จารึกสิงคโปร์
หน้าตา
จารึกสิงคโปร์ | |
---|---|
ภาพขาวดำของจารึกสิงคโปร์ (บน) และภาพการแกะลายชิ้นส่วนบนจารึกโดยศิลปิน ในบทความของ J.W. Laidlay ที่ตีพิมพ์ใน Journal of the Asiatic Society of Bengal (ล่าง) เมื่อ ค.ศ. 1848 | |
วัสดุ | หินทราย |
ขนาด | 67 เซนติเมตร (26 นิ้ว), 80 กิโลกรัม (180 ปอนด์) |
ตัวหนังสือ | ไม่ทราบ น่าจะชวาเก่าหรือสันสกฤต |
สร้าง | อย่างน้อยในคริสต์ศตวรรษที่ 13 และมีความเป็นไปได้ที่คริสต์ศตวรรษที่ 10 หรือ 11 |
ค้นพบ | ค.ศ. 1819 ปากแม่น้ำสิงคโปร์ |
ที่อยู่ปัจจุบัน | จัดแสดงในห้องแสดงภาพประวัติศาสตร์สิงคโปร์ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสิงคโปร์ |
จารึกสิงคโปร์ เป็นชิ้นส่วนของศิลาจารึกที่พบในบริเวณปากแม่น้ำสิงคโปร์ ซึ่งเชื่อกันว่าจารึกดังกล่าวอาจจะทำขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 13 หรืออาจจะเก่าแก่ถึงศตวรรษที่ 10 หรือ จารึกดังกล่าวยังไม่มีผู้ถอดความได้ นักวิชาการได้ตั้งข้อสังเกตว่าข้อความในจารึกดังกล่าวอาจจะเป็นภาษาชวาโบราณหรือภาษาสันสกฤต ซึ่งกล่าวแนะถึงความเป็นไปได้ว่าเกาะนี้เคยเป็นส่วนเพิ่มเติมของอารยธรรมมัชปาหิตในอดีต[1] โดยผู้ที่ทำจารึกดังกล่าวขึ้นน่าจะเป็นชาวสุมาตรา
ปัจจุบันจารึกดังกล่าวได้จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสิงคโปร์ และถือว่าเป็นสมบัติประจำชาติของสิงคโปร์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Cornelius-Takahama, Vernon (30 March 2000). "The Singapore Stone". Singapore Infopedia, National Library, Singapore. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2020. สืบค้นเมื่อ 16 October 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ จารึกสิงคโปร์