ข้ามไปเนื้อหา

ดาวเวกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดาวเวกา

ตำแหน่งของดาวเวกาในกลุ่มดาวพิณ
ข้อมูลสังเกตการณ์
ต้นยุคอ้างอิง J2000.0      วิษุวัต J2000.0
กลุ่มดาว พิณ
Pronunciation /ˈvɡə/
หรือ /ˈvɡə/
ไรต์แอสเซนชัน 18h 36m 56.33635s[1]
เดคลิเนชัน +38° 47′ 01.2802″[1]
ความส่องสว่างปรากฏ (V) 0.03[2]
คุณสมบัติ
ชนิดสเปกตรัมA0V[3]
ดัชนีสี U-B−0.01[2]
ดัชนีสี B-V+0.00[2]
ชนิดดาวแปรแสงSuspected Delta Scuti[4]
มาตรดาราศาสตร์
ความเร็วแนวเล็ง (Rv)13.9 ± 0.9[5] km/s
การเคลื่อนที่เฉพาะ (μ) RA: 200.94[1] mas/yr
Dec.: 286.23[1] mas/yr
พารัลแลกซ์ (π)130.23 ± 0.36[1] mas
ระยะทาง25.04 ± 0.07 ly
(7.68 ± 0.02 pc)
ความส่องสว่างสัมบูรณ์ (MV)0.58
รายละเอียด
มวล2.135 ± 0.074[6] M
รัศมี2.362 × 2.818[6] R
แรงโน้มถ่วงที่พื้นผิว (log g)4.1 & 0.1[7]
กำลังส่องสว่าง40.12 ± 0.45[6] L
อุณหภูมิ9,602 ± 180[8] (8,152–10,060 K)[6] K
การหมุนตัว12.5 h
ความเร็วในการหมุนตัว (v sin i)20.48 ± 0.11[6] km/s
ชื่ออื่น
Wega,[9] Lucida Lyrae,[10] Alpha Lyrae, α Lyrae, 3 Lyr, GJ 721, HR 7001, BD +38°3238, HD 172167, GCTP 4293.00, LTT 15486, SAO 67174, HIP 91262,[2] 织女一

ดาวเวกา (อังกฤษ: Vega) หรือแอลฟาพิณ (อังกฤษ: Alpha Lyrae) เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวพิณ ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดเป็นอันดับห้าในท้องฟ้าราตรี และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดเป็นอันดับสองในซีกฟ้าเหนือ รองจากดาวอาร์คตุรุส ดาวเวกาอยู่ค่อนข้างใกล้โลก ระยะห่างจากโลก 25 ปีแสง และดาวเวกา กับดาวอาร์คตุรุสและดาวซิริอุส เป็นหนึ่งในกลุ่มดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในย่านดวงอาทิตย์

นักดาราศาสตร์ศึกษาดาวเวกาอย่างละเอียด ทำให้ได้ชื่อว่า "อาจเป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญที่สุดในท้องฟ้ารองจากดวงอาทิตย์"[11] ดาวเวกาเคยเป็นดาวเหนือเมื่อราว 12,000 ปีก่อน ค.ศ. และจะกลับมาเป็นดาวเหนืออีกราว ค.ศ. 13727 เมื่อมุมบ่ายเบนเป็น +86°14'[12] ดาวเวกาเป็นดาวฤกษ์ดวงที่สองที่มีการถ่ายภาพ ถัดจากดวงอาทิตย์ และเป็นดาวแรกที่มีการบันทึกสเปคตรัม เป็นหนึ่งในดาวฤกษ์ดวงแรก ๆ ที่มีการประเมินระยะห่างด้วยการวัดพารัลแลกซ์ ดาวเวกาเป็นเส้นฐานสำหรับการปรับมาตรความสว่างของการวัดแสง (photometry) และเคยเป็นดาวฤกษ์ที่ใช้นิยามค่ามัธยฐานสำหรับระบบวัดแสงอัลตราไวโอเล็ตบี

ดาวเวกาอายุได้หนึ่งในสิบของดวงอาทิตย์ แต่ใหญ่กว่า 2.1 เท่า อายุขัยคาดหมายอยู่ที่หนึ่งในสิบของดวงอาทิตย์ ปัจจุบัน ดาวฤกษ์ทั้งสองกำลังย่างเข้าจุดกึ่งกลางอายุคาดหมายของพวกมัน ดาวเวกามีความอุดมของธาตุที่มีเลขอะตอมสูงกว่าฮีเลียมต่ำผิดปกติ[8] และยังต้องสงสัยว่าเป็นดาวแปรแสงซึ่งอาจมีความสว่างผันแปรน้อยมากในลักษณะเป็นคาบ[13] ดาวเวกาหมุนเร็ว โดยมีความเร็ว 274 กิโลเมตรต่อวินาทีที่เส้นศูนย์สูตร ส่งผลให้เส้นศูนย์สูตรโป่งออกเพราะผลหนีศูนย์กลาง และมีความผันแปรของอุณหภูมิทั่วโฟโตสเฟียร์ (photosphere) ของดาวโดยมีอุณหภูมิสูงสุดที่ขั้วทั้งสอง ดาวเวกาสังเกตจากโลกได้โดยทิศทางของขั้วดาว[14]

ดาวเวกาดูเหมือนว่ามีแผ่นจานดาวฤกษ์ฝุ่น สังเกตได้จากการปล่อยรังสีอินฟราเรดที่สังเกต ฝุ่นนี้มีแนวโน้มเป็นผลจากการชนกับวัตถุในแผ่นฝุ่นที่โคจรอยู่ ซึ่งเปรียบได้กับแถบไคเปอร์ในระบบสุริยะ[15] ดาวฤกษ์ที่แสดงอินฟราเรดเกินเพราะการปล่อยฝุ่นเรียก ดาวฤกษ์คล้ายเวกา[16] ความผิดปกติในแผ่นของเวกานี้แนะว่าอาจมีดาวเคราะห์อย่างน้อยหนึ่งดวง ซึ่งน่าจะมีขนาดราวดาวพฤหัสบดี[17] โคจรรอบดาวเวกาอยู่[18]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 van Leeuwen, F. (November 2007), "Validation of the new Hipparcos reduction", Astronomy and Astrophysics, 474 (2): 653–664, arXiv:0708.1752, Bibcode:2007A&A...474..653V, doi:10.1051/0004-6361:20078357
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Staff, "V* alf Lyr – Variable Star", SIMBAD, Centre de Données astronomiques de Strasbourg, สืบค้นเมื่อ 2007-10-30—use the "display all measurements" option to show additional parameters.
  3. Morgan, W. W.; Keenan, P. C., "Spectral Classification", Annual Review of Astronomy and Astrophysics, 11: 29, Bibcode:1973ARA&A..11...29M, doi:10.1146/annurev.aa.11.090173.000333
  4. Fernie, J. D. (1981), "On the variability of Vega", Astronomical Society of the Pacific, 93 (2): 333–337, Bibcode:1981PASP...93..333F, doi:10.1086/130834
  5. Evans, D. S. (June 20–24, 1966), "The Revision of the General Catalogue of Radial Velocities", Proceedings from IAU Symposium no. 30, London, England: Academic Press, p. 57, Bibcode:1967IAUS...30...57E
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Yoon, Jinmi; และคณะ (January 2010), "A New View of Vega's Composition, Mass, and Age", The Astrophysical Journal, 708 (1): 71–79, Bibcode:2010ApJ...708...71Y, doi:10.1088/0004-637X/708/1/71
  7. Aufdenberg, J.P.; และคณะ (2006), "First results from the CHARA Array: VII. Long-Baseline Interferometric Measurements of Vega Consistent with a Pole-On, Rapidly Rotating Star?", Astrophysical Journal, 645 (1): 664–675, arXiv:astro-ph/0603327, Bibcode:2006ApJ...645..664A, doi:10.1086/504149
  8. 8.0 8.1 Kinman, T.; Castelli, F. (2002), "The determination of Teff for metal-poor A-type stars using V and 2MASS J, H and K magnitudes", Astronomy and Astrophysics, 391 (3): 1039–1052, Bibcode:2002A&A...391.1039K, doi:10.1051/0004-6361:20020806
  9. Allen, Richard Hinckley (1963), Star Names: Their Lore and Meaning, Courier Dover Publications, ISBN 0-486-21079-0
  10. Kendall, E. Otis (1845), Uranography: Or, A Description of the Heavens; Designed for Academics and Schools; Accompanied by an Atlas of the Heavens, Philadelphia: Oxford University Press
  11. Gulliver, Austin F.; Hill, Graham; Adelman, Saul J. (1994), "Vega: A rapidly rotating pole-on star", The Astrophysical Journal, 429 (2): L81–L84, Bibcode:1994ApJ...429L..81G, doi:10.1086/187418
  12. Calculation by the Stellarium application version 0.10.2, สืบค้นเมื่อ 2009-07-28
  13. I.A., Vasil'yev; และคณะ (1989-03-17), On the Variability of Vega, Commission 27 of the I.A.U, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-23, สืบค้นเมื่อ 2007-10-30
  14. Peterson, D. M.; และคณะ (1999), "Vega is a rapidly rotating star", Nature, 440 (7086): 896–899, arXiv:astro-ph/0603520, Bibcode:2006Natur.440..896P, doi:10.1038/nature04661, PMID 16612375
  15. Su, K. Y. L.; และคณะ (2005), "The Vega Debris Disk: A Surprise from Spitzer", The Astrophysical Journal, 628 (1): 487–500, arXiv:astro-ph/0504086, Bibcode:2005ApJ...628..487S, doi:10.1086/430819
  16. Song, Inseok; และคณะ (2002), "M-Type Vega-like Stars", The Astronomical Journal, 124 (1): 514–518, arXiv:astro-ph/0204255, Bibcode:2002AJ....124..514S, doi:10.1086/341164
  17. Wilner, D.; และคณะ (2002), "Structure in the Dusty Debris around Vega", The Astrophysical Journal, 569 (2): L115–L119, arXiv:astro-ph/0203264, Bibcode:2002ApJ...569L.115W, doi:10.1086/340691
  18. Wyatt, M. (2002), "Resonant Trapping of Planetesimals by Planet Migration: Debris Disk Clumps and Vega's Similarity to the Solar System", The Astrophysical Journal, 598 (2): 1321–1340, arXiv:astro-ph/0308253, Bibcode:2003ApJ...598.1321W, doi:10.1086/379064