มหาตมา คานธี
คานธี | |
---|---|
คานธี ภาพถ่ายปี 1931 | |
เกิด | โมหนทาส กรมจันท์ คานธี 2 ตุลาคม ค.ศ. 1869 โปร์บันดาร์ รัฐโปร์บันดาร์ เอเยนซีกาฐิยาวาร อินเดียของบริเตน |
เสียชีวิต | 30 มกราคม ค.ศ. 1948 นิวเดลี ประเทศอินเดียในเครือจักรภพ | (78 ปี)
สาเหตุเสียชีวิต | ถูกลอบสังหาร (บาดแผลอาวุธปืน) |
อนุสรณ์สถาน | |
ชื่ออื่น | บาปู (Bapu) |
พลเมือง |
|
ศิษย์เก่า | วิทยาลัยนิติศาสตร์อินส์ออฟคอร์ต |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | 1893–1948 |
ยุคสมัย | บริติชราช |
มีชื่อเสียงจาก | |
ผลงานเด่น | ข้าพเจ้าทดลองความจริง |
พรรคการเมือง | คองเกรสแห่งชาติอินเดีย (1920–1934) |
ขบวนการ | ขบวนการเอกราชอินเดีย |
คู่สมรส | กัสตูรพา คานธี (สมรส 1883; 1944) |
บุตร | |
บิดามารดา |
|
ญาติ | ตระกูลตานธี |
รางวัล | บุคคลแห่งปีของ ไทม์ (1930) |
ประธานคองเกรสแห่งชาติอินเดีย | |
ดำรงตำแหน่ง ธันวาคม 1924 – เมษายน 1925 | |
ก่อนหน้า | อะบูล กะลาม อาซาด |
ถัดไป | สาโรชินี นายฑู |
ลายมือชื่อ | |
โมหนทาส กรมจันท์ คานธี[pron 1], 2 กันยายน 1869 – 30 มกราคม 1948) เป็นนักกฎหมาย นักชาตินิยมต้านลัทธิอาณานิคม และนักจริยธรรมการเมืองชาวอินเดีย ผู้นำเอาหลักการต่อต้านโดยสันติวิธีมาใช้นำพาขบวนการเอกราชอินเดียจากเจ้าอาณานิคมบริเตนสำเร็จ สันติวิธีของคานธีมีอิทธิพลต่อขบวนการสิทธิพลเมืองและเสรีภาพทั่วโลก คำนำหน้านาม มหาตมา (Mahātmā) เพื่อให้เกียรติ เริ่มนำมาใช้ในแอฟริกาใต้ในปี 1914 และปัจจุบันใช้นำหน้านามของคานธีอยู่ทั่วไปจนถึงปัจจุบัน
คานธีเกิดและเติบโตในครอบครัวชาวฮินดูในชายฝั่งของคุชราต และเข้ารับการศึกษาด้านนิติศาสตร์ที่อินเนอร์เทมเพิล ลอนดอน ก่อนจะได้รับประสาทปริญญาเนติบัณฑิตด้วยวัย 22 เมื่อเดือนมิถุนายน 1891 หลังสองปีที่ไม่แน่นอนในอินเดียที่เขาไม่ประสบความสำเร็จในการว่าความเท่าไร เขาได้ย้ายไปยังแอฟริกาใต้ในปี 1893 เพื่อว่าความให้กับพ่อค้าชาวอินเดีย ก่อนที่จะอาศัยอยู่ที่นั่นนาน 21 ปี ระหว่างนี้เขาได้มีครอบครัวและเริ่มนำขบวนการต่อสู้โดยสันติวิธีเพื่อเรียกร้องสิทธิพลเมือง ในปี 1915 เมื่อวัย 45 เขาเดินทางกลับอินเดียและได้นำการประท้วงโดยทาส เกษตรกร และคนงานในเมือง เพื่อประท้วงต่อภาษีที่ดินที่สูงและการกดขี่
เขาเริ่มต้นนำคองเกรสแห่งชาติอินเดียในปี 1921 และเริ่มต้นนำขบวนการทั่วประเทศในการแก้ไขความยากจน ขยายสิทธิสตรี สร้างสัมพันธไมตรีระหว่างศาสนาและกลุ่มชาติพันธุ์ ยกเลิกสถานะอันแตะต้องไม่ได้ และที่สำคัญที่สุด คือการตั้ง สวราช หรือการปกครองตนเอง คานธีได้เริ่มสวม โธตี สั้น ที่ทอมาจากด้ายปั่นมือ เป็นสัญลักษณ์ในการแทนตนสำหรับคนยากไร้ในชนบทของอินเดีย เขาเข้าอยู่อาศัยในชุมชนพึ่งพาตนเอง, กินอาหารเรียบง่าย และก่อการอดอาหารยาวนาน เพื่อทั้งเป็นการสำรวจจิตใจตนเองและเป็นการประท้วงความอยุติธรรม คานธีได้นำพาแนวคิดชาตินิยมต้านเจ้าอาณานิคมอังกฤษมาสู่สามัญชนชาวอินเดีย และนำขบวนการต่อต้านภาษีเกลือผ่านการเดินขบวนเกลือระยะทาง 400 km (250 mi) ในปี 1930 พร้อมทั้งเรียกร้องให้อังกฤษออกจากอินเดียในปี 1942 คานธีเคยถูกจับขังหลายครั้งทั้งในแอฟริกาใต้และอินเดีย
ทัศนคติของคานธีต่ออินเดียในฐานะรัฐเอกราชมีรากฐานบนความเป็นพหุนิยมทางศาสนา แต่ฐานคิดนี้ถูกสั้นคลอนในทศวรรษ 1940s หลังขบวนการชาตินิยมมุสลิมได้เรียกร้องการตั้งดินแดนแยกสำหรับชาวมุสลิใภายในเขตของบริติชอินเดีย ในเดือนสิงหาคม 1947 อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษและถูกตัดแบ่งเป็นสองโดมิเนียน ได้แก่อินเดียที่มีฮินดูเป็นหลัก และ ปากีสถานที่มีมุสลิมเป็นหลัก ระหว่างที่ชาวฮินดู มุสลิม สิกข์ จำนวนมากทำการโยกย้ายถิ่นฐานไปยังดินแดนใหม่ ได้เกิดความรุนแรงระหว่างศาสนาขึ้นจำนวนมาก โดยเฉพาะในภูมิภาคปัญจาบและเบงกอล คานธีไม่ได้ปรากฏตัวในการเฉลิมฉลองเอกราชอย่างเป็นทางการ แต่กลับเดินทางไปยังพื้นที่ที่เกิดความรุนแรงเหล่านี้เพื่อพยายามแก้ไขสถานการณ์ เป็นเวลาหลายเดือนนับจากนั้นที่คานธีกระทำการอดอาหารประท้วงจำนวนมากเพื่อเรียกร้องให้หยุดความรุนแรงทางศาสนา โดยครั้งสุดท้ายมีขึ้นในเดลีเมื่อ 12 มกราคม 1948 เวลานั้น คานธีมีอายุ 78 ปี ในเวลานั้น มีความเชื่อแพร่กระจายไปทั่วว่าคานธีมีความแน่วแน่มากเกินในการปกป้องทั้งมุสลิมในอินเดียและปากีสถาน ซึ่งนำไปสู่การลอบสังหารคานธีโดยสมาชิกกองกำลังชาตินิยมฮินดู นถุราม โคทเส จากปูเณ คานธีถูกลอบสังหารด้วยปืนสามนัดเข้าที่อกและเสียชีวิตจากบาดแผลกระสุนปืนระหว่างการพบปะสวดภาวนาระหว่างศาสนาในเดลีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1948
วันคล้ายวันเกิดของคานธี ซึ่งตรงกับวันที่ 2 ตุลาคม ได้รับการเฉลิมฉลองเป็นวันคานธีชยันตี ซึ่งเป็นวันหยุดราชการของอินเดีย และในระดับนานาชาติถือให้วันนี้เป็นวันแห่งสันติวิธีนานาชาติ คานธีได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งรัฐอินเดียยุคหลังอาณานิคม หลังการเสียชีวิต คานธีได้มักรับการเรียกขานว่า บาปู (Bapu; ภาษาคุชราต แปลว่า "พ่อ" คล้ายคำว่า "ปะป๊า"[2][3])
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ Pronounced variously /ˈɡɑːndi, ˈɡændi/ ga(h)n-dee,[1] (ไทยปรับรูป: โมหะนะทาสะ กะระมะจันทะ คานธี, อักษรโรมัน: Mohandas Karamchand Gandhi, ภาษาคุชราต: [ˈmoɦəndɑs ˈkəɾəmtʃənd ˈɡɑ̃dʱi]
- ↑ ไม่จบการศึกษา
- ↑ เข้าเรียนโดยไม่นับหน่วยกิตอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างปี 1888 ถึง 1891
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Gandhi". เก็บถาวร 14 มกราคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Random House Webster's Unabridged Dictionary.
- ↑ McAllister, Pam (1982). Reweaving the Web of Life: Feminism and Nonviolence. New Society Publishers. p. 194. ISBN 978-0-86571-017-7. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013. Quote: "With love, Yours, Bapu (You closed with the term of endearment used by your close friends, the term you used with all the movement leaders, roughly meaning 'Papa.'" Another letter written in 1940 shows similar tenderness and caring.
- ↑ Eck, Diana L. (2003). Encountering God: A Spiritual Journey from Bozeman to Banaras. Beacon Press. p. 210. ISBN 978-0-8070-7301-8. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013. Quote: "... his niece Manu, who, like others called this immortal Gandhi 'Bapu,' meaning not 'father,' but the familiar, 'daddy.'" (p. 210)
บรรณานุกรม
[แก้]- หนังสือและสิ่งพิมพ์
- Ahmed, Talat (2018). Mohandas Gandhi: Experiments in Civil Disobedience. ISBN 0-7453-3429-6.
- Barr, F. Mary (1956). Bapu: Conversations and Correspondence with Mahatma Gandhi (2nd ed.). Bombay: International Book House. OCLC 8372568. (see book article)
- Bondurant, Joan Valérie (1971). Conquest of Violence: the Gandhian philosophy of conflict. University of California Press.
- Brown, Judith M. (2004). "Gandhi, Mohandas Karamchand [Mahatma Gandhi] (1869–1948)", Oxford Dictionary of National Biography, Oxford University Press.[ไอเอสบีเอ็น ไม่มี]
- Brown, Judith M., and Anthony Parel, eds. The Cambridge Companion to Gandhi (2012); 14 essays by scholars
- Brown, Judith Margaret (1991). Gandhi: Prisoner of Hope. Yale University Press. ISBN 978-0-300-05125-4.
- Chadha, Yogesh (1997). Gandhi: a life. John Wiley. ISBN 978-0-471-24378-6.
- Dwivedi, Divya; Mohan, Shaj; Nancy, Jean-Luc (2019). Gandhi and Philosophy: On Theological Anti-politics. Bloomsbury Academic, UK. ISBN 978-1-4742-2173-3.
- Louis Fischer. The Life of Mahatma Gandhi (1957) online
- Easwaran, Eknath (2011). Gandhi the Man: How One Man Changed Himself to Change the World. Nilgiri Press. ISBN 978-1-58638-055-7.
- Hook, Sue Vander (2010). Mahatma Gandhi: Proponent of Peace. ABDO. ISBN 978-1-61758-813-6.
- Gandhi, Rajmohan (1990), Patel, A Life, Navajivan Pub. House
- Gandhi, Rajmohan (2006). Gandhi: The Man, His People, and the Empire. University of California Press. ISBN 978-0-520-25570-8.
- Gangrade, K.D. (2004). "Role of Shanti Sainiks in the Global Race for Armaments". Moral Lessons From Gandhi's Autobiography And Other Essays. Concept Publishing Company. ISBN 978-81-8069-084-6.
- Guha, Ramachandra (2013). Gandhi Before India. Vintage Books. ISBN 978-0-385-53230-3.
- Hardiman, David (2003). Gandhi in His Time and Ours: the global legacy of his ideas. C. Hurst & Co. ISBN 978-1-85065-711-8.
- Hatt, Christine (2002). Mahatma Gandhi. Evans Brothers. ISBN 978-0-237-52308-4.
- Herman, Arthur (2008). Gandhi and Churchill: the epic rivalry that destroyed an empire and forged our age. Random House Digital, Inc. ISBN 978-0-553-80463-8.
- Jai, Janak Raj (1996). Commissions and Omissions by Indian Prime Ministers: 1947–1980. Regency Publications. ISBN 978-81-86030-23-3.
- Johnson, Richard L. (2006). Gandhi's Experiments with Truth: Essential Writings by and about Mahatma Gandhi. Lexington Books. ISBN 978-0-7391-1143-7.
- Jones, Constance & Ryan, James D. (2007). Encyclopedia of Hinduism. Infobase Publishing. p. 160. ISBN 978-0-8160-5458-9.
- Majmudar, Uma (2005). Gandhi's Pilgrimage of Faith: from darkness to light. SUNY Press. ISBN 978-0-7914-6405-2.
- Miller, Jake C. (2002). Prophets of a just society. Nova Publishers. ISBN 978-1-59033-068-5.
- Pāṇḍeya, Viśva Mohana (2003). Historiography of India's Partition: an analysis of imperialist writings. Atlantic Publishers & Dist. ISBN 978-81-269-0314-6.
- Pilisuk, Marc; Nagler, Michael N. (2011). Peace Movements Worldwide: Players and practices in resistance to war. ABC-CLIO. ISBN 978-0-313-36482-2.
- Rühe, Peter (2004). Gandhi. Phaidon. ISBN 978-0-7148-4459-6.
- Schouten, Jan Peter (2008). Jesus as Guru: the image of Christ among Hindus and Christians in India. Rodopi. ISBN 978-90-420-2443-4.
- Sharp, Gene (1979). Gandhi as a Political Strategist: with essays on ethics and politics. P. Sargent Publishers. ISBN 978-0-87558-090-6.
- Shashi, S. S. (1996). Encyclopaedia Indica: India, Pakistan, Bangladesh. Anmol Publications. ISBN 978-81-7041-859-7.
- Sinha, Satya (2015). The Dialectic of God: The Theosophical Views Of Tagore and Gandhi. Partridge Publishing India. ISBN 978-1-4828-4748-2.
- Sofri, Gianni (1999). Gandhi and India: a century in focus. Windrush Press. ISBN 978-1-900624-12-1.
- Thacker, Dhirubhai (2006). ""Gandhi, Mohandas Karamchand" (entry)". ใน Amaresh Datta (บ.ก.). The Encyclopaedia of Indian Literature (Volume Two) (Devraj To Jyoti). Sahitya Akademi. p. 1345. ISBN 978-81-260-1194-0.
- Todd, Anne M (2004). Mohandas Gandhi. Infobase Publishing. ISBN 978-0-7910-7864-8.; short biography for children
- Wolpert, Stanley (2002). Gandhi's Passion: the life and legacy of Mahatma Gandhi. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-972872-5.
- บทความวิชาการ
- Danielson, Leilah C. "'In My Extremity I Turned to Gandhi': American Pacifists, Christianity, and Gandhian Nonviolence, 1915–1941". Church History 72.2 (2003): 361–388.
- Du Toit, Brian M. "The Mahatma Gandhi and South Africa." Journal of Modern African Studies 34#4 (1996): 643–660. JSTOR 161593.
- Gokhale, B. G. "Gandhi and the British Empire," History Today (Nov 1969), 19#11 pp 744–751 online.
- Juergensmeyer, Mark. "The Gandhi Revival – A Review Article." The Journal of Asian Studies 43#2 (Feb. 1984), pp. 293–298. JSTOR 2055315
- Kishwar, Madhu. "Gandhi on Women." Economic and Political Weekly 20, no. 41 (1985): 1753–758. JSTOR 4374920.
- Murthy, C. S. H. N., Oinam Bedajit Meitei, and Dapkupar Tariang. "The Tale Of Gandhi Through The Lens: An Inter-Textual Analytical Study Of Three Major Films-Gandhi, The Making Of The Mahatma, And Gandhi, My Father." CINEJ Cinema Journal 2.2 (2013): 4–37. online
- Power, Paul F. "Toward a Revaluation of Gandhi's Political Thought." Western Political Quarterly 16.1 (1963): 99–108 excerpt.
- Rudolph, Lloyd I. "Gandhi in the Mind of America." Economic and Political Weekly 45, no. 47 (2010): 23–26. JSTOR 25764146.
- แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ
- Abel M (2005). Glimpses of Indian National Movement. ICFAI Books. ISBN 978-81-7881-420-9.
- Andrews, C. F. (2008) [1930]. "VII – The Teaching of Ahimsa". Mahatma Gandhi's Ideas Including Selections from His Writings. Pierides Press. ISBN 978-1-4437-3309-0.
- Dalton, Dennis, บ.ก. (1996). Mahatma Gandhi: Selected Political Writings. Hackett Publishing. ISBN 978-0-87220-330-3.
- Duncan, Ronald, บ.ก. (2011). Selected Writings of Mahatma Gandhi. Literary Licensing, LLC. ISBN 978-1-258-00907-6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-01. สืบค้นเมื่อ 2023-08-26.
- Gandhi, M. K.; Fischer, Louis (2002). Louis Fischer (บ.ก.). The Essential Gandhi: An Anthology of His Writings on His Life, Work and Ideas. Vintage Books. ISBN 978-1-4000-3050-7.
- Gandhi, Mohandas Karamchand (1928). Satyagraha in South Africa (ภาษาคุชราต) (1 ed.). Ahmedabad: Navajivan Publishing House.
Translated by Valji G. Desai
- Gandhi, Mohandas Karamchand (1994). The Collected Works of Mahatma Gandhi. Publications Division, Ministry of Information and Broadcasting, Govt. of India. ISBN 978-81-230-0239-2. (100 volumes). Free online access from Gandhiserve.
- Gandhi, Mohandas Karamchand (1928). "Drain Inspector's Report". The United States of India. 5 (6–8): 3–4.
- Gandhi, Mohandas Karamchand (1990), Desai, Mahadev H. (บ.ก.), Autobiography: The Story of My Experiments With Truth, Mineola, N.Y.: Dover, ISBN 0-486-24593-4
- Gandhi, Rajmohan (2007). Mohandas: True Story of a Man, His People. Penguin Books Limited. ISBN 978-81-8475-317-2.
- Guha, Ramachandra (2013). Gandhi Before India. Penguin Books Limited. ISBN 978-93-5118-322-8.
- Jack, Homer A., บ.ก. (1994). The Gandhi Reader: A Source Book of His Life and Writings. Grove Press. ISBN 978-0-8021-3161-4.
- Johnson, Richard L. & Gandhi, M. K. (2006). Gandhi's Experiments With Truth: Essential Writings by and about Mahatma Gandhi. Lexington Books. ISBN 978-0-7391-1143-7.
- Todd, Anne M. (2009). Mohandas Gandhi. Infobase Publishing. ISBN 978-1-4381-0662-5.
- Parel, Anthony J., บ.ก. (2009). Gandhi: "Hind Swaraj" and Other Writings Centenary Edition. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-14602-9.
ก่อนหน้า | มหาตมา คานธี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
โอเวน ยัง | บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์ (ค.ศ. 1930) |
ปีแอร์ ลาวาล |
- Pages with missing ISBNs
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2412
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2491
- ผู้นำ
- การอดอาหาร
- ชาวอินเดียที่ถูกลอบสังหาร
- นักการเมืองอินเดีย
- นักเขียนชาวอินเดีย
- ชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดู
- บุคคลจากรัฐคุชราต
- ชาวคุชราต
- เสียชีวิตจากอาวุธปืน
- ผู้รอดชีวิตจากการลอบสังหาร
- ผู้เขียนอัตชีวประวัติชาวอินเดีย
- บุคคลที่เสียชีวิตในเดลี
- นักเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชของอินเดีย