ฉบับร่าง:วัดจำปา อำเภอเมืองสุรินทร์
นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ G789G (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 4 เดือนก่อน (ล้างแคช) |
วัดจำปา อำเภอเมืองสุรินทร์ | |
---|---|
ที่ตั้ง | วัดจำปา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | เถรวาท,มหานิกาย |
พระพุทธรูปสำคัญ | พระพุทธ |
เจ้าอาวาส | พระครูสาธุกิจโกศล (สิทธิชัย ฐานจาโร) |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดจำปา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์[1] เขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดสุรินทร์ เขตปกครองคณะสงฆ์หนตะวันออก ภาค๑๑ มหานิกาย ได้รับประทานรางวัลวัดพัฒนาตัวอย่าง ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖[2] คัดเลือกโดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก [3]โปรดถวายให้สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สุชิน อคฺคชิโน) เป็นผู้แทนพระองค์ ประทานรางวัลรางวัลวัดพัฒนาตัวอย่าง ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร (26 กรกฎาคม พ.ศ. 2566)
ความเป็นมาของวัดจำปา
[แก้]วัดจำปา เป็นวัดราษฎร์[4] ตั้งอยู่เลขที่ ๕๗๕ ถนนหลักเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ ๕ ไร่ ๖๘ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๑๙๘๓ ตั้งอยู่กำแพงเมืองชั้นนอกด้านทิศตะวันออก ตั้งวัดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ประมาณระหว่างปี พุทธศักราช ๒๒๙๐ - ๒๓๐๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๐ เดือน มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๕ กำหนดเขต กว้าง ๒๔ เมตร ยาว ๔๗ เมตร
อาณาเขต
[แก้]- ทิศเหนือ จดที่ดินเลขที่ ๔๓,๔๔,๔๕ และถนนหลักเมือง
- ทิศใต้ จดทางสาธารณะประโยชน์
- ทิศตะวันออก จดที่ดินเลขที่ ๓๒ และทางสาธารณะประโยชน์
- ทิศตะวันตก จดถนนเทศบาล ๒
วัดจำปา มีชื่อเดิมว่า“วัดยายจำปา”[5]เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในจังหวัดสุรินทร์ พุทธศาสนิกชนร่วมแรงร่วมใจสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อก่อน “วัดยายจำปา” ตั้งอยู่ที่ชายป่าบ้านโคกประทาย หรือ ประทายสมันต์ในปัจจุบัน สืบเนื่องมีพระภิกษุชนชาวเขมรธุดงค์จาริกมาพักที่ป่าข้างบ้านโคกประทาย ท่านมีวัตรปฏิบัติอันน่าเลื่อมใสศรัทธา ชำนาญในด้านอักษรขอม ทำให้ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธาสร้างที่พักสงฆ์ถวาย กาลต่อมาคุณยายจำปา เห็นว่าบริเวณสถานที่นี้ไม่เหมาะต่อการเจริญบำเพ็ญสมณธรรม จึงได้ชักชวนเพื่อนบ้านสร้างที่พักสงฆ์ให้เหมาะควรกว่าเดิม โดยตนเองมีศรัทธาแรงกล้าจำหน่ายวัว ๒ ตัว ได้เงิน ๘ สตางค์ นำมาสร้างเป็นที่พักสงฆ์ขึ้นในป่าซึ่งติดกับหมู่บ้าน (ที่ตั้งของวัดในปัจจุบัน)ภายหลังจากยายจำปาเสียชีวิตแล้ว ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่า “วัดยายจำปา” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่คุณยายผู้เป็นกำลังสำคัญในการสร้างวัดให้เป็นศูนย์รวมการบำเพ็ญธรรมและพัฒนาจิตใจของชาวบ้านสืบมา และเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดจำปา” ในกาลต่อมา
วัดจำปามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์
[แก้]ดังนี้
- ๑. ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พระเจ้าแผ่นดินได้ส่งแม่ทัพเสนาบดีติดตามช้างศึกของพระองค์ และได้พักที่วัดจำปาประมาณ ๕ วัน จนสามารถติดตามหาช้างได้ โดยมีหลวงพ่อวัดจำปาได้ช่วยอำนวยความสะดวกในการติดตามช้าง
- ๒. เป็นวัดที่ประกอบพิธี “ดื่มน้ำราชพิพัฒน์สัตยาแก่ข้าราชการทุกคน” ให้มีความจงรักภักดี มีความซื่อสัตย์ต่อแผ่นดินไทยเป็นประจำทุกปี ต่อมาได้ถูกยกเลิกไป
- ๓. ในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานถวายพระธรรมาสน์ ๑ หลัง เป็นธรรมาสน์สังเค็ดงานพระบรมศพรัชกาลที่ ๕ ศิลปะรัตนโกสินทร์ ไม้ลงรักปิดทอง ลายฉลุ ขนาดกว้าง ๙๑ เซนติเมตร ยาว ๑๒๒ เซนติเมตร สูง ๑๒๐ เซนติเมตร สลักพระนามย่อว่า “จปร” อยู่ใต้พระเกี้ยว เพื่อถวายพระราชอุทิศในงานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๔๕๓ พร้อมเหรียญรูปเหมือนของรัชกาลที่ ๕ ๑ เหรียญ เป็นเหรียญเงินรูปครึ่งพระองค์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๖ นิ้ว
ทำเนียบเจ้าอาวาสวัดจำปา
[แก้]เจ้าอาวาสรูปแรกและรูปต่อ ๆ มา มีชื่ออย่างไรบ้าง ไม่มีหลักฐานปรากฏชัด เท่าที่ปรากฏ รายนามมีดังนี้
- ๑.) หลวงพ่อมี
- ๒.) หลวงพ่อจิตต์
- ๓.) หลวงพ่อคง
- ๔.) หลวงพ่อเกี๊ยะ
- ๕.) หลวงพ่อพระมหาสุคนธ์ คนฺธวํโส ป.ธ.๕ มีสมณศักดิ์สุดท้ายที่พระปริยัติวรคุณ (สุคนธ์ คนฺธวํโส) อดีตรองเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ปัจจุบันคือ นายสุคนธ์ จองอยู่
- ๖.) หลวงพ่อคุย
- ๗.) หลวงพ่อรัน
- ๘.) หลวงพ่อรอด
- ๙.) หลวงพ่อบุญ
- ๑๐.) ท่านเจ้าคุณพระประภากรคณาจารย์ (หลวงพ่อเดื่อ ปภากโร/วรรณศรี) อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. ๒๔๙๙ – ๒๕๐๖
- ๑๑.) พระอธิการไชยยศ ยนฺตสีโล (สุดอุดม) พ.ศ. ๒๕๐๖ – ๒๕๓๓
- ๑๒.) พระอธิการบรึม สุรปญฺโญ (ศรีสง่า) พ.ศ. ๒๕๓๔ – ๒๕๓๕
- ๑๓.) พระครูสาธุกิจโกศล ดร. (สิทธิชัย ฐานจาโร /เดชกุลรัมย์) พ.ศ. ๒๕๓๖ – ปัจจุบัน
การปกครองบริหารวัดในปัจจุบัน
- พระครูสาธุกิจโกศล (สิทธิชัย ฐานจาโร) ดร.,ผศ. เจ้าอาวาสวัดจำปา และเจ้าคณะตำบลในเมือง เขต ๒ อำเภอเมืองสุรินทร์
- พระมหาวันชัย สีลเตโช รองเจ้าอาวาสวัดจำปา และเลขานุการเจ้าคณะตำบลในเมือง เขต ๒ อำเภอเมืองสุรินทร์
- พระสุทธินันท์ ปญฺญาธโร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดจำปา อำเภอเมืองสุรินทร์
การศึกษาและการสาธารณะสงเคราะห์
[แก้]เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๑ เจ้าคณะมณฑลอุบลราชธานี ได้ส่งพระสมุห์สวัสดิ์มาเป็นครูสอนนักธรรม เป็นครั้งแรก ดำเนินการเรียนการสอนที่วัดจำปา มีพระภิกษุสามเณรประมาณ ๓๐ รูป มาสมัครเรียนและสามารถสอบได้ทั้งหมด ในปัจจุบันวัดจำปามีการศึกษาปริยัติธรรม แผนกธรรม-บาลี โดยมีครูสอนประจำสำนัก มีการฝึกฝนอบรมธรรมแก่ประชาชน นักเรียน ตามโรงเรียนต่าง ๆ มีการจัดตั้ง “มูลนิธิประภากรกิจโกศล เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๙” และกองทุนเพื่อการศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณรโดยคณะศิษย์เก่าวัดจำปา ในนาม “กองทุนร่มจำปาเพื่อการศึกษา เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๒”
เสนาสนะสงฆ์
[แก้]- ๑.) อุโบสถ อุโบสถหลังเก่าลักษณะเป็นโบสถ์โปร่ง ผนังเปิดโล่งสามด้าน ฐานก่ออิฐถือปูน เสาไม้ขนาดใหญ่รับปีกนกสิบต้น มุงหลังคาแป้นเกร็ด หลังต่อมาเป็นอุโบสถทำด้วยไม้ทั้งหลัง หลังคามุงด้วยสังกะสี ตั้งอยู่ทิศใต้ศาลาอเนกประสงค์ อุโบสถหลังปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่ เมื่อพ.ศ. ๒๕๑๘ มีลักษณะสถาปัตยกรรมไทย ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ตบแต่งสวยงาม ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ประดิษฐานพระประธานภายในอุโบสถ มีกำแพงล้อมรอบ ปลูกต้นไม้ล้อมรอบ ปูตัวหนอนรอบกำแพงแก้ว มีขนาดกว้าง ๘.๕ เมตร ยาว ๒๔ เมตร บูรณะซ่อมแซมด้วยการทาสีใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๒ เปลี่ยนกระเบื้องหลังคา พ.ศ.๒๕๕๓ เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง ทาสีใหม่ เดินสายไฟใหม่ และเทพื้นรอบอุโบสถ พ.ศ. ๒๕๕๔ มีกำหนดเขตสีมา กว้าง ๒๔ เมตร ยาว ๔๗ เมตร
- ๒.) หอระฆัง หลังเดิมเป็นหอระฆังที่สร้างจากไม้ทั้งหลัง สูง ๓ ชั้น ตั้งอยู่ระหว่างศาลาอเนกประสงค์กับอุโบสถหลังเก่า หอระฆังหลังปัจจุบันเป็นอาคาร คศล. ๓ ชั้น ทรงไทยประยุกต์ หลังคามุงกระเบื้อง ฐานกว้าง ๔ เมตร ยาว ๖ เมตร สร้างอยู่ทิศเหนืออุโบสถ คุณพ่ออร่าม – แม่ศิริวรรณ สุรเกียรติ สร้างถวาย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙
- ๓.) กุฏิสงฆ์
กุฏิพ่อคงแก้ว กะภูทิน ลักษณะทรงไทยประยุกต์ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น หลังคามุงกระเบื้อง พื้นปูกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๙ เมตร สร้างถวายโดย แม่ประพิศ กะภูทิน พร้อมบุตรธิดา พ.ศ. ๒๕๔๑
กุฏิพ่อเปล่ง - แม่พวง ช่วงชัยชนะ ลักษณะทรงไทยประยุกต์ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น หลังคามุงกระเบื้อง พื้นปูกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๙ เมตร สร้างถวายโดย อ.พรประไพ ช่วงชัยชนะ พ.ศ.๒๕๔๑
กุฏิแม่ทองอยู่ รัชตะเมธี ลักษณะทรงไทยประยุกต์ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น หลังคามุงกระเบื้อง พื้นปูกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๙ เมตร สร้างถวายโดย ร.อ.สนั่น - แม่จารุวรรณ โหมขุนทด พร้อมบุตรหลาน และญาติพี่น้อง พ.ศ.๒๕๔๐
กุฏิพ่อพิทักษ์ – แม่พุฒกรอง ฉลาดเฉลียว ลักษณะทรงไทยประยุกต์ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น หลังคามุงกระเบื้อง พื้นปูกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๙ เมตร สร้างถวายโดย ครูฉัตรเอก – ครูนิธิรัตน์ ฉลาดเฉลียว หล้าล้ำ พ.ศ. ๒๕๔๑
กุฏิรับรอง (กุฏิพ่อบุญยิ่ง - แม่ฉวี นิลฤทธิ์) ลักษณะทรงไทยประยุกต์ อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๑ ชั้น หลังคามุงสันไท พื้นปูกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๑๒ เมตร สร้างถวายโดยคุณเสงี่ยม – นิตยา บุญจันทร์ พร้อมญาติธรรม และกฐินสามัคคี พ.ศ.๒๕๕๖
กุฏิอนุสรณ์ อ.สนอง จงอุ่นกลาง ลักษณะทรงไทยประยุกต์ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น หลังคามุงสันไท พื้นปูกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๗ เมตร ยาว ๗ เมตร ญาติ อ.สนอง จงอุ่นกลาง และกฐินสามัคคี พ.ศ.๒๕๕๙
- ๔.) ศาลาอเนกประสงค์
หลังที่ ๑ ศาลาอเนกประสงค์ หลังใหญ่ เป็นอาคาร คสล.๒ ชั้น ขนาด กว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๒๑ เมตร ลักษณะทรงไทยประยุกต์ หลังคามุงกระเบื้อง พื้นชั้นบนปูคอนกรีต พื้นชั้นล่างปูหินขัด ชั้นบนเป็นที่พำนักของพระภิกษุสามเณร ชั้นล่างเป็นที่บำเพ็ญกุศลและทำกิจกรรมต่างๆ โดยการนำของพระครูสาธุกิจโกศล และร่วมกันสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๖
หลังที่ ๒ ลักษณะทรงไทยประยุกต์ ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๒๑ เมตร อาคารชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้อง พื้นปูกระเบื้อง สร้างถวายโดย คุณแม่ประจิตร โชติประศาสตร์ อินทาระ พ.ศ.๒๕๔๔
หลังที่ ๓ ลักษณะทรงไทยประยุกต์ ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๒ เมตร อาคารชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้อง พื้นปูกระเบื้อง สร้างถวายโดย คุณแม่คำเพิ่ม พละเสน และลูกหลาน ร.ต.ท.ยนต์ คุณแม่ปิม ประพิตรภา เมื่อ มี.ค. ๒๕๕๐
- ๕.) โรงครัว ขนาดกว้าง ๕ เมตร ยาว ๖ เมตร อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้อง พื้นปูกระเบื้อง สร้างถวายโดย คุณแม่ละมัย วรรณศรี พ.ศ.๒๕๔๐
- ๖.) อาคารเรียนพระปริยัติธรรม คอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น ๔ ห้องเรียน ขนาดกว้าง ๖.๓๐ เมตร ยาว ๑๖ เมตร หลังคามุงกระเบื้องพื้นปูกระเบื้อง สร้างถวายโดย พ.อ.สอาด - นางพันธนา ไตรพิพัตน์ พ.ศ.๒๕๔๖
- ๗.) ห้องน้ำ
๑.ทิศเหนือศาลาอเนกประสงค์ จำนวน ๖ ห้อง ขนาดกว้าง ๑.๖๐ เมตร ยาว ๙.๒๐ เมตร หลังมุงกระเบื้อง พื้นปูกระเบื้อง สร้างโดยนายบุญชุบ – นางอำไพ สุจินพรัหมและคณะ พ.ศ.๒๕๔๖
๒.ทิศใต้อาคารเรียนปริยัติธรรม จำนวน ๖ ห้อง ขนาดกว้าง ๑.๘๐ เมตร ยาว ๑๒ เมตร หลังมุงกระเบื้อง พื้นปูกระเบื้อง สร้างโดยเงินกฐินสามัคคี พ.ศ.๒๕๔๘ และคุณแม่ละมัย วรรณศรี และคณะ พ.ศ. ๒๕๔๙
๓.ทิศเหนือศาลาอเนกประสงค์ จำนวน ๓ ห้อง ขนาดกว้าง ๑.๘๕ เมตร ยาว ๕ เมตร หลังมุงกระเบื้อง พื้นปูกระเบื้อง สร้างโดยกฐินสามัคคี ปี พ.ศ. ๒๕๕๑
๔.ทิศเหนือศาลาอเนกประสงค์ จำนวน ๘ ห้อง ขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๙ เมตร หลังคามุงสันไท พื้นปูกระเบื้อง สร้างโดยกฐินสามัคคีแสะพุทธศาสนิกชนร่วมกัน ปี พ.ศ.๒๕๕๙
- ๘.) ซุ้มประตูวัด
ทิศเหนือ ลักษณะทรงไทยประยุกต์ คอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างถวายโดย แม่บุญเลี้ยง พจนาคม พ.ศ.๒๕๐๘
ทิศตะวันตก ลักษณะทรงไทยประยุกต์ คอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างถวายโดย อ.สนอง จงอุ่นกลาง และคณะ พ.ศ.๒๕๑๖
ทิศตะวันออก ลักษณะทรงไทยประยุกต์ คอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างถวายโดย คุณแม่ฉวี นิลฤทธิ์ พ.ศ. ๒๕๔๘
- ๙.) รั้วกำแพงทิศตะวันตก พ.ศ.๒๕๕๒ บูรณปฏิสังขรณ์ ทาสีใหม่ รั้ว-ซุ้มประตูทิศตะวันตกและทิศเหนือ โดยคุณแม่ฉวี นิลฤทธิ์ และบุตรหลาน
- ๑๐.) ปูตัวหนอน
รอบศาลาราย พ.ศ.๒๕๕๓ สร้างโดยกฐินสามัคคี
รอบกำแพงแก้ว (อุโบสถ) พ.ศ.๒๕๕๔ สร้างโดยกฐินสามัคคี
ทิศเหนืออุโบสถ ทิศตะวันออกหอระฆังพ.ศ.๒๕๕๗ สร้างโดยกฐินสามัคคี
- ๑๑). โดมคร่อมถนนภายในวัด พ.ศ.๒๕๕๓ และ พ.ศ. ๒๕๕๕ สร้างโดยกฐินสามัคคี และพระปลัดน้อย ธนปญฺโญ พร้อมศิษยานุศิษย์
ต่อเติมโดมเชื่อมถนน และเชื่อมศาลาอเนกประสงค์กับศาลาแม่ประจิตร พ.ศ.๒๕๕๖ สร้างโดยกฐินสามัคคี
- ๑๒.) วางท่อระบายน้ำ - ทิศเหนืออุโบสถ พ.ศ.๒๕๕๕ สร้างโดยกฐินสามัคคี
- ๑๓.) ภาพพระเวสสันดรชาดก ภายในศาลาอเนกประสงค์ พ.ศ.๒๕๕๕ สร้างโดยมีเจ้าภาพ
- ๑๔.) โดมเชื่อมศาลาอเนกประสงค์กับศาลาราย พ.ศ.๒๕๕๕ และพ.ศ.๒๕๕๖ สร้างโดยมีเจ้าภาพ และกฐินสามัคคี
โดมคร่อมบันไดศาลาอเนกประสงค์ พ.ศ.๒๕๕๗ สร้างโดยกฐินสามัคคี
- ๑๕.) ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กเชื่อมถนนหลักเมือง พ.ศ.๒๕๕๖ สร้างโดยกฐินสามัคคี
ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กรอบอุโบสถทางทิศเหนือและตะวันออก พ.ศ.๒๕๕๖ สร้างโดยกฐินสามัคคี
- ๑๖.) กำแพงทิศเหนือ - ตะวันออก - ใต้ พ.ศ.๒๕๕๖ – ๒๕๕๗ เจ้าภาพและกฐินสามัคคี
- ๑๗.) ประตูเลื่อนสแตนเลส พ.ศ.๒๕๕๗ สร้างถวายโดย คุณวรากร - รัตนา โรจน์จรัสไพศาล บุตร-สะใภ้และหลาน
- ๑๘.) โรงล้างภาชนะ ๑ หลัง โครงเหล็ก หลังคามุงสันไท พื้นปูกระเบื้อง ขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๖ เมตร พ.ศ.๒๕๕๕ สร้างโดยกฐินสามัคคี
- ๑๙.) โรงเก็บพัสดุอุปกรณ์ ๑ หลัง โครงเหล็ก หลังคามุงสันไท พื้นปูคอนกรีต ขนาดกว้าง ๔ เมตร ยาว ๘ เมตร พ.ศ. ๒๕๕๕ สร้างโดยกฐินสามัคคี
- ๒๐.)โรงจอดรถยนต์ ๑ หลัง โครงเหล็ก หลังคามุงสันไท ขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๓๘ เมตร พ.ศ. ๒๕๕๙ สร้างโดยงบประมาณจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและกฐินสามัคคี
- ๒๑.) ได้ดำเนินการปูกระเบื้องรอบอุโบสถวัดจำปา ตำบลในเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จำนวน ๒๐๐ ตารางเมตร พ.ศ.๒๕๖๒ สร้างโดยกฐินสามัคคี
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]พ.ศ. 2566 ได้รับประทานรางวัลวัดพัฒนาตัวอย่าง ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ คัดเลือกโดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โปรดถวายให้สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (สุชิน อคฺคชิโน) เป็นผู้แทนพระองค์ ประทานรางวัลรางวัลวัดพัฒนาตัวอย่าง ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร (26 กรกฎาคม พ.ศ. 2566)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://srn.onab.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/71367
- ↑ https://www.onab.go.th/th/content/category/detail/id/11/iid/51553
- ↑ "รางวัลวัดพัฒนาตัวอย่าง ปี 2566". Wat Nai Rong (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ อ้างอิง : ข้อมูลจาก พระมหาวันชัย สีลเตโช รองเจ้าอาวาสวัดจำปา อำเภอเมืองสุรินทร์ และเลขานุการเจ้าคณะตำบลในเมือง เขต ๒ ผู้รวบรวมเรียบเรียง
- ↑ "วัดจำปา". ปักหมุดเมืองไทย. 2020-08-12.