ข้ามไปเนื้อหา

การลอบสังหารมหาตมา คานธี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การลอบสังหารมหาตมา คานธี
อนุสรณ์ในบ้านพิรลา (ปัจจุบันคือ คานธีสมฤตี) ตรงจุดที่คานธีถูกยิงเสียชีวิต
สถานที่นิวเดลี อินเดีย
วันที่30 มกราคม 1948
17:17 (IST)
เป้าหมายมหาตมา คานธี
ประเภทการลอบสังหาร ฆาตกรรมด้วยการยิง
อาวุธเบเร็ตตา เอ็ม 1934 ปืนพกกึ่งอัตโรมัติ
ตาย1 (คานธี)
การลงโทษนถูราม โคฑเส
รายารัณ อาปเต
ทิคัมพร พาฑเค (ได้รับการปกป้อง)
ศังกระ กิสไตยะ (พ้นผิดหลังอุทธรณ์)
ทัตตตรายะ ปรจุเร
วิษณุ กรกเร
มทันลาล ปาหวา
โคปาล โคฑเส

มหาตมา คานธี ถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1948 สิริอายุ 78 ปี ภายในพื้นที่ของบ้านพิรลา (ปัจจุบันคือคานธีสมฤตี) แมนชั่นขนาดใหญ่ในนิวเดลี ผู้ก่อเหตุคือนถูราม โคฑเส ชายวรรณะจิตปวันพรหมิณจากปูเณ นักลัทธิชาตินิยมฮินดู,[1] สมาชิกราษฏรียสวยัมเสวักสงฆ์ (RSS) กองกำลังกึ่งกองทัพขวาจัดฮินดู[2] และสมาชิกฮินดูมหาสภา[3] โคฑเสมองว่าคานธีให้ความช่วยเหลือแก่ปากีสถานมากเกินไปในระหว่างการแบ่งอินเดียซึ่งเกิดขึ้นหนึ่งปีก่อนหน้า[4][5][6]

ตามคำบอกเล่าของผู้อยู่ในเหตุการณ์ เมื่อเวลาราว 17 นาฬิกาเศษ คานธีเดินมาถึงบนสุดของขั้นบันไดที่นำพาไปสู่สวนยกระดับด้านหลังบ้านพิรลาที่ซึ่งเขาจัดการพบปะสวดภาวนาระหว่างศาสนาทุกเย็น ขณะที่คานธีกำลังเดินลงจากปะรำพิธี โคฑเสก้าวท้าวออกมาจากฝูงชน กั้นทางเดินของคานธี ยิงปืนสามนัดใส่ที่อกและท้องของคานธีระยะเผาขน[7][8] คานธีล้มตัวลงกับพื้นและถูกขนส่งตัวกลับเข้าไปยังห้องในบ้านพิรลา ที่ซึ่งผู้แทนได้ออกมาแจ้งข่าวการเสียชีวิตไม่นานหลังจากนั้น[8][A]

โคฑเสถูกจับกุมโดยสมาชิกของฝูงชนทันที ในจำนวนนี้มีรายงานอยู่ทั่วไปว่ารวมถึงเฮอร์เบิร์ต เรเนอร์ จูเนียร์ ผู้ช่วยกงสุลสหรัฐประจำเดลี ก่อนจะถูกนำตัวส่งแก่ตำรวจ การพิจารณาคดีเริ่มต้นในเดือนพฤษภาคม 1948 ที่ป้อมแดงในเดลี โดยโคฑเสเป็นจำเลยเอก, นารายัณ อาปเต และผู้สมรู้ร่วมคิดอื่นอีก 6 คนเป็นจำเลยร่วม การดำเนินคดีถูกบังคับให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ความเร่งรีบนี้บางทีว่าเป็นผลมาจากรัฐมนตรีมหาดไทย สรทาร วัลลภภาอี ปเฏล ซึ่งมีประสงค์ให้ "ป้องกันการตรวจสอบโดยละเอียดถึงความล้มเหลวในการป้องกันการลอบสังหารนี้"[9] โคฑเสและอาปเตถูกตัดสินโทษประหารชีวิตในวันที่ 8 พฤศจิกายน 1949 แม้จะมีอุทธรณ์ให้ลดหย่อนโทษโดยบุตรสองคนของคานธี มณีลาล และ รามทาส คานธี แต่ถูกนายกรัฐมนตรี ชวาหัรลาล เนห์รู, รองนายกรัฐมนตรี วัลลภภาอี ปเฏล และผู้ว่าการจักรพรรดิ ราชโคปาลจารี ปฏิเสธ[10] โคฑเสและอาปเตถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในเรือนจำอัมพาละเมื่อ 15 พฤศจิกายน 1949[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Quote: "Mr. Gandhi was picked up by attendants and carried rapidly back to the unpretentious bedroom where he had passed most of his working and sleeping hours. As he was taken through the door Hindu onlookers who could see him began to wail and beat their breasts. Less than half an hour later a member of Mr. Gandhi's entourage came out of the room and said to those about the door: "Bapu (father) is finished." But it was not until Mr. Gandhi's death was announced by All India Radio, at 6 pm that the words spread widely."Trumbull (1948)
  1. Hardiman 2003, pp. 174–176.
  2. Nash 1981, p. 69.
  3. Hansen 1999, p. 249.
  4. Cush, Denise; Robinson, Catherine; York, Michael (2008). Encyclopedia of Hinduism. Taylor & Francis. p. 544. ISBN 978-0-7007-1267-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2013. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013. Quote: "The apotheosis of this contrast is the assassination of Gandhi in 1948 by a militant Nathuram Godse, on the basis of his 'weak' accommodationist approach towards the new state of Pakistan." (p. 544)
  5. Markovits 2004, p. 57.
  6. Mallot 2012, pp. 75–76.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ guardian31011948
  8. 8.0 8.1 Stratton 1950, pp. 40–42.
  9. Markovits 2004, pp. 57–58.
  10. Gandhi 2006, p. 660.
  11. Bandyopadhyay 2009, p. 146.

บรรณานุกรม

[แก้]