ข้ามไปเนื้อหา

คางคกซูรินาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คางคกซูรินาม
คางคกซูรินามเมื่อมองจากด้านบน เห็นไข่ที่เต็มหลัง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Amphibia
อันดับ: Anura
วงศ์: Pipidae
สกุล: Pipa
สปีชีส์: P.  pipa
ชื่อทวินาม
Pipa pipa
(Linnaeus, 1758)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง
  • Pipa americana Laurenti, 1768

คางคกซูรินาม (อังกฤษ: Surinam toad, star-fingered toad; สเปน: Aparo, Rana comun de celdillas; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pipa pipa) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดหนึ่ง ในวงศ์กบเล็บ (Pipidae)

มีลักษณะเด่น คือ ลำตัวมีลักษณะแบนคล้ายสี่เหลี่ยม ส่วนหัวเป็นสามเหลี่ยม มีสีเทาถึงสีน้ำตาลเข้ม ขนาดใหญ่ได้ถึง 20 เซนติเมตร แต่โดยทั่วไปจะมีขนาด 10-13 เซนติเมตร ทำให้แลดูเผิน ๆ เหมือนใบไม้แห้ง หรือกบที่ถูกทับแบน มีพังพืดเชื่อมระหว่างนิ้วตีนหน้าขนาดเล็ก ทำให้นิ้วตีนแยกจากกันจนมีลักษณะคล้ายนิ้วแยกเป็นแฉกเหมือนดาว แต่ปลายนิ้วไม่มีเล็บ

พบกระจายพันธุ์อยู่ในแหล่งน้ำในป่าดิบที่ราบต่ำของทวีปอเมริกาใต้ตอนบน โดยจะอาศัยหากินอยู่ในน้ำตลอดเวลา เนื่องจากไม่มีลิ้น จึงจะใช้ปากงับกินปลาหรือสัตว์น้ำขนาดเล็ก ๆ เป็นอาหาร

ลูกคางคกที่ฝังอยู่ในผิวหนังแม่
ตัวที่มีลำตัวสีเทา

คางคกซูรินามมีพฤติกรรมที่เป็นที่น่าสนใจ คือ ตัวเมียเมื่อผสมพันธุ์กับตัวผู้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ตัวผู้จะว่ายขึ้นสู่ด้านบนของหลังตัวเมีย เพื่อนำไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ววางลงบนหลังตัวเมีย ซึ่งจะมีไข่ทั้งหมดราว 60-100 ฟอง ไข่จะฝังลงบนหลังของตัวเมีย ผ่านไป 10 วัน ไข่จะฟักเป็นลูกอ๊อด แต่ยังไม่ออกมาจากหลัง จนกระทั่งผ่านไปราว 10-20 สัปดาห์ที่พัฒนาเหมือนตัวเต็มวัยที่มีความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร จะผุดโผล่มาจากหลังตัวเมียจนผิวบนหลังเป็นรูพรุนเต็มไปหมด และแยกย้ายออกไปใช้ชีวิตเอง

ด้วยลักษณะและพฤติกรรมที่แปลกเช่นนี้ ทำให้คางคกซูรินามได้รับความนิยมในการถ่ายทำเป็นสารคดี และเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงในตู้ปลา[2] [3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. จาก IUCN (อังกฤษ)
  2. Pipa pipa (อังกฤษ)
  3. ["Surinam Toad (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-22. สืบค้นเมื่อ 2012-08-03. Surinam Toad (อังกฤษ)]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Pipa pipa ที่วิกิสปีชีส์