ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:แสบคูณสอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แสบคูณสอง
ประเภทเกมโชว์
พัฒนาโดยบริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด
เสนอโดย
แสดงนำ
ประเทศแหล่งกำเนิด ไทย
ภาษาต้นฉบับภาษาไทย
การผลิต
ผู้อำนวยการสร้าง
สถานที่ถ่ายทำสตูดิโอกันตนา
ความยาวตอน
  • 60 นาที
  • 120 นาที
  • 75 นาที
บริษัทผู้ผลิต
ออกอากาศ
เครือข่าย
ออกอากาศ1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 –
11 มกราคม พ.ศ. 2544
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
เกมพันหน้า

แสบคูณสอง เป็นรายการเกมโชว์รายการแรกของ บริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด ออกอากาศครั้งแรกทาง สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ถึง 28 สิงหาคม พ.ศ. 2541 และย้ายไปออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ตั้งแต่ 3 กันยายน พ.ศ. 2541 ถึง 11 มกราคม พ.ศ. 2544

ประวัติ[แก้]

แสบคูณสอง เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทเกมโชว์รายการแรกของ บริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540[1] ทาง สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 (ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ - 26 เมษายน พ.ศ. 2540) เวลา 14.30 น. ถึง 15.30 น. ต่อมารายการแสบคูณสองได้ย้ายวันออกอากาศไปเป็นทุกคืนวันจันทร์ พร้อมทั้งได้ขยายเวลา เพิ่มเกม เพิ่มของรางวัลให้มากขึ้น โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันจันทร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2540[2] เวลา 22.00 น. ถึง 00.00 น. (ตั้งแต่ 5 พฤษภาคม - 29 กันยายน พ.ศ. 2540) และในปีเดียวกันได้ย้ายวันออกอากาศไปเป็นทุกคืนวันศุกร์ โดยเริ่มออกอากาศเมื่อวันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2540[3] (ตั้งแต่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2540 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2541) และในปี 2541 รายการแสบคูณสอง ได้ย้ายทั้งวัน เวลาออกอากาศ และย้ายไปออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ในคืนวันพฤหัสบดี โดยเริ่มออกอากาศเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2541[4] (ตั้งแต่ 3 กันยายน พ.ศ. 2541 - 11 มกราคม พ.ศ. 2544) และได้ออกอากาศเป็นตอนสุดท้ายเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2544 รวมทั้งปรับรูปแบบใหม่ ฉากใหม่ กติกาใหม่ ในชื่อ เกมพันหน้า และผู้เข้าแข่งขันกลุ่มแรกในรายการ แสบคูณสอง คือ ติ๊ก ชิโร่ , สกาวใจ พูนสวัสดิ์ และ หม่ำ จ๊กมก

ชื่อรายการ[แก้]

แสบคูณสอง (พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2542)[แก้]

ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2542 รวมระยะเวลา 2 ปี 1 เดือน 24 วัน

แสบคูณสองในรูปแบบแรก โดยรอบเกมในแต่ละช่วงจะมี แสบปริศนา , แสบเจาะยาง และแสบคูณสอง โดยเกมที่เป็นเอกลักษณ์ของรายการ คือเกมแสบปริศนา ที่จะเป็นการนำสิ่งของที่สามารถพบเจอได้ในชีวิตประจำวันนำมาเป็นคำถาม และให้ทายว่าสิ่งของปริศนาชิ้นนี้มันคืออะไร โดยจะมี เท่ง เถิดเทิง เป็นผู้นำสิ่งของปริศนาออกมา และในเวลาต่อมามีการปรับรูปแบบมาเป็นละคร และเพิ่มนักแสดงมากขึ้น เช่น ติ๊ก กลิ่นสี , เหลือเฟือ มกจ๊ก , กอบโชค คล้ายสำริด , จิ้ม ชวนชื่น , โหน่ง ชะชะช่า , ชูศรี เชิญยิ้ม , แดนนี่ ศรีภิญโญ เป็นต้น ต่อมาได้ปรับรูปแบบใหม่ รวมทั้งได้เพิ่มเกมใหม่อย่างเกม แสบพบญาติ จะเป็นการนำญาติของดารารับเชิญมาทาย จนทำให้เกิดวลีฮิต "ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม" และกลายเป็นคำพูดติดปากในตอนนั้น รวมทั้งเงินรางวัลที่ช่วงหนึ่งนั้น เคยเป็นรายการโทรทัศน์ที่มีเงินรางวัลสูงที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทยในขณะนั้น (2,560,000 บาท) รองจากชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม (>3,200,000 บาท[5]) และ เกมโซน (2,981,260 บาท)

แสบคูณสอง แลกหมัด (พ.ศ. 2542)[แก้]

ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 เมษายน[6] - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2542 รวมระยะเวลา 9 เดือน

แสบคูณสองในรูปแบบที่ 2 กับฉากใหม่ รูปแบบใหม่ แต่จะเน้นที่การนำญาติของดารารับเชิญมาทายเช่นเคย แต่ในช่วงระยะแรกนั้นจะเป็นการทายญาติของผู้แข่งขันด้วยกันเอง ส่วนช่วงละครนั้นมีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อย จากการทายสิ่งของปริศนามาเป็นการทายเจ้าของอาชีพปริศนาที่พามาถึง 2 คน และทายว่าใครคือเจ้าของอาชีพปริศนานี้ตัวจริง ต่อมาได้พามา 1 คน และทายว่าบุคคลคนนี้เป็นเจ้าของอาชีพปริศนานี้หรือไม่ และยังคงวลีฮิต "ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม" เช่นเคย แต่รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่มีระยะเวลาสั้นที่สุด

แสบคูณสอง ยกแก๊ง (พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2544)[แก้]

ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2543 - 11 มกราคม พ.ศ. 2544 รวมระยะเวลา 1 ปี 5 วัน

แสบคูณสองในรูปแบบที่ 3 กับฉากใหม่ในบรรยากาศต้อนรับปี 2000 ธีม SPACE รวมทั้งรูปแบบใหม่ เพิ่มเกมใหม่ และยังคงเน้นที่การนำญาติของดารารับเชิญมาทายเช่นเคย แต่พามาถึง 3 คน รวมทั้งช่วงละครที่ยังคงเน้นการนำละครดัง หรือภาพยนตร์ดังมาล้อเลียน รวมทั้งได้เพิ่มสาระเล็กน้อยจากเกม เส้นผมบังภูเขา ที่จะนำความรู้ทั่วไปมาตั้งเป็นคำถาม และจะมีการทดลองให้ดูในบางสัปดาห์ รวมทั้งได้เปิดตัว "แก๊งลูกหมู (เท่ง-ธง-ไทด์)" ที่จะคอยช่วยหาเบาะแสของบุคคลปริศนา 3 คนที่เป็นเจ้าของอาชีพปริศนาที่หาชมได้ยากในประเทศไทย โดยอาชีพปริศนาตัวจริงนั้น อาจจะมีมากกว่า 1 คน

ผู้ดำเนินรายการ[แก้]

พิธีกร[แก้]

นักแสดงประจำรายการ[แก้]

อดีตนักแสดงประจำรายการ[แก้]

นักแสดงสมทบประจำรายการ[แก้]

ในบางสัปดาห์นั้นจะมีนักแสดงคนอื่นมารับหน้าที่แทนนักแสดงหลักหรือมารับหน้าที่นักแสดงสมทบซึ่งจะมามากกว่า 1 ครั้ง ดังนี้

การออกอากาศ[แก้]

รายการแสบคูณสองได้ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ดังต่อไปนี้

  • ช่อง 3 (1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ถึง 28 สิงหาคม พ.ศ. 2541)
  • ช่อง 7 (3 กันยายน พ.ศ. 2541 ถึง 11 มกราคม พ.ศ. 2544)

ระยะเวลาออกอากาศ[แก้]

ระยะเวลาออกอากาศของ แสบคูณสอง
สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ วันออกอากาศ เวลา ช่วงระหว่าง ความยาวออกอากาศ
สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เสาร์ 14.30 - 15.30 น. 1 กุมภาพันธ์ - 26 เมษายน พ.ศ. 2540 60 นาที
จันทร์ 22.00 - 24.00 น. 5 พฤษภาคม - 29 กันยายน พ.ศ. 2540 120 นาที
ศุกร์ 22.20 - 24.20 น. 3 ตุลาคม พ.ศ. 2540 - 28 สิงหาคม พ.ศ. 2541
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 พฤหัสบดี 22.20 - 23.35 น. 3 กันยายน พ.ศ. 2541 - 11 มกราคม พ.ศ. 2544 75 นาที

ผู้เข้าแข่งขัน[แก้]

รูปแบบของผู้แข่งขันในแต่ละยุคจะแตกต่างกัน ดังนี้

  • สัปดาห์ละ 3 คน (1 กุมภาพันธ์ - 26 เมษายน พ.ศ. 2540 , 6 มกราคม พ.ศ. 2543 - 11 มกราคม พ.ศ. 2544) โดยในแต่ละสัปดาห์จะเป็นผู้เข้าแข่งขันชาย 2 คน และหญิง 1 คน บางสับดาห์จะเป็นผู้เข้าแข่งขันหญิง 2 คน ชาย 1 คน หรือบางสัปดาห์จะเป็นผู้เข้าแข่งขันหญิง 3 คน หรือ ชาย 3 คน
  • สัปดาห์ละ 5 คน (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 - 18 มีนาคม พ.ศ. 2542) ยกเว้นบางสัปดาห์ที่มีการลดจำนวนผู้แข่งขันลง เนื่องจากมีรายการพิเศษของสถานี
  • สัปดาห์ละ 2 คน (1 เมษายน - 17 มิถุนายน พ.ศ. 2542)
  • สัปดาห์ละ 2 คู่ (24 มิถุนายน - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2542)

กติกา[แก้]

แสบคูณสอง รูปแบบแรก (1 กุมภาพันธ์ - 26 เมษายน พ.ศ. 2540)[แก้]

แสบปริศนา[แก้]

กติกา คือ ผู้แข่งขันจะต้องปิดตาเพื่อทำการทายสิ่งของปริศนาในแต่ละชิ้น และจะมีสิ่งของปริศนาทั้งหมด 2 ชิ้น (แบ่งเป็น 2 ช่วง) โดยในแต่ละชิ้น เท่ง เถิดเทิง จะเป็นผู้นำสิ่งของปริศนาออกมาพร้อมคำเฉลย ต่อมาจะเป็นละครสั้น 2 เรื่อง (ต่อมาได้ปรับรูปแบบเป็นละครยาว 1 เรื่อง และมีสิ่งของปริศนาให้ทาย 1 ชิ้น) วิธีการถามคือ ผู้แข่งขันต้องถามคำถามแล้วต้องต่อท้ายด้วยว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ สามารถถามได้สูงสุด 5 คำถาม ถ้าพิธีกรบอกว่า ใช่ จะสามารถถามต่อได้ แต่ถ้าพิธีกรบอกว่า ไม่ใช่ สิทธิ์ในการถามคำถามจะตกเป็นของอีกคนทันที โดยการถามนั้นจะถามไปเรื่อย ๆ เกมจะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อมีผู้ที่ทายของได้ถูกต้อง ผู้ที่ทายถูกจะเข้ารอบทันที โดยในรอบนี้จะมีผู้เข้ารอบ 2 คน โดยผู้ที่ตกรอบ จะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาทกลับบ้านไป

แสบเจาะยาง[แก้]

กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย ในแต่ละแผ่นป้ายจะมีเลข 2 , 3 , 4 , 5 , 6 , 7 อย่างละ 1 แผ่นป้าย เลข 0 4 แผ่นป้าย และจุดทศนิยม (.) 2 แผ่นป้าย โดยให้ผู้แข่งขันเลือกแผ่นป้าย 3 แผ่นป้าย โดยการเลือกนั้นจะเลือกให้ฝั่งตรงข้าม พยายามให้ฝั่งตรงข้ามมีคะแนนน้อยกว่าเรา โดยจะมีเลข 1 เป็นเลขตัวตั้ง โดยการวางนั้น จะเลือกวางข้างหน้า หรือข้างหลังเลข 1 ก็ได้ ผู้ที่มีคะแนนมากที่สุดจะได้เข้ารอบทันที โดยผู้ที่ตกรอบ จะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาทกลับบ้านไป

แสบไม่รู้ตัว[แก้]

กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย ในแต่ละแผ่นป้ายจะมีคำใบ้อยู่แผ่นป้ายละ 1 คำใบ้ โดยแต่ละคำใบ้จะเกี่ยวข้องกับบุคคลปริศนาที่นำมาเป็นคำถาม โดยผู้ที่ทายจะมีเวลาพูดชื่อบุคคลปริศนาออกมาภายใน 5 วินาที หากยังไม่มีชื่อที่ถูกต้อง สิทธิ์ในการตอบจะเป็นของผู้แข่งขันอีกคนทันที เกมจะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อมีผู้ที่พูดชื่อบุคคลปริศนาออกมาถูกต้อง ผู้ที่ทายถูกต้องจะเข้าสู่รอบสุดท้ายทันที ส่วนผู้ที่ทายไม่ได้จะต้องไปสะสมทองคำต่อไป โดยเกมนี้มาแทนที่เกมแสบเจาะยาง

แสบคูณสอง รูปแบบที่ 2 (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2542)[แก้]

แสบพบญาติ[แก้]

ในเกมนี้จะมีดารารับเชิญออกมาสัปดาห์ละ 1 คน โดยทางรายการจะเรียกดารารับเชิญว่า แสบพบญาติ โดยดารารับเชิญจะพาญาติของตัวเองมาทั้งหมด 4 ท่าน โดยในแต่ละข้อจะมีคะแนนรวมทั้งหมด 6 คะแนน ดังนี้

  • ข้อที่ 1 : 1 คะแนน
  • ข้อที่ 2 : 1 คะแนน
  • ข้อที่ 3 : 2 คะแนน
  • ข้อที่ 4 : 2 คะแนน

โดยผู้แข่งขันจะต้องฟังเรื่องราวจากญาติของดารารับเชิญที่พามา แล้วต้องทายว่า ญาติที่ดารารับเชิญพามานั้นเป็นญาติตัวจริง"ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม" โดยผู้ที่มีคะแนนน้อยที่สุดจะต้องตกรอบไป ต่อมาวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2540 ได้ปรับเปลี่ยนคะแนนรวมทั้งสิ้น 8 คะแนน ดังนี้

  • ข้อที่ 1 : 1 คะแนน
  • ข้อที่ 2 : 1 คะแนน
  • ข้อที่ 3 : 2 คะแนน
  • ข้อที่ 4 : 4 คะแนน

ต่อมาตั้งแต่ 3 กันยายน พ.ศ. 2541 ถึง 18 มีนาคม พ.ศ. 2542 จะมีญาติของดารารับเชิญเหลือเพียง 3 ท่าน และคะแนนเต็มจะมีทั้งหมด 6 คะแนน ดังนี้

  • ข้อที่ 1 : 1 คะแนน
  • ข้อที่ 2 : 2 คะแนน
  • ข้อที่ 3 : 3 คะแนน

โดยที่ผู้แข่งขันคนใดสามารถทำคะแนนได้ 8 คะแนนเต็ม (6 คะแนนเต็มในภายหลัง) จะได้รับเงินรางวัลพิเศษ 5,000 บาท แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าดารารับเชิญสามารถทำให้ผู้แข่งขันท่านใดได้ 0 คะแนน ดารารับเชิญจะได้รับเงินรางวัลพิเศษ 5,000 บาท ส่วนผู้ที่ตกรอบจะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท หากมีผู้แข่งขันที่ทำคะแนนเสมอกันมากกว่า 1 คน จะต้องมาเล่นในคำถามพิเศษ โดยจะนำสิ่งของปริศนาของดารารับเชิญนำมาเป็นคำถาม โดยฟังจากเรื่องราวของดารารับเชิญและสิ่งของปริศนาที่นำมา และทายว่า สิ่งของปริศนาชิ้นนี้เป็นของดารารับเชิญ"ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม" หากผู้แข่งขันคนใดตอบถูก จะได้เข้ารอบไป โดยคำถามพิเศษนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นกติกาพิเศษครั้งแรกและครั้งเดียวของรายการที่ใช้ลักษณะนี้ โดยผู้ที่ตกรอบจากกติกาพิเศษเปิดป้ายวัดดวงเป็นคนแรก คือ จุฑามาศ จันทรศร

ต่อมาปรับเปลี่ยนมาเป็นการเปิดป้ายวัดดวง โดยจะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 6 แผ่นป้าย และจะมีคะแนนตั้งแต่ 0 , 1 , 2 , 3 , 4 , 5 คะแนน และจะต้องเลือกมาคนละ 1 แผ่นป้าย หากผู้แข่งขันคนใด้เปิดได้คะแนนมากกว่า จะได้เข้ารอบไป ส่วนผู้แข่งขันที่เปิดได้คะแนนน้อยกว่า หรือหากเปิดเจอ 0 คะแนน จะตกรอบทันที โดยกติกาพิเศษนี้เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดยผู้ที่ตกรอบจากกติกาพิเศษเปิดป้ายวัดดวงเป็นคนแรก คือ วฤนดา สมศิริ

แสบปริศนา[แก้]

กติกา คือ ผู้แข่งขันจะถูกแบ่งเป็น 2 ทีม แล้วทำการทายสิ่งของปริศนาผ่านละคร 1 เรื่อง โดยจะเกริ่นถึงสิ่งของปริศนาชิ้นนี้ในแต่ละสัปดาห์ วิธีการถามคือ ผู้แข่งขันต้องถามคำถามแล้วต้องต่อท้ายด้วยว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ สามารถถามได้สูงสุด 5 คำถาม ถ้าพิธีกรบอกว่า ใช่ จะสามารถถามต่อได้ แต่ถ้าพิธีกรบอกว่า ไม่ใช่ สิทธิ์ในการถามคำถามจะตกเป็นของอีกทีมทันที โดยการถามนั้นจะถามไปเรื่อยๆ จะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อมีทีมที่ทายของได้ถูกต้อง ทีมที่ทายถูกจะเข้ารอบทันที ส่วนทีมที่ตกรอบ จะไดรับเงินรางวัลคนละ 15,000 บาท ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนเป็นให้ผู้ที่ตกรอบไปสะสมทองคำ ต่อมาปรับเปลี่ยนเป็นผู้ที่ตกรอบจะได้ทองคำที่ช่วยกันสะสมไว้ในรอบก่อนหน้านั้นกลับบ้านไป

ในรูปแบบแรกสุดนั้น พิธีกรจะให้คำใบ้ครั้งละ 1 คำใบ้ ต่อมาจะเป็นคำใบ้จากผู้สนับสนุนหลักในช่วง 10 คำใบ้ และปรับเปลี่ยนมาเป็นการเลือกคำใบ้จากนักแสดงในรายการ 5 คน โดยจะมีคนละ 2 คำใบ้ โดยเลือกแล้วไม่สามารถเลือกซ้ำได้ ต้องเลือกจนครบ 5 คนก่อนถึงจะเลือกได้อีก 1 ครั้ง (บางสัปดาห์จะมีถึง 12 คำใบ้ จากนักแสดงในรายการ 6 คน)

แสบไม่รู้ตัว[แก้]

กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย ในแต่ละแผ่นป้ายจะมีคำใบ้อยู่แผ่นป้ายละ 1 คำใบ้ โดยแต่ละคำใบ้จะเกี่ยวข้องกับบุคคลปริศนาที่นำมาเป็นคำถาม โดยผู้ที่ทายจะมีเวลาพูดชื่อบุคคลปริศนาออกมาภายใน 5 วินาที หากยังไม่มีชื่อที่ถูกต้อง สิทธิ์ในการตอบจะเป็นของผู้แข่งขันอีกคนทันที เกมจะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อมีผู้ที่พูดชื่อบุคคลปริศนาออกมาถูกต้อง ผู้ที่ทายถูกต้องจะเข้าสู่รอบสุดท้ายทันที ส่วนผู้ที่ตกรอบจะต้องไปสะสมทองคำต่อไป โดยเกมนี้ใช้จนถึงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2540

แสบคูณสอง แลกหมัด (1 เมษายน - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2542)[แก้]

ในรูปแบบนี้จะมีเกณฑ์คะแนนตัดสินที่ว่า ทั้ง 2 รอบ ผู้แข่งขันคนใดสามารถทำคะแนนได้ 6 คะแนนเต็ม จะได้รับเงินรางวัลพิเศษจากทางรายการ 5,000 บาท ต่อมาได้รับเงินรางวัลจากผู้สนับสนุนของรายการ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าดารารับเชิญสามารถทำให้ผู้แข่งขันท่านใดได้ 0 คะแนน จะได้รับเงินรางวัลพิเศษ 5,000 บาท ต่อมาเปลี่ยนกติกาเป็นถ้าทีมใดตกรอบ จะได้เงินรางวัลจากผู้สนับสนุนของรายการ 20,000 บาท โดยแบ่งเป็น 2 เกม 3 ช่วง ดังนี้

แสบพบญาติ[แก้]

ในเกมนี้จะต่างจากยุคที่ 2 เล็กน้อย โดยจะมีญาติของผู้เข้าแข่งขันออกมาสัปดาห์ละ 2 คน โดยในแต่ละข้อจะมีคะแนนรวมทั้งหมด 3 คะแนน ดังนี้

  • ญาติคนที่ 1 : 1 คะแนน
  • ญาติคนที่ 2 : 2 คะแนน

โดยผู้แข่งขันจะต้องฟังเรื่องราวจากญาติของดาราที่พามา แล้วต้องทายว่า ญาติที่ดารารับเชิญพามานั้น"ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม" และตั้งแต่ 24 มิถุนายนเป็นต้นมา จะใช้รูปแบบเดียวกับยุคที่ 2 แต่จะต่างตรงที่จะมีดารารับเชิญออกมาสัปดาห์ละ 2 คน และพาญาติออกมารอบละ 1 คน

แสบไม่รู้ตัว[แก้]

เกมนี้จะต่างจากยุคแรกและยุคที่ 2 โดยสิ้นเชิง กติกาคือ จะมีละคร 1 เรื่อง แล้วจะพาบุคคลออกมา 2 คน (บุคคลที่ทางรายการพามาในแต่ละสัปดาห์ เช่น บาร์เทนเนอร์ คนเจียระไนเพชร เป็นต้น) โดยจะต้องฟังเรื่องราวคร่าวๆจากบุคคลที่พามา แล้วพิธีกรเลือกมา 1 คน ว่าบุคคลที่พามา (บุคคลที่ทางรายการพามาในแต่ละสัปดาห์) พิธีกร ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม โดยในรูปแบบแรก ผู้ที่ซักถามบุคคลที่พามาจะแบ่งเป็น บุคคลปริศนาคนที่ 1 อยู่คู่กับเท่งและจิ้ม บุคคลปริศนาคนที่ 2 อยู่คู่กับติ๊กและแดนนี่ ต่อมาพิธีกรจะเป็นคนซักถาม และนักแสดงในรายการจะเป็นผู้สาธิตในบางสัปดาห์ โดยในรอบนี้มีคะแนน 3 คะแนน

แสบคูณสอง ยกแก๊ง (6 มกราคม พ.ศ. 2543 - 11 มกราคม พ.ศ. 2544)[แก้]

ในรูปแบบนี้จะมีเกณฑ์คะแนนตัดสินที่ว่า ผู้แข่งขันที่มีคะแนนมากที่สุดจะได้เข้าสู่รอบสุดท้าย ส่วนผู้ที่ตกรอบจะได้รับเงินรางวัลจากผู้สนับสนุนของรายการคนละ 10,000 บาท โดยในแต่ละรอบนั้น หลังจบเกมในแต่ละรอบ จะมีแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักในช่วงทั้งหมด 15 แผ่นป้าย ในรอบที่ 1 และ 2 จะมีคะแนน 1 , 2 , 3 คะแนน อย่างละ 5 แผ่นป้าย ส่วนรอบที่ 3 จะมีคะแนนตั้งแต่ 0 , 1 , 2 , 3 , 4 คะแนน อย่างละ 3 แผ่นป้าย โดยแผ่นป้ายคะแนนที่เลือกและถูกเปิดออกมานั้น จะนำไปรวมกับคะแนนสะสมที่มีอยู่ หากแต่ว่าในรอบที่ 3 ถ้ามีผู้แข่งขันที่ทำคะแนนเสมอกัน จะต้องเปิดแผ่นป้ายอีกคนละ 1 แผ่นป้าย แต่จะไม่นำไปรวมกับคะแนนสะสมที่มีอยู่ แต่จะนับที่ผู้แข่งขันคนใดเปิดได้คะแนนมากกว่าจะได้เข้ารอบสุดท้ายไป

เส้นผมบังภูเขา[แก้]

กติกา คือ จะมีคำถามทั้งหมด 5 คำถาม โดยเลือกมา 1 คำถาม ในแต่ละคำถามจะเป็นคำถามเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปต่าง ๆ แล้วต้องทายว่า"ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม" หากผู้แข่งขันตอบถูกจะได้รับ 1 คะแนนสะสมไปก่อน หากในกรณีตอบผิดจะไม่ได้รับคะแนนสะสมเพิ่ม ส่วนคำถามความรู้ทั่วไปนั้น บางสัปดาห์จะมีการทดลองให้ดูเป็นกรณีศึกษา หรือนำสิ่งของที่นำมาเป็นคำถามมาพิสูจน์เรื่องราว เช่น กระดาษ 1 แผ่น สามารถพับทบกันได้ไม่เกินกี่ครั้ง , ลูกคิดมีทั้งหมดกี่ลูก เป็นต้น หรือในกรณีที่เป็นคำถามความรู้ทั่วไปในโหมดการนับ เช่น 7 วันเรียงกัน ดังนี้ เมื่อวานซืน เมื่อวาน วันนี้ วันพรุ่งนี้ วันมะรืนนี้ วันพุธ วันพฤหัสบดี วันนี้คือวันอะไร

แก๊งลูกหมู[แก้]

กติกา คือ จะมีบุคคลปริศนาออกมาทั้งหมด 3 คน ซึ่งเป็นบุคคลที่มีอาชีพที่หาดูได้ยากในประเทศไทย เช่น ช่างทำบาตรพระ หมอทำขวัญ เป็นต้น โดยก่อนที่จะเริ่มเล่นเกมนั้น จะเปิดตัวแก๊งลูกหมูออกมาก่อน (ในระยะแรกสุดจะเป็น เท่ง-ธง-ไทด์ ระยะต่อมาจะเป็น ธง-ไทด์) โดยผู้แข่งขันจะต้องฟังเรื่องราวคร่าว ๆ จากบุคคลปริศนา และจะต้องตอบมาว่า บุคคลปริศนาคนนี้เป็นเจ้าของอาชีพปริศนานี้"ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม" ในแต่ละข้อจะมีคะแนนทั้งหมด 3 คะแนน ข้อละ 1 คะแนน โดยในเกมนี้เป็นเกมที่นำเกมแสบไม่รู้ตัวของยุคแลกหมัดมาปรับเปลี่ยนกติกาเล็กน้อย

แสบพบญาติ [แสบ BIG STORY][แก้]

ในเกมนี้จะต่างจากยุคอื่นๆ โดยสิ้นเชิง โดยจะมีละคร 1 เรื่อง แล้วจะพาดารารับเชิญออกมา โดยทางรายการจะเรียกดารารับเชิญว่า แสบพบญาติ โดยดารารับเชิญจะพาญาติของตัวเองมาทั้งหมด 3 คน โดยในแต่ละข้อจะมีคะแนนข้อละ 1 คะแนน รวมทั้งสิ้น 3 คะแนน (แต่ในรูปแบบแรกดารารับเชิญ จะพาญาติออกมา 1 คน แต่มีคะแนน 3 คะแนน) โดยผู้แข่งขันจะต้องฟังเรื่องราว จากญาติของดาราที่พามา แล้วต้องทายว่า ญาติที่ดารารับเชิญพามานั้น"ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม"

แสบ MY STORY[แก้]

ในเกมนี้จะเป็นการทายเรื่องราวส่วนตัวของ แสบพบญาติ ที่มาในแต่ละสัปดาห์ แล้วต้องทายว่า เรื่องราวส่วนตัวของแสบรับเชิญนั้นเป็นเรื่องจริง"ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม"

รอบสะสมเงินรางวัล[แก้]

รอบสะสมเงินรางวัลจะแบ่งเป็น 2 รอบ โดยจะสะสมเงินรางวัลให้กับผู้ที่เข้าไปในรอบสุดท้ายได้ โดยจะแบ่งเป็นการสะสมเงินรางวัลกับสะสมทอง [เดิมจะให้ผู้ที่ตกรอบในรอบแสบไม่รู้ตัว / แสบปริศนา (ยุคแรก) มาสะสมทอง ต่อมาเปลี่ยนเป็นการสะสมให้กับผู้ที่ชนะในรอบแสบไม่รู้ตัว (ยุคแลกหมัด)] และในยุคท้ายของแสบคูณสอง แลกหมัด ได้ปรับเปลี่ยนเป็นการสะสมเงินรางวัลทั้ง 2 รอบ

เฮง - ซวย (2540 - 2541)[แก้]

กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นป้าย เฮง ทั้งหมด 10 แผ่นป้าย และป้าย ซวย 2 แผ่นป้าย โดยแต่ละแผ่นป้าย ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอเฮง จะได้รับเงินรางสะสมไปก่อน 10,000 บาท ถ้าเปิดเจอเฮงครบ 10 แผ่นป้าย จะได้รับเงินสะสม 100,000 บาท แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอซวย จะต้องเปิดอีก 1 แผ่นป้ายเพื่อให้เจอซวย ถ้าเปิดเจอซวยครบ 2 ใบ จะได้รับเงินสะสม 50,000 บาท ซึ่งในเกมนี้ เคยมีเหตุการณ์ JACKPOT แตก 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2540[7] และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540

สิบล้อเบรกแตก (2541)[แก้]

กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้าย เฟสสัน 10,000 ทั้งหมด 10 แผ่นป้าย และแผ่นป้าย สิบล้อเบรกแตก 2 แผ่นป้าย โดยแต่ละแผ่นป้าย ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอเฟสสัน จะได้รับเงินรางสะสมไปก่อน 10,000 บาท ถ้าเปิดเจอเฟสสันครบ 10 แผ่นป้าย จะได้รับเงินสะสม 100,000 บาท แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอสิบล้อเบรกแตก จะต้องเปิดอีก 1 แผ่นป้ายเพื่อให้เจอสิบล้อเบรกแตก ถ้าเปิดเจอสิบล้อเบรกแตกครบ 2 ใบ จะได้รับเงินสะสม 50,000 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้ คือ จักรยานเฟสสัน[8])

โซฟี-ซีโฟ (2541 - 2542)[แก้]

กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นป้าย โซฟี ทั้งหมด 10 แผ่นป้าย และป้าย ระเบิด C-4 2 แผ่นป้าย โดยแต่ละแผ่นป้าย ใบแรกเปิดออกมาเจอโซฟี จะได้รับเงินรางสะสมไปก่อน 10,000 บาท ถ้าเปิดเจอโซฟีครบ 10 แผ่นป้าย จะได้รับเงินสะสม 100,000 บาท แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอระเบิด C-4 จะต้องเปิดอีก 1 แผ่นป้ายเพื่อให้เจอระเบิด C-4 ถ้าเปิดเจอระเบิด C-4 ครบ 2 ใบ จะได้รับเงินสะสม 50,000 บาท

ต่อมาเมื่อเข้ายุคแลกหมัด มีการเปลี่ยนกติกาเล็กน้อย โดยแต่ละแผ่นป้าย ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอโซฟี จะได้รับเงินรางสะสมไปก่อน 5,000 บาท ถ้าเปิดเจอโซฟีครบ 10 แผ่นป้าย จะได้รับเงินสะสม 50,000 บาท แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอระเบิด C-4 จะต้องเปิดอีก 1 แผ่นป้ายเพื่อให้เจอระเบิด C-4 ถ้าเปิดเจอระเบิด C-4 ครบ 2 ใบ จะได้รับเงินสะสม 25,000 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้ คือ ผ้าอนามัยโซฟี โดยจะแบ่งเป็น 2 สี สีละ 5 แผ่นป้าย)

เจ้างูน้อย (2542)[แก้]

กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้าย โนเกีย ทั้งหมด 10 แผ่นป้าย [จะเป็นสีของโทรศัพท์มือถือโนเกียที่มีวางจำหน่าย ณ ขณะนั้น คือ สีแดง สีเขียว สีส้ม สีน้ำเงิน สีเหลือง สีดำ สีเงิน] และแผ่นป้าย เจ้างูน้อย 2 แผ่นป้าย ในแต่ละแผ่นป้ายหากเปิดเจอแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก จะได้รับเงินรางวัลแผ่นป้ายละ 5,000 บาท ถ้าเปิดเจอแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักครบ 10 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัลสะสม 50,000 บาท แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอเจ้างูน้อยจะต้องเปิดอีก 1 แผ่นป้ายเพื่อให้เจอเจ้างูน้อย ถ้าเปิดเจอเจ้างูน้อย ครบ 2 ใบ จะได้รับเงินสะสม 25,000 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้ คือ โทรศัพท์ NOKIA 5100 และ NOKIA 5130[9])

ลิโพวิตันดี - ลิโพพลัส (2542)[แก้]

กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้าย ลิโพวิตันดี 8 แผ่นป้าย และแผ่นป้าย ลิโพพลัส 4 แผ่นป้าย โดยจะมีเงินรางวัลสะสมตั้งต้นที่ 50,000 บาท โดยแต่ละแผ่นป้าย ถ้าเปิดเจอลิโพวิตันดี จะถูกหักเงินรางวัลออกไปใบละ 5,000 บาท จนกว่าจะเจอลิโพพลัสครบทั้ง 4 แผ่นป้าย แต่ถ้าเปิดเจอลิโพพลัสครบ 4 ใบโดยที่ไม่เจอลิโพวิตันดี จะได้รับเงินรางวัลตั้งต้นสะสมไป 50,000 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้ คือ เครื่องดื่มลิโพวิตันดี และ ลิโพพลัส)

น้ำมันพืชหยก (2542)[แก้]

กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้าย น้ำมันพืชหยก ทั้งหมด 10 แผ่นป้าย และแผ่นป้าย แสบ 2 แผ่นป้าย โดยแต่ละแผ่นป้าย ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอน้ำมันพืชหยก จะได้รับเงินรางสะสมไปก่อน 5,000 บาท ถ้าเปิดเจอน้ำมันพืชหยกครบ 10 แผ่นป้าย จะได้รับเงินสะสม 50,000 บาท แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอแสบจะต้องเปิดอีก 1 แผ่นป้ายเพื่อให้เจอแสบ ถ้าเปิดเจอแสบ ครบ 2 ใบ จะได้รับเงินสะสม 25,000 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้ คือ น้ำมันพืชหยก)

รอบตกรอบ / รอบสะสมทอง[แก้]

รอบตกรอบจะเป็นการสะสมทองเฉพาะผู้ที่ตกรอบในรอบแสบไม่รู้ตัว (ยุคแรก) ต่อมาปรับเปลี่ยนให้ผู้ที่ตกรอบในรอบแสบปริศนา และปรับเปลี่ยนโดยการช่วยกันสะสม โดยผู้ที่ตกรอบในรอบแสบปริศนา จะได้รับทองคำที่สะสมไปก่อนหน้านั้นไป

เต่าทองเท็น - เท็น (2540)[แก้]

กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้าย เต่าทองเท็น-เท็น ทั้งหมด 10 แผ่นป้าย และแผ่นป้าย แสบ 2 แผ่นป้าย (แผ่นป้ายตัวหยุดในรูปแบบแรก ป้ายตัวหยุดจะเป็นหน้ากิ๊กกับหน้าติ๊ก อย่างละ 1 แผ่นป้าย) ในแต่ละแผ่นป้ายหากเปิดเจอแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก จะได้รับทองคำแผ่นป้ายละ 1 บาท ถ้าเปิดเจอแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักครบ 10 แผ่นป้าย จะได้รับทองคำหนัก 10 บาท แต่ถ้าหากเปิดเจอแผ่นป้ายแสบ ก็จะได้ทองคำที่สะสมก่อนหน้านั้นไป แต่ในบางกรณีพิธีกรอาจจะมีการแถมให้โดยการเปิดแผ่นป้ายเพิ่ม แล้วแต่ความประสงค์ของรายการ หรือถ้าในกรณีผู้แข่งขันเปิดเจอแสบเป็นใบแรก พิธีกรอาจจะแถมให้โดยการเปิดเจอแสบอีก 1 ใบ เพื่อที่จะได้ทองคำหนัก 5 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้ คือ เต่าทองเท็น - เท็น[10])

BLACKCAT แบล็คไทย (2540 - 2541)[แก้]

กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้าย BLACKCAT ทั้งหมด 10 แผ่นป้าย และแผ่นป้าย แสบ 2 แผ่นป้าย ในแต่ละแผ่นป้ายหากเปิดเจอแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก จะได้รับทองคำแผ่นป้ายละ 2 บาท ถ้าเปิดเจอแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักครบ 10 แผ่นป้าย จะได้รับทองคำหนัก 20 บาท แต่ถ้าหากเปิดเจอแผ่นป้ายแสบ ก็จะได้ทองคำที่สะสมก่อนหน้านั้นไป แต่ในบางกรณีพิธีกรอาจจะมีการแถมให้โดยการเปิดแผ่นป้ายเพิ่ม แล้วแต่ความประสงค์ของรายการ หรือถ้าในกรณีผู้แข่งขันเปิดเจอแสบเป็นใบแรก พิธีกรอาจจะแถมให้โดยการเปิดเจอแสบอีก 1 ใบ เพื่อที่จะได้ทองคำหนัก 10 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้ คือ BLACKCAT แบล็คไทย)

น้ำมันพืชมรกต (2542)[แก้]

กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้าย น้ำมันพืชมรกต ทั้งหมด 10 แผ่นป้าย และแผ่นป้าย แสบ 2 แผ่นป้าย ในแต่ละแผ่นป้ายหากเปิดเจอแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก จะได้รับทองคำแผ่นป้ายละ 2 บาท ถ้าเปิดเจอแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักครบ 10 แผ่นป้าย จะได้รับทองคำหนัก 20 บาท แต่ถ้าหากเปิดเจอแผ่นป้ายแสบ ก็จะได้ทองคำที่สะสมก่อนหน้านั้นไป ต่อมาเปลี่ยนกติกาเล็กน้อย ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอแสบจะต้องเปิดอีก 1 แผ่นป้ายเพื่อให้เจอแสบ ถ้าเปิดเจอแสบ ครบ 2 ใบ จะได้รับทองคำหนัก 10 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้ คือ น้ำมันพืชมรกต[11])

ต่อมาเมื่อเข้ายุคแลกหมัด มีการเปลี่ยนกติกาเล็กน้อย ในแต่ละแผ่นป้ายหากเปิดเจอแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลัก จะได้รับทองคำแผ่นป้ายละ 1 บาท ถ้าเปิดเจอแผ่นป้ายผู้สนับสนุนหลักครบ 10 แผ่นป้าย จะได้รับทองคำหนัก 10 บาท แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอแสบ จะต้องเปิดอีก 1 แผ่นป้ายเพื่อให้เจอแสบ ถ้าเปิดเจอแสบ ครบ 2 ใบ จะได้รับทองคำสะสมหนัก 5 บาท ในบางกรณีพิธีกรอาจจะมีการแถมให้โดยการเปิดแผ่นป้ายเพิ่ม แล้วแต่ความประสงค์ของรายการ

รอบสุดท้าย[แก้]

กติกาในยุคแสบคูณสอง (2540 - 2542)[แก้]

กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย แบ่งเป็นแผ่นป้าย แสบคูณสอง 6 แผ่นป้าย และแผ่นป้าย แสบหารสอง 6 แผ่นป้าย และมีเงินรางวัลเริ่มต้นที่ 10,000 บาท โดยเลือกมา 6 แผ่นป้าย ในแต่ละแผ่นป้าย ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอแผ่นป้าย แสบคูณสอง เงินรางวัลที่มีอยู่จะ X2 ทันที เช่น จากเดิมเงินรางวัลเริ่มต้น 10,000 บาท จะเพิ่มขึ้นเป็น 20,000 บาท แต่ถ้าเปิดออกมาเจอแผ่นป้าย แสบหารสอง เงินรางวัลที่มีอยู่จะหาร 2 ทันที เช่น จากเดิมเงินรางวัลเริ่มต้น 10,000 บาท จะถูกลดลงเหลือ 5,000 บาท ถ้าเปิดเจอ แสบคูณสอง ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 1,280,000 บาท โดยแบ่งเป็นผู้แข่งขันและผู้โชคดีทางบ้านที่ส่งชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนหลักมาร่วมสนุกคนละ 640,000 บาท

ต่อมาปรับกติกาเล็กน้อย กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยจะมีป้าย แสบคูณสอง 6 แผ่นป้าย และป้าย แสบหารสอง 6 แผ่นป้าย โดยจะมีเงินรางวัลเริ่มต้นที่ 20,000 บาท โดยแต่ละแผ่นป้าย ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอ แสบคูณสอง เงินรางวัลที่มีอยู่จะ X2 ทันที เช่น จากเดิมเงินรางวัลเริ่มต้น 20,000 บาท จะเพิ่มขึ้นเป็น 40,000 บาท แต่ถ้าเปิดออกมาเจอ แสบหารสอง เงินรางวัลที่มีอยู่จะหาร 2 ทันที เช่น จากเดิมเงินรางวัลเริ่มต้น 20,000 บาท จะถูกลดลงเหลือ 10,000 บาท ถ้าเปิดเจอ แสบคูณสอง ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 2,560,000 บาท โดยแบ่งเป็นผู้แข่งขันและผู้โชคดีทางบ้านที่ส่งชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนหลักมาร่วมสนุกคนละ 1,280,000 บาท

ต่อมาปรับกติกาใหม่ กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยจะมีป้าย แสบคูณสอง 6 แผ่นป้าย และป้าย แสบหารสอง 6 แผ่นป้าย โดยจะมีเงินรางวัลเริ่มต้นที่ 20,000 บาท โดยแต่ละแผ่นป้าย ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอ แสบคูณสอง จะได้เงินรางวัลใบละ 20,000 บาท แต่ถ้าเปิดออกมาเจอ แสบหารสอง จะไม่ได้รับเงินรางวัลสะสมเพิ่ม ถ้าเปิดเจอ แสบคูณสอง ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 2,000,000 บาท โดยแบ่งเป็นผู้แข่งขันและผู้โชคดีทางบ้านที่ส่งชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนหลักมาร่วมสนุกคนละ 1,000,000 บาท และในทางตรงกันข้าม ถ้าเปิดเจอ แสบหารสอง ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 200,000 บาท โดยจะได้เฉพาะผู้แข่งขันฝ่ายเดียว

ต่อมาปรับกติกาเล็กน้อย กติกาคือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยจะมีป้าย แสบคูณสอง 6 แผ่นป้าย และป้าย แสบหารสอง 6 แผ่นป้าย โดยเงินรางวัลที่ได้ในรอบนี้จะไปรวมกับเงินที่สะสมในรอบก่อน ๆ โดยแต่ละแผ่นป้าย ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอ แสบคูณสอง จะได้เงินรางวัลใบละ 20,000 บาท แต่ถ้าเปิดออกมาเจอ แสบหารสอง ก็จะไม่ได้รับเงินรางวัลไป ถ้าเปิดเจอ แสบคูณสอง ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 2,000,000 บาท โดยแบ่งเป็นผู้แข่งขันและผู้โชคดีทางบ้านที่ส่งชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนหลักมาร่วมสนุกคนละ 1,000,000 บาท และในทางตรงกันข้าม ถ้าเปิดเจอ แสบหารสอง ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 200,000 บาท โดยจะได้เฉพาะผู้แข่งขันฝ่ายเดียว

นอกจากนี้ผู้โชคดีทางบ้านจะได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท ในแต่ละสัปดาห์ (ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้ คือ เครื่องดื่มตรา ซัมเมอร์ ต่อมาเปลี่ยนผู้สนับสนุนหลักเป็นเครื่องดื่มลิปตันไอซ์ที ตามลำดับ) และในช่วงหนึ่งที่เครื่องดื่มตรา ซัมเมอร์เป็นสปอนเซอร์หลัก ชิ้นส่วนฝาวงแหวนบนกระป๋องของผลิตภัณฑ์ที่มีรอยยิงเลเซอร์โลโก้ของเครื่องดื่มซัมเมอร์ จะนำไปรวบรวมและผลิตออกมาเป็นขาเทียมให้กับผู้พิการ

กติกาในยุคแสบคูณสอง แลกหมัด (2542)[แก้]

กติกาคือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยจะมีป้าย แสบคูณสอง 6 แผ่นป้าย และป้าย แสบหารสอง 6 แผ่นป้าย โดยเงินที่ได้ในรอบนี้จะไปรวมกับเงินที่สะสมในรอบก่อน ๆ โดยแต่ละแผ่นป้าย ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอ แสบคูณสอง จะได้เงินรางวัลใบละ 10,000 บาท แต่ถ้าเปิดออกมาเจอ แสบหารสอง ก็จะไม่ได้รับเงินรางวัลไป ถ้าเปิดเจอ แสบคูณสอง ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 2,000,000 บาท โดยแบ่งเป็นผู้แข่งขันและผู้โชคดีทางบ้านที่ส่งชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนหลักมาร่วมสนุกคนละ 1,000,000 บาท และในทางตรงกันข้าม ถ้าเปิดเจอ แสบหารสอง ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 200,000 บาท โดยจะได้เฉพาะผู้แข่งขันฝ่ายเดียว โดยกติการูปแบบนี้ใช้ตั้งแต่ 1 เมษายน - 17 มิถุนายน พ.ศ. 2542 และตั้งแต่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2542 ได้กลับมาใช้กติกาแบบยุคที่ 2 (ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้ คือ เครื่องดื่มลิปตันไอซ์ที)

กติกาในยุคแสบคูณสอง ยกแก๊ง (2543 - 2544)[แก้]

กติกาคือ จะมีแผ่นป้ายทั้งหมด 12 แผ่นป้าย โดยจะมีป้าย แสบคูณสอง 6 แผ่นป้าย และป้าย แสบหารสอง 6 แผ่นป้าย โดยเงินที่ได้ในรอบนี้จะไปรวมกับเงินที่สะสมในรอบก่อน ๆ ถ้าใบแรกเปิดออกมาเจอ แสบคูณสอง จะได้เงินรางวัลใบละ 10,000 บาท แต่ถ้าเปิดออกมาเจอ แสบหารสอง ก็จะไม่ได้รับเงินรางวัลไป ถ้าเปิดเจอ แสบคูณสอง ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 1,000,000 บาท โดยแบ่งเป็นผู้แข่งขันและผู้โชคดีทางบ้านที่ส่งชิ้นส่วนของผู้สนับสนุนหลักมาร่วมสนุกคนละ 500,000 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้ คือ เจลอาบน้ำปาล์มโอลีฟ ต่อมาเปลี่ยนผู้สนับสนุนหลักเป็นผลิตภัณฑ์ตราสก็อต ตามลำดับ) นอกจากนี้ผู้โชคดีทางบ้านจะได้รับทองคำหนัก 2 บาท ในแต่ละสัปดาห์ และทุก ๆ 2 เดือน หาก JACKPOT ไม่แตก จะมีการจับชิ้นส่วนของผู้ชมทางบ้านที่ส่งมาร่วมสนุก หากจับขึ้นมาเป็นชื่อของใคร จะได้รับทองคำหนักครึ่งกิโลกรัม

ละครแสบ[แก้]

ละครแสบในรูปแบบแรก จะเป็นสถานการณ์จำลองเพื่อนำสิ่งของปริศนาออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ต่อมาปรับเปลี่ยนมาเป็นละคร (ตั้งแต่ 15 กุมภาพันธ์ - 26 เมษายน พ.ศ. 2540 จะมีละครแสบ 2 เรื่อง ต่อมาตั้งแต่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป ละครแสบจะมี 1 เรื่อง) โดยตอนสุดท้ายของแต่ละตอน จะเป็นการเกริ่นเกี่ยวกับสิ่งของ (ยุคแรก) บุคคลที่พามาในอาชีพนั้นๆ (แลกหมัด) ดารารับเชิญ (ยกแก๊ง) ว่า ของชิ้นนี้มันคืออะไร บุคคลปริศนาที่พามานั้นเป็นเจ้าของอาชีพปริศนานี้ ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม ดารารับเชิญที่มาในแต่ละสัปดาห์จะเป็นใคร

แสบการกุศล[แก้]

แสบการกุศล เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2541 โดยตัวงานจะเป็นการนำของที่ดารามามอบให้ในรายการและมีการตั้งราคาของมาให้ประมูลกันในงาน และจะมีโชว์รายการ แสบคูณสอง ทุกอย่าง แต่จะแตกต่างที่ ผู้ที่มาร่วมงานในครั้งนั้น สามารถมาร่วมเล่นเกมกับรายการได้เลย โดยแสบการกุศลจัดขึ้นมาโดยหลักจะมี 4 ครั้ง และจะมี โดยสถานที่ที่จัดจะแตกต่างกัน ดังนี้

แสบการกุศล
ครั้งที่ สถานที่ วันที่จัดงาน หมายเหตุ
1 ศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ ห้วยขวาง 18 มกราคม พ.ศ. 2541
2 โรงภาพยนตร์ MAJOR CINEPLEX สาขารัชโยธิน 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
3 บริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด 27 มีนาคม พ.ศ. 2542 เนื่องจากของประมูลของดาราที่มาประมูลเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ยังไม่หมด
4 โรงภาพยนตร์ MAJOR CINEPLEX สาขารัชโยธิน 29 - 30 เมษายน พ.ศ. 2543

การผลิต VCD และ DVD[แก้]

ในรายการ แสบคูณสอง ได้มีการผลิตวีซีดี โดยจะใช้ชื่อชุดว่า "ฮาล้นจอ" ซึ่งจะรวมละครแสบ ตั้งแต่ปี 2540 - 2543 ชุดละ 4 ตอน และผลิต DVD โดยจะใช้ชื่อชุดว่า "ฮาสะเทือน ตับตับตับ" ซึ่งจะรวมละครแสบ ชุดละ 16 ตอน โดยผู้ผลิตและผู้ถือลิขสิทธิ์ คือ บริษัท อีวีเอส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เช่นเดียวกับรายการ ชิงร้อยชิงล้าน และ เกมพันหน้า

อ้างอิง[แก้]

  1. "รายการ.. "แสบคูณสอง" ..(เทป 1) - YouTube". www.youtube.com.
  2. "รายการ.. "แสบคูณสอง" ..(เทป 14).. แสบรับเชิญ : "วิลลี่ แมคอิททอช" - YouTube". www.youtube.com.
  3. "รายการ.. "แสบคูณสอง" ..(เทป 35).. แสบรับเชิญ : "ญานี จงวิสุทธิ์" - YouTube". www.youtube.com.
  4. "รายการ.. "แสบคูณสอง" ..(เทป 79).. แสบรับเชิญ : "โดม ปกรณ์ ลัม" - YouTube". www.youtube.com.
  5. นับรวมจากเงินรางวัลสะสมทั้งรายการ
  6. "รายการ.. "แสบคูณสอง" แสบรับเชิญ : " กิ๊ก สุวัจนี " - YouTube". www.youtube.com.
  7. "รายการ.. "แสบคูณสอง" ..(เทป 37).. แสบรับเชิญ : "ยอดรัก สลักใจ" - YouTube". www.youtube.com.
  8. "รายการ.. "แสบคูณสอง" ..(เทป 60).. แสบรับเชิญ : "ศรราม เทพพิทักษ์" - YouTube". www.youtube.com.
  9. "รายการ.. "แสบคูณสอง" แสบรับเชิญ : " ปู แบล็คเฮด " - YouTube". www.youtube.com.
  10. "รายการ.. "แสบคูณสอง" ..(เทป 3) - YouTube". www.youtube.com.
  11. "รายการ.. "แสบคูณสอง" ..(เทป 95).. แสบรับเชิญ : "โอ วรุฒ" - YouTube". www.youtube.com.
ก่อนหน้า แสบคูณสอง ถัดไป
ไม่มี แสบคูณสอง
(1 กุมภาพันธ์ 2540 - 11 มกราคม 2544)
เกมพันหน้า