ข้ามไปเนื้อหา

จือนฺหวี่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จือนฺหวี่
ภาพวาดคู่รักที่ทางเดินยาวในพระราชวังฤดูร้อน ปักกิ่ง
อักษรจีนตัวเต็ม織女
อักษรจีนตัวย่อ织女
ความหมายตามตัวอักษรสาวทอผ้า

จือนฺหวี่ เป็นเทพีแห่งการทอผ้าและดาวเวกาในเทพปกรณัมจีน พระองค์เป็นพระธิดาองค์สุดท้องจากพระธิดาทั้งเจ็ดของเง็กเซียนฮ่องเต้ เชื่อกันว่าพระองค์ทอเสื้อคลุมยาวหลวงของพระบิดาจากก้อนเมฆ[1][2][3]

ตำนาน

[แก้]

จือนฺหวี่เป็นพระธิดาองค์ที่เจ็ดของเง็กเซียนฮ่องเต้ วันหนึ่งขณะเดินทางลงมายังโลกเพื่ออาบน้ำในแม่น้ำ พระองค์พบกับหนิวหลาง หนุ่มเลี้ยงวัว เขาตะลึงกับความงามของพระองค์มากจนตกหลุมรักกับพระองค์ทันทีและขโมยฉลองพระองค์ของพระองค์ไป[4] เมื่อไม่มีฉลองพระองค์ จือนฺหวี่จึงไม่สามารถกลับไปสวรรค์ได้ ดังนั้น พระองค์จึงตัดสินพระทัยแต่งงานกับหนิวหลาง โดยหนิวหลางออกไปทำไร่ ส่วนจือนฺหวี่ทอผ้าที่บ้านและดูแลลูก ๆ ของพวกเขา จือนฺหวี่ตกหลุมรักนานมากจนพระองค์ไม่อยากกลับสวรรค์ อย่างไรก็ตาม เง็กเซียนฮ่องเต้พบตัวพระองค์ โดยมีรับสั่งให้ซีหวังหมู่นำจือนฺหวี่กลับมายังสวรรค์ หนิวหลางโมโหมากหลังรู้ว่าภรรยาถูกนำตัวกลับไปสวรรค์ วัวของหนิวหลางจึงสร้างเรือให้เขานำลูก ๆ ของเขาไปที่สวรรค์

ในตอนที่หนิวหลางกับลูกชายหลายคนของเขากำลังจะถึงสวรรค์ ซีหวังหมู่จึงลงโทษพวกเขาด้วยการสร้างแม่น้ำสวรรค์หรือทางช้างเผือกตรงใจกลางท้องฟ้าแยกคู่รักสองคนตลอดกาล เมื่อทั้งคู่อกหัก จือนฺหวี่จึงกลายเป็นดาวเวกาส่วนหนิวหลางกลายเป็นดาวตานกอินทรี

หลังจากนั้น ซีหวังหมู่ได้อนุญาตให้ทั้งคู่พบกันได้แค่ครั้งเดียวในวันที่เจ็ด เดือนเจ็ด เมื่อมีฝูงนกสาลิกาบินไปที่ท้องฟ้าและสร้างสะพานให้ทั้งคู่เดินข้าม[5][6] วันที่ฉลองมีชื่อว่า "เทศกาลซีซี" ซึ่งมีอีกชื่อว่า วันวาเลนไทน์ของจีน[7]

เนื้อเรื่องนี้กลายเป็นหนึ่งในนิทานที่ยิ่งใหญ่ทั้งสี่ของ "ขบวนการนิทานพื้นบ้าน" (Folklore Movement) ในคริสต์ทศวรรษ 1920—ส่วนอีกสามเรื่องคือตำนานนางพญางูขาว, พระนางเมิ่งเจียง และม่านประเพณี[8]

ภาพ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "China Today" (ภาษาอังกฤษ). China Welfare Institute. 2005.
  2. "Zhi Nu Mythology & Facts". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
  3. Ohtsuka, Yasuyo. "Photos: The star-crossed lovers of China and Japan's literary traditions". Scroll.in.
  4. Tone, Sixth (26 August 2020). "Chinese Valentine's Day Folktale Sparks Discussion on Abuse". Sixth Tone (ภาษาอังกฤษ).
  5. "Explainer: The Story of Qixi, AKA Chinese Valentine's Day". Thats Mags. 21 August 2020.
  6. "Qixi Festival – Google celebrates Chinese traditional festival on Aug 25 this year". Devdiscourse (ภาษาอังกฤษ). 25 August 2020.
  7. Laban, Barbara (8 February 2016). "Top 10 Chinese myths". The Guardian.
  8. Idema, Wilt L. (2012). "Old Tales for New Times: Some Comments on the Cultural Translation of China's Four Great Folktales in the Twentieth Century" (PDF). Taiwan Journal of East Asian Studies. 9 (1): 26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-10-06.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]