คาเบดง
คาเบดง (ญี่ปุ่น: 壁ドン; โรมาจิ: kabedon; "คาเบะ" มีความหมายว่า "กำแพง" และ "ดง" เป็นคำแทนเสียง "ปัง") เป็นคำที่ใช้หมายถึงการใช้มือตบกับกำแพงอย่างแรงทำให้เกิดเสียง "ดง" ในความหมายหนึ่งคือการตบกำแพงเพื่อประท้วง ซึ่งเกิดขึ้นในที่อยู่อาศัยรวมอย่างคอนโดมิเนียม เมื่อห้องข้าง ๆ ทำเสียงดัง[1] อีกความหมายหนึ่งมักปรากฏในมังงะหรืออนิเมะแนวโชโจะ เมื่อตัวละหนึ่งบังคับให้อีกตัวละครหนึ่งไปจนมุมหลังชนกำแพงโดยใช้มือตบเข้ากับกำแพงจนเกิดเสียง "ดง" ความหมายนี้ได้รับความนิยมในฐานะ "การเคลื่อนไหวอย่างชาญฉลาดเพื่อสารภาพรัก"[2][3]
ต้นกำเนิด
[แก้]คำว่าคาเบดงปรากฏครั้งแรกในปี พ.ศ. 2551 เมื่อนักพากย์เรียวโกะ ชินตานิกล่าวถึงว่าเป็น "สถานการณ์ที่น่ารัก" คำนี้นิยมใช้ในมังงะแนวโชโจะเรื่อง มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา ผลงานโดยอายุ วาตานาเบะ[4][5] และในเดือนเมษายน พ.ศ. 2557 มังงะได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์คนแสดง[6] หลังจากนั้นคำว่าคาเบดงจึงเป็นที่คุ้นเคยระดับสาธารณะและปรากฏในมังงะแนวโชโจะหลายเรื่อง[1]
การใช้
[แก้]คาเบดงมักปรากฏในมังงะหรืออนิเมะแนวโชโจะ เมื่อผู้ชายบังคับผู้หญิงเข้าชนกำแพง โดยมือข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างของผู้ชายตบเข้าที่กำแพงด้านข้างของผู้หญิงและทำให้เกิดเสียง "ดง"[7]
ในประเทศญี่ปุ่น ผนังของอาคารอยู่อาศัยจำนวนมากมีความบางและไม่มีฉนวนกันเสียง ด้วยเหตุนี้การกระทำทั่วไปอย่างการปิดประตูหรือเปิดโทรทัศน์ก็ทำให้เพื่อนบ้านได้ยินได้ง่าย เมื่อเสียงดังเกินทน คนญี่ปุ่นมักจะตบกำแพงที่เชื่อมต่อกับห้องข้างเคียงเพื่อประท้วง[1]
คำว่าคาเบดงถูกยืมมาใช้ในภาษาจีน ซึ่งออกเสียงว่า ปี้ตง (壁咚, bìdōng) ทางละครโทรทัศน์อย่าง รอรักกลับมา[8] ในฮ่องกง นักแสดงหวาง จงเหยาทำการปี้ตงในโฆษณาน้ำยาบ้วนปากลิสเตอรีน[9]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Ashcraft, Brian (4 July 2014). "Manga Trope Appears in Noodle Commercial, Confuses Some People". Kotaku.
- ↑ "Feeling Exhilaration, Even Through a Mistake: Experiencing the "Kabe-Don" Japanese Girls Love So Much". Japanese kawaii idol music culture news | Tokyo Girls Update. November 2014.
- ↑ "Would kabe-don work outside of Japan?【Video】". March 13, 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-23. สืบค้นเมื่อ 2023-11-23.
- ↑ Junko (15 December 2015). Kiss Him, Not Me Vol. 2. Kodansha Comics. Translation Notes. ISBN 9781682330340.
- ↑ Green, Scott. "Kodansha Announces Manga Licenses Including "Princess Jellyfish"". Crunchyroll.
- ↑ "Kento Yamazaki's Best Movies and Dramas". ReelRundown.
- ↑ "Move Over Udon and Gyudon : It's Time For "Kabe-Don" !!". Wow! Japan. 30 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 March 2015. สืบค้นเมื่อ 30 May 2020.
- ↑ Xing, Shaofei (2015). "Why is "Bidong" So Popular in China Nowadays".
- ↑ Berman, Margo (July 1, 2016). The Blueprint for Strategic Advertising: How Critical Thinking Builds Successful Campaigns. Routledge. ISBN 9781317211624 – โดยทาง Google Books.