ฉบับร่าง:นันทนา นันทวโรภาส
นี่คือบทความฉบับร่างซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแก้ไขได้ โปรดตรวจสอบว่าเนื้อหามีลักษณะเป็นสารานุกรมและมีความโดดเด่นควรแก่การรู้จักก่อนที่จะเผยแพร่เป็นบทความลงในวิกิพีเดีย กรุณาอดทนรอผู้เขียนคนอื่นมาช่วยตรวจให้ อย่าย้ายหน้าไปเป็นบทความเองโดยพลการ ค้นหาข้อมูล: Google (books · news · newspapers · scholar · free images · WP refs) · FENS · JSTOR · NYT · TWL สำคัญ: ถ้าลบป้ายนี้ออกจะทำให้บันทึกหน้าไม่ได้ ผู้แก้ไขหน้านี้คนล่าสุด คือ Jeabbabe (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) เมื่อ 23 วันก่อน (ล้างแคช) |
นันทนา นันทวโรภาส | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา กลุ่มการสื่อสารมวลชน | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 (0 ปี 176 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2505 |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
อาชีพ | นักวิชาการ, นักการเมือง |
รองศาสตราจารย์ นันทนา นันทวโรภาส (เกิด 15 สิงหาคม พ.ศ. 2505) สมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 13 เป็นนักพูดและนักวิชาการด้านสื่อสารการเมือง เป็นคณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก ซึ่งเป็นหลักสูตรด้านสื่อสารการเมืองหลักสูตรแรกในประเทศไทย
ประวัติ
[แก้]รองศาสตราจารย์ นันทนา นันทวโรภาส เป็นนักพูดและนักวิชาการด้านสื่อสารการเมืองเป็นผู้บุกเบิกองค์ความรู้ด้านสื่อสารการเมืองในประเทศไทย โดยก่อตั้งวิทยาลัยสื่อสารการเมืองขึ้นในปีพ.ศ.2548 เปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต และปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสื่อสารการเมือง ขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย[1] ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง คณบดีวิทยาลัยสื่อสารการเมือง ม.เกริก[2]
การศึกษา
[แก้]- ศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาเอกประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2522-2525)
- รัฐศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอก การเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2526-2530)
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต วิชาเอก สื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2543-2547)
มีผลงานดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง “การสื่อสารทางการเมือง : ศึกษากรณีการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทย” เป็นวิทยานิพนธ์ที่ศึกษาการนำทฤษฎีการตลาดทางการเมือง มาใช้ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทย จนประสบความสำเร็จได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง เป็นองค์ความรู้ใหม่ ที่ทำให้พรรคการเมืองอื่น ๆ ได้นำเอากลยุทธ์การตลาดทางการเมือง มาใช้ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งในทุกระดับ จนอาจกล่าวได้ว่า ไม่มีพรรคการเมืองใดในประเทศไทย ที่มิได้ใช้ “การตลาดทางการเมือง” ซึ่งต่อมาวิทยานิพนธ์ดังกล่าว ได้จัดพิมพ์เป็นพ็อกเก็ตบุ๊คชื่อ “ชนะเลือกตั้งด้วยพลังการตลาด” โดยสำนักพิมพ์ขอคิดด้วยคน[3]
การทำงาน
[แก้]ในปี พ.ศ. 2567 นันทนาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งวุฒิสภา กลุ่มการสื่อสารมวลชน และได้รับเลือกตั้งเป็นลำดับที่ 9 ของกลุ่ม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ [1]
- ↑ "คณะผู้บริหาร - Krirk University". 2020-07-22.
- ↑ นันทนา นันทวโรภาส (2549). ชนะเลือกตั้งด้วยพลังการตลาด. กรุงเทพฯ: ขอคิดด้วยฅน. ISBN 978-974-93877-3-3.