ข้ามไปเนื้อหา

คิตสึเนะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพวาดปิศาจจิ้งจอกขณะสิงสู่หญิงนางหนึ่ง จากเรื่อง คิตสึเน็ตสึกิ (ญี่ปุ่น: 狐憑き)

คิตสึเนะ (ญี่ปุ่น: โรมาจิkitsune) เป็นปิศาจจิ้งจอกที่พบบ่อยครั้งในคติชนญี่ปุ่นซึ่งเชื่อว่า เป็นสัตว์มีไหวพริบและวิทยาคมซึ่งรวมถึงการแปลงเป็นมนุษย์ บางคนเชื่อว่า หมาจิ้งจอกแปลงเป็นมนุษย์เพื่อล่อลวงมนุษย์คนอื่น แต่บางคนเชื่อว่า แปลงมาพิทักษ์รักษาหรือร่วมหอลงโรงด้วย

ในญี่ปุ่นแต่ก่อน มนุษย์และหมาจิ้งจอกอยู่ใกล้ชิดกันมาก ความสัมพันธ์นี้เองที่ก่อให้เกิดความเชื่อเรื่องคิตสึเนะนี้ขึ้น ในลัทธิชินโตยังเชื่อว่า หมาจิ้งจอกเป็นผู้เดินสารของเทพเจ้าอินาริ ความเชื่อนี้ทำให้หมาจิ้งจอกมีบทบาทในเรื่องเหนือธรรมชาติ เพื่อดลบันดาลให้เกิดความอุมสมบูรณ์ขึ้น ที่หน้าศาลเจ้าฟูชิมิอินาริ ที่จังหวัดเกียวโต จึงมีรูปปั้นหมาจิ้งจอกประดับอยู่ เสมือนเป็นยามหรือทวารบาลรักษาทางเข้า โดยบางตัวจะคาบสิ่งที่มีลักษณะคล้ายสาส์น อันหมายถึงเป็นตัวแทนหรือสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับเทพเจ้า หรือบางตัวคาบรวงข้าว หมายถึง การเป็นตัวแทนของความอุดมสมบูรณ์[1] อนึ่ง ญี่ปุ่นยังเชื่อว่า ปิศาจจิ้งจอกมีหางมากเท่าไร ก็หลักแหลมและทรงอำนาจมากเท่านั้น ฉะนั้น จึงมีผู้บูชาปิศาจจิ้งจอกเสมือนเทพ

อ้างอิง

[แก้]
  1. หน้า 2 การเมือง, 'เชื่อแล้วดี'ถึงยุคล้ำ ๆ 'สัตว์เทพเจ้า' ตำนานญี่ปุ่นยัง'ขลัง' . "สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์ ต่อจากหน้า 1". เดลินิวส์ฉบับที่ 24,117: วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 11 ปีมะแม