คิงออฟคิงส์ (วิดีโอเกม พ.ศ. 2531)
คิงออฟคิงส์ | |
---|---|
ภาพปก | |
ผู้พัฒนา | แอตลัส[1] |
ผู้จัดจำหน่าย | นัมโค[1] |
ศิลปิน | คาซูมะ คาเนโกะ |
แต่งเพลง | ฮิโรฮิโกะ ทากายามะ[1] |
เครื่องเล่น | แฟมิลีคอมพิวเตอร์[1] |
วางจำหน่าย | |
แนว | เกมสงครามกลยุทธ์ผลัดกันเล่น[1] |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว หลายผู้เล่น (ผู้เล่นสูงสุดสี่คน) |
คิงออฟคิงส์ (ญี่ปุ่น: キングオブキングス;[2] อังกฤษ: King of Kings) เป็นวิดีโอเกมวางแผนผลัดกันเล่นที่มีองค์ประกอบการเล่นเกมสงครามสำหรับแฟมิลีคอมพิวเตอร์ โดยวางจำหน่ายเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ส่วนคาซูมะ คาเนโกะ ช่วยออกแบบตัวละครสำหรับวิดีโอเกมนี้ ซึ่งกลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับตัวละครในวิดีโอเกมเมกามิเทนเซย์
เกมนี้เป็นหนึ่งในเกมไม่กี่เกมสำหรับแฟมิลีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ชิปเสียงตารางคลื่นนัมโค 163 และยังเป็นหนึ่งในเกมที่เปิดใช้งานช่องเสียงทั้งหมดแปดช่องที่มาจากชิป ส่วนอีกเกมคือเอริกะโตะซาโตรุโนะยูเมะโบเค็ง[3]
จุดสำคัญ
[แก้]วิดีโอเกมนี้มียูนิตที่เล่นได้ 22 แบบ (แบ่งออกเป็นประชาชน, แฟรี, มังกร และยูนิตประเภทอื่น ๆ) ยูนิตของมนุษย์มักจะมีการป้องกันโดยรวมที่อ่อนแอ, ยูนิตแฟรีมักจะมีราคาแพงที่สุดในการให้กำเนิด, มังกรทั้งหมดยกเว้นลิซเซิร์ดแมนมีราคาแพงมากในการสร้าง และยูนิตประเภทอื่น ๆ นั้นเป็นยูนิตผสมที่รวมจุดแข็งและจุดอ่อนของยูนิตอื่น ๆ อีกสามประเภท เกมนี้มีโหมดการทัพที่ผู้เล่นต่อสู้กับทีมคอมพิวเตอร์ที่นำโดยลูซิเฟอร์ในสี่แผนที่[4] และมีโหมดผู้เล่นหลายคนที่สามารถต่อสู้ได้ถึงสี่ทีมบนแผนที่เพิ่มเติมอีกแปดแผนที่[4] ส่วนแผนที่โบนัสได้อิงจากช่างตีดาบผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นที่ชื่อมาซามูเนะ ในฐานะไข่อีสเตอร์ของวิดีโอเกมนี้[5]
ระบบเกม
[แก้]ยูนิตพระราชาของผู้เล่นเป็นแกนหลักของเกม ในขณะที่พระราชาของฝ่ายตรงข้ามสามารถกำจัดโอกาสของผู้เล่นเพื่อชัยชนะได้โดยง่าย ผู้เล่นจะต้องดำเนินการ เช่น การยึดครองและการระดมทุนในเมือง พระราชาสามารถผลิตยูนิตอื่น ๆ เพื่อดำเนินพฤติกรรมเชิงรุก จากยูนิตหลายประเภทรวมทั้งนักสู้และก็อบลิน พลังโจมตีและการป้องกันของแต่ละยูนิตแตกต่างกัน ส่วนในโหมดหลายผู้เล่น "พันธมิตร" ที่ไม่มีชื่อ มีอยู่ในยุทธการของฝ่ายพันธมิตร แต่จะไม่สามารถชนะพันธมิตรฝ่ายเดียวกันได้ ซึ่งการเอาชนะพระราชาฝ่ายตรงข้ามเท่านั้นที่จะส่งผลให้ผู้เล่นได้รับชัยชนะ[4] โดยหากผู้เล่นกำลังเล่นปะทะกับฝ่ายตรงข้ามที่เป็นมนุษย์มากกว่าหนึ่งคน ก็เป็นไปได้ที่ทีมนั้นจะสนุกไปกับระบบพันธมิตร
ระบบการผลิต
[แก้]ผู้เล่นสร้างระบบการผลิตโดยใส่ยูนิตพระราชาไว้ในปราสาทเพื่อเรียกยูนิตอื่น ๆ ยูนิตการผลิตเป็นระบบที่ใช้เงินทุนและยังสร้างรายได้จำนวนหนึ่งในแต่ละครั้งที่มีเทิร์นของผู้เล่น ผู้เล่นสามารถเพิ่มรายได้โดยการยึดครองเมืองและปราสาท ยูนิตพระราชาสามารถย้ายไปยังปราสาทได้ทันทีหลังจากสร้างยูนิต เขายังสามารถรุดหน้าไปสู่การโจมตี; ซึ่งเขาถือว่าอยู่นอกปราสาทและไม่สามารถผลิตได้
ยูนิต
[แก้]ยูนิตนักสู้ที่อาจเกิดขึ้นได้ในเกม คือ ก็อบลิน, เอลฟ์ และมังกร ตัวละครเหล่านี้เป็นศูนย์กลางของเกมแฟนตาซีและปรากฏในเกมนี้ แต่ละยูนิตมีการกำหนดเลเวล ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการฆ่าศัตรู เลเวลมีตั้งแต่ 1 ถึง 9 (โดยตัวละครระดับเก้าสวมมงกุฎ) ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีอัตราการโจมตีที่สูงกว่าคู่ต่อสู้ ในทางกลับกัน การมีอัตราการป้องกันที่สูงขึ้นยังช่วยให้ชนะการต่อสู้และสร้างระบบเกมที่สมดุล บางยูนิตสามารถใช้ "พลังเวทมนตร์" ที่โจมตีศัตรูโดยตรงด้วยเอฟเฟกต์พิเศษต่าง ๆ โหมดการทัพถูกจำกัดไว้ที่ประเภทของยูนิตที่สามารถผลิตได้ ประเภทเหล่านี้เริ่มต้นจากการเป็นประโยชน์เล็กน้อย อย่างไรก็ตาม จะมีการเพิ่มยูนิตประเภทอื่น ๆ ในช่วงครึ่งหลังของเกม
ระบบการเคลื่อนที่
[แก้]ยูนิตทั้งหมดมีรูปแบบการเคลื่อนที่ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ยูนิตสามารถเคลื่อนที่ได้ตามลำดับภายในระยะการเคลื่อนที่ที่เกมอนุญาตเท่านั้น การเคลื่อนที่ยังถูกครอบงำโดยภูมิประเทศ; ที่ราบและถนนต้องการพลังงานเล็กน้อย ในขณะที่ภูเขาสูงและป่าไม้ใช้พลังงานมากกว่า มีการบริโภคอาหารเพื่อฟื้นคืนจุดเคลื่อนที่ ทุกยูนิตบริโภคอาหารเพื่อที่จะก้าวต่อไป หลังจากอาหารหมด มีเพียงเมืองหรือนักพรตเท่านั้นที่สามารถฟื้นฟูการจัดส่งอาหารของยูนิตได้ ดังนั้น ผู้เล่นจำเป็นต้องพิจารณาการยึดสายการจัดส่งระหว่างการบุกครอง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "King of Kings release information". GameFAQs. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-25. สืบค้นเมื่อ 2012-04-24.
- ↑ "King of Kings title translation". SuperFamicom.org. สืบค้นเมื่อ 2012-04-24.
- ↑ http://wiki.nesdev.com/w/index.php/Namco_163_audio#Channel_Update
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "Basic game summary for King of Kings" (ภาษาญี่ปุ่น). Freett. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-31. สืบค้นเมื่อ 2012-04-24.
- ↑ "Secret map information" (ภาษาญี่ปุ่น). FC no Game Seiha Shimasho. สืบค้นเมื่อ 2012-04-24.