ฉบับร่าง:พระธรรมวัชรวิสุทธิ์ (พรหมา สปฺปญฺโญ)
นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ G789G (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 7 เดือนก่อน (ล้างแคช) |
พระธรรมวัชรวิสุทธิ์ (พรหมา สปฺปญฺโญ) | |
---|---|
ชื่ออื่น | พระคุณท่าน ท่านเจ้าคุณพรหมา ป.ธ.9 |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 7 มกราคม พ.ศ. 2483 (84 ปี) |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | น.ธ.เอก,ป.ธ.9 |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดจักรวรรดิราชาวาส เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร |
อุปสมบท | 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 |
พรรษา | 62 |
ตำแหน่ง | เจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดจักรวรรดิราชาวาส เขตสัมพันธวงศ์,ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 |
พระธรรมวัชรวิสุทธิ์ (พรหมา สปฺปญโญ)[1] [2]ป.ธ.9 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งทางพระสังฆาธิการเป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดจักรวรรดิราชาวาส[3] เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร,ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 (อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ,นครพนม, ยโสธร,มุกดาหาร,อำนาจเจริญ)
ชาติภูมิ
[แก้]พระธรรมวัชรวิสุทธิ์ (พรหมา สปฺปญโญ)[4] ป.ธ.9
มีนามเดิมว่า พรหมา นามสกุลดวงดาว เกิดเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2483 ภูมิลำเนาเดิม ณ บ้านหนองม่วง ตำบลนิคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายอ้วนและนางสอน นามสกุลดวงดาว ครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม ภาษาพูดที่ใช้ในท้องที่ภาษาลาวอีสานบุรีรัมย์
การบรรพชาและอุปสมบท
[แก้]การบรรพชาอุปสมบท เมื่อได้อายุ 22 ปี เข้าพิธีอุปสมบท เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 ณ พัทธสีมาอุโบสถวัดอัมพวัน บ้านหนองม่วง ตำบลนิคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีพระครูจันทศีลคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระสมศักดิ์ ปชฺโชโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระชาย จนฺทวํโส เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้นามฉายาจากพระอุปัชฌาย์ ว่า “สปฺปญฺโญ”อันแปลว่า “ผู้มีปัญญา”
วุฒิการศึกษา
[แก้]ท่านมุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกนักธรรมด้วยความวิริยะอุสาหะจน พ.ศ.2508 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี นักธรรมชั้นโท นักธรรมชั้นเอก ตามลำดับ สังกัดสำนักศาสนศึกษาวัดอัมพวัน บ้านหนองม่วง ตำบลนิคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักเรียนคณะจังหวัดบุรีรัมย์ จากนั้นท่านได้ตัดสินใจมุ่งหน้าเข้าเมืองหลวง ไปอยู่จำพรรษา ณ วัดจักรวรรดิราชาวาส เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2525 ท่านมุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จนสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค สำนักเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการศึกษาชั้นสูงสุดของคณะสงฆ์ประเทศไทย ได้รับความไว้วางใจจากเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร ในขณะนั้น และพระเจ้าคณะปกครองชั้นผู้ใหญ่ มอบหมายภารกิจให้สนองงาน ทั้งในด้านการปกครอง การศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การสาธารณูปการ และอื่นๆ อีกมากมาย
การปกครองบริหารกิจการคณะสงฆ์
[แก้]- พ.ศ.2537 เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง และอาจารย์ใหญ่สำนักเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2542 เป็นรองเจ้าคณะภาค 10 [5][6](อุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,นครพนม,ยโสธร,มุกดาหาร,อำนาจเจริญ)
- พ.ศ. 2545 เป็นรองหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 6 พ.ศ. 2552 เป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวง และเป็นเจ้าสำนักเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2561 เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 6 และเป็นประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการประจำวิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะภาค10[7]
- พ.ศ. 2562 เป็นเจ้าคณะภาค 10 [8] (อุบลราชธานี,ศรีสะเกษ, นครพนม,ยโสธร,มุกดาหาร, อำนาจเจริญ)
- พ.ศ. 2564 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 และเป็นประธานมูลนิธิสังฆพัฒนา
- พ.ศ. 2537 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ในราชทินนามที่ พระศรีธีรวงศ์[9]
- พ.ศ.2545 ได้รับพระราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชโมลี [10]
- พ.ศ.2555 ได้รับพระบรมโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระเทพวิสุทธิโมลี[11]
- 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ในราชทินนามที่ พระธรรมวัชรวิสุทธิ์[12]
ศาสนกิจในต่างประเทศ
[แก้]ย้อนหลังกลับไปเมื่อครั้งยังเป็นพระมหาพรหมา สปฺปญฺโญ ป.ธ.9 ในปี พ.ศ. 2526 เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจเป็นพระธรรมฑูตในประเทศสหรัฐอเมริกา รับบทบาทพัฒนาสถานที่สร้างวัดธัมมาราม (แห่งใหม่) จนได้สมญานาม “เจ้าคุณเกษตร” ปฏิบัติศาสนกิจในวัดธัมมาราม นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วยเหลืองาน ทั้งด้านการปกครอง การศาสนศึกษา การเผยแผ่ เริ่มใช้ชีวิตในเพศบรรพชิตในประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธ์ เขมงฺกโร) ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญที่ พระสุธีรัตนาภรณ์ ด้วยความแปลกใหม่และความแตกต่างจากเมืองไทย ทั้งผู้คน สถานที่และสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ต้องใช้เวลาปรับตัวระยะหนึ่ง ในสมัยเริ่มต้นของวัดธัมมารามนั้นเป็นพระลูกวัด ร่วมปฏิบัติศาสนกิจอย่างจริงจังต้องผ่านอุปสรรคนานัปการ ทำให้ชาวสหรัฐอเมริกาเข้าใจวิถีชีวิตและบทบาทของพระสงฆ์ต่อสังคม รวมทั้ง ทำการเกษตรโดยลงมือถากถางปรับปรุงพื้นที่ ปลูกพืชผักสวนครัวและมีญาติโยมช่วยซื้อผลผลิตนำไปประกอบอาหารไทย นับว่าประสบความสำเร็จ จนได้รับการยอมรับโดยทั่วไป ใช้ชีวิตช่วยงานพระศาสนาในประเทศสหรัฐอเมริกา ยาวนานถึง 16 ปี จึงกลับมาเมืองไทย เพื่อช่วยเหลืองานวัดจักรวรรดิราชาวาส กรุงเทพมหานครในหลายกรณีตราบจนถึงปัจจุบัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกอบพิธีสามีจิกรรม พระเทพวิสุทธิโมลี". www.mcubr.ac.th.
- ↑ "พศจ.ลพบุรี ร่วมพิธีถวายรางวัล". lri.onab.go.th.
- ↑ "มหาเถรสมาคม The Sangha Supreme Council of Thailand". www.mahathera.org.
- ↑ "พิธีพระราชทานสัญญาบัตร พัดยศ และผ้าไตร ณ วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร". ssc.onab.go.th.
- ↑ "พิธีมอบพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช". posttoday. 2015-01-04.
- ↑ "มหาเถรสมาคม The Sangha Supreme Council of Thailand". www.mahathera.org.
- ↑ "มหาเถรสมาคม The Sangha Supreme Council of Thailand". www.mahathera.org.
- ↑ "มหาเถรสมาคมตั้งเจ้าคณะภาคทั่วประเทศ". www.thairath.co.th. 2019-11-29.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๑, ตอนพิเศษ ๕๗ ง, ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗, หน้า ๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๙, ตอนที่ ๒๓ ข, ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๕, หน้า ๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๓๐, ตอนที่ ๙ ข, ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๖, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ ,เล่ม ๑๓๙, ตอนที่ ๔๘ ข, ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๕, หน้า ๔