนุมัติให้สร้างอาคารเรียน 1 หลัง แบบ 106 ต ราคาค่าก่อสร้าง 1,000,000 บาท ส่งมอบงานเมื่อ 20 มีนาคม พ.ศ. 2523 และได้รับบริจาคเงินสร้างเสาธงชาติแบบมาตรฐานจาก นายรังษี แขสิ้ม เป็นเงิน 8,000 บาท
ในปี พ.ศ. 2523 ได้รับงบประมาณก่อสร้างบ้านพักครูหลังที่ 3 ราคาค่าก่อสร้าง 149,500 บาท ส่งมอบงานเมื่อ 20 กันยายน พ.ศ. 2524 ถัดมาในปี พ.ศ. 2525 ได้รับงบประมาณก่อสร้างบ้านพักครูหลังที่ 4 ราคาคำก่อสร้าง 207,610 บาท ส่งมอบงานเมื่อ 20 กันยายน พ.ศ. 2526
ในปี พ.ศ. 2527 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ล (14) จำนวนครึ่งหลัง ราคา ค่าก่อสร้าง 2,090,000 บาท ส่งมอบงานเมื่อ เดือนกันยายน พ.ศ. 2528 และได้รับงบประมาณสร้าง บ้านพักครู หลังที่ 5 ราคาค่าก่อสร้าง 220,000 บาท ส่งมอบงานเมื่อ 20 กันยายน พ.ศ. 2528
ในปี พ.ศ. 2529 ได้รับงบประมาณสร้างโรงฝึกงานแบบมาตรฐาน แบบ 102/27 จำนวน 1 หลัง (โรงฝึกงานคหกรรมฯ) ค่าสร้าง 779,900 บาท
การเปลี่ยนชื่อโรงเรียน
[แก้]ประมาณปี พ.ศ. 2554 ทางโรงเรียนได้เปลี่ยนชื่อเป็น ชลราษฎรอำรุง 2 เนื่องด้วยเหตุผลทางการเมืองท้องถิ่น แต่ไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจน
เมื่อถึงปี พ.ศ. 2556 นายวัชระ บุบผามาศ ผู้อำนวยการโรงเรียน กับ นายทวีป กรณียกิจ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองอ่างศิลา และผู้นำชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนคณะครูในโรงเรียนมีความประสงค์จะขอเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็นชื่อตามเดิม โรงเรียนจึงได้ทำเรื่องเสนอสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ภายหลังต่อมาจึงได้มีประกาศเปลี่ยนชื่อโรงเรียนจากชื่อ โรงเรียนชลราษฎรอำรุง 2 กลับไปเป็น โรงเรียนอ่างศิลาพิทยาคม ดั่งเดิม เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556
ความหมายของตราโรงเรียน
[แก้]ตราสัญลักษณ์เป็นวงกลมซ้อนทับกัน 2 วงบนโล่สีแดงและสีฟ้า ระหว่างวงกลมเขียนคำว่า โรงเรียนอ่างศิลาพิทยาคม และพุทธศาสนสุภาษิตว่า "โลโก ปตฺภมฺภิกา เมตฺตา" (อ่านว่า โล-โก-ปัด-ถำ-พิ-กา) ซึ่งเป็นคติธรรมประจำโรงเรียนเรียน โดยหมายถึง ความเมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก ภายในวงกลมมีรูปเรือประมงฝ่าคลื่น สีฟ้าและแดงมีนัยให้ชาวอ่างศิลาพิทยาคมรักร่วมใจกันและมีความกล้าหาญที่จะเสียสละเพื่อประสบความสำเร็จในทุกสิ่งที่ปราถนาอันดีงาม
ความหมาย | |
---|---|
โล่ | เครื่องป้องกันศาสตราวุธและปิดป้องสิ่งที่ไม่ดีงาม |
สีฟ้า | ความยิ่งใหญ่ ความรัก ความสามัคคี |
สีแดง | ความกล้าหาญเสียสละ ชัยชนะ |
วงกลม | ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน |
เรือประมงฝ่าคลื่น | ความพยายามที่จะฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ |
ปรัชญา ให้เด็กศึกษาอยู่ที่โรงเรียนดีกว่าปล่อยให้เป็นปัญหาชุมชนและประเทศชาติ
- เน้นไปที่ความสำคัญของการศึกษาและการพัฒนาเด็กในสภาพแวดล้อมที่ดี ด้วยการส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ในโรงเรียนที่มีคุณภาพ และได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม เพื่อให้เติบโตไปอย่างมีคุณภาพ
อัตลักษณ์โรงเรียน นบไหว้วันทา นาฏศิลป์ดนตรีไทย มวยไทยรำร่าย สืบสานความเป็นไทย
- นบไหว้วันทา หมายถึง เคารพและแสดงความสุภาพต่อตัวบุคคลและสิ่งต่าง ๆ
- นาฏศิลป์ดนตรีไทย หมายถึง วัฒนธรรมศิลปะการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย
- มวยไทยรำร่าย หมายถึง ความงามของท่าทางที่ทั้งแข็งแกร่งและสวยงามในเวลาเดียวกัน
- สืบสานความเป็นไทย หมายถึง สืบทอดสิ่งดีงามจากบรรพบุรุษให้กับคนรุ่นสมัยต่อไป
เอกลักษณ์โรงเรียน ศิลา SILA
- S = Skill life ทักษะชีวิต
- I = Intelligence การรู้จักคิด
- L = Learning is life การศึกษาคือชีวิต
- A = Advancement การก้าวไปข้างหน้า
"ฝึกทักษะชีวิต คิดอย่างมีวิจารณญาณ อ่านเขียนเรียนมุ่งมั่น ฟันฝ่าอุปสรรคก้าวไกล"
ผู้อำนวยการโรงเรียน
[แก้]ทำเนียบผู้บริหาร | |||||
---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รูป | รายนาม | วุฒิการศึกษา | ตำแหน่ง | วาระการดำรงตำแหน่ง |
1 | - | นายบุญชู วิยาภรณ์ | - | อาจาร์ยใหญ่ | พ.ศ. 2518 |
2 | - | นายโกมลวัตร นาคสถิต | - | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2528 |
3 | - | นายภุชงค์ บุณยรัตนสุทร | - | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2535 |
4 | - | นายวิชิต พันธุ์ประเสริฐ | - | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2539 |
5 | - | นายสมคิด ดีรัศมี | - | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2542 |
6 | - | นายประเสริฐ พวงศรี | - | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2542 |
7 | - | นายกิตติ อัมระนันท์ | กศ.บ.,ศษ.ม. | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2551 |
8 | - | นายยุทธนา เรืองไพศาล | ป.ป.,กศ.บ.,กศ.ม. | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2555 |
9 | - | นายวัชระ บุบผามาศ | ศษ.ม. | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2557 |
10 | - | นายเรืองเดช สาระปารัง | กศ.ม. | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2557 - พ.ศ. 2561 |
11 | - | นายชัยพัฒน์ เชื่อมชิต | กศ.ม. | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2564 |
12 | - | นางบุญเกิด กลมทุกสิ่ง | ปร.ด. | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2564 - พ.ศ. 2565 |
13 | - | นางจุรีพร รักสบาย | ปร.ด. | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน |
แผนการเรียน
[แก้]ระดับชันมัธยมศึกษาตอนต้น
[แก้]- Science – แผนการเรียนวิทยาศาตร์ จำนวน 1 ห้อง
- Mathematics – แผนการเรียนคณิตศาตร์ จำนวน 1 ห้อง
- Foreign Language Program (FPI) แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
Mini English Program (MEP) ภาษาอังกฤษ จำนวน 1 ห้อง
Mini Chinese Program (MCP) ภาษาจีน จำนวน 1 ห้อง
- Computer Science – แผนการเรียนคอมพิวเตอร์
- Physical Education – แผนการเรียนพลศึกษา
- Arts Education (AE) แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ
Music – แผนการเรียนดนตรี จำนวน 1 ห้อง
Art – แผนการเรียนศิลปะ จำนวน 1 ห้อง
Performing Arts – แผนการเรียนนาฏศิลป์ จำนวน 1 ห้อง
- Applied Arts and Sciences (AAS) แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ
Home Economics – แผนการเรียนคหกรรม จำนวน 1 ห้อง
Industrial Arts – แผนการเรียนอุตสาหกรรม จำนวน 1 ห้อง
Agriculture – แผนการเรียนเกษตร จำนวน 1 ห้องเรียน
ระดับชันมัธยมศึกษาตอนปลาย
[แก้]- Science and Engineering – แผนการเรียนวิทยาศาตร์-วิศวกรรม (ทวิศึกษา) จำนวน 1 ห้อง
- Panyapiwat Development – แผนการเรียนปัญญาภิวัฒน์ (ทวิศึกษา) จำนวน 1 ห้อง
- Mathematics Science and Health Sciences – แผนการเรียนวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์สุขภาพ จำนวน 1 ห้อง
- Computer Mathematics – แผนการเรียนคณิตศาสตร์คอมพิวเตอร์ จำนวน 1 ห้อง
- English-Chinese Language – แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน จำนวน 1 ห้อง
- Humanities and Social Sciences – แผนการเรียนมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 1 ห้อง
- Art, Music, and Performing Arts – แผนการเรียนศิลปะ-ดนตรี-นาฏศิลป์ จำนวน 1 ห้อง
- Sports – แผนการเรียนกีฬา จำนวน 1 ห้องเรียน