เกมพันหน้า
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป (ตุลาคม 2020) |
เกมพันหน้า | |
---|---|
ประเภท | เกมโชว์ |
พัฒนาโดย | บริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด |
พิธีกร | เกียรติ กิจเจริญ ติ๊ก กลิ่นสี ไดอาน่า จงจินตนาการ (2546-2547) |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ประเทศไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการสร้าง | เกียรติ กิจเจริญ ติ๊ก กลิ่นสี |
ความยาวตอน | 60 นาที (2546-2547), 75 นาที (2544-2546) |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่อง 7 สี (18 มกราคม พ.ศ. 2544—26 ธันวาคม พ.ศ. 2547) |
ออกอากาศ | 18 มกราคม พ.ศ. 2544 – 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | |
แสบคูณสอง แฟนคลับ |
เกมพันหน้า เป็นรายการเกมโชว์ที่พัฒนาต่อจากรายการ แสบคูณสอง โดยเปลี่ยนทั้งชื่อ ฉาก และรูปแบบรายการ รวมทั้งเป็นรายการประเภทเกมโชว์ในลำดับที่ 3 ของ บริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ ทาง สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และยุติการออกอากาศเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 มีพิธีกร คือ เกียรติ กิจเจริญ , ติ๊ก กลิ่นสี และ ไดอาน่า จงจินตนาการ (2 มกราคม พ.ศ. 2546 - เมษายน พ.ศ. 2547)
ประวัติ
[แก้]รายการเกมพันหน้า เป็นรายการเกมโชว์ลำดับที่ 3 และเป็นรายการโทรทัศน์ลำดับที่ 6 ของบริษัท ทริปเปิ้ล ทู จำกัด ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2544 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ออกอากาศทุกคืนวันพฤหัสบดี เวลา 22.20 - 23.45 น. เป็นเวลา 75 นาที โดยเป็นเกมโชว์ที่เกี่ยวข้องกับการตอบคำถามเกี่ยวกับความรู้ในสิ่งต่าง ๆ เช่น ไดโนเสาร์ นก กรุงเทพฯ ในอดีต ฯลฯ และเปิดโอกาสให้ผู้ชมทางบ้านสามารถเข้ามาร่วมสนุกโดยการเขียนจดหมายมาสมัครร่วมรายการ หรือสมัครทาง Website ได้อีกด้วย โดยมีเงินรางวัลสูงสุด 1,000,000 บาท
ต่อมาตั้งแต่ 2 มกราคม พ.ศ. 2546 ทางรายการได้นำ ไดอาน่า จงจินตนาการ มาเป็นพิธีกรของรายการเพิ่มอีก 1 คน พร้อมทั้งปรับรูปแบบเกมใหม่ จากการตอบคำถามความรู้ในสิ่งต่าง ๆ มาเป็นการทายเรื่องราวจากญาติของดารารับเชิญ รวมถึงไม่มีการแจกเงินรางวัล 1,000,000 บาท แต่เป็นการนำเงินสะสมทั้งหมดให้กับผู้ที่ชนะในรอบสุดท้าย ต่อมาตั้งแต่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2546 ได้ย้ายวันและเวลาการออกอากาศ พร้อมทั้งปรับรูปแบบเกมและฉากใหม่ทั้งหมด พร้อมทั้งลดเวลาเหลือ 60 นาที ในวันอาทิตย์ เวลา 12.15 - 13.15 น. และเวลา 12.00 - 13.00 น. ตามลำดับ และยุติการออกอากาศในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 โดยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบรายการมาเป็น เกมพันหน้า เอื้ออาทร, เกมพันหน้า เดอะฮีโร่, เกมพันหน้า ซูเปอร์เซเว่น และเกมพันหน้า ป๋าจัดไป ตามลำดับ
พิธีกรและนักแสดงในรายการ
[แก้]พิธีกรหลัก
[แก้]สมาชิก | ชื่อในวงการ | ช่วงระหว่าง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
เกียรติ กิจเจริญ | ซูโม่กิ๊ก | 18 มกราคม 2544 - 26 ธันวาคม 2547 | |
ชาญณรงค์ ขันทีท้าว | ติ๊ก กลิ่นสี | ||
ไดอาน่า จงจินตนาการ | ได๋ ไดอาน่า | 2 มกราคม 2546 - เมษายน 2547 | ในเดือนเมษายน 2547 ไดอาน่าขอถอนตัวในช่วงต้นรายการ และถือว่าเป็นเทปสุดท้ายที่รับหน้าที่พิธีกร เนื่องจากว่าต้องไปศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย |
นักแสดงประจำรายการ
[แก้]สมาชิก | ชื่อในวงการ | ช่วงระหว่าง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ | เท่ง เถิดเทิง | 18 มกราคม 2544 - 26 ธันวาคม 2547 | เนื่องจากเท่งเข้าไปอยู่ในสังกัด เวิร์คพอยท์ เอนเตอร์เทนเม้นท์ ทำให้หลังจากเกมพันหน้าเปลี่ยนรูปแบบรายการจึงไม่ได้อยู่เป็นแก๊งแมวเหมียวต่อในเกมพันหน้า เอื้ออาทร (ก่อนหน้านี้เป็นนักแสดงตลกอิสระ) |
กอบโชค คล้ายสำริด | เฉื่อย เถิดเทิง | ปัจจุบันเสียชีวิตแล้วเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 | |
ดนัย ศรีภิญโญ | แดนนี่ ศรีภิญโญ | ||
ชูเกียรติ เอี่ยมสุข | นุ้ย เชิญยิ้ม |
วันและเวลาออกอากาศ
[แก้]สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ | วัน | เวลา | ช่วงระหว่าง | ระยะออกอากาศ |
---|---|---|---|---|
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 | พฤหัสบดี | 22.20 - 23.45 น. | 18 มกราคม 2544 - 29 พฤษภาคม 2546 | 75 นาที |
อาทิตย์ | 12.15 - 13.15 น. | 1 มิถุนายน 2546 - ต้นปี 2547 | 60 นาที | |
12.00 - 13.00 น. | ต้นปี 2547 - 26 ธันวาคม 2547 |
ผู้เข้าแข่งขัน
[แก้]ในเกมพันหน้ายุคแรกนั้นจะมีผู้เข้าแข่งขันเป็นดารารับเชิญ 3 คนต่อสัปดาห์ และ เซียนพันหน้าจากทางบ้านอีก 5 คน โดยดารารับเชิญจะต้องเลือกเซียนพันหน้า 1 คนไปเป็นที่ปรึกษาให้ดาราในการตอบคำถาม และหา 1 ทีมเพื่อเข้ารอบ Jackpot ต่อมาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2545 เปลี่ยนเป็นดารารับเชิญ 3 คน ผู้เข้าแข่งขันจากทางบ้าน 3 คน ต่อมามีผู้เข้าแข่งขันเป็นดารารับเชิญ 3 คนต่อสัปดาห์และหา 1 คนที่จะได้รับเงินรางวัลสะสมกลับไป และในช่วงวันที่ 1 มิถุนายน 2546 - 26 ธันวาคม 2547 ได้ปรับเปลี่ยนเป็นดารารับเชิญ 1 คน และผู้เข้าแข่งขันทางบ้านอีก 50 คน ผู้เข้าแข่งขันที่ตอบผิดในแต่ละข้อรอบใดๆ จะต้องตกรอบไป และเชิญดาราในช่วงต้นรายการเพื่อเล่นเกมทายใจดารา ผู้เข้าแข่งขันที่ยังเหลืออยู่จะได้รับเงินรางวัลที่สะสมมาแบ่งกันกลับบ้านไป
ช่วงต่าง ๆ ของรายการ
[แก้]ช่วงต่าง ๆ ของรายการเกมพันหน้า จะแบ่งเป็น 4 ช่วงหลัก ๆ โดยจะเปลี่ยนแปลงตามรูปแบบของรายการและปีที่ออกอากาศ ดังนี้
ชื่อ | ช่วงปี | หมายเหตุ |
---|---|---|
ช่วงที่ 1 | ||
ละครพันหน้า | 18 มกราคม 2544 - 26 ธันวาคม 2547 | |
ช่วงที่ 2 | ||
เซียนพันหน้า , ตอบคำถาม (ช่วงที่ 1) | 18 มกราคม 2544 - 26 ธันวาคม 2545 | |
พบญาติ | 2 มกราคม - 29 พฤษภาคม 2546 | |
ตอบคำถามจากเกจิอาจารย์ | 1 มิถุนายน 2546 - 26 ธันวาคม 2547 | |
ช่วงที่ 3 | ||
ตอบคำถาม (ช่วงที่ 2) | 18 มกราคม 2544 - 26 ธันวาคม 2545 | |
ทายใจดารา | 1 มิถุนายน 2546 - 26 ธันวาคม 2547 | |
ช่วงที่ 4 (รอบ JACKPOT) | ||
เปิดแผ่นป้ายเรียงตัวเลข | 18 มกราคม 2544 - 26 ธันวาคม 2545 | |
เปิดแผ่นป้ายสะสมคะแนน | 2 มกราคม - 29 พฤษภาคม 2546 |
เกมในเกมพันหน้า
[แก้]ในส่วนของเกมการแข่งขันในรายการเกมพันหน้านั้น สามารถแบ่งได้เป็น 4 ยุคด้วยกัน คือ ยุคแรก (18 มกราคม 2544 - 7 กุมภาพันธ์ 2545) ยุคที่ 2 (14 กุมภาพันธ์ - 26 ธันวาคม 2545) ยุคที่ 3 (2 มกราคม - 29 พฤษภาคม 2546) และยุคสุดท้าย (1 มิถุนายน 2546 - 26 ธันวาคม 2547) โดยในแต่ละยุคได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเกมในรายการอยู่เรื่อย ๆ รวมทั้งปรับฉากใหม่และเกมใหม่ในยุคสุดท้าย
ยุคแรก (18 มกราคม 2544 - 7 กุมภาพันธ์ 2545)
[แก้]ละครพันหน้า
[แก้]ในแต่ละสัปดาห์จะมีละคร 1 เรื่องจากนักแสดง 5 คน คือ เท่ง , ติ๊ก , นุ้ย , แดนนี่ และ กอบโชค (บางสัปดาห์จะมีนักแสดงสมทบเพิ่มเข้ามา หรือในบางสัปดาห์จะมีนักแสดงรับเชิญที่มาแทนนักแสดงหลักที่ติดภารกิจอื่น ๆ) โดยละครในแต่ละสัปดาห์จะมีการปูเรื่องราวถึงหัวข้อที่จะเป็นคำถามในแต่ละสัปดาห์ และจะมีการเปิดตัวผู้เชี่ยวชาญในเรื่องราวที่จะเป็นหัวข้อคำถามในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งทางรายการจะเรียกผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ว่า "เกจิอาจารย์" เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญทางด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อมาเป็นผู้วิเคราะห์ตัดสินและให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เข้าแข่งขัน จากนั้นพิธีกรจะพูดสรุปถึงสาขาอาชีพที่จะนำมาเป็นปัญหาประจำสัปดาห์ ในส่วนของละครนั้น ความยาวของละครในแต่ละตอนจะอยู่ที่ประมาณ 15 - 30 นาที แล้วแต่เรื่องที่จะนำมาแสดงกัน
เซียนพันหน้า , ตอบคำถามช่วงที่ 1
[แก้]ในแต่ละสัปดาห์ก่อนที่จะเล่นเกม จะมีผู้เข้าแข่งขันจากทางบ้านที่สมัครมาร่วมเล่นเกมในรายการจำนวน 5 คน โดยทางรายการจะเรียกว่า "เซียนพันหน้า" หลังจากเซียนพันหน้าแนะนำตัวครบทั้ง 5 คนแล้ว ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแย่งกันกดปุ่มไฟ เมื่อไฟติดที่ใคร ผู้เข้าแข่งขันจะได้สิทธิ์เลือกเซียนพันหน้าก่อน โดยทำแบบนี้จนครบ 3 คน และจากนั้นพิธีกรจะถามคำถามโดยมีคำถาม 5 ข้อ (ต่อมาแบ่งเป็นช่วงละ 4 ข้อ) ข้อละ 1 คะแนน โดยใน 1 ข้อ มีตัวเลือกให้เลือก 4 ตัวเลือก ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแย่งกันกดปุ่มไฟ เมื่อไฟติดที่ใคร ผู้เข้าแข่งขันและเซียนพันหน้าจะได้สิทธิ์ในการตอบและอธิบายว่าทำไมถึงตอบตัวเลือกนี้ เมื่อตอบออกมาแล้ว เกจิอาจารย์จะเป็นผู้เฉลยคำตอบว่าคำตอบนี้ "ถูก" หรือ "ผิด" หากตอบถูกจะได้รับ 1 คะแนน หากตอบผิดจะไม่ได้คะแนนในข้อนี้ และเกจิอาจารย์จะเฉลยว่าตัวเลือกไหนเป็นตัวเลือกที่ถูกต้อง และเมื่อถึงข้อต่อไปผู้เข้าแข่งขันจะต้องแย่งกันกดปุ่มไฟอีกครั้ง ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนครบ 5 ข้อ และในระหว่างนั้นเซียนพันหน้าที่ไม่ได้ถูกเลือกอีก 2 คนจะทำหน้าที่เสนอตัวเองให้ดารารับเชิญเลือกเข้าไปเป็นที่ปรึกษาในการตอบ
ทั้งนี้หากหากต้องการเปลี่ยนตัวเซียนพันหน้าสามารถเปลี่ยนได้ 1 ครั้ง และไม่เสียคะแนนใด ๆ แต่ถ้าต้องการแลกตัวเซียนพันหน้ากับทีมอื่น จะต้องยกคะแนนให้ฝ่ายตรงข้ามตามที่ต้องการ เมื่อครบ 5 ข้อจะมีการเปิดป้ายเพื่อสะสมคะแนนในรอบที่ 1 ทีมใดได้คะแนนรวมน้อยที่สุดจะตกรอบทันที และได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท
ตอบคำถามช่วงที่ 2
[แก้]กติกา คือ คำถามในรอบนี้จะมี 3 ข้อ (ต่อมาคำถามจะเพิ่มเป็น 4 ข้อ) ข้อละ 2 คะแนน โดยในคำถาม 1 ข้อ จะมีตัวเลือกให้เลือก 4 ตัวเลือก โดยคำถามในรอบนี้จะยากกว่ารอบที่ 1 ซึ่งจะมีภาพประกอบ ภาพ VTR หรือจะเป็นการฟังเสียง โดยเฉพาะหมวดคำถามที่เกี่ยวกับสัตว์ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแย่งกันกดปุ่มไฟ เมื่อไฟติดที่ใคร ผู้เข้าแข่งขันและเซียนพันหน้าจะได้สิทธิในการตอบ เมื่อตอบแล้ว เกจิอาจารย์จะเป็นผู้เฉลยคำตอบ และเมื่อถึงข้อต่อไปผู้เข้าแข่งขันจะต้องแย่งกันกดปุ่มไฟอีกครั้ง ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนครบ 3 ข้อ และเซียนพันหน้าท่านที่เหลืออีก 2 คนจะทำหน้าที่เสนอตัวเองให้ดารารับเชิญเลือกเข้าไปเป็นที่ปรึกษาในการตอบ ทั้งนี้หากหากต้องการเปลี่ยนตัวเซียนพันหน้า จะต้องเสียคะแนน 1 คะแนน และหากต้องการแลกตัวเซียนพันหน้ากับคู่อื่น จะต้องเสีย 1 คะแนนให้ฝ่ายตรงข้าม เมื่อครบ 3 ข้อจะมีการเปิดป้ายเพื่อสะสมคะแนน ทีมใดได้คะแนนรวมมากที่สุดจะเข้ารอบ Jackpot ทันที โดยมีเงินรางวัลสะสมเพื่อทบยอดกับรอบ Jackpot 40,000 บาท ส่วนทีมใดได้คะแนนรวมน้อยที่สุดจะได้รับเงินรางวัลคนละ 15,000 บาทรวมทั้งหมด 30,000 บาท และเซียนพันหน้าที่ยังเหลืออยู่ 2 ท่านจะได้รับเงินรางวัลคนละ 5,000 บาท
ยุคที่ 2 (14 กุมภาพันธ์ - 26 ธันวาคม 2545)
[แก้]ละครพันหน้า
[แก้]ในแต่ละสัปดาห์จะมีละคร 1 เรื่องจากนักแสดง 5 คน คือ เท่ง , ติ๊ก , นุ้ย , แดนนี่ และ กอบโชค (บางสัปดาห์จะมีนักแสดงรับเชิญที่มาแทนนักแสดงหลักที่ติดภารกิจอื่น ๆ) โดยละครในแต่ละสัปดาห์จะมีการปูเรื่องราวถึงหัวข้อที่จะเป็นคำถามในแต่ละสัปดาห์ และจะมีการเปิดตัวผู้เชี่ยวชาญในเรื่องราวที่จะเป็นหัวข้อคำถามในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งทางรายการจะเรียกผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ว่า "เกจิอาจารย์" เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญทางด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อมาเป็นผู้วิเคราะห์ตัดสินและให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เข้าแข่งขัน จากนั้นพิธีกรจะพูดสรุปถึงสาขาอาชีพที่จะนำมาเป็นปัญหาประจำสัปดาห์ ในส่วนของละครนั้น ความยาวของละครในแต่ละตอนจะอยู่ที่ประมาณ 15 - 30 นาที แล้วแต่เรื่องที่จะนำมาแสดงกัน
เซียนพันหน้า , ตอบคำถามช่วงที่ 1
[แก้]ในแต่ละสัปดาห์ก่อนที่จะเล่นเกม จะมีผู้เข้าแข่งขันจากทางบ้านที่สมัครมาร่วมเล่นเกมในรายการจำนวน 3 คน โดยทางรายการจะเรียกว่า "เซียนพันหน้า" หลังจากเซียนพันหน้าแนะนำตัวครบทั้ง 3 คนแล้ว ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแย่งกันกดปุ่มไฟ เมื่อไฟติดที่ใคร ผู้เข้าแข่งขันจะได้สิทธิ์เลือกเซียนพันหน้าก่อน โดยทำแบบนี้จนครบ 3 คน และเริ่มแข่งขันในลำดับต่อไป แต่ในยุคนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเล็กน้อย โดยลดคำถามจาก 8 ข้อ เหลือเพียง 4 ข้อ โดยในคำถาม 1 ข้อ จะมีตัวเลือกให้เลือก 4 ตัวเลือกเหมือนเดิม โดยแบ่งเป็นช่วงละ 2 ข้อ และเปลี่ยนกติกาโดยพิธีกรจะถามคำถาม ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแย่งกันกดปุ่มไฟ เมื่อไฟติดที่ใคร ผู้เข้าแข่งขันและเซียนพันหน้าจะได้สิทธิ์ในการตอบเป็นคนแรก โดยดารารับเชิญจะเป็นผู้มีสิทธิตอบ ดารารับเชิญต้องวิเคราะห์คำตอบเพื่อทำคะแนนให้ตนเอง ขณะเดียวกัน เซียนพันหน้าต้องวิเคราะห์คำตอบของดาราว่า "ถูก" หรือ "ผิด" เพื่อรักษาแท่งผลึกในแท่นของตนเอง ซึ่งจะเป็นเงินรางวัลของตนเองที่จะได้ไป โดยจะมี 10 แท่งผลึกหมายถึงเงินรางวัล 20,000 บาท (แท่งผลึกละ 2,000 บาท) จากนั้นเกจิอาจารย์จะเฉลยคำตอบว่า "ถูก" หรือ "ผิด" หากทีมแรกตอบไม่ถูกจะถูกยึดแท่งผลึกไป อีก 2 ทีมยังมีสิทธิในการตอบ โดยคะแนนจะลดลงตามลำดับ หากคนแรกตอบถูกจะได้ 3 คะแนน คนที่สองตอบถูกจะได้ 2 คะแนน และคนที่สามตอบถูกจะได้ 1 คะแนน และเกจิอาจารย์จะเฉลยว่าใคร "ถูก" หรือ "ผิด"
ตอบคำถามช่วงที่ 2
[แก้]กติกา คือ คำถามในรอบนี้จะมี 2 ข้อ โดยในคำถาม 1 ข้อ จะมีตัวเลือกให้เลือก 4 ตัวเลือก ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแย่งกันกดปุ่มไฟ เมื่อไฟติดที่ใคร ผู้เข้าแข่งขันจะได้สิทธิในการตอบ เมื่อตอบแล้ว เกจิอาจารย์จะเป็นผู้เฉลยคำตอบ ดารารับเชิญต้องวิเคราะห์คำตอบเพื่อทำคะแนนให้ตนเอง ขณะเดียวกัน เซียนพันหน้าต้องวิเคราะห์คำตอบของดาราว่า "ถูก" หรือ "ผิด" เพื่อรักษาแท่งผลึกในแท่นของตนเอง ซึ่งจะเป็นเงินรางวัลของตนเองที่จะได้ไป จากนั้นเกจิอาจารย์จะเฉลยคำตอบว่า "ถูก" หรือ "ผิด" หากทีมแรกตอบไม่ถูกจะถูกยึดแท่งผลึกไป อีก 2 ทีมยังมีสิทธิ์ในการตอบ โดยคะแนนจะลดลงตามลำดับ หากคนแรกตอบถูกจะได้ 2 คะแนน คนที่สองตอบถูกจะได้ 1 คะแนน เมื่อจบเกมในรอบที่ 2 เซียนพันหน้าเหลือจำนวนแท่งผลึกกี่แท่ง จะได้เงินรางวัลตามที่จำนวนแท่งผลึกยังเหลืออยู่ (เช่น หากแท่งผลึกยังเหลืออยู่ 5 แท่ง จะได้เงินรางวัล 10,000 บาท)
ยุคที่ 3 (2 มกราคม - 29 พฤษภาคม 2546)
[แก้]ละครพันหน้า
[แก้]ในแต่ละสัปดาห์จะมีละคร 1 เรื่องจากนักแสดง 5 คน คือ เท่ง , ติ๊ก , นุ้ย , แดนนี่ และ กอบโชค (บางสัปดาห์จะมีนักแสดงรับเชิญที่มาแทนนักแสดงหลักที่ติดภารกิจอื่น ๆ) โดยละครในแต่ละสัปดาห์จะมีการปูเรื่องราวต่าง ๆ และจะมีการเปิดตัวดารารับเชิญในแต่ละสัปดาห์ เพื่อที่จะไปเล่นในรอบพบญาติ ในส่วนของละครนั้น ความยาวของละครในแต่ละตอนจะอยู่ที่ประมาณ 15 - 30 นาที แล้วแต่เรื่องที่จะนำมาแสดงกัน
พบญาติ
[แก้]ในเกมนี้เป็นเกมที่นำเกม แสบพบญาติ จากรายการ แสบคูณสอง มาเล่นอีกครั้ง โดยหลังจากเปิดตัวดารารับเชิญหลังจบละครพันหน้า ทางรายการจะเชิญบุคคลปริศนา ซึ่งอาจเป็นญาติหรือมีความเกี่ยวข้องกับดารารับเชิญ และทายว่า บุคคลปริศนาที่พามานั้น ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม
ยุคสุดท้าย (1 มิถุนายน 2546 - 26 ธันวาคม 2547)
[แก้]ละครพันหน้า
[แก้]ในแต่ละสัปดาห์จะมีละคร 1 เรื่องจากนักแสดง 5 คน คือ เท่ง , ติ๊ก , นุ้ย , แดนนี่ และ กอบโชค (บางสัปดาห์จะมีนักแสดงรับเชิญที่มาแทนนักแสดงหลักที่ติดภารกิจอื่น ๆ) โดยละครในแต่ละสัปดาห์จะมีการปูเรื่องราวถึงหัวข้อที่จะเป็นคำถามในแต่ละสัปดาห์ และจะมีการเปิดตัวผู้เชี่ยวชาญในเรื่องราวที่จะเป็นหัวข้อคำถามในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งทางรายการจะเรียกผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ว่า "เกจิอาจารย์" เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญทางด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อมาเป็นผู้วิเคราะห์ตัดสินและให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เข้าแข่งขัน จากนั้นพิธีกรจะพูดสรุปถึงสาขาอาชีพที่จะนำมาเป็นปัญหาประจำสัปดาห์ ในส่วนของละครนั้น ความยาวของละครในแต่ละตอนจะอยู่ที่ประมาณ 15 - 30 นาที แล้วแต่เรื่องที่จะนำมาแสดงกัน
ตอบคำถามจากเกจิอาจารย์
[แก้]กติกาในรอบนี้ คือ จะมีคำถาม 2 ข้อ โดยใน 1 ข้อ จะมีตัวเลือกให้เลือก 3 ตัวเลือก วิธีการตอบ คือ ดารารับเชิญจะตอบก่อนว่าตัวเลือกไหนที่เป็นตัวเลือกที่ถูกต้อง และจากนั้นผู้เข้าแข่งขันทางบ้าน 50 คนจะต้องเลือกนั่งอัฒจรรย์ โดยจะแบ่งเป็นฝั่งชัวร์และฝั่งมั่วนิ่ม โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องวิเคราะห์คำตอบของดารารับเชิญว่าคำตอบที่ดารารับเชิญตอบมานั้น ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม ซึ่งจะนับเป็นจำนวนคนที่ตอบว่า ชัวร์ กี่คน และ มั่วนิ่ม กี่คน จากนั้นเกจิอาจารย์จะเฉลยออกมาว่า คำตอบที่ดารารับเชิญตอบมานั้น ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม โดยผู้ที่ตอบถูกจะได้อยู่ต่อ ส่วนผู้ที่ตอบผิดจะต้องกลับบ้านไป ทั้งนี้ถ้าหากดารารับเชิญตอบถูก (เกจิอาจารย์เฉลยว่า ชัวร์) ดารารับเชิญจะได้รับเงินรางวัลพิเศษข้อละ 10,000 บาท
ทายใจดารา
[แก้]กติกาในรอบนี้ คือ จะมีคำถาม 2 ข้อ โดยใน 1 ข้อ จะมีตัวเลือกให้เลือก 3 ตัวเลือก โดยแต่ละคำถามจะเป็นคำถามสถานการณ์จำลอง และจะต้องวิเคราะห์ว่า ในคำถามนี้ดารารับเชิญจะแก้สถานการณ์อย่างไร ผู้เข้าแข่งขันทางบ้านที่ยังอยู่จะต้องเลือกนั่งที่อัฒจรรย์หมายเลข 1 , 2 และ 3 ซึ่งเป็นหมายเลขตัวเลือก จากนั้นดารารับเชิญจะเฉลยว่าตัวเลือกไหนที่เป็นตัวเลือกที่ถูกต้องและเป็นตัวเลือกที่ดารารับเชิญเลือกแก้ไขสถานการณ์นั้น โดยผู้ที่ตอบถูกจะได้อยู่ต่อ ส่วนผู้ที่ตอบผิดจะต้องกลับบ้านไป ทั้งนี้ผู้เข้าแข่งขันทางบ้านที่ยังเหลืออยู่จนถึงจบรายการ จะได้รับเงินรางวัลที่สะสมมาทั้ง 3 รอบแบ่งกันกลับบ้านไป
รอบสะสมเงินรางวัล
[แก้]สำหรับรอบสะสมเงินรางวัลนั้นจะมี 3 รอบด้วยกัน โดยเป็นเงินรางวัลสำหรับผู้เข้าแข่งขันทางบ้านที่เหลืออยู่จนถึงรอบสุดท้าย โดยเงินรางวัลนั้นจะนำไปทบยอดทั้ง 3 รอบ และผู้เข้าแข่งขันที่เหลือก็จะแบ่งเงินรางวัลที่สะสมได้กันไป
ตามล่าหา ICI
[แก้]ในเกมนี้จะคล้ายกับเกมตามล่าเอเลี่ยนในรอบสะสมทองคำของรายการเกมจารชน ปี 2541 - 2543 โดยผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้ คือ ผลิตภัณฑ์สี ICI DULUX กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย ซึ่งจะแบ่งเป็นแผ่นป้ายคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์สี ICI DULUX 4 แผ่นป้าย และแผ่นป้ายผลิตภัณฑ์สี ICI DULUX เปล่า ๆ อีก 8 แผ่นป้าย โดยจะมีเงินรางวัลเริ่มต้นที่ 50,000 บาท ดารารับเชิญจะต้องเปิดแผ่นป้ายเพื่อหาแผ่นป้ายคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์สี ICI DULUX ให้ครบทั้ง 4 แผ่นป้าย แต่ถ้าเปิดเจอแผ่นป้าย ICI DULUX เปล่า ๆ เงินรางวัลจะถูกหักออกแผ่นป้ายละ 5,000 บาท โดยดารารับเชิญจะต้องเปิดแผ่นป้ายไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเจอแผ่นป้ายคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์สี ICI DULUX ครบทั้ง 4 แผ่นป้าย หากสามารถเปิดเจอครบ 4 แผ่นป้าย เกมจะจบลง และนับตามจำนวนที่เปิดเจอแผ่นป้ายไอซีไอ ดูลักซ์ เปล่า ๆ และหักออกไปแผ่นป้ายละ 5,000 บาท แต่ถ้าหากเปิดเจอแผ่นป้ายคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์สี ICI DULUX ครบทั้ง 4 แผ่นป้าย โดยที่ไม่เจอแผ่นป้าย ICI DULUX เปล่า ๆ เลย จะได้รับเงินรางวัลสะสม 50,000 บาท เกมนี้ถูกใช้ในช่วงปี 2546 - 2547
เปา ที่สุดของความสะอาด
[แก้]ในเกมนี้จะคล้ายกับเกมสลับตำแหน่งในรอบสะสมเงินรางวัล 1,000,000 บาท ของรายการ ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า ในปี 2542 โดยผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้ คือ ผงซักฟอก เปา กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการทั้งหมด 12 แผ่นป้าย ซึ่งจะแบ่งเป็นแผ่นป้ายผงซักฟอกเปา 3 ชนิด คือ เปา คัลเลอร์ (สีม่วง) , เปา ซอฟท์ (สีชมพู) และ เปา ยูวีไวท์ (สีส้ม) ชนิดละ 4 แผ่นป้าย โดยเลือกมาทีละ 1 แผ่นป้าย แผ่นป้ายแรกไม่ว่าจะเป็นผงซักฟอกชนิดอะไรก็ตาม จะได้รับเงินรางวัลสะสมแผ่นป้ายละ 5,000 บาท แล้วป้ายต่อไปต้องสลับไปเป็นอีกชนิดเท่านั้น ถ้าสลับกับป้ายก่อนหน้านั้นจะได้รับเงินรางวัลสะสมแผ่นป้ายละ 5,000 บาท ถ้าซ้ำกับป้ายก่อนหน้านั้น จะไม่ได้รับเงินรางวัลสะสมเพิ่ม ทั้งนี้ถ้าหากสลับกันครบทั้ง 12 แผ่นป้ายจะได้รับเงินรางวัลสะสม 100,000 บาท เกมนี้ถูกใช้ในช่วงปี 2546 - 2547
ครบ 4 สี เฮรับโชค
[แก้]ในเกมนี้จะคล้ายกับเกมปริศนาแฟนต้าของรายการ ผึ้งน้อยสเปซเรสคิว 2001 และเกมโคลนนิ่งเอเลี่ยน ของรายการ เกมจารชน โดยผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้ คือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไวไว กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้าย ซึ่งจะแบ่งเป็นแผ่นป้ายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไวไว 4 สี คือ สีแดง , สีเขียว , สีส้ม และสีน้ำเงิน สีละ 3 แผ่นป้าย โดยจะให้ผู้เข้าแข่งขันทางบ้านทายสีของแผ่นป้าย หากทายสีถูกใน 1 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัลสะสมแผ่นป้ายละ 5,000 บาท ถ้าหากทายสีผิด ะไม่ได้รับเงินรางวัลสะสมเพิ่ม แต่ถ้าทายถูกครบ 12 แผ่นป้าย จะได้เงินรางวัลสะสม 100,000 บาท
รอบเปิดป้ายคะแนน
[แก้]ในเกมนี้เป็นการตัดสินหาผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบในรอบที่ 1 และผู้เข้ารอบ Jackpot ในรอบที่ 2 โดยจะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้าย โดยในรอบที่ 1 จะมีคะแนน 1 , 2 และ 3 คะแนน อย่างละ 4 แผ่นป้าย ส่วนในรอบที่ 2 จะมีคะแนน 0 - 5 คะแนน อย่างละ 2 แผ่นป้าย โดยผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้ คือ เครื่องดื่มลิโพ (ในช่วงปลายปี 2544 ผู้สนับสนุนหลักในรอบที่ 2 คือ สบู่พฤกษานกแก้ว ต่อมาเป็น ยูบีซี) โดยแต่ละทีมจะได้เลือกเปิดแผ่นป้าย 1 แผ่นป้ายเพื่อสะสมคะแนน โดยนำคะแนนที่ได้ไปรวมกับคะแนนที่มีอยู่ สำหรับในรอบที่ 1 ผู้ที่เปิดได้คะแนนรวมน้อยที่สุดจะตกรอบไป และได้รับเงินรางวัล 20,000 บาทกลับบ้าน ส่วนในรอบที่ 2 ผู้ที่เปิดได้คะแนนรวมมากที่สุดจะเข้ารอบ Jackpot ทันที ส่วนผู้ที่เปิดได้คะแนนรวมน้อยที่สุดจะตกรอบทันทีและได้รับเงินรางวัล 30,000 บาทกลับบ้าน แต่ถ้าหากมีผลรวมคะแนนเท่ากัน พิธีกรจะให้เปิดอีกทีมละ 1 แผ่นป้ายเป็นคะแนนวัดดวง หรือจนกว่าจะมีผู้ที่มีคะแนนสูงสุด
ต่อมาเปลี่ยนเป็นมีคะแนน 0 - 5 ในรอบที่ 1 อย่างละ 2 แผ่นป้าย ผู้เข้าแข่งขันเลือก 1 แผ่นป้ายเพื่อสะสมคะแนน โดยคะแนนที่ได้ไปรวมกับคะแนนที่มีอยู่ ผู้ที่มีคะแนนน้อยที่สุดจะต้องตกรอบไป แต่ถ้าหากมีผลรวมคะแนนเท่ากัน พิธีกรจะให้เปิดอีกคนละ 1 แผ่นป้ายเป็นคะแนนวัดดวง หรือจนกว่าจะได้ผู้ที่มีคะแนนสูงสุด ผู้ที่ตกรอบแรกจะได้เงินรางวัล 10,000 บาท ส่วนในรอบที่ 2 ผู้ที่ตกรอบจะได้เงินรางวัล 15,000 บาท
ต่อมาในช่วงวันที่ 2 มกราคม 2546 ยุคที่มี ไดอาน่า จงจินตนาการ เป็นพิธีกร ได้เปลี่ยนรอบเปิดป้ายคะแนนเป็นการตัดสินหาผู้เข้าแข่งขัน 1 คน ที่จะได้รับเงินรางวัลที่สะสมมาจากรอบสะสมเงินรางวัลทั้งหมด โดยมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้าย โดยจะมีแผ่นป้ายเครื่องหมายลบ (-) หมายความว่า คะแนนที่สะสมมาจะถูกติดลบ จนถึง 20 ซึ่งในแต่ละสัปดาห์ในแต่ละแผ่นป้าย คะแนนจะมีไม่เท่ากัน แต่แผ่นป้ายเครื่องหมายลบ (-) จะมีอยู่ 2 แผ่นป้าย โดยผู้สนับสนุนหลักในรอบนี้ คือ เครือข่ายโทรศัพท์ วัน-ทู-คอล โดยผู้ที่มีคะแนนสะสมมากที่สุดจะได้เลือกเปิด 2 แผ่นป้าย ส่วนผู้ที่มีคะแนนรองลงมาจะได้เลือกเปิดคนละ 1 แผ่นป้าย ในรอบนี้ผู้ที่เปิดได้คะแนนมากที่สุดจะได้รับเงินรางวัลที่สะสมมาทั้งหมดทันที ส่วนอีก 2 ท่านจะได้รับเงินรางวัลคนละ 10,000 บาทจากผู้สนับสนุนรายการ
รอบสุดท้าย
[แก้]รอบสุดท้าย (Jackpot) ของรายการเกมพันหน้า กติกา คือ จะมีแผ่นป้ายของผู้สนับสนุนรายการ 12 แผ่นป้าย ในแต่ละแผ่นป้ายจะมีเลข 1 - 12 อย่างละ 1 แผ่นป้าย ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกเปิดแผ่นป้ายเรียงตัวเลขจากน้อยไปมาก โดยจะมีเงินรางวัลเริ่มต้นที่ 40,000 บาท (ต่อมาจะให้เลือกมา 6 แผ่นป้าย ซึ่งจะให้เลือกลักษณะเดียวกันกับรอบสุดท้ายของรายการ แสบคูณสอง แต่การเรียงลำดับจากน้อยไปหามากนั้น จะคล้ายกับเกมชั่งทอง ในรายการเวทีทอง ช่วงปี 2536 - 2545 และเกมบิ๊กเอเลี่ยน ในรายการเกมจารชน ช่วงปี 2542 - 2548) เมื่อผู้เข้าแข่งขันเปิดแผ่นป้ายแรกได้จำนวนตัวเลขเท่าใดจะได้รับเงินรางวัลแผ่นป้ายละ 20,000 บาท ป้ายต่อไปต้องมากกว่าป้ายก่อนหน้านี้เท่านั้น (เช่นหากเปิดได้ป้ายแรกเป็น 7 ป้ายต่อไปต้องเท่ากับ 8 หรือมากกว่า) ถ้าหากมากกว่าแผ่นป้ายก่อนหน้าจะได้รับเงินรางวัลครั้งละ 20,000 บาท แต่ถ้าหากน้อยกว่าก่อนหน้านี้ เกมจะหยุดลงทันทีและได้เงินรางวัลตามที่สะสมไว้ ทั้งนี้บางครั้งพิธีกรก็จะเปิดแผ่นป้ายแถมเพื่อมอบเงินรางวัลเพิ่มให้อีก 20,000 บาทหรือแล้วแต่ความประสงค์ของผู้เข้าแข่งขัน ทั้งนี้หากผู้เข้าแข่งขันสามารถเปิดแผ่นป้ายเรียงตัวเลขจากน้อยไปหามากได้ครบ 6 แผ่นป้าย จะได้รับเงินรางวัล 2,000,000 บาทโดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนละ 1,000,000 บาทกับผู้เข้าแข่งขันและผู้โชคดีจากทางบ้านที่มาจากการจับฉลากราคาของผู้สนับสนุนรายการที่ผู้ชมทางบ้านส่งมาร่วมสนุกนั่นเอง[1] ต่อมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2545 จะมีเงินรางวัลเริ่มต้นที่ 20,000 บาท (ผู้สนับสนุนหลักในการชิงโชค คือ ผลิตภัณฑ์น่ารัก ต่อมาเป็นสบู่นกแก้วและกาแฟกระป๋องเบอร์ดี้)
นอกจากนี้ผู้โชคดีทางบ้านจะได้รับทองคำหนัก 2 บาท และผลิตภัณฑ์ของผู้สนับสนุนรายการจำนวน 1 เซ็ท และทุก ๆ 3 เดือน จะมีการแจกรางวัลเป็นตู้เย็นจำนวน 10 เครื่อง แต่ถ้าภายใน 6 เดือน JACKPOT ไม่แตก จะมีการจับชิ้นส่วนของผู้ชมทางบ้านที่ส่งมาร่วมสนุก หากจับขึ้นมาเป็นชื่อใคร จะได้รับรางวัลเป็นทองคำหนัก 1 กิโลกรัม และต่อมาเงินรางวัลลดเหลือ 1,000,000 บาท และยุติการจับชิ้นส่วนของผู้ชมทางบ้าน โดยในยุคนี้มีผู้ทำ Jackpot แตกคนเดียว คือ กรรชัย กำเนิดพลอย ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2544 โดยรูปแบบนี้ใช้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2544 - ธันวาคม 2545
การผลิตวีซีดี
[แก้]ในรายการ เกมพันหน้า ได้มีการผลิตวีซีดี โดยจะใช้ชื่อชุดว่า "ละครตลก.. ฮา สนั่นเมือง" ซึ่งจะรวมละครพันหน้า ตั้งแต่ปี 2544 - 2547 ชุดละ 3 ตอน โดยผู้ผลิตและผู้ถือลิขสิทธิ์คือ บริษัท อีวีเอส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เช่นเดียวกับรายการ ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า และ แสบคูณสอง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://web.archive.org/web/20021204112632/http://www.kiktik.com/1000face/2001-01-25/recomment1000.htm
ก่อนหน้า | เกมพันหน้า | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ยังไม่มี | เกมพันหน้า (18 มกราคม 2544 - 26 ธันวาคม 2547) |
เกมพันหน้า เอื้ออาทร (2 มกราคม พ.ศ. 2548 - 27 สิงหาคม พ.ศ. 2560) |