จังหวัดนครจัมปาศักดิ์
จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จังหวัด | |||||||||||||
พ.ศ. 2484 – 2489 | |||||||||||||
จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ (แสดงด้วยพื้นที่สีเขียว) | |||||||||||||
การปกครอง | |||||||||||||
• ประเภท | ราชการส่วนภูมิภาค | ||||||||||||
เจ้าผู้ครอง | |||||||||||||
• พ.ศ. 2484–2489 | เจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์) | ||||||||||||
ยุคทางประวัติศาสตร์ | สงครามโลกครั้งที่ 2 | ||||||||||||
9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 | |||||||||||||
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 | |||||||||||||
| |||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | กัมพูชา ลาว |
จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ เป็น 1 ใน 4 จังหวัดที่ประเทศไทยได้ดินแดนคืนจากฝรั่งเศสในช่วง พ.ศ. 2484 โดยยกท้องที่การปกครองเมืองจำปาศักดิ์ ซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับมณฑลอุบลราชธานีในสมัยรัชกาลที่ 5 และตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2447 ขึ้นเป็นจังหวัด ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไทยต้องส่งดินแดนดังกล่าวให้แก่ฝรั่งเศส ซึ่งปกครองประเทศลาวในขณะนั้น ภายหลังเมื่อประเทศลาวได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสแล้ว พื้นที่ดังกล่าวจึงได้ยกขึ้นเป็นแขวงจำปาศักดิ์ของลาวในปัจจุบัน
อนึ่ง พื้นที่ของจังหวัดนี้ยังกินอาณาบริเวณพื้นที่ส่วนหนึ่งของจังหวัดสตึงแตรง และพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดพระวิหาร ในประเทศกัมพูชาในปัจจุบันนี้ด้วย
กรมศิลปากรได้กำหนดให้จังหวัดจัมปาศักดิ์ใช้ตราประจำจังหวัดเป็นรูปปราสาทวัดภู อันเป็นโบราณสถานสำคัญของเมืองจำปาศักดิ์ อย่างไรก็ตาม ในหนังสือตราประจำจังหวัดของกรมศิลปากร พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2542 ไม่ได้ลงพิมพ์รูปตราดังกล่าวไว้ด้วย
การจัดการปกครอง
[แก้]เมื่อแรกตั้งจังหวัดนั้น ได้แบ่งการปกครองออกเป็น 6 อำเภอ ตามประกาศเรื่องตั้งอำเภอ ลงวันที่ 23 กรกฎาคม พุทธศักราช 2484 ดังนี้
- อำเภอเมืองนครจัมปาศักดิ์ (ตามเขตอำเภอนครจัมปาศักดิ์เดิม)
- อำเภอวรรณไวทยากร (ตามเขตอำเภอมูลปาโมกเดิม) ตั้งชื่อตามพระนาม พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
- อำเภอธาราบริวัตร (ตามเขตอำเภอธาราบริวัตรเดิม)
- อำเภอมะโนไพร (ตามเขตอำเภอมะโนไพรเดิม)
- กิ่งอำเภอโพนทอง (ตามเขตกิ่งอำเภอโพนทองเดิม)
หลังจากนั้นวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2484 สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาจัดตั้งศาลจังหวัด โดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2484 [1] ต่อมาทางการได้ปรับปรุงเขตการปกครองจังหวัดนครจัมปาศักดิ์ใหม่ โดยโอนท้องที่อำเภอจอมกระสานต์ จังหวัดพิบูลสงคราม มาขึ้นจังหวัดนครจัมปาศักดิ์[2] ทำให้จังหวัดนครจัมปาศักดิ์มีเขตการปกครองจนถึง พ.ศ. 2489 รวมทั้งสิ้น 6 อำเภอ คือ อำเภอเมืองนครจัมปาศักดิ์ อำเภอวรรณไวทยากร อำเภอธาราบริวัตร อำเภอมะโนไพร อำเภอจอมกระสานติ์ และกิ่งอำเภอโพนทอง
อนึ่ง ทางราชการได้คืนฐานะให้เจ้ายุติธรรมธร (หยุย ณ จำปาศักดิ์) อดีตเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ก่อนที่จะตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ให้มีฐานะเป็นเจ้าผู้ครองนครอีกครั้งหนึ่ง (แทนการแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด) พระองค์ได้อยู่ในตำแหน่งดังกล่าวจนถึงแก่พิราลัยเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2489
เกร็ดความรู้
[แก้]ชื่ออำเภอต่างๆ ที่ตั้งขึ้นในทั้ง 4 จังหวัด ที่ได้คืนมาจากฝรั่งเศสนั้น ส่วนหนึ่งตั้งชื่อตามบุคคลที่มีบทบาทอย่างสูงในสงครามอินโดจีน เฉพาะจังหวัดนครจัมปาศักดิ์ มีชื่ออำเภอลักษณะดังกล่าว 1 อำเภอ คือ อำเภอวรรณไวทยากร ซึ่งตั้งตามพระนามของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงการต่างประเทศ และหัวหน้าคณะผู้แทนเจรจาสันติภาพฝ่ายไทยในกรณีพิพาทอินโดจีน
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศาลจังหวัดลานช้าง ศาลจังหวัดนครจัมปาศักดิ์ ศาลจังหวัดพิบูลสงคราม และศาลจังหวัดพระตะบอง พุทธศักราช ๒๔๘๔ เล่มที่ ๕๘ ตอนที่ ๐ ก ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ หน้าที่ ๑๐๓๐
- ↑ พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดนครจัมปาศักดิ์ จังหวัดพิบูลสงครามและจังหวัดพระตะบอง พุทธศักราช ๒๔๘๔ เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๘ ตอนที่ ๐ ก ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ หน้าที่ ๑๙๒๐