ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:วีระพงษ์ ประภา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วีระพงษ์ ประภา
ผู้แทนการค้าไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
(0 ปี 9 วัน)
นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 กันยายน พ.ศ. 2527 (40 ปี)
จังหวัดสงขลา ประเทศไทย
การศึกษามหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน
Victoria University of Wellington

วีระพงษ์ ประภา

[แก้]

วีระพงษ์ ประภา เป็นผู้บริหารองค์กรระหว่างประเทศที่มีพันธกิจส่งเสริมการค้าและการลงทุนอย่างยั่งยืน (Sustainable trade and investment) โดยวีระพงษ์มีบทบาทเป็นผู้เจรจาระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จ โดยคำนึงถึงผลประกอบการควบคู่กับประเด็นด้านความยั่งยืน[1]

เมื่อวันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน 2567 สำนักนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้งวีระพงษ์ให้ดำรงตำแหน่งผู้แทนการค้าไทย โดยให้มีผลทันที[2][3]

ประวัติและการศึกษา

[แก้]

วีระพงษ์ ประภา ชื่อเล่น อาร์ท เกิดเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2527 ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประเทศไทย เป็นบุตรของนายกำพล ประภา และนางวาทินี ประภา นักธุรกิจชาวไทย

วีระพงษ์ศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนต้นที่ประเทศไทย หลังจากนั้น เดินทางไปศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ Burnside High School เมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ วีระพงษ์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (เกียรตินิยมอันดับ 1) ด้านการบัญชี ธุรกิจระหว่างประเทศ และกฎหมายพาณิชย์ จาก Victoria University of Wellington ประเทศนิวซีแลนด์ และระดับปริญญาโท ด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ จาก London School of Economics and Political Science (LSE) ประเทศสหราชอาณาจักร

เมื่อเดือนพฤษภาคม 2567 วีระพงษ์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านการบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร (Executive MBA) จาก University of Cambridge ประเทศสหราชอาณาจักร โดยได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานโดดเด่นในภาคประชาสังคม[4]

ประสบการณ์การทำงาน

[แก้]

วีระพงษ์​เริ่มชีวิตการทำงาน โดยการเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีและที่ปรึกษาทางการเงินของ Ernst & Young หนึ่งในสี่บริษัทบัญชียักษ์ใหญ่ของโลก ที่สาขาในประเทศนิวซีแลนด์และกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โดยทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีและเป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับบริษัทข้ามชาติด้านการเกษตรและด้านการเงิน

หลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านการพัฒนาระหว่างประเทศที่ LSE วีระพงษ์ผันตัวมาทำงานในภาคประชาสังคม โดยมุ่งหมายที่จะนำประสบการณ์จากภาคธุรกิจมาผลักดันให้ธุรกิจดำเนินการโดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน สิ่งแวดล้อม และประเด็นด้านสังคมอย่างยั่งยืน โดยทำงานเป็นที่ปรึกษาให้กับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และผู้จัดการด้านการสื่อสารสาธารณะให้กับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) [5][6]

ระหว่างปี 2557 ถึงปี 2565 วีระพงษ์ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษานโยบายอาวุโสให้กับ Oxfam องค์กรด้านการพัฒนาระหว่างประเทศชั้นนำของโลก ที่สาขาประเทศไทยและต่อมาที่เมืองบอสตัน มลรัฐแมสซาซูเซส ประเทศสหรัฐอเมริกา ในการทำงานที่องค์การ Oxfam วีระพงษ์มีส่วนสำคัญในการผลักดันให้บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ของโลกในอเมริกา ยุโรป และเอเชีย เช่น Amazon Walmart และ Kroger หันมาให้ความสำคัญกับประเด็นด้านความยั่งยืนและผนวกประเด็นเหล่านี้เข้ากับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ[7] โดยวีระพงษ์ผลิตงานวิจัย งานเขียน ตลอดจนเป็นผู้แทนเจรจาระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนเกิดขึ้นและสร้างความเข้มแข็งให้กับทุกภาคส่วนในระยะยาว[8][9][10][11][12][13][14][15][16][17][18]

ระหว่างปี 2565 ถึงปี 2567 วีระพงษ์ดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการอาวุโสด้านธุรกิจเพื่อความยั่งยืนให้กับกองทุน Freedom Fund องค์กรให้ทุนระหว่างประเทศที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร[19] โดยทำหน้าที่บริหารโครงการที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนทั้งด้านสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมหลายประเทศทั้งสหราชอาณาจักร ยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ วีระพงษ์ให้สัมภาษณ์สื่อชั้นนำ เช่น Moody's Corporation [20] Reuters[21] และเป็น speaker ให้กับการประชุมนานาชาติในประเด็นเกี่ยวกับนโยบายการค้าการลงทุน ตลอดจนกลยุทธ์ธุรกิจเพื่อความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง [22][23][24]

การปฎิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนการค้าไทย

[แก้]

เมื่อวันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน 2567 สำนักนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งแต่งตั้งวีระพงษ์ให้ดำรงตำแหน่งผู้แทนการค้าไทย โดยให้มีผลทันที[25][26]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Art Prapha". Freedom Fund (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-10-10.
  2. ZEAL (2024-11-05). ""วีระพงษ์ ประภา" นั่งที่ปรึกษานายกฯ ฝ่ายผู้แทนการค้าไทย". ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2024-11-06.
  3. Limited, Bangkok Post Public Company. "Two Thai trade representatives appointed". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-11-09.
  4. "Participant profiles". Cambridge Judge Business School (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2024-11-06.
  5. TDRI - Thailand Development Research Institute (2013-02-19). TDRI Channel: Past Present and Future. สืบค้นเมื่อ 2024-11-06 – โดยทาง YouTube.
  6. pat (2013-04-08). "ทีดีอาร์ไอรื้อโครงสร้างสปส.เป็นองค์กรอิสระ". TDRI: Thailand Development Research Institute. สืบค้นเมื่อ 2024-11-06.
  7. Prapha, Werapong (May 2021). "A groundbreaking commitment on human rights from a giant supermarket chain in the US". Oxfam America's Politics of Poverty.
  8. Prapha, Werapong (July 2020). "From Risk to Resilience: A good practice guide for food retailers addressing human rights in their supply chains". Oxfam International Briefing Papers.
  9. Prapha, Werapong (June 2020). "Exposed: How US supermarkets are failing their workers in a global pandemic". Oxfam Research and Publications (Briefing Papers).
  10. Prapha, Werapong (March 2017). "Is your shrimp salad causing inequality in Asia?". Oxfam America's Politics of Poverty.
  11. Prapha, Werapong (November 2017). "Strengthening the voices of workers: The benefits for business". Oxfam America's Politics of Poverty.
  12. "Thai CSO Survey Reveals Progress and Gaps of Fishery Reforms". Humanity United (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-11-06.
  13. "The Supermarket Business Model is Broken, Let's Fix It!". Humanity United (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-11-06.
  14. "Not in this together: how supermarkets became the pandemic's winners while women workers are losing out". Oxfam International (ภาษาอังกฤษ). 2024-02-13. สืบค้นเมื่อ 2024-11-06.
  15. Prapha, Werapong (April 2020). "COVID19: Safeguarding essential workers in our supermarkets". Oxfam America's Politics of Poverty.
  16. Prapha, Werapong (June 2021). ""Business as usual" won't fix inequality in supermarket supply chains". Oxfam America's Politics of Poverty.
  17. Prapha, Werapong (October 2021). "Global supply chains are broken: What's at stake and how to fix it". Oxfam America's Politics of Poverty.
  18. Prapha, Bangkok Post Public Company. "Time is now ripe for green business". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-11-06.
  19. "Art Prapha". Freedom Fund (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-10-10.
  20. "The Infinite Game". www.moodys.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-11-06.
  21. https://www.reuters.com/article/world/canned-tuna-brands-making-glacial-progress-in-tackling-modern-slavery-idUSKBN2BF2JV/
  22. UN RBHR Forum 2023: Day 2 | Conference Room 3 (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-11-06 – โดยทาง www.youtube.com.
  23. Welling, Dominic; Navarro, Lola (2018-06-22). "SeaWeb Seafood Summit 2018 blog: The feed of the future". intrafish.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-11-06.
  24. "Webinar: Integrating workers' rights into commodity supply chains". accountability-framework.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-11-06.
  25. ZEAL (2024-11-05). ""วีระพงษ์ ประภา" นั่งที่ปรึกษานายกฯ ฝ่ายผู้แทนการค้าไทย". ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2024-11-06.
  26. Limited, Bangkok Post Public Company. "Two Thai trade representatives appointed". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-11-09.