ฆุนตา (เกม)
จำนวนผู้เล่น | 2–7 คน (4–7 คนสำหรับเกมเต็ม) |
---|---|
ระยะเวลาติดตั้ง | 10–15 นาที |
ระยะเวลาเล่น | 3–7 ชั่วโมง |
โอกาสสุ่ม | ปานกลาง |
ทักษะที่จำเป็น | การทอยลูกเต๋า, การนับ, ทักษะทางสังคม |
ฆุนตา (สเปน: Junta ) เป็นเกมกระดานที่ออกแบบโดยเมอร์ลินเซาท์เวล ซึ่งเผยแพร่ครั้งแรกใน ค.ศ. 1978 โดยครีเอทีฟวอร์เกมส์เวิร์กชอป และเผยแพร่เมื่อ ค.ศ. 1985 โดยเวสต์เอนด์เกม ผู้เล่นแข่งขันกันในฐานะตระกูลชนชั้นสูงที่มีอำนาจการทุจริตที่ล้อเลียนการเหมารวมของสาธารณรัฐกล้วย (โดยเฉพาะเรปูบลีกาเดโลสบานานัส ) โดยพยายามหาเงินตราเข้าบัญชีธนาคารสวิสก่อนที่เงินการให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศจะหมดลง การต่อสู้ในเมืองหลวงของสาธารณรัฐในระหว่างการก่อรัฐประหารซ้ำซากนั้นครอบคลุมเครื่องใช้สอย, กติกา และเวลาเล่นส่วนใหญ่ของเกม อย่างไรก็ตาม 'เกมภายในเกมนี้' มีความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายหลักของผู้เล่น
ความยาวของเกมขึ้นอยู่กับว่ามีการประกาศรัฐประหารบ่อยแค่ไหน แต่มักจะเกินหกชั่วโมง
ชื่อเกมมาจากคำว่า "Junta" ซึ่งเป็นศัพท์ภาษาสเปนที่แต่เดิมหมายถึงหน่วยงานบริหาร ซึ่งมักเข้ามามีอำนาจหลังการรัฐประหารโดยทหารในลาตินอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 (เวอร์ชันภาษาสเปนเรียกว่า Golpe ซึ่งหมายถึงรัฐประหาร) ในเกม คำนี้หมายถึงผู้เล่นที่ประกาศ "ก่อกบฏ" ในช่วงเริ่มต้นของช่วงการรัฐประหาร และ—หากการรัฐประหารได้รับชัยชนะ—ต่อผู้เล่นที่ประกาศ "โปร-ฆุนตา" (รัฐประหารนิยม) เมื่อสิ้นสุดขั้นตอนการรัฐประหารเพื่อเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่
ผู้เล่น
[แก้]ผู้เล่นของฆุนตา เป็นตัวแทนของตระกูลสาธารณรัฐกล้วยที่ทุจริตและมีอำนาจ แม้ว่าผู้เล่นมักจะถูกประหารชีวิต หรือถูกลอบสังหารในระหว่างรูปแบบการเล่น แต่ความหมายที่แท้จริงของความตายของผู้เล่นก็คือการสูญเสียเงินสดและการ์ดฆุนตาที่ผู้เล่นถืออยู่และการไม่สามารถเข้าร่วมได้ชั่วคราวจนกว่าจะถึงตาถัดไป เมื่อสมาชิกในตระกูลอีกคนก้าวเข้ามารับหน้าที่ของผู้ตาย ผู้เล่นแต่ละคนจะได้รับโทเคนตระกูลเพื่อเน้นย้ำถึงตัวตนถาวรนี้ แม้ว่าโทเคนจะไม่มีผลต่อการเล่นเกมก็ตาม อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งคณะรัฐมนตรีซึ่งแสดงด้วยการ์ด จะถูกกำหนดใหม่ในแต่ละตา
รูปแบบการเล่น
[แก้]การผลัดกันแต่ละเกมเป็นตัวแทนของหนึ่งปี ซึ่งเกิดขึ้นในเจ็ดระยะที่แสดงบน "เส้นทางทางการเมือง" ของกระดาน เกมจะจบลงเมื่อประธานาธิบดีไม่สามารถดึงดูดบิลแปดใบจากเงินช่วยเหลือต่างประเทศในตอนเริ่มเทิร์น เหตุการณ์นี้ได้ปิดบังโดยบิลเปล่าที่วางอยู่ด้านล่างของสำรับความช่วยเหลือต่างประเทศและโดยบิล "ใช้แล้ว" ซึ่งอยู่ใต้ช่องว่างเมื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการกับการ์ด เกมทั่วไปจะมี 9–11 รอบ ผู้ชนะคือผู้เล่นที่มีเงินมากที่สุดในบัญชีธนาคารสวิสของตนเมื่อสิ้นสุดเกม ส่วนเงินในตัวบุคคลไม่เกี่ยวข้อง
ผู้เล่นแต่ละคนที่ไม่ได้ถูกเนรเทศมีความสามารถในการจั่วและเล่นการ์ด "ฆุนตา", กำกับการโหวตที่เขาควบคุมผ่านตำแหน่งคณะรัฐมนตรี, อิทธิพล และบัตรลงคะแนนเลือกประธานาธิบดี รวมถึงคะแนนโหวตกฎหมายงบประมาณ โดยดำเนินการตามความสามารถที่ระบุไว้ในการ์ดอิทธิพล และตำแหน่งคณะรัฐมนตรีของเขา, การบัญชาการกองกำลังของเขาในระหว่างการรัฐประหาร และจัดการเงินของเขา ในการโหวตทั้งหมด ผู้เล่นแต่ละคนจะมีหนึ่งโหวตแทนตัวเอง และโหวตอะไรก็ได้ที่เขาสามารถรวบรวมจากอิทธิพลหรือบัตรลงคะแนน ข้อยกเว้นเพียงอย่างเดียว คือการเลือกตั้งประธานาธิบดีหลังจากการทำรัฐประหารที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งผู้เล่นฝ่ายกบฏแต่ละคนมีหนึ่งเสียงและโหวตได้เพียงเสียงเดียวเท่านั้น
ระยะดำรงความปรกติ
[แก้]จั่วการ์ดฆุนตาและเลือกเอลเปรซิเดนเต หากจำเป็น ใช้การลงคะแนนของผู้เล่นแต่ละคนในสภาล่าง รวมถึงการ์ดอิทธิพลและการ์ดลงคะแนน ซึ่งเอกสารแนบแก้คำผิดได้ชี้แจงในภายหลังว่าหากผู้เล่นปฏิเสธการเสนอชื่อ สามารถมีการเสนอชื่อใหม่ได้โดยยกเว้นการ์ดลงคะแนนที่ได้โหวตไปแล้ว ส่วนเอลเปรซิเดนเต ดำรงตำแหน่งนี้จนถึงเหตุการณ์การลอบสังหาร, ทำรัฐประหารสำเร็จ หรือการลาออก ซึ่งทั้งสามเหตุการณ์มีผลต่อการชำระบัญชีทรัพย์สินของประธานาธิบดี และส่งเงินสดให้ผู้ลอบสังหารหรือทายาท
การตอบรับ
[แก้]แอรอน ออลสตัน ได้วิจารณ์ฆุนตา ในนิตยสารเดอะสเปซเกมเมอร์ เล่ม 33[1] ซึ่งออลสตันให้ความเห็นว่า "โดยรวมแล้ว ขอแนะนำฆุนตา สำหรับเกมเมอร์ทุกคนที่ชื่นชอบการแทงข้างหลัง"[1]
ในนิตยสารดรากอน ฉบับเดือนธันวาคม ค.ศ. 1993 (ฉบับที่ 200) อัลเลน วาร์นีย์ ได้ยกนิ้วให้ฆุนตา : "ถ้าคุณชอบการทุจริตตามเหตุเอื้ออำนวย, มุกตลกที่อำพรางความจริง และทหารที่ไม่สามารถต่อรองอย่างตรงไปตรงมา? เรามีสิ่งนี้ทั้งหมด ซึ่งผมคิดว่าดีมาก! (Muy bien)"[2]
ฆุนตา ได้รับเลือกให้รวมอยู่ในหนังสือฮอบบีเกมส์ 2007: ดิ 100 เบสต์ โดยแดร์เรน วอตส์ ให้ความเห็นว่า "ฆุนตา ไม่ใช่หนึ่งในเกมอดิเรกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด 100 เกมเนื่องจากกติกาและกลไกของมัน — เป็นเกมที่ดีในแต่ละเกม แต่ไม่หลักแหลม นับเป็นเกมอดิเรกที่ยอดเยี่ยมเพราะสร้างอารมณ์และจับธีมได้อย่างหลักแหลม รวมถึงบูรณาการทุกองค์ประกอบการออกแบบเข้ากับสาเหตุนั้น ด้วยความรู้สึกที่ยอดเยี่ยมของการคุกคามที่น่าขบขัน, ความไม่แน่นอนทางการเมือง และการทุจริตในสถาบัน ฆุนตา จึงเป็นเกมที่น่าเล่น"[3]
บทวิจารณ์อื่น ๆ
[แก้]- นิตยสารกาซุสเบลลี ฉบับที่ 32 (เมษายน ค.ศ. 1986)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Allston, Aaron (พฤศจิกายน 1980). "Capsule Reviews". The Space Gamer. No. 33. Steve Jackson Games. p. 29. ISSN 0194-9977.
- ↑ Varney, Allen (ธันวาคม 1993). "Social Board Games". Dragon. TSR, Inc. (200): 120. ISSN 1062-2101.
- ↑ Watts, Darren (2007). "Junta". ใน Lowder, James (บ.ก.). Hobby Games: The 100 Best. Green Ronin Publishing. pp. 161–163. ISBN 978-1-932442-96-0.
- ↑ Bruno Giraudon; Gildas Sagot (เมษายน 1986). "Sur un plateau: Junta". Casus Belli (ภาษาฝรั่งเศส). No. 32. p. 74. ISSN 0243-1327.
บรรณานุกรม
[แก้]- Emrich, Alan (กุมภาพันธ์–มีนาคม 1986). "New Cabinet Positions for Junta" (PDF). VIP of Gaming. No. 2. ISSN 0887-6568.
- West End Games (2005). Junta! The Game of Power, Intrigue, Money, and Revolution (3rd ed.). ISBN 1-932867-13-9.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Junta at BoardGameGeek.