ข้ามไปเนื้อหา

งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 94

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 94

ใบปิดอย่างเป็นทางการ
วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2565
สถานที่ โรงภาพยนตร์ดอลบีเธียเตอร์
ลอสแอนเจลิส, รัฐแคลิฟอร์เนีย
 สหรัฐอเมริกา
พิธีกร
โปรดิวเซอร์ วิล แพ็คเกอร์
ผู้กำกับงาน เกล็นน์ ไวสส์
ภาพยนตร์ที่น่าสนใจ
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม โคด้า หัวใจไม่ไร้เสียง
ได้รางวัลมากที่สุด ดูน (6)
เข้าชิงมากที่สุด อำนาจบาดเลือดแค้น (12)
สถานีโทรทัศน์ที่แพร่ภาพออกอากาศ
ช่อง เอบีซี
ความยาว 3 ชั่วโมง 40 นาที[1]
จำนวนผู้ชม 15.4 ล้านคน[1]
 < ครั้งที่ 93 รางวัลออสการ์ ครั้งที่ 95 > 

งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 94 (อังกฤษ: 94th Academy Awards) เป็นงานประกาศผลรางวัลด้านภาพยนตร์ จัดขึ้นโดยสถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ (Academy of Motion Picture Arts and Sciences) เพื่อเป็นเกียรติแก่ภาพยนตร์ที่ออกฉายระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 มีกำหนดจัดขึ้นที่โรงภาพยนตร์ดอลบีเธียเตอร์, ลอสแอนเจลิส, รัฐแคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา ในคืนวันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2565 (ตามเวลาท้องถิ่น) ตรงกับเช้าวันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2565 (ตามเวลาประเทศไทย) โดยนับเป็นครั้งแรกตั้งแต่ งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 83 ที่มีพิธีกรในงานมากกว่าหนึ่งคน[2]

ภาพยนตร์เรื่อง โคด้า หัวใจไม่ไร้เสียง กลายเป็นภาพยนตร์จากบริการสตรีมมิงเรื่องแรกที่ชนะสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และยังชนะเพิ่มเติมอีก 2 รางวัล ได้แก่ สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม และสาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม นอกจากนี้ ภาพยนตร์เรื่อง ดูน ยังชนะรางวัลไปได้มากที่สุดถึง 6 รางวัล ในขณะที่ ดิ อายส์ ออฟ แทมมี เฟย์ ชนะไป 2 รางวัล ส่วนภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ เช่น อำนาจบาดเลือดแค้น, คิง ริชาร์ด, เวสต์ ไซด์ สตอรี่, สุดทางรัก, เมืองเวทมนตร์คนมหัศจรรย์, เบลฟาสต์, 007 พยัคฆ์ร้ายฝ่าเวลามรณะ, ครูเอลล่า, เดอะ ลอง กูดบาย, เดอะ ควีน ออฟ บาสเกตบอล, ซัมเมอร์ ออฟ โซล (...ออร์, เว็น เดอะ เรโวลูชัน คูท น็อท บี เทเลไวส์) และ เดอะ วินด์ชีลด์ ไวเปอร์ ชนะเรื่องละ 1 รางวัล

นอกจากนี้ ได้เกิดเหตุทำร้ายร่างกายกันภายในงาน หลังจาก วิลล์ สมิธ ได้ขึ้นไปบนเวที และตบหน้า คริส ร็อก ต่อหน้าผู้ชมทั้งงาน เนื่องจากคริสได้แสดงมุกล้อเลียน เจดา พิงคิตต์ สมิธ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้ทั้งวิลล์ และเจดาเป็นอย่างมาก ภายหลังเหตุการณ์นี้ได้กลายเป็นที่พูดถึงในวงกว้าง และกลบเหตุการณ์สำคัญที่เหลือของงานทั้งหมดในแง่ของการรายงานข่าว

ผู้ชนะรางวัล และผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล

[แก้]

ภาพยนตร์เรื่อง โคด้า หัวใจไม่ไร้เสียง ชนะรางวัลออสการ์ 3 สาขา รวมถึงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม กลายเป็นภาพยนตร์จากบริการสตรีมมิงเรื่องแรก, ภาพยนตร์เปิดตัวในเทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์เรื่องแรก และภาพยนตร์ที่มีผู้บกพร่องทางการได้ยินแสดงนำเรื่องแรกที่ชนะสาขานี้[3] ทรอย คอตเซอร์ ยังกลายเป็นนักแสดงชายที่บกพร่องทางการได้ยินคนแรก และเป็นนักแสดงคนที่สองต่อจากมาร์ลี แมตลิน ที่ชนะรางวัลออสการ์ ซึ่งรับบทเป็นภรรยาของเขาเองภายในเรื่อง

นอกจากนี้ อาเรียนา เดโบซ ยังชนะในสาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากการรับบท "อนิตา" ในภาพยนตร์รีเมค เวสต์ ไซด์ สตอรี่ ฉบับปี ค.ศ. 1961 ทำให้เธอ และรีตา มอเรโน กลายเป็นผู้ชนะรางวัลออสการ์จากการแสดงในบทบาทเดียวกัน และทำให้บทบาท "อนิตา" กลายเป็นบทบาททางการแสดงที่สามที่สามารถชนะรางวัลออสการ์ได้จากภาพยนตร์คนละเรื่อง ซึ่งแสดงโดยนักแสดงคนละคนกัน ต่อจากบทบาท ดอน วีโต คอร์เลโอเน ของมาร์ลอน แบรนโด กับ โรเบิร์ต เดอ นีโร และบทบาท โจ๊กเกอร์ ของฮีธ เลดเจอร์ กับ วาคีน ฟินิกซ์[4]

ภาพยนตร์เรื่อง ดูน สามารถชนะได้มากที่สุดถึง 6 รางวัล[5] ภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ ได้แก่ ดิ อายส์ ออฟ แทมมี เฟย์ ชนะไป 2 รางวัล ส่วนภาพยนตร์เรื่อง อำนาจบาดเลือดแค้น, คิง ริชาร์ด, เวสต์ ไซด์ สตอรี่, สุดทางรัก, เมืองเวทมนตร์คนมหัศจรรย์, เบลฟาสต์, 007 พยัคฆ์ร้ายฝ่าเวลามรณะ, ครูเอลล่า, เดอะ ลอง กูดบาย, เดอะ ควีน ออฟ บาสเกตบอล, ซัมเมอร์ ออฟ โซล (...ออร์, เว็น เดอะ เรโวลูชัน คูท น็อท บี เทเลไวส์) และ เดอะ วินด์ชีลด์ ไวเปอร์ ชนะเรื่องละ 1 รางวัล

งานประกาศผลรางวัลออสการ์ครั้งนี้ ยังเป็นครั้งแรกที่มีผู้หญิงสามารถชนะรางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ได้เป็นปีที่สองติดต่อกัน (เจน แคมเปียน ชนะรางวัลนี้ต่อจาก โคลอี เจา) ทำให้ อำนาจบาดเลือดแค้น กลายเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่ชนะสาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยมเพียงรางวัลเดียว นับตั้งแต่ภาพยนตร์เรื่อง เดอะ เกลดดูเอต ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 40 เมื่อปี ค.ศ. 1968 นอกจากนี้ เจน แคมเปียน ยังเป็นผู้หญิงเพียงคนเดียวที่สามารถชนะรางวัลออสการ์ได้ทั้งสาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และสาขาบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม

เจน แคมเปียน ผู้ชนะรางวัลออสการ์ สาขาผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
วิลล์ สมิธ ผู้ชนะรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
เจสซิกา แชสเตน ผู้ชนะรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
ทรอย คอตเซอร์ ผู้ชนะรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม
อาเรียนา เดโบซ ผู้ชนะรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม
เคนเนธ บรานาห์ ผู้ชนะรางวัลออสการ์ สาขาบทภาพยนตร์ดั้งเดิมยอดเยี่ยม
ฌอน เฮเดอร์ ผู้ชนะรางวัลออสการ์ สาขาบทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยม
ไบรอน ฮาวเวิร์ด ผู้ชนะร่วมรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันยอดเยี่ยม
ริวสุเกะ ฮะมะกุชิ ผู้ชนะรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยม
บิลลี ไอลิช และ ฟินเนียส โอ'คอนเนลล์ ผู้ชนะร่วมรางวัลออสการ์ สาขาเพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม

ผู้ชนะรางวัลจะอยู่ในลำดับแรก เป็นตัวหนา และมีกริชคู่ (‡)[6]

  • เดอะ ลอง กูดบาย – อเนเอล คาเรีย และ ริซ อาห์เมด
    • อลา คาชุ - เทค แอนด์ รัน – มาเรีย เบรนเดิล และ นาดีน ลุชอินเกอร์
    • เดอะ เดรส – ทาดอช ลุชเชียก และ เมซีย์ ชเลชิตสกี
    • ออน มาย มายด์ – มาร์ติน สเตรนจ์-แฮนเซน และ คิม แมกนัสสัน
    • พลีส โฮลด์ – เค.ดี. เดวิลา และ เลวิน เมเน็กเซ

รางวัลออสการ์เกียรติยศ

[แก้]

สถาบันศิลปะและวิชาการทางภาพยนตร์ (Academy of Motion Picture Arts and Sciences) จัดงานมอบรางวัลออสการ์เกียรติยศ ครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 2022 โดยมอบให้แก่[7]

  • ซามูเอล แอล. แจ็กสัน – "ตัวอย่างแห่งสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม ผู้ซึ่งมีผลงานอย่างพลวัต ผ่านความหลากหลาย และยุคสมัยจากผู้ชมทั่วทุกมุมโลก"[7]
  • อีเลน เมย์ – "สำหรับแนวทางการสร้างภาพยนตร์ที่กล้าหาญและแน่วแน่ของเธอในฐานะนักเขียน ผู้กำกับ และนักแสดง"[7]
  • ลิฟ อูลแมนน์ – "ความกล้าหาญและความบริสุทธิ์ทางอารมณ์ของอูลแมนน์ ได้มอบของขวัญให้แก่ผู้ชมด้วยการแสดงบนหน้าจอที่ส่งผลอย่างลึกซึ้ง"[7]

รางวัลมนุษยธรรม ฌีน เฮอร์โชลต์

[แก้]
  • แดนนี่ โกลเวอร์ – "สำหรับเขา ผู้ซึ่งสนับสนุนความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนมาเป็นเวลาหลายสิบปี สะท้อนให้เห็นถึงการอุทิศตนเพื่อตระหนักถึงความเป็นมนุษย์ที่มีร่วมกันของเราทั้งในและนอกจอ"[7]

ภาพยนตร์ที่ชนะ และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงมากกว่าหนึ่งรางวัล

[แก้]

รายละเอียดการจัดงาน

[แก้]

เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ในวงการภาพยนตร์ เกณฑ์พิจารณาคุณสมบัติของภาพยนตร์ที่ได้รับการยืดหยุ่นจากงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 93 จะยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไป เช่น ภาพยนตร์ที่ออกฉายผ่านบริการสตรีมมิงแบบสมัครสมาชิก หรือบริการวีดิทัศน์ตามคำขอ และการฉายในโรงภาพยนตร์ที่ได้รับอนุญาตให้เกิดขึ้นได้ในเมืองอื่น ๆ นอกเหนือจากลอสแอนเจลิส ทั้งนี้ กรอบกำหนดระยะเวลาการฉายของภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ ที่จะเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล พิจารณาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เท่านั้น[8][9]

การลงคะแนนคัดเลือกผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล จะสิ้นสุดในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ส่วนการประกาศรายชื่อผู้เช้าชิงรางวัลในแต่ละสาขา จัดขึ้นวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 โดยพิธีกร เทรซี เอลลิส รอสส์ และเลสลี่ จอร์แดน[10] และงานประกาศผลรางวัล มีกำหนดจัดในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2565 ณ โรงภาพยนตร์ดอลบีเธียเตอร์ มีรายงานว่าการเลือกกำหนดจัดงานในวันดังกล่าว สาเหตุเพื่อไม่ให้ชนกับโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ที่ปักกิ่ง (ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 4 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565) และงานซูเปอร์โบวล์ (ซึ่งมีกำหนดการจัดงานวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565)[8][9]

เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 อคาเดมีระบุว่าพิจารณาขยายจำนวนผู้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ในงานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 94 เป็น 10 เรื่อง นับเป็นครั้งแรกตั้งแต่งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 84 เป็นต้นมา โดยอิงผลจากการลงคะแนนเสียงของสมาชิกเป็นหลัก[11] นอกจากนี้ มีการปรับเกณฑ์พิจารณาในสาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม คือการปรับลดสัดส่วนของดนตรีประกอบที่สร้างขึ้นมาใหม่จาก 60% ของภาพยนตร์ทั้งเรื่อง เป็น 35% เช่นเดิม, เกณฑ์พิจารณาผู้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงในสาขาเพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จะต้องมีเพลงนำในภาพยนตร์ไม่ต่ำกว่า 5 เพลงต่อเรื่อง, ขยายจำนวนภาพยนตร์สำหรับพิจารณาในรอบลงคะแนนคัดเลือก สาขาออกแบบเสียงยอดเยี่ยม เป็น 10 เรื่อง[12] และยังขยายจำนวนภาพยนตร์สำหรับพิจารณาในรอบลงคะแนนคัดเลือกจาก 10 เรื่อง เป็น 15 เรื่อง ในสาขาภาพยนตร์สารคดีขนาดสั้นยอดเยี่ยม, ภาพยนตร์ขนาดสั้นยอดเยี่ยม และภาพยนตร์แอนิเมชันขนาดสั้นยอดเยี่ยม[13]

ในฐานะที่อคาเดมี เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการริเริ่มอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อม การแจกจ่ายเอกสารด้านภาพยนตร์ที่จับต้องได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สำเนาภาพยนตร์, สำเนาบทภาพยนตร์ หรือซีดีเพลง ได้ถูกยกเลิกแล้ว และจะเริ่มให้บริการดังกล่าวผ่านบริการสตรีมออนไลน์ "Academy Screening Room" แก่สมาชิกของอคาเดมีนับจากนี้เป็นต้นไป[14]

เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 วิล แพ็คเกอร์ ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ชื่อดัง ได้รับว่าจ้างให้เป็นโปรดิวเซอร์งานประกาศผลรางวัลออสการ์ครั้งนี้ ไชลา โคแวน เสนาธิการบริษัทโปรดักชันของเขา กล่าวว่า เธอได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโปรดิวเซอร์ร่วมกับเขา[15] และเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2565 เครก เออร์วิช ประธานบริษัทเอบีซี และฮูลู กล่าวยืนยันว่า งานประกาศผลรางวัลออสการ์ครั้งนี้ จะกลับมามีพิธีกรเหมือนเดิม เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 90[16]

ข้อวิจารณ์

[แก้]

การทะเลาะวิวาท

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Porter, Rick (March 28, 2022). "TV Ratings: Oscars Rebound from Historic Lows". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ March 28, 2022.
  2. Keegan, Rebecca (January 11, 2022). "Oscars: 2022 Ceremony to Feature a Multi-Emcee Palooza". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 11, 2022. สืบค้นเมื่อ February 11, 2022.
  3. Spangler, Todd (March 27, 2022). "Apple Is First Streamer to Win Best Picture Oscar for 'CODA'". Variety. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 28, 2022. สืบค้นเมื่อ March 28, 2022.
  4. Truitt, Brian (February 5, 2020). "Who will Oscar history remember as the best Joker, Heath Ledger or Joaquin Phoenix?". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 16, 2020. สืบค้นเมื่อ April 13, 2020.
  5. Couch, Aaron; Giardina, Carolyn (March 27, 2022). "Oscars: 'Dune' Dominates Crafts with 6 Wins". The Hollywood Reporter. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 28, 2022. สืบค้นเมื่อ March 28, 2022.
  6. "2021". Oscars.org | Academy of Motion Picture Arts and Sciences (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-04-07.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 Hammond, Pete (June 24, 2021). "Oscars: Academy To Honor Danny Glover, Samuel L. Jackson, Elaine May & Liv Ullmann At 2022 Governors Awards". Deadline Hollywood. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 24, 2021. สืบค้นเมื่อ June 24, 2021.
  8. 8.0 8.1 Davis, Clayton (May 27, 2021). "Oscars 2022 Ceremony Moves to Late March, Keeping Pandemic Qualifying Rules and Standard Calendar Year". Variety. สืบค้นเมื่อ May 27, 2021.
  9. 9.0 9.1 Thompson, Anne (2021-05-27). "Oscars 2022: The Academy Lines Up Dates, Keeps 2021 Pandemic Eligibility Rules". IndieWire (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. Lewis, Hilary (February 3, 2022). "Oscars: Tracee Ellis Ross and Leslie Jordan to Host Nominations Announcement". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ February 3, 2022.
  11. Thompson, Anne (2020-06-12). "Academy Moves to 10 Best Picture Oscar Noms for 2022, but for 2021, Oscar Date Still a Question". IndieWire (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-05-27.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. Hammond, Pete (2021-06-30). "Oscars: Academy Sets Rules And Regulations For 94th Awards; 10 Best Picture Nominees, Plus Changes In Music And Sound Categories". Deadline (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-06-30.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. Grein, Paul (June 30, 2021). "Motion Picture Academy Announces New Music Category Rules for 2022 Oscars". Billboard. สืบค้นเมื่อ July 1, 2021.
  14. Hammond, Pete (April 28, 2020). "Oscars Keeping Show Date But Make Big News As Academy Lightens Eligibility Rules, Combines Sound Categories, Ends DVD Screeners and More". Deadline Hollywood (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 23, 2020. สืบค้นเมื่อ May 6, 2020.
  15. Lang, Bret (October 5, 2021). "Academy Awards: Will Packer to Produce 94th Oscars Broadcast". Variety. สืบค้นเมื่อ October 5, 2021.
  16. Schneider, Michael (2022-01-11). "Oscars Will Have a Host in 2022, According to ABC". Variety (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-01-12.

เว็บไซต์หลัก

[แก้]