ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คอนสแตนตินที่ 1
หัวของรูปปั้นขนาดใหญ่ของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่พิพิธภัณฑ์คาปิโตลิเน[1]
จักรพรรดิโรมัน
ครองราชย์25 กรกฎาคม ค.ศ. 306 - 22 พฤษภาคม ค.ศ. 337
(ปกครองเพียงผู้เดียวตั้งแต่ 19 กันยายน ค.ศ. 324)
ก่อนหน้ากงสตันติอุส โคลรุส
ถัดไปกงสตานตินุสที่ 2
กงสตันติอุสที่ 2
กงสตันซ์ที่ 1
จักรพรรดิร่วม
ประสูติ27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 272(272-02-27)
นาอิสสุส, อิลิเรีย (ปัจจุบัน นีช, เซอร์เบีย)
สวรรคต22 พฤษภาคม ค.ศ. 337(337-05-22) (65 ปี)
นิโกมิดิอา (ปัจจุบัน อิซมิท, ตุรกี)
คู่อภิเษกมิแนร์วินา เสียชีวิตหรือหย่าก่อน ค.ศ. 307
เฟาสตา
พระราชบุตรกงสตันตินา
เฮเลนา
กริสปุส
กงสตานตินุสที่ 2
กงสตันติอุสที่ 2
กงสตันซ์ที่ 1
พระนามเต็ม
ฟลาวิอุส วาเรลิอุส กงสตานตินุส
พระรัชกาลนาม
อิมแปราตอร์ ไกซาร์ ฟลาวิอุส วาเรลิอุส กงสตานตินุส เอากุสตุส
ราชวงศ์ราชวงศ์คอนสแตนติน
พระราชบิดากงสตันติอุส โคลรุส
พระราชมารดาเฮเลนา
จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1

จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 (อังกฤษ: Constantine I; ละติน: Flavius Valerius Constantinus; กรีก: Κωνσταντῖνος, อักษรโรมัน: Konstantinos; 27 กุมภาพันธ์ ป. ค.ศ. 272[2] – 22 พฤษภาคม ค.ศ. 337) ครองราชสมบัติเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 306 ถึงวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 312 มีพระนามเต็มว่า “Flavius Valerius Aurelius Constantinus[3]” หรือที่รู้จักกันว่า “คอนสแตนตินที่ 1” ในบรรดาผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิก หรือ “คอนสแตนตินมหาราช” หรือ “นักบุญคอนสแตนติน” ในบรรดาผู้นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์หรือนิกายบิแซนไทน์คาทอลิก พระราชกรณียกิจสำคัญที่สุดคือการประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมายของจักรวรรดิโรมันเมื่อปี ค.ศ. 313 จักพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 จึงเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมันที่นับถือศาสนาคริสต์ตามพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน (Edict of Milan) ที่ประกาศโดยจักรพรรดิลีซีนีอุส (Licinius) ผู้ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมกับพระองค์ พระราชกฤษฎีกาแห่งมิลานเป็นพระราชกฤษฎีกาที่ยกเลิกการทารุณกรรมต่อคริสต์ศาสนิกชนทั่วทั้งจักรวรรดิโรมัน

ตามปฏิทินศาสนาของบิแซนไทน์ของนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ และนิการคาทอลิกตะวันออกแห่งบิแซนไทน์บันทึกจักพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 และเฮเลนแห่งคอนสแตนติโนเปิลพระมารดาว่าเป็นนักบุญ แต่ในปฏิทินศาสนาของตะวันตกไม่มีอยู่ในรายนามนักบุญ คอนสแตนตินได้รับนาม “มหาราช” เพราะพระราชกรณียกิจต่างที่ทรงทำให้ต่อคริสต์ศาสนา

ในปี ค.ศ. 324 จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงประกาศการปรับปรุงเมืองบิแซนเทียมให้เป็น “กรุงโรมใหม่” (Nova Roma) และเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 330 ทรงประกาศให้เมืองบิแซนเทียมเป็นเมืองหลวงใหม่ของจักรวรรดิโรมัน เมืองบิแซนเทียมเปลื่ยนชื่อเป็น “คอนสแตนติโนเปิล” แปลว่า “เมืองของคอนสแตนติน” หลังจากจักรพรรดิคอนสแตนตินสิ้นพระชนม์เมื่อปี ค.ศ. 337 เมืองคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิบิแซนไทน์ต่อมาอีกกว่าหนึ่งพันปียกเว้นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ เมื่อถูกปล้นและเผาและยึดครองระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่สี่ เมื่อปี ค.ศ. 1204 ในที่สุดการเป็นเมืองหลวงก็มาสิ้นสุดลงในสมัยจักรวรรดิออตโตมันเมื่อปี ค.ศ. 1453

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Jás Elsner, Imperial Rome and Christian Triumph, 64, fig.32
  2. Birth dates vary but most modern historians use "ca. 272". Lenski, "Reign of Constantine", 59.
  3. In (Latin Constantine's official imperial title was IMPERATOR CAESAR FLAVIVS CONSTANTINVS PIVS FELIX INVICTVS AVGVSTVS, Imperator Caesar Flavius Constantine Augustus, the pious, the fortunate, the undefeated. After 312, he added MAXIMVS ("the greatest"), and after 325 replaced ("undefeated") with VICTOR, as invictus reminded of Sol Invictus, the Sun God.