คำเตือนครั้งสุดท้ายของจีน
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/6b/Taiwan_Strait.png/220px-Taiwan_Strait.png)
คำเตือนครั้งสุดท้ายของจีน (อังกฤษ: China's final warning, รัสเซีย: Последнее китайское предупреждение) เป็นสุภาษิตรัสเซีย มีต้นกำเนิดมาจากสหภาพโซเวียตในอดีต หมายถึง คำเตือนหรือคำขู่ที่ไม่มีผลกระทบจริง ๆ[1]
ต้นกำเนิด
[แก้]สำหรับต้นกำเนิดของประโยค คำเตือนครั้งสุดท้ายของจีน มาจากสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหรัฐในช่วงทศวรรษ 1950 และ 1960 สหรัฐได้ส่งเครื่องบินขับไล่ขึ้นลาดตระเวนบริเวณช่องแคบไต้หวันเป็นประจำ ทำให้ทางการจีนประท้วงการกระทำดังกล่าวในนามของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในรูปแบบของ "คำเตือนครั้งสุดท้าย" ต่อการซ้อมรบของสหรัฐในช่องแคบดังกล่าว ยังไงก็ตาม คำเตือนดังกล่าวไม่มีการตอบโต้ใด ๆ ตามมาหลังจากการเพิกเฉยต่อ "คำเตือนครั้งสุดท้าย" นั้น[2]
สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ออก "คำเตือนครั้งสุดท้าย" ครั้งแรกไปยังสหรัฐในเที่ยวบินลาดตระเวนในวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2501 ระหว่างสถานการณ์วิกฤตช่องแคบไต้หวันครั้งที่ 2 ซึ่งเวลานั้นสหรัฐถือว่าสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) เป็นตัวแทนที่ถูกต้องตามกฎหมายเพียงชาติเดียวของจีน และทำการบินลาดตระเวนในน่านน้ำที่ควบคุมโดยสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจีนได้บันทึกการกระทำนั้นและออก "คำเตือนครั้งสุดท้าย" ผ่านช่องทางทางการทูตสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยทางการจีนได้ออกคำเตือนครั้งสุดท้ายมากกว่า 900 ครั้งในปี พ.ศ. 2507[2]
การใช้งานในปัจจุบัน
[แก้]ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต สุภาษิตดังกล่าวยังคงถูกใช้โดยแพร่หลายในกลุ่มประเทศอดีตสหภาพโซเวียต โดยเฉพาะในประเทศเอสโตเนีย[3][4]
ในปี พ.ศ. 2565 ประโยคว่า "คำเตือนครั้งสุดท้าย" ของจีน ถูกพูดถึงอย่างแพร่หลายอีกครั้งหลังจากการประกาศเตือนสหรัฐในการเดินทางไปเยือนประเทศไต้หวัน ว่าอย่าเล่นกับไฟ[5] ซึ่งประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐก็ไม่ได้ยี่หระ กลับเดินทางไปยังประเทศไต้หวันพร้อมคณะในค่ำของวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2565 จีนจึงตอบโต้ด้วยการประกาศพื้นที่ซ้อมรบใหญ่ด้วยกระสุนจริงบริเวณโดยรอบประเทศไต้หวันหลังจากประธานสภาผู้แทนสหรัฐเดินทางกลับ[6] โดยเหตุการณ์ดังกล่าวถูกพูดถึงในสื่อสังคมเรดดิต[7] และแพลตฟอร์มออนไลน์ 9แก๊ก ในรูปแบบของมีม "คำเตือนครั้งสุดท้าย" ของจีน[8]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Когда было последнее китайское предупреждение | VOKRUGSVETA". www.vokrugsveta.ru (ภาษารัสเซีย).
- ↑ 2.0 2.1 "Малая воздушная война в Китае". www.airwar.ru.
- ↑ "Toomas Alatalu: Põhja-Korea ja USA ootamatult tuliseks kujunenud olukorras on suureks õli tulle valajaks silmatorkavalt sõjajanune ajakirjandus". Eesti Päevaleht.
- ↑ OKIA. "Kas sõjahirm või sõjaootus?". Sirp (ภาษาเอสโตเนีย).
- ↑ "ประธานาธิบดีจีนเตือนโจ ไบเดน อย่า "เล่นกับไฟ" กรณีไต้หวัน". BBC News ไทย. 2022-07-29.
- ↑ "จีนประณามสหรัฐฯ ระงับสินค้าไต้หวัน หลังประธานสภาฯ เยือนไทเป". BBC News ไทย. 2022-08-02.
- ↑ "r/fucktheccp - China's Final Warning". reddit (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "China's final warning - Funny". 9GAG (ภาษาอังกฤษ).