การประท้วง
หน้าตา
การประท้วง (อังกฤษ: Protest) เป็นการแสดงออกด้วยการกระทำ เพื่อแสดงให้เห็นว่าคัดค้าน หรือ ไม่เห็นด้วย มีหลากหลายวิธี เช่น การ อดข้าวประท้วง การเดินประท้วง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการแสดงออกทางสังคมและการเมือง การประท้วงที่ใช้ความรุนแรงก่อให้เกิดความวุ่นวายจะกลายเป็น การจลาจล
รูปแบบ
[แก้]รูปแบบของการประท้วงทำได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม จัดรูปแบบได้ดังนี้ [1]
- การประท้วงในที่สาธารณะ
- การเดินประท้วง (protest march) โดยผู้ประท้วงเดินในที่สาธาณะและชูป้ายแสดงความคิดต่าง ๆ
- การจัดกลุ่มประท้วง เป็นการรวมกลุ่มเป็นจุด ๆ เช่น การประท้วงหน้าโรงงาน
- การประท้วงบนถนน (street protest) ผู้ประท้วงใช้ถนนเป็นสถานที่เพื่อแสดงความเห็นให้แก่ผู้สัญจรไปมา
- การประท้วงด้วยการกีดขวาง (lock-downs) ผู้ประท้วงจะขัดขวางหรือกีดกันกิจกรรมของผู้ถูกประท้วงไม่ไห้ดำเนินงานต่อไปได้ รวมถึงการวางวัตถุสิ่งของเพื่อขัดขวางการสลายการชุมนุม
- การแกล้งตาย (die-ins) เป็นความแสดงการตายโดยแกล้งนอนเป็นศพ เพื่อให้ได้รับความสนใจ
- การแต่งเพลงประท้วง (protest song) โดยแต่งเพลงที่มีเนื้อหาในเรื่องที่เรียกร้อง ได้รับความนิยมในสังคมตะวันตก เช่นเพลงเรียกร้องเพื่อการปลดปล่อยทาส
- การประท้วงด้วยการเขียน โดยมักจะเขียนเป็นจดหมายเรียกร้องและลงชื่อผู้เข้าร่วมประท้วงต่อท้าย
- การประท้วงโดยการขัดขืน หรือ การดื้อแพ่ง เช่น
- การนั่งกีดขวาง (sit-in)
- การใช้คนขวางทางสัญจร (Raasta roko)
- การเปลือยกายในที่สาธารณะ
- การอดข้าวประท้วง
- การเขียนข้อความบนกำแพง
- การส่งข่าวสารที่ถูกเซ็นเซอร์
- การประท้วงด้วยการจัดค่าย เป็นการรวมกลุ่มผู้คัดค้านมาอยู่ร่วมกัน
- การประท้วงด้วยความรุนแรง
- การจลาจล
- การพลีชีพ
- การปฏิวัติ เป็นการจับอาวุธสู้กับฝ่ายรัฐบาล
- การประท้วงทหาร
- การปฏิเสธการเกณฑ์ทหาร
- การกีดขวางการลำเลียงอาวุธ
- การประท้วงของผู้ใช้แรงงาน
- การนัดหยุดงาน
- การนั่งประท้วงโดยไม่เข้างาน
- การผละงาน
- การขีดขวางไม่ให้เข้าทำงาน
- การประท้วงของผู้บริโภค
- การงดซื้อสินค้า
- การกระจายข่าวปัญหาของผลิตภัณฑ์
- การทำสินค้ามาทำลายในที่สาธารณะ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สุรชาติ บำรุงสุข,มติชน สุดสัปดาห์ 24-30 ตุลาคม พ.ศ. 2551,หน้า 36-37