จิรวุฒิ สิงห์โตทอง
จิรวุฒิ สิงห์โตทอง | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 184 วัน) | |
ก่อนหน้า | สรวุฒิ เนื่องจำนงค์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2500 อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี |
พรรคการเมือง | รวมไทยสร้างชาติ (2565–ปัจจุบัน) |
จิรวุฒิ สิงห์โตทอง (เกิด 19 สิงหาคม พ.ศ. 2500) ชื่อเล่น เป้า เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย เป็นบุตรชายของดรงค์ สิงห์โตทอง[1]
ประวัติ
[แก้]จิรวุฒิ เป็นบุตรของดรงค์ สิงห์โตทอง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี อดีตหัวหน้าพรรคสันติชน กับนางอารีย์ สิงห์โตทอง
สำเร็จการศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการพัฒนาชุมชน จากสถาบันราชภัฏราชนครินทร์
การทำงาน
[แก้]จิรวุฒิ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคชาติไทย แต่แพ้ให้กับสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ และพลตำรวจตรี วีระ อนันตกูล จากพรรคประชาธิปัตย์ และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จิรวุฒิย้ายไปสังกัดพรรคเพื่อไทย และลงสมัครรับเลือกตั้งแข่งกับสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จิรวุฒิก็ลงสมัครรับเลือกตั้งแข่งขันกับสรวุฒิ ซึ่งย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ แต่เป็นสรวุฒิที่ชนะการเลือกตั้งอีกสมัย
ในปี 2563 จิรวุฒิ ให้การสนับสนุนคณะก้าวหน้า[2] ในนามหัวหน้ากลุ่ม อนค.ชลบุรี[3] โดยการส่งบุตรสาว พลอยลภัสร์ สิงห์โตทอง ลงสมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี[4] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ในปี 2565 เมื่อพรรคเพื่อไทยเลือกส่งสรวุฒิ ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย[5] ส่งผลให้จิรวุฒิ ตัดสินใจย้ายไปร่วมงานกับสุชาติ ชมกลิ่น[6] แกนนำชลบุรีพรรครวมไทยสร้างชาติ และลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 และสามารถเอาชนะสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ ได้เป็น สส.ชลบุรี สมัยแรก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศึก 2 ตระกูลเมืองชล ‘เนื่องจำนงค์ - สิงห์โตทอง’
- ↑ ศึกพัทยา "จิรวุฒิ สิงห์โตทอง" หนุน "ธนาธร" สางแค้นคุณปลื้ม
- ↑ ‘จิรวุฒิ สิงห์โตทอง’ หัวหน้ากลุ่ม อนค.ชลบุรี ลั่น พร้อมดีเบตสู้ศึกเลือกตั้ง อบจ.
- ↑ ศึก 2 ตระกูล"สิงห์โตทอง-คุณปลื้ม"ชิงนายก อบจ.ชลบุรี
- ↑ ‘นายกเป้า’ โวย พท. จัดทัพเมืองชล เอาพวกด่าเผาบ้านเผาเมือง มาลงแทน ยุติธรรมหรือ?
- ↑ จ้าวป่าลุยคุณปลื้ม “จิรวุฒิ สิงห์โตทอง” เลือก“เฮ้ง” นักเลงเมืองชล
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๗๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2500
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคชาติไทย
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- พรรครวมไทยสร้างชาติ
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.