ข้ามไปเนื้อหา

จานทราต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จานทราต
ดวงจันทร์เสี้ยว เป็นจุดเริ่มต้นของอีดิลฟิฏร์ใน ค.ศ. 2020
จัดขึ้นโดยมุสลิม
ประเภทอิสลาม
ส่วนเกี่ยวข้องเราะมะฎอน, อีดิลฟิฏร์, อีดิลอัฎฮา

จานทราต (เบงกอล: চাঁদ রাত, อูรดู: چاند رات, ฮินดี: चाँद रात; แปลว่าคืนแห่งแสงจันทร์) เป็นสำนวนภาษาเบงกอล, ฮินดูสตานี และฮินดีที่ใช้ในประเทศบังกลาเทศ, ปากีสถาน และอินเดียสำหรับการฉลองวันก่อนอีดิลฟิฏร์ของชาวมุสลิม และอาจหมายถึงคืนจันทร์ดับที่เป็นสัญลักษณ์ของการเข้าเดือนเชาวาล จานด์ราตเป็นช่วงเวลาที่ครอบครัวกับเพื่อนฉลองกันในที่เปิด ในวันสุดท้ายของเราะมะฎอนเพื่อดูจันทร์ดับ ซึ่งเป็นสัญญาณการมาของเดือนเชาวาลและวันอีด เมื่อเห็นดวงจันทร์แล้ว ผู้คนจะกล่าวให้พรแก่กันว่า จานทราตมุบาร็อก ("สุขสันต์คืนจันทร์ดับ") หรือ อีดมุบาร็อก ("สุขสันต์วันอีด") ผู้หญิงจะตกแต่งมือเธอด้วยเมห์นดี (เฮนน่า), ผู้คนจะเตรียมของหวานสำหรับวันอีดและไปซื้อของครั้งสุดท้าย[1] ถนนในเมืองดูสว่าง ห้างกับตลาดถูกประดับด้วยเครื่องตกแต่งและจะเปิดต่อในเวลากลางคืน[2][3] จานทราต เป็นงานฉลองของชาวมุสลิม (และบางครั้งก็มีคนต่างศาสนิกด้วย) ในเอเชียใต้ ซึ่งเทียบได้กับคริสต์มาสอีฟ

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

คำศัพท์นี้มาจากภาษาสันสกฤตสองคำ คือ จันตระ (चंद्र) "ดวงจันทร์"[4] กับ ราตรี (रात्रि) "กลางคืน"[5]

การฉลอง

[แก้]
การฉลอง จานด์ราต ที่ไฮเดอราบาด, ประเทศอินเดีย

หลังจากคณะกรรมธิการรูเอ็ต-อี-ฮิลาล (Ruet-e-Hilal Committee) ประกาศเห็นจันทร์ดับ โดยจะมีการประกาศจากมัสยิด, ช่องโทรทัศน์ และสถานีวิทยุแล้ว การฉลองจะเริ่มเกือบทันทีและดำเนินการต่อจนถึงเวลาละหมาดซุบฮี ครอบครัวทั้งหมดจะไปที่บาซาร์, ตลาด และห้างสรรพสินค้า ผู้หญิงมักซื้อชัลวาร์กะมีซ (Shalwar Kameez), กำไล, เครื่องเพชร และกระเป๋า ในขณะที่ผู้ชายจะสนใจกับรองเท้า มีการให้ของขวัญและของหวานกับเพื่อน ส่วนของเล่นจะให้แก่เด็ก ๆ ในช่วงเย็นมีคนไปร้านตัดผมและร้านเสริมสวยมากเพื่อเตรียมตัวสำหรับวันถัดมา ผู้หญิงและเด็กหญิงจะตกแต่งมือเธอด้วยเมห์นดี มีการประดับไฟในตลาด, อาคารรัฐบาล, ธนคาร และมัสยิด จานด์ราตเป็นช่วงที่ผู้คนเยี่ยมเพื่อนกับญาติห่าง ๆ[6]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Jamila Achakzai. "'Chand Raat' is here again". The News. สืบค้นเมื่อ 25 June 2017.
  2. Adeela Akmal. "12 Things That Only Pakistanis Do On Chand Raat". Web Chutney. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2018. สืบค้นเมื่อ 25 June 2017.
  3. "City gears for Chand Raat". Times of India. 5 December 2002. สืบค้นเมื่อ 2009-08-01.
  4. "चन्द्र, candra, moon". Spoken Sanskrit Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2009-08-01.
  5. "रात्रि, raatri, night". Spoken Sanskrit Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2009-08-01.
  6. S.K. Pakistan. "13 Times Pakistanis Go Wild On Every Chaand Raat". Shugal.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 November 2018. สืบค้นเมื่อ 25 June 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]