จังหวัดของประเทศเกาหลีใต้
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก จังหวัดในเกาหลีใต้)
จังหวัด 도 (道) โท | |
---|---|
หมวดหมู่ | รัฐเดี่ยว |
ที่ตั้ง | สาธารณรัฐเกาหลี |
จำนวน | 22 แห่ง (เป็นของเกาหลีใต้ 15 แห่ง, เกาหลีเหนือ 5 แห่ง, และคาบเกี่ยวสองประเทศ 2 แห่ง) |
ประชากร | น้อยที่สุด: นครเซจง 276,589 คน มากที่สุด: จังหวัดคย็องกี 12,239,862 คน |
พื้นที่ | เล็กที่สุด: จังหวัดเชจู 4,790 km2 (1,849 sq mi) ใหญ่ที่สุด: จังหวัดคังว็อน 53,270 km2 (20,569 sq mi) |
เขตการปกครอง ของประเทศเกาหลีใต้ |
---|
ระดับจังหวัด |
|
ระดับเทศบาล |
|
ระดับย่อยของเทศบาล |
|
เขตการปกครองระดับจังหวัด เป็นเขตการปกครองระดับแรกสุดของประเทศเกาหลีใต้ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ จังหวัด จังหวัดปกครองตนเองพิเศษ นครพิเศษ นครปกครองตนเองพิเศษ และมหานคร
ประเภท
[แก้]- จังหวัด (โท, 도, 道) มีทั้งหมด 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุงช็องเหนือ จังหวัดชุงช็องใต้ จังหวัดคย็องกี จังหวัดคย็องซังเหนือ จังหวัดคย็องซังใต้ และจังหวัดช็อลลาใต้
- จังหวัดปกครองตนเองพิเศษ (ทึกบย็อลจาชี-โด, 특별자치도, 特別自治道) เป็นจังหวัดที่มีอิสระในการปกครองตนเองในด้านเศรษฐกิจ และให้อำนาจในการบริหารจังหวัดมากขึ้น มีทั้งหมด 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชจู จังหวัดคังว็อน และจังหวัดช็อนบุก
- มหานคร (ควังย็อก-ซี, 광역시, 廣域市) เป็นเมืองเอกที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัด มีความคงอยู่แบบเป็นเอกเทศและมีระบบการปกครองตนเอง โดยอาจเปรียบเทียบกับนครปกครองโดยตรงของประเทศจีน หรือเทศมณฑลมหานครของประเทศอังกฤษ ประเทศเกาหลีใต้มีมหานคร 6 แห่ง และมีสถานะเทียบเท่าจังหวัด โดยก่อน ค.ศ. 1995 จะเรียกว่า "นครควบคุมโดยตรง" (직할시, 直轄市)
- นครพิเศษ (ทึกบย็อล-ชี, 특별시, 特別市) มีเพียงแห่งเดียว คือ โซล เคยได้รับการจัดตั้งเป็น "นครอิสระพิเศษ" (특별자유시; 特別自由市) โดยแยกการปกครองออกมาจากจังหวัดคย็องกี เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1946 และเปลี่ยนสถานะเป็น "นครพิเศษ" เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1949[1]
- นครปกครองตนเองพิเศษ (ทึกบย็อลจาชี-ชี, 특별자치시, 特別自治市) มีเพียงแห่งเดียว คือ นครเซจง
ผู้บริหารสูงสุดของจังหวัด คือ ผู้ว่าการจังหวัด ส่วนของนครพิเศษและมหานครจะเป็น นายกเทศมนตรี ซึ่งทั้งผู้ว่าการจังหวัดและนายกเทศมนตรีจะได้รับการเลือกตั้งในทุก ๆ สี่ปี
รายชื่อเขตการปกครองระดับจังหวัด
[แก้]จังหวัดและจังหวัดปกครองตนเองพิเศษ
[แก้]จังหวัดใน ประวัติศาสตร์ |
ตราประจำ จังหวัด |
ชื่อ | ฮันกึล | ฮันจา | ประเภท | ISO | ประชากร ค.ศ. 2011 (คน)[2] |
พื้นที่ (ตร.กม.) |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
เมืองหลวง | ภูมิภาค | คำย่อ | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชุงช็อง | ชุงช็องเหนือ | 충청북도 | 忠淸北道 | จังหวัด | KR-43 | 1,588,633 | 7,433[3] | 213 | ช็องจู | โฮซอ | ชุงบุก | 충북 | 忠北 | |
ชุงช็องใต้ | 충청남도 | 忠淸南道 | จังหวัด | KR-44 | 2,064,665 | 8,204[4] | 251 | ฮงซ็อง | ชุงนัม | 충남 | 忠南 | |||
คังว็อน | คังว็อน | 강원특별자치도 | 江原特別自治道 | จังหวัดปกครองตนเองพิเศษ | KR-42 | 1,549,780 | 20,569[5] | 75 | ชุนช็อน | ควันดง | คังว็อน | 강원 | 江原 | |
คย็องกี | คย็องกี | 경기도 | 京畿道 | จังหวัด | KR-41 | 12,239,862 | 10,171[6] | 1,203 | ซูว็อน | ซูโดกว็อน | คย็องกี | 경기 | 京畿 | |
คย็องซัง | คย็องซังเหนือ | 경상북도 | 慶尙北道 | จังหวัด | KR-47 | 2,739,179 | 19,030[7] | 144 | อันดง | ย็องนัม | คย็องบุก | 경북 | 慶北 | |
คย็องซังใต้ | 경상남도 | 慶尙南道 | จังหวัด | KR-48 | 3,374,725 | 10,532[8] | 320 | ชังว็อน | คย็องนัม | 경남 | 慶南 | |||
ช็อลลา | ช็อนบุก | 전라북도 | 全羅北道 | จังหวัดปกครองตนเองพิเศษ | KR-45 | 1,895,882 | 8,043 | 236 | ช็อนจู | โฮนัม | ช็อนบุก | 전북 | 全北 | |
ช็อลลาใต้ | 전라남도 | 全羅南道 | จังหวัด | KR-46 | 1,938,136 | 11,858 | 163 | มูอัน | ช็อนนัม | 전남 | 全南 | |||
เชจู | 제주특별자치도 | 濟州特別自治道 | จังหวัดปกครองตนเองพิเศษ | KR-49 | 583,284 | 1,849[9] | 315 | เชจู | เชจู | เชจู | 제주 | 濟州 |
มหานคร นครพิเศษ และนครปกครองตนเองพิเศษ
[แก้]ตราประจำ จังหวัด |
ชื่อ | ฮันกึล | ฮันจา | ประเภท | ISO | ประชากร ค.ศ. 2017 (คน) |
พื้นที่ (ตร.กม.) |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
ศูนย์กลาง การปกครอง |
ภูมิภาค | จังหวัดที่ แยกออกมา |
ปีที่แยก ออกมา |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ปูซาน (พูซัน) |
부산광역시 | 釜山廣域市 | มหานคร | KR-26 | 3,416,918 | 769.89 | 4,438.18 | เขตย็อนเจ | ย็องนัม | คย็องซังใต้ | 1963 | |
แทกู | 대구광역시 | 大邱廣域市 | มหานคร | KR-27 | 2,453,041 | 883.56 | 2,776.31 | เขตชุง | ย็องนัม | คย็องซังเหนือ | 1981 | |
อินช็อน | 인천광역시 | 仁川廣域市 | มหานคร | KR-28 | 2,925,967 | 1,062.60 | 2,753.59 | เขตนัมดง | ซูโดกว็อน | คย็องกี | 1981 | |
ควังจู | 광주광역시 | 光州廣域市 | มหานคร | KR-29 | 1,496,172 | 501.24 | 2,984.94 | เขตซอ | โฮนัม | ช็อลลาใต้ | 1986 | |
แทจ็อน | 대전광역시 | 大田廣域市 | มหานคร | KR-30 | 1,525,849 | 539.35 | 2,829.05 | เขตซอ | โฮซอ | ชุงช็องใต้ | 1989 | |
เซจง | 세종특별자치시 | 世宗特別自治市 | นครปกครองตนเองพิเศษ | KR-50 | 276,589 | 465.23 | 594.52 | แขวงโพรัม | โฮซอ | ชุงช็องใต้ | 2012 | |
โซล (ซออุล) |
서울특별시 | 서울特別市 | นครพิเศษ | KR-11 | 9,741,381 | 605.21 | 16,095.86 | เขตชุง | ซูโดกว็อน | คย็องกี | 1946 | |
อุลซัน | 울산광역시 | 蔚山廣域市 | มหานคร | KR-31 | 1,157,077 | 1,060.79 | 1,090.76 | เขตนัม | ย็องนัม | คย็องซังใต้ | 1997 |
จังหวัดอ้างสิทธิ์
[แก้]ประเทศเกาหลีใต้อ้างสิทธิ์จังหวัด 5 จังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ของประเทศเกาหลีเหนือ จังหวัดอ้างสิทธิ์เหล่านี้บริหารจัดการโดยคณะกรรมการ 5 จังหวัดภาคเหนือเกาหลี (เกาหลี: 이북5도위원회; ฮันจา: 以北五道委員會) โดยจังหวัดทั้งห้านี้ยึดอาณาเขตในสมัยที่ญี่ปุ่นปกครองเกาหลี และแตกต่างจากจังหวัดของประเทศเกาหลีเหนือในปัจจุบัน
จังหวัดในประวัติศาสตร์ | ชื่อ | ฮันกึล | ฮันจา | พื้นที่ (ตร.กม.) | เมืองหลวง | ภูมิภาค | คำย่อ | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ฮัมกย็อง | ฮัมกย็องเหนือ | 함경북도 | 咸鏡北道 | 20,345 | ช็องจิน | ควันบุก | ฮัมบุก | 함북 | 咸北 |
ฮัมกย็องใต้ | 함경남도 | 咸鏡南道 | 31,977 | ฮัมฮึง | ควันนัม | ฮัมนัม | 함남 | 咸南 | |
พย็องอัน | พย็องอันเหนือ | 평안북도 | 平安北道 | 28,443 | ชินอึยจู | ควันซอ | พย็องบุก | 평북 | 平北 |
พย็องอันใต้ | 평안남도 | 平安南道 | 14,944 | เปียงยาง (พย็องยัง) | พย็องนัม | 평남 | 平南 | ||
ฮวังแฮ | ฮวังแฮ | 황해도 | 黃海道 | 16,744 | แฮจู | แฮซอ | ฮวังแฮ | 황해 | 黃海 |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 행정연혁 (ภาษาเกาหลี). Seoul Metropolitan Government. สืบค้นเมื่อ 15 March 2013.
- ↑ "South Korea Administrative Districts". CityPopulation.de. สืบค้นเมื่อ 2013-03-14.
- ↑ 충북면적 (ภาษาเกาหลี). North Chungcheong Province. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2014. สืบค้นเมื่อ 18 March 2013.
- ↑ 일반현황 (ภาษาเกาหลี). South Chungcheong Province. สืบค้นเมื่อ 18 March 2013.
- ↑ "Natural Environment". Gangwon Province. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2013. สืบค้นเมื่อ 18 March 2013.
- ↑ 위치와 자연환경 (ภาษาเกาหลี). Gyeonggi Province. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2014. สืบค้นเมื่อ 18 March 2013.
- ↑ 경북현황 (ภาษาเกาหลี). North Gyeongsang Province. สืบค้นเมื่อ 18 March 2013.
- ↑ 일반 현황 (ภาษาเกาหลี). South Gyeongsang Province. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2014. สืบค้นเมื่อ 18 March 2013.
- ↑ "Geography". Jeju Province. สืบค้นเมื่อ 18 March 2013.