ฉบับร่าง:ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย
ฉบับร่างนี้ถูกตีกลับ เมื่อ 6 ธันวาคม 2567 โดย Chainwit. (คุย) แหล่งอ้างอิงในบทความที่ส่งไม่ได้แสดงให้เห็นว่าหัวข้อของบทความมีคุณสมบัติเพียงพอจะมีบทความในวิกิพีเดีย กล่าวคือ ไม่ได้มีการกล่าวถึงหัวเรื่องดังกล่าวอย่างมีนัยยะสำคัญ (คือไม่ได้กล่าวถึงอย่างลอย ๆ) ในแหล่งอ้างอิงที่มีการเผยแพร่ต่อสาธารณะ, เชื่อถือได้, เป็นแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิ ซึ่งเป็นอิสระจากหัวเรื่อง (โปรดดูที่แนวทางว่าด้วยความโดดเด่นขององค์การและบริษัท) ก่อนจะส่งบทความอีกครั้ง คุณควรใส่แหล่งอ้างอิงที่ตรงกับเงื่อนไขดังกล่าวเพิ่มเติม (โปรดดู ความช่วยเหลือทางเทคนิค และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ ข้อผิดพลาดที่ควรเลี่ยง) หากไม่มีแหล่งอ้างอิงอื่นมาเพิ่มเติม หัวข้อดังกล่าวก็อาจไม่เหมาะสมสำหรับวิกิพีเดีย
ขอความช่วยเหลือ
วิธีปรับปรุงบทความของคุณ
คุณยังสามารถดู วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร และ วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ เพื่อค้นหาตัวอย่างบทความที่ดีที่สุดของวิกิพีเดียในหัวข้อที่คล้ายกับบทความที่คุณแจ้งทบทวน ทรัพยากรการแก้ไข
ฉบับร่างนี้ถูกส่งซ้ำและกำลังรอการตรวจทานอีกรอบ |
- ความคิดเห็น: มีแค่อ้างอิงเดียวที่เป็นอ้างอิงที่ไม่ใช่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ตีพิมพ์ ที่ยืนยันความโดดเด่นได้ (คืออ้างอิง 8) ถ้าสามารถเพิ่มอ้างอิงแบบนี้ในเนื้อหาได้จะช่วยได้เยอะเลยครับ -- Chainwit.〈 พูดคุย 〉 04:07, 6 ธันวาคม 2567 (+07)
นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ Colaber (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 14 ชั่วโมงก่อน (ล้างแคช)
ฉบับร่างนี้ถูกส่งสำหรับการทบทวนแล้วและกำลังรอการทบทวน |
ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (อังกฤษ: Thai Space Consortium;TSC) เป็นโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ ของทั้ง 14 หน่วยงาน โดยเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 6 หน่วยงาน ได้แก่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ, สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ, สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน, สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ, สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ, และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สถาบันอุดมศึกษา 7 หน่วยงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม คือ กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม[1] โครงมีจุดประสงค์จัดตั้งโครงการพัฒนาดาวเทียมเพื่อการสำรวจวิจัย และเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศของประเทศไทย
ประวัติ
[แก้]24 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน หารือกันเพื่อจัดตั้งภาคีความร่วมมืออวกาศไทย[2]
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 3 หน่วยงานเข้าพบ ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเสนอโครงการ TSC
23 สิงหาคม พ.ศ. 2561 มีการทำหนังสือแสดงเจตจำนง (LOI) เกี่ยวกับหลักการและข้อตกลงในการร่วมมือด้านเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาดาวเทียมเพื่อการสำรวจอวกาศระหว่าง 3 หน่วยงาน[3]
5 กันยายน พ.ศ. 2561 3 หน่วยงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เข้าพบ ดร.สุวิทย์ เมษินทรียเพื่อเสนอโครงการอีกครั้ง
5 เมษายน พ.ศ. 2564 มีการจัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ทีประกอบด้วย 12 หน่วยงานได้แก่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ, สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ, สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ[4][5]
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เห็นชอบในหลักการของโครงการ
2 กันยายน พ.ศ. 2564 กรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหม เข้าร่วมเป็นสมาชิกภาคี[2]
21 มิถุนายน พ.ศ. 2564 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมเป็นสมาชิกภาคี[6]
ดาวเทียมและยานอวกาศในโครงการ
[แก้]Pathfinder (TSC-P)
[แก้]TCS-P เป็นดาวเทียมสำรวจโลก มีน้ำหนักประมาณ 80 กิโลกรัม โคจรในวงโคจรต่ำของโลกด้วยวงโคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ที่ระดับความสูง 500 กิโลเมตร อุปกรณ์วิจัยหลักเป็นกล้องโทรทัศน์ที่มีความละเอียดภาคพื้น 1 เมตรต่อ 1 พิกเซล เป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากสถาบันทัศนศาสตร์ กลศาสตร์ขั้นสูงและฟิสิกส์แห่งฉางชุน (CIOMP) มีการประกอบและทดสอบในประเทศจีน โดยใช้สถานีภาคพื้นดินของ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ที่อำเภอศรีราชา ดาวเทียมจะมีนำส่งด้วยจรวด Ceres-1 ในปลายปี พ.ศ. 2568 มีดร.พีรพงศ์ ต่อฑีฆะ เป็นผู้จัดการโครงการ[7][8][9]
ดาวเทียมใช้งบประมาณรวมตั้งแต่ปี 2563 ถึงปี 2567 ทั้งสิ้น 443.760 ล้านบาท ส่วนหนึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนและทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)[8]
NARITCube-1
[แก้]NARITCube-1 เป็นดาวเทียมคิวบ์แซทขนาด 3U (100 x 100 x 340 มม.) มวล 5 กิโลกรัม มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบเทคโนโลยีที่ใช้ใน TSC-1 เช่น การถ่ายภาพด้วยกล้อง การรับ-ส่งสัญญาณในช่วง UHF การระบุตำแหน่งและการควบคุมการทรงตัวของดาวเทียม[10] ดาวเทียมมีการประกอบและทดสอบโดย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และมีโครงสร้างและอุปกรณ์ที่ผลิตเองในประเทศ[11] โดยในวันที่ 18 ธันวาคม 2567 เวลา 9:00 น. ตามเวลาประเทศไทยดาวเทียมได้ถูกนำส่งพร้อมกับการทดสอบจรวดไครอส ในเที่ยวบินที่ 2 ของบริษัทเอกชนญี่ปุ่นสเปซวัน[12] ซึ่งหลังจากการปล่อยตัวได้ไม่นาน จรวดเกิดเสียการควบคุมทำให้ระบบสั่งทำลายตัวเอง[13]
TSC-1
[แก้]TSC-1 เป็นดาวเทียมสำรวจโลก มีมวลประมาณ 100 กิโลกรัม โคจรในวงโคจรต่ำของโลกด้วยวงโคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ที่ระดับความสูง 500-600 กิโลเมตร มีอุปกรณ์วิจัยหลักเป็นกล้อง Hyperspectral Imager ความละเอียดภาคพื้น 30 เมตรโดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีอุปกรณ์วิจัยรองเป็นอุปกรณ์สำรวจสภาพอวกาศของสนามแม่เหล็กโลก โดยศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เดวิด จอห์น รูฟโฟโล จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีกำหนดส่งขึ้นสู่อวกาศไม่เกินปี พ.ศ. 2569 มีดร.พงศธร สายสุจริต เป็นผู้จัดการโครงการ การออกแบบถูกดำเนินการ ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่[14][15][16]
ดาวเทียมใช้งบประมาณรวมตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565 ถึงปี 2569 ทั้งสิ้น 891.8 ล้านบาท[16]
TSC-2
[แก้]TSC-2 เป็นยานโคจรสำรวจดวงจันทร์ดวงแรกของประเทศไทย มีภารกิจหลักเพื่อเก็บข้อมูล และสำรวจพื้นผิวของดวงจันทร์มีอุปกรณ์วิจัยเป็น Hyperspectral Imager ที่คล้ายกับ TSC-1 โคจรอยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 100 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวดวงจันทร์ และมีมวลไม่เกิน 300 กิโลกรัม มีแผนส่งขึ้นอวกาศในปี 2570 และใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 18 เดือนจะเริ่มปฏิบัติการสำรวจดวงจันทร์ในปี 2572[7][17]
ยานใช้งบประมาณรวมตั้งแต่ปีงบประมาณ 2566 ถึงปี 2572 ทั้งสิ้น 1050 ล้านบาท[16]
ดูเพิ่ม
[แก้]สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) - Thai Space Consortium
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สมาชิกภาคีความร่วมมืออวกาศไทย
- ↑ 2.0 2.1 รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารภาคีความร่วมมืออวกาศไทยครั้งที่ 1/2564
- ↑ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) - หนังสือแสดงเจตจำนง 3 หน่วยงาน
- ↑ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) - บันทึกความเข้าใจภาคีความร่วมมืออวกาศไทย
- ↑ "12 หน่วยงาน ผนึกกำลังจัดตั้ง "ภาคีความร่วมมืออวกาศไทย" หวังใช้เทคโนโลยีอวกาศพัฒนาคน ยกระดับอุตสาหกรรมไทย". mgronline.com. 2021-04-05.
- ↑ รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารภาคีความร่วมมืออวกาศไทย ครั้งที่ 3/2565
- ↑ 7.0 7.1 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) - Thai Space Consortium
- ↑ 8.0 8.1 รายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ Pathfinder (TSC-P)
- ↑ ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2023-06-29). "โครงการความร่วมมือไทย - สภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน". ฝ่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง.
- ↑ "'หมิงเยว่จ้าวหว่อหวน- ดวงจันทร์ส่องแสงมาที่ฉัน' ดินดวงจันทร์ การค้นพบช่วงเวลาที่ขาดหายไป". thaipost.net. 2024-07-26.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Dungsunenarn, Nattanon (2023-06-10). "อัพเดทโครงการ Thai Space Consortium ปี 2023". SPACETH.CO (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Siwattanasin, Nithiwat (2024-12-05). "ชวนรู้จัก Space One บริษัทจรวดที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่างบริษัทในญี่ปุ่น". SPACETH.CO (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Komiya, Kantaro (December 17, 2024). "Japan's Space One Kairos rocket fails minutes after liftoff"
- ↑ Dungsunenarn, Nattanon (2023-06-10). "อัพเดทโครงการ Thai Space Consortium ปี 2023". SPACETH.CO (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ การดำเนินงานการสร้างและพัฒนา ดาวเทียม TSC-1 ภายใต้ภาคีความ ร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium)
- ↑ 16.0 16.1 16.2 โครงสร้างคําของบประมาณ Thai Space Consortium
- ↑ สรุปใจความสำคัญของร่างข้อเสนอโครงการดาวเทียมวิจัยและ สำรวจดวงจันทร์โดยคนไทย เพื่อยกระดับศักยภาพการแข่งขันของชาติ
โปรดรอสักครู่
หน้านี้อาจใช้ระยะเวลานานถึงหนึ่งสัปดาห์ เนื่องจากฉบับร่างจะได้รับการทบทวนตามลำดับ ขณะนี้มี 95 หน้าที่กำลังรอการทบทวน
ขอความช่วยเหลือ
วิธีปรับปรุงบทความของคุณ
คุณยังสามารถดู วิกิพีเดีย:บทความคัดสรร และ วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพ เพื่อค้นหาตัวอย่างบทความที่ดีที่สุดของวิกิพีเดียในหัวข้อที่คล้ายกับบทความที่คุณแจ้งทบทวน ทรัพยากรการแก้ไข
|