จักรพรรดิกวังซฺวี่
สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี่ จีน: 光绪帝 | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิ | |||||||||||||||||
พระบรมสาทิสลักษณ์สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี่ | |||||||||||||||||
จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ชิงของจีน | |||||||||||||||||
ครองราชย์ | 25 กุมภาพันธ์ 1875 – 14 พฤศจิกายน 1908 (33 ปี 263 วัน) | ||||||||||||||||
พระองค์ก่อน | สมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อ | ||||||||||||||||
พระองค์ถัดไป | สมเด็จพระจักรพรรดิเซวียนถ่ง | ||||||||||||||||
ผู้สำเร็จราชการ | สมเด็จพระจักรพรรดินีซูอัน พระราชชนนีพันปีหลวง (1875–1881) สมเด็จพระจักรพรรดินีซูสี พระราชชนนีพันปีหลวง (1875–1908) | ||||||||||||||||
พระราชสมภพ | 14 สิงหาคม ค.ศ. 1871 (同治十年 六月 二十八日) ตำหนักเสิ่นชันอ๋อง กรุงปักกิ่ง | ||||||||||||||||
สวรรคต | 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1908 (光緒三十四年 十月 二十一日) จงหนานไห่ กรุงปักกิ่ง | (37 ปี)||||||||||||||||
มเหสี | สมเด็จพระจักรพรรดินีหลงยฺวี่ พระราชชนนีพันปีหลวง | ||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
ราชวงศ์ | อ้ายซินเจว๋หลัว | ||||||||||||||||
พระราชบิดา | เจ้าชายอี้เซฺวียน | ||||||||||||||||
พระราชมารดา | องค์หญิงเย่เฮ่อน่าลา ว่านเจิน |
จักรพรรดิกวังซฺวี่ | |||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 光緒帝 | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 光绪帝 | ||||||||||
|
สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซฺวี่ (จีน: 光绪皇帝; พินอิน: Guāngxù huángdì)[1] มีพระนามเดิมว่า อ้ายซินเจว๋หลัว ไจ้เถียน (จีน: 愛新覺羅載湉; พินอิน: Aixin-Jueluo Zàitián)[2] เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 11 แห่งราชวงศ์ชิง[3] และเป็นจักรพรรดิองค์ที่10 ที่ปกครองจีนอย่างถูกต้อง รัชสมัยของพระองค์กินเวลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1875 ถึง ค.ศ. 1908 แต่ในทางปฏิบัติ พระองค์ปกครองโดยปราศจากอิทธิพลของซูสีไทเฮา ระหว่างปี ค.ศ. 1889 ถึง ค.ศ. 1898 เท่านั้น พระองค์ริเริ่มการปฏิรูปร้อยวัน แต่ก็ต้องหยุดชะงักลงอย่างกะทันหันเมื่อซูสีไทเฮาก่อการรัฐประหารในปี ค.ศ. 1898
ชีวิตส่วนพระองค์
[แก้]สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซฺวี่มีพระมเหสีหนึ่งพระองค์และทรงมีสนมสองพระองค์ พระมเหสีของพระองค์มีพระนามว่า สมเด็จพระจักพรรดินีเสี้ยวติงจิง และพระสนมของพระองค์ก็มีพระนามว่า พระมเหสีจิน และพระมเหสีเจิน
สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซฺวี่ทรงถูกพระนางซูสีไทเฮาบังคับให้อภิเษกสมรสกับหลานสาวของพระนาง ชื่อ จิงเฟิน ซึ่งมีชันษาแก่กว่าพระองค์ 8 ชันษา บิดาของนางจิงเฟิง มีชื่อว่า กุ้ยเสียง ซึ่งเป็นอนุชาของพระนางซูสีไทเฮาและพระนางซูสีไทเฮาได้จิงเฟินเพื่อที่จะเพิ่มพูนอำนาจให้แก่สกุลเย่เหอนาลาของนาง ภายหลังพิธีอภิเษกสมรส จิงเฟินได้กลายเป็นพระจักรพรรดินี และมีพระนามว่าหรงยู่ ซึ่งมีความหมายว่า "เป็นมงคลและความเจรืญรุ่งเรือง"(隆裕) แต่อย่างไรก็ตามสมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวีมิได้โปรดนางเลย ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับพระสนมของพระองค์ ซึ่งพระสนมโปรดของพระองค์คือ พระสนมเจิน (珍妃) มีข่าวลือว่าในปี พ.ศ. 2443 พระสนมเจินได้ถูกโยนลงไปในบ่อน้ำ ภายในพระราชวังต้องห้าม ซึ่งมีข่าวลือว่าพระนางทรงพระครรภ์อ่อนๆ อยู่ด้วย แล้วจมน้ำจนสิ้นพระชนม์ ตามคำบัญชาของพระนางซูสีไทเฮา ภายหลังจากพระสนมเจินได้ขอร้องพระนางซูสีไทเฮาเพื่อทรงอนุญาตให้พระจักรพรรดิกวังซีพำนักอยู่ภายในพระราชวังต้องห้ามเพื่อที่จะต่อรองกับกองกำลังต่างชาติ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่พระนางซูสีไทเฮาเตรียมตัวที่จะหลบหนีออกจากพระราชวังต้องห้ามซึ่งถูกยึดโดยกองกำลังแปดชาติในปี พ.ศ. 2443 เช่นเดียวกับพระจักรพรรดิองค์ก่อนหน้าพระองค์ คือ สมเด็จพระจักรพรรดิถงจื้อ สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวีสวรรคตโดยไม่มีสาเหตุ ภายหลังพระองค์สวรรคในปี พ.ศ. 2451 สมเด็จพระจักรพรรดินีหรงยู่ก็ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกับเจ้าชายชุนที่ 2
เสด็จขึ้นครองราชย์
[แก้]สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซฺวี่เป็นพระโอรสองค์ที่สองในเสิ่นชันอ๋องอี้เซฺวียน และพระนางเยเหอนาลา วานเจิน พระขนิษฐาในพระนางฉือสีไทโฮ่ว ดังนั้นพระจักรพรรดิกวังซฺวี่จึงมีศักดิ์เป็นพระภาคิไนยของพระนางซูสีไทเฮา [4] ในวันที่ 12 เดือนมกราคม พ.ศ. 2418 จักรพรรดิถงจื้อเสด็จสวรรคตโดยไม่มีพระราชโอรส จึงทำให้ต้องมีการเลือกฮ่องเต้พระองค์ใหม่ ซึ่ง พระนางซูอันไทเฮา เลือก พระโอรสในกงจิ้นอ๋องเป็นฮ่องเต้องค์ใหม่ แต่พระนางซูสีไทเฮาผู้ครองอำนาจเหนือกว่าพระนางซูอันไทเฮาในขณะนั้นได้เลือก องค์ชายไจ้เถียน (จักรพรรดิกวังซฺวี่ในอนาคต) พระโอรสในเสิ่นชันอ๋อง ซึ่งการเลือกองค์ชายไจ้เถียนเป็นจักรพรรดิพระองค์ใหม่ ถือว่าผิดธรรมเนียมของการสืบราชสมบัติของราชวงศ์ชิง ที่ต้องเลือกจักรพรรดิองค์ใหม่เป็นสมาชิกราชวงศ์รุ่นถัดไปจากจักรพรรดิพระองค์ก่อน การเลือกนัดดาของพระนางเป็นจักรพรรดิพระองค์ใหม่นั้นก็ได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกในราชวงศ์
พระนามของพระองค์ว่าไจ้เถียนนั้น ถือว่าเป็นสมาชิกราชวงศ์ในรุ่นที่หลังจากพระปิตุลา(ลุง)ของพระองค์ คือ จักรพรรดิเสียนเฟิง ดังนั้นจึงถือว่าพระองค์เป็นรัชทายาทของจักรพรรดิเสียนเฟิงมากกว่าที่จะเป็นรัชทายาทของพระจักรพรรดิถงจื้อ พระภาดา (ลูกพี่ลูกน้อง) ของพระองค์ ดังนั้นเพื่อรักษาธรรมเนียมในการสืบราชสมบัติจากพระบิดาสู่โอรส จึงถือให้พระจักรพรรดิกวังซวีเป็นโอรสบุญธรรมของพระจักรพรรดิเสียนเฟิง
พระองค์ทรงครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุ 4 พรรษาและใช้ชื่อ กวังซฺวี่ เป็นชื่อศักราชในรัชสมัยของพระองค์ ดังนั้นพระองค์จึงรู้จักในนาม สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวี พระองค์ทรงเป็นโอรสบุญธรรมของพระนางซูสีไทเฮา ในตอนที่พระจักรพรรดิยังทรงพระเยาว์นั้น พระพันปีหลวงฉืออันและ พระพันปีหลวงฉือสีป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกัน และพระองค์ได้รับการศึกษาในวัยเยาว์จากราชครูเวิงถงเหอ
พระราชกรณียกิจ
[แก้]ภายหลังจากที่พระองค์มีพระชนม์ควรที่จะเริ่มดำเนินพระราชกรณียกิจด้วยตัวพระองค์เองได้แล้ว แต่พระนางซูสีไทเฮาก็ยังคงพระอำนาจในการตัดสินพระทัยและดำเนินพระราชกรณียกิจแทนพระองค์พระจักรพรรดิอยู่ ถึงแม้ว่าพระนางจะไปประทับที่พระราชวังฤดูร้อนแล้วก็ตาม และพระนางยังมีพระเสาวนีย์เป็นการแต่งเรื่องว่าเสิ่นชันอ๋อง พระราชบิดาขององค์พระจักรพรรดิจะไม่ทรงก้าวก่ายทางการเมืองไม่ว่าด้วยกรณีใดๆทั้งสิ้น
หลังจากที่พระองค์มีพระราชอำนาจเต็มที่ พระองค์ทรงพระราชดำริที่จะปฏิรูปให้จีนมีความทันสมัยทุกด้านมากกว่าที่จะปฏิรูปไปในทางอนุรักษนิยมแบบพระนางซูสีไทเฮาได้ทรงวางไว้ พระองค์ทรงเชื่อว่าการมีจักรพรรดิภายใต้รัฐธรรมนูญแบบญี่ปุ่น ประเทศจะมีความเจริญทั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ ในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2441 พระองค์ทรงริเริ่มการปฏิรูปร้อยวัน โดยพยายามที่จะปฏิรูป การเมือง สังคมและกฎหมาย ในช่วงระยะเวลาอันไม่นานหลังจากการวางมือของพระนางซูสีไทเฮา พระจักรพรรดิทรงออกพระบรมราชโองการหลายฉบับในการปฏิรูปครั้งใหญ่นี้ โดยมีขุนนางหลักที่คอยช่วยเหลือกิจการในครั้งนี้ของพระองค์ของคนคือคัง โหย่วเหวย และเหลียง ฉี่เชา
โดยการเปลี่ยนแปลงนี้มีการเปลี่ยนแปลงประเทศจากเกษตรกรรมไปเป็นอุตสาหกรรมและมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการสอบรับราชการ โดยพระองค์ทรงออกพระราชกฤษฎีกาในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ทันสมัยในขณะนั้นของจีน มีการก่อสร้างทางรถไฟ ลู่หาน และระบบท้องพระคลังให้มีระบบเช่นเดียวกับทางตะวันตก โดยมีเป้าหมายทำให้จีนเป็นประเทศที่ทันสมัย มีพระมหาจักรพรรดิภายใต้รัฐธรรมนูญแต่ยังคงความเป็นจีนเอาไว้อยู่ ดังเช่นการปฏิรูปเมจิของญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตามสภาพสังคมจีนในขณะนั้นยังเป็นแบบนับถือลัทธิขงจื้ออยู่และการปฏิรูปครั้งนี้ยังมีความขัดแย้งไปถึงพระนางซูสีไทเฮาด้วย ผู้ซึ่งว่าราชการหลังม่านอยู่ในขณะนั้น ข้าราชการหัวอนุรักษนิยมหลายคนไม่พอใจในการปฏิรูปครั้งนี้ และได้ไปร้องทุกข์กับพระนางซูสีไทเฮา พระนางทรงรู้ดีว่าไม่มีทางที่จะทำให้การปฏิรูปของพระจักรพรรดิหยุดลงได้ มีเพียงทางเดียวเท่านั้นคือการรัฐประหารยึดพระราชอำนาจ สมเด็จพระจักรพรรดิทรงทราบถึงแผนการของพระนางจึงได้ทำการปรึกษากับ คัง โหย่วเหวย และคณะปฏิรูป และพวกเขาได้ตัดสินใจที่จะใช้กองทัพของ หยวน ซื่อไข่ ซึ่งเป็นกองทัพที่ทันสมัยในขณะนั้นถึงแม้ว่าจะมีทหารประจำการเพียง 6000 นายเท่านั้น และพระนางซูสีไทเฮาก็ได้เรียกใช้ทัพของ ยงลู่ จากเมืองเทียนสิน
ยงลู่นั้นยังเป็นพันธมิตรกับนายพลต๋ง ฟู่เสียง ซึ่งมีกำลังพล 10000 นาย จากกองกำลังมุสลิมกานสู ซึ่งเป็นทหารของราชสำนัก ซึ่งประกอบไปด้วน นายพล หม่า เฟิงสูและนายพลหม่า ฝูลู่ ซึ่งตั้งทัพอยู่ในบริเวณกรุงปักกิ่งและโจมตีชาวต่างชาติและชาวตะวันตกอยู่เป็นประจำ พวกเขาอยู่ฝ่ายอนุรักษนิยมของพระนางซูสีไทเฮาระหว่างการรัฐประหาร พวเขามีปืนยาวของตะวันตกและมีปืนใหญ่ที่ทันสมัย ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่าฝ่ายอนุรักษนิยมของพระนางซูสีไทเฮาก็ยังมีส่วนหนึ่งที่พยายามจะใช้เทคโนโลยีของชาวตะวันตก[5][6]
ศาสตราจารย์ชาวไต้หวัน เล่ย เซียเซิง (雷家聖) เปิดเผยงานวิจัยใหม่เกี่ยวกับแผนการรัฐประหาร ว่าแท้จริงแล้วสมเด็จพระจักรพรรดิกวังซวีอาจถูกดึงเข้าไปในกับดักที่วางไว้โดยนักปฏิรูป คัง โหย่วเหวย ซึ่งมิชชั่นนารีชาวอังกฤษและอดีตนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น อิโต ฮิโระบุมิ ใช้อุบายล่อหลอกคัง เพื่อที่จะให้ตกลงยกอำนาจอธิบไตยของจีนให้ อิโต และเอกอัครราชทูตอังกฤษ เซอร์ ซี. แมคโดนัล กล่าวว่าจริง ๆ แล้วนักปฏิรูปเป็นผู้ทำความเสียหายแก่การพัฒนาสู่ความทันสมัยของจีน ส่วนพระนางซูสีไทเฮานั้นก็ได้ศึกษาแผนการปฏิรูป และได้ตัดสินพระทัยที่จะยุติแผนการนั้นและรักษาประเทศจีนจากการควบคุมของต่างชาติ[7]
แต่หยวน ซือไข่ก็ได้เริ่มแสดงความสามารถทางการเมืองออกมาให้เห็น โดยได้เลือกทางที่ดีที่สุดโดยได้หักหลังพระจักรพรรดิกวังซฺวี่ในนาทีสุดท้ายก่อนการรัฐประหาร โดย 1 วันก่อนทำการรัฐประหาร หยวน ซือไข่ได้ไปเข้าเฝ้าฯพระนางซูสีไทเฮา และบอกแผนการของจักรพรรดิทั้งหมดให้พระนางทรงทราบ โดยพระนางทรงเชื่อตามที่หยวน ซือไข่ กราบทูลรายงาน และหลังจากนั้น พระองค์กับหยวน ซือไข่ ก็เป็นศัตรูกันตราบจนชีวิตสุดท้ายของพระองค์ และหลังจากนั้นพระนางซูสีไทเฮาก็ได้มีพระเสาวนีย์ให้นำทหารไปล้อมพระราชวังต้องห้าม และจับองค์พระจักรพรรดิไปคุมขังไว้ที่เกาะกลางทะเลสาบซึ่งอยู่เชื่อมต่อกับพระราชวังต้องห้ามและอยู่ในการควบคุมของพระนางซูสีไทเฮา หลังจากนั้นพระนางซูสีไทเฮาก็ได้ออกโองการว่า สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซฺวี่มีความประพฤติที่เสื่อมเสียไม่สมควรที่จะเป็นจักรพรรดิที่บริหารบ้านเมืองอีกต่อไป แต่หลังจากนั้นพระนางซูสีไทเฮาก็บริหารราชการด้วยพระองค์เองแต่ก็ยังคงใช้ศักราชกวังซฺวี่ต่อไปตราบจนพระจักรพรรดิสวรรคต
ถูกคุมขัง
[แก้]หลังจากพระองค์ถูกคุมขังไว้ในตำหนักกลางทะเลสาบ พระนางซูสีไทเฮาก็ได้ส่งขันทีมารับใช้พระองค์แต่จุดประสงค์ที่แท้จริงของการส่งขันทีมาคือควบคุมไม่ให้พระองค์หลบหนีออกจากพระตำหนักและสอดส่องพฤติกรรมของพระองค์อย่างใกล้ชิด สถานการณ์ถึงขั้นวิกฤติถึงขั้นที่พระนางซูสีไทเฮาทรงบังคับให้พระองค์ทรงสละพระราชสมบัติแล้วพระนางซูสีไทเฮาจะทรงเลือกพระจักรพรรดิพระองค์ใหม่ด้วยตัวของพระนางเอง แต่อย่างไรก็ตามพระนางซูสีก็ไม่ได้บังคับให้พระจักรพรรดิสละราชสมบัติแต่ใช้วิธีการว่าราชการด้วยพระองค์เองแต่ใช้ศักราชกวังซฺวี่ไปจนกระทั่งสิ้นสุดรัชสมัยของพระจักรพรรดิ หลังจากนั้น พระองค์ทรงสูญเสียทั้ง เกียรติยศ,ความเคารพ,พระราชอำนาจและสิทธิต่างๆที่พระองค์ควรได้รับในฐานะเป็นองค์พระประมุข ผู้สนับสนุนการปฏิรูป100วันต่างลี้ภัยไปต่างประเทศ และก็มีบางส่วนที่ถูกประหารชีวิตเช่น ทาน ซื่อทุง ในขณะที่คัง โยวเว่ย ยังคงดำเนินการปฏิรูปต่อไปถึงแม้ว่าจะลี้ภัยอยู่ในต่างประเทศก็ตาม และ คังเองก็ยังมีความหวังในการฟื้นฟูพระราชอำนาจของพระจักรพรรดิ การรัฐบาลที่มีการจัดการที่ดีดังเช่นชาติตะวันตก และมีองค์พระจักรพรรดิเป็นศูนย์กลางของอำนาจเพียงอย่างเดียว และล้มพระนางซูสีไทเฮาซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความอ่อนแอของประเทศ
และนั่นก็ยังเป็นข้อที่ถกเถียงกันในสมัยนั้นว่า จะยังคงศักราชกวังซฺวี่เอาไว้หรือไม่ โดยให้พระองค์มีฐานะเป็นเพียงประมุขของประเทศแต่เพียงในนาม โดยยังใช้ศักราชกวังซฺวี่เช่นเดิมหรือว่าจะถอดถอนองค์พระจักรพรรดิออกจากตำแหน่งแล้วแต่งตั้งพระจักรพรรดิพระองค์ใหม่ ซึ่งในที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยกับความคิดอันหลัง แต่ยงลู่ได้ทัดทานการถอดถอนพระจักรพรรดิไว้ โดยถ้ามีการถอดถอนองค์พระจักรพรรดิขึ้น คาดว่า องค์ชายปูจุ๋น โอรสในองค์ชายตวน จะได้ขึ้นเป็นจักรพรรดิพระองค์ต่อไป
ในปี พ.ศ. 2443 พันธมิตรแปดชาติ ซึ่งประกอบด้วยชาติตะวันตก 7 ประเทศและญี่ปุ่นได้บุกยึดกรุงปักกิ่งในวันที่ 14 สิงหาคม ตามที่จีนประกาศสงครามกับชาติพันธมิตร ซึ่งพระจักรพรรดิก็ได้ทรงทัดทานเรื่องนี้ไว้แต่ตอนแรกแล้ว แต่พระองค์ไม่มีพระราชอำนาจที่จะไปยับยั้งได้ และพระองค์ก็ได้เสด็จลี้ภัยไปพร้อมกับพระนางซูสีไทเฮาไปยังเมืองซีอานโดยทรงปลอมพระองค์เป็นสามัญชน
หลังจากที่ชาติพันธมิตรได้ถอนกำลังออกจากกรุงปักกิ่ง พระจักรพรรดิและพระนางซูสีไทเฮาก็ได้เสด็จฯกลับมาประทับที่พระราชวังต้องห้ามตามเดิม และพระองค์ทรงตะหนักดีว่าต่อไปนี้พระองค์ทรงต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว ดังนั้นในแต่ละวันพระองค์จึงทรงใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับนาฬิกาหลายเรือนของพระองค์ ซึ่งเป็นงานอดิเรกครั้งที่พระองค์ยังทรงเยาว์ บางทีพระองค์อาจจะรอเวลาให้พระนางซูสีไทเฮาสิ้นพระชมน์และหลังจากนั้นพระองค์ก็จะได้ขึ้นเป็นพระจักรพรรดิที่มีพระราชอำนาจอย่างแท้จริงอีกครั้งหนึ่ง
สวรรคต
[แก้]สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซฺวี่เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 พระองค์สวรรคตก่อนที่พระนางซูสีไทเฮาจะสิ้นพระชนม์เพียง 1 วัน พระองค์สวรรคตในขณะที่พระองค์มีพระชนมพรรษาเพียง 37 พรรษา การสวรรคตของพระองค์ยังเป็นปริศนามาจนถึงทุกวันนี้ มีนักประวัติศาสตร์หลายท่านพยายามตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับการสวรรคตของพระองค์ แต่ยังไม่มีนักประวัติศาสตร์ท่านใดเลยที่สามารถอธิบายเกี่ยวกับการสวรรคตของพระองค์ได้อย่างชัดเจน มีบางทฤษฎีก็ว่าพระองค์โดนวางยาพิษจากพระนางซูสีไทเฮาในขณะที่พระนางประชวรอย่างหนัก เพราะเกรงว่าพระจักรพรรดิจะมาดำเนินการปฏิรูปต่อหลังจากที่พระนางสิ้นพระชนม์และต้องการขัดขวางสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเป็นไปได้อีกอย่างหนึ่งที่พระองค์จะถูกวางยาพิษจากขุนพล หยวน ซื่อไข่ ซึ่งถ้าเผื่อพระจักรพรรดิขึ้นมามีอำนาจอีกครั้งหนึ่งคงจะต้องลงโทษตนอย่างแน่นอน[8] แต่ก็ไม่มีหลักฐานเป็นที่ยืนยันว่าทั้งสองอย่างนั้นจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ เพราะไม่มีหลักฐานที่ยืนยันแน่ชัดเนื่องจาก หลี่ เหลียนอิง ขันทีของพระนางซูสีไทเฮาซึ่งเป็นผู้ที่รู้เห็นกับเหตุการณ์ในครั้งนี้ถูกสังหารไปเสียก่อน
ในรายงานของแพทย์หลวงลงความเห็นในการสวรรคตของพระองค์ว่าเป็นการสวรรคตตามธรรมชาติ เพราะพระองค์มีพระอาการประชวรมาเป็นเวลานาน และในรายงานของแพทย์หลวงก็ยังมีอีกต่อไปว่าพระองค์มีพระอาการทรุดหนักลงหลายวันแล้วก่อนที่พระองค์จะสวรรคต
แต่พระอาการประชวรของพระองค์อาจจะมาจากสาเหตุการถูกวางยาพิษในลักษณะที่ไม่ทำให้พระองค์สวรรคตในทันทีก็ได้ และเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 นักนิติวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองหาความสัมพันธ์ของสารหนูในพระวรกายของสมด็จพระจักรพรรดิกวังซฺวี่ ซึ่งผลจากการทดสอบได้ว่าพระองค์มีสารหนูอยู่ในพระวรกายมากกว่าคนปกติถึง 2000 เท่า หนังสือพิมพ์ ไชน่าเดลี่ ได้กล่าวอ้างคำของนักประวัติศาสตร์ "ไต้ยี่" ซึ่งได้คาดว่าพระนางซูสีไทเฮาจะต้องรู้เรื่องการสวรรคตของพระจักรพรรดิอย่างแน่นอน พระนางกลัวว่าพระจักรพรรดิจะมาดำเนินการปฏิรูปต่อหลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว[9]
และหลังจากที่สมเด็จพระจักรพรรดิกวังซฺวี่สวรรคต พระนางซูสีไทเฮาก็ได้เลือกทายาทที่จะมาสืบราชบัลลังก์ต่อจากสมเด็จพระจักรพรรดิคือ ผู่อี๋ ซึ่งได้ใช้ศักราช เซวียนถ่ง (สมเด็จพระจักรพรรดิเซวียนถ่ง) พระมเหสีในสมเด็จพระจักรพรรดิกวังซฺวี่ได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระพันปีหลวงหรงยู่ ซึ่งเป็นผู้ลงพระบรมนามาภิไธยสละราชสมบัติของสมเด็จพระจักรพรรดิเซวียนถ่งในปี พ.ศ. 2455 เป็นการสิ้นสุดปกครองระบอบจักรพรรดิของจีนที่ดำเนินมาอย่างยาวนานกว่า 2000 ปี และในปี พ.ศ. 2456 พระพันปีหลวงหลงยู่ก็ได้สิ้นพระชนม์เนื่องจากพระอาการประชวร
มุมมองด้านประวัติศาสตร์
[แก้]ในปี พ.ศ. 2455 ดร.ซุน ยัดเซ็น ได้กล่าวยกย่องสมเด็จพระจักรพรรดิกวังซฺวี่ จากการปฏิรูปการศึกษาของพระองค์ ซึ่งได้ยิมยอมและสนับสนุนที่จะให้ชาวจีนเรียนรู้วัฒนธรรมตะวันตก ภายหลังจากการสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน นักประวัติศาสตร์ ฟาน เวิ่นหลัน (范文澜) ได้กล่าวถึงจักรพรรดิกวังซฺวี่ว่า "เป็นชาวแมนจูชั้นสูงผู้ยอมรับแนวคิดของชาวตะวันตก" นักประวัติศาสตร์บางคนคิดว่า พระองค์ทรงเป็นผู้นำของประเทศจีนคนแรกที่มีพระบรมราโชบายในทางที่ทันสมัยและเป็นทุนนิยม และพระองค์เองก็ยังเป็นจักรพรรดิที่มีพระราชอำนาจน้อยที่สุดนับตั้งแต่สถาปนาราชวงศ์ชิงมา และพระองค์ยังเป็นจักรพรรดิเพียงพระองค์เดียวที่ถูกคุมขังอีกด้วยในระหว่างรัชสมัยของพระองค์
พระบรมวงศานุวงศ์
[แก้]- พระบรมอัยกา: จักรพรรดิเต้ากวัง
- พระบรมอัยยิกา: จวงซุ่นหวงกุ้ยเฟย์
- พระราชชนก: ฉุนเสียนชินหวัง
- พระราชชนนี: พระชายาหวั่นเจิน สกุลเย่เฮ่อน่าล่า
- ฮองเฮา (皇后)
- จักรพรรดินีเซี่ยวติ้งจิ่ง (孝定景皇后) จากสกุลเย่เฮ่อน่าล่า
- หวงกุ้ยเฟย (皇貴妃)
- เค่อซุ่นหวงกุ้ยเฟย (恪順皇貴妃) จากสกุลทาทาลา (他他拉)
- เวินจิ้งหวงกุ้ยเฟย (端康皇貴妃) จากสกุลทาทาลา (他他拉)
- พระราชโอรสและพระราชธิดา
- ไม่มีพระราชโอรส-ธิดา
ราชตระกูล
[แก้]พงศาวลีของจักรพรรดิกวังซฺวี่ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Arsenic killed Chinese emperor, reports say". www.cnn.com. สืบค้นเมื่อ 2019-11-11.
- ↑ "Qing Emperor Guangxu". www.travelchinaguide.com. สืบค้นเมื่อ 2019-11-11.
- ↑ "Guangxu | emperor of Qing dynasty". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-11-11.
- ↑ http://th.wiktionary.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%99%E0%B8%A2
- ↑ Ann Heylen (2004). Chronique du Toumet-Ortos: looking through the lens of Joseph Van Oost, missionary in Inner Mongolia (1915–1921). Leuven, Belgium: Leuven University Press. p. 203. ISBN 90-5867-418-5. สืบค้นเมื่อ 2010-06-28.
- ↑ Patrick Taveirne (2004). Han-Mongol encounters and missionary endeavors: a history of Scheut in Ordos (Hetao) 1874–1911. Leuven, Belgium: Leuven University Press. p. 514. ISBN 90-5867-365-0. สืบค้นเมื่อ 2010-06-28.
- ↑ Lei Chia-sheng, Liwan kuanglan: Wuxu zhengbian xintan 力挽狂瀾:戊戌政變新探 [Containing the furious waves: a new view of the 1898 coup], Taipei: Wanjuan lou 萬卷樓, 2004.
- ↑ Mu, Eric. Reformist Emperor Guangxu was Poisoned, Study Confirms" เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Danwei. November 3 2008. Retrieved November 2 2011.
- ↑ "Arsenic killed Chinese emperor, reports say". CNN. November 4, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-08. สืบค้นเมื่อ 2012-04-13.
ก่อนหน้า | จักรพรรดิกวังซฺวี่ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิถงจื้อ | จักรพรรดิจีน (พ.ศ. 2418 - พ.ศ. 2451) |
จักรพรรดิผู่อี๋ (เซวียนถ่ง) |