ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (อังกฤษ: Gem and Jewelry Institute of Thailand (Public Organization)) เป็นองค์การมหาชน สังกัดกระทรวงพาณิชย์ มีภารกิจในการพัฒนาและส่งเสริมสนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าในเวทีการค้าโลกยิ่งขึ้น

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
Gem and Jewelry Institute of Thailand (Public Organization)
ภาพรวมสถาบัน
ก่อตั้ง8 กันยายน พ.ศ. 2541; 26 ปีก่อน (2541-09-08)
สถาบันก่อนหน้า
  • สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ
ประเภทองค์การมหาชน
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 140, 140/1/3 และ 140/5 อาคารไอทีเอฟทาวเวอร์ ชั้น 1-4 และ ชั้น 6 ถนนสีลม แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
งบประมาณต่อปี180,967,900 บาท
(พ.ศ. 2568)[1]
ฝ่ายบริหารสถาบัน
  • สุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย, ผู้อำนวยการ
  • ทนง ลีลาวัฒนสุข, รองผู้อำนวยการ
  • สิทธิชัย ปริญญานุสรณ์, รองผู้อำนวยการ
ต้นสังกัดสถาบันกระทรวงพาณิชย์
เว็บไซต์เว็บไซต์ของสถาบัน

ประวัติ

[แก้]

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดตั้งตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2541 เป็นองค์กรอิสระภายใต้และความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและเอกชน การบริหารงานไม่ผูกพันกับกฎระเบียบของราชการกับรัฐวิสาหกิจ[2] และเมื่อมีการตราพระราชบัญญัติองค์การมหาชนบังคับใช้ จึงให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติต่อไป

ต่อมาสถาบันได้ยกฐานะเป็นองค์การมหาชนตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2546 เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 ในกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จนถึงปัจจุบัน[3]

อำนาจหน้าที่

[แก้]

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) มีหน้าที่เสนอนโยบายและแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ วิจัย ตรวจสอบ และออกใบรับรองคุณภาพอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไปให้เกิดความชำนาญและทักษะเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ รวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลและสถิติเพื่อสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ติดต่อประสานงาน ทำความตกลงและความร่วมมือกับหน่วยงาน หรือองค์การต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศใสกิจการที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของสถาบัน

หน่วยงานภายใน

[แก้]

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) แบ่งส่วนงานออกเป็น 32 ส่วนงาน ดังต่อไปนี้[4]

  • ส่วนงานตรวจสอบภายใน
  • ส่วนงานกฎหมาย
  • งานสื่อสารองค์กร
  • ฝ่ายตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับ
    • ส่วนตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับ
    • ส่วนพัฒนาเทคนิคขั้นสูง
  • ฝ่ายตรวจสอบโลหะมีค่า
    • ส่วนตรวจสอบโลหะมีค่า
    • ส่วนสนับสนุนตรวจสอบ
  • ฝ่ายวิจัยและพัฒนามาตรฐาน
    • ส่วนวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้
    • ศูนย์ให้คำปรึกษา
    • งานพัฒนามาตรฐานและควบคุมคุณภาพ
  • ฝ่ายบริการวิชาการและพัฒนาผู้ประกอบการ
    • ส่วนบริการข้อมูล
    • ส่วนฝึกอบรม
    • ศูนย์การเรียนรู้ด้านอัญมณีและเครื่องประดับ
    • งานพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ
  • ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ
    • ส่วนการตลาด
    • ส่วนนิทรรศการและการแสดงสินค้า
    • งานสมาชิกสัมพันธ์
  • ฝ่ายนโยบายและแผน
    • ส่วนนโยบายและแผนงบประมาณ
    • งานบริการความเสี่ยงและควบคุมภายใน
  • ฝ่ายบริหาร
    • ส่วนทรัพยากรบุคคล
    • ส่วนบัญชี
    • ส่วนการเงิน
    • ส่วนจัดซื้อและพัสดุ
    • งานอำนวยการ
  • ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๖๒, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  2. คณะรัฐมนตรี, โครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ, สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2567
  3. สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน), รายงานประจำปี 2566 สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน), สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2567
  4. สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน), โครงสร้าง, สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2567

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]