คอลลาเจนชนิดที่ 2
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
คอลลาเจนชนิดที่ 2 หรือ คอลลาเจนไทพ์ทู (อังกฤษ: type II collagen) เป็นพื้นฐานของกระดูกอ่อนข้อและกระดูกอ่อนโปร่งแสง ประกอบเป็น 50% ของโปรตีนทั้งหมดในข้อและ 85-90% ของคอลลาเจนของกระดูกอ่อนข้อ
คอลลาเจนชนิดที่ 2 ก่อเป็นเส้นใยฝอยได้ เครือข่ายคอลลาเจนเส้นใยฝอยนี้ทำให้กระดูกอ่อนดักการสะสมโปรตีโอไกลแคนตลอดจนให้ความทนแรงดึงต่อเนื้อเยื่อ
คอลลาเจนชนิดที่ 2 หรือ คอลลาเจนไทพ์ทู เป็นคอลลาเจนชนิดเดียวกับที่พบในเซลล์กระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อ แตกต่างจากคอลลเจนที่พบในเซลล์ผิวหนัง ซึ่งจะเป็นคอลลาเจนชนิดที่ 1, 3 และ 4 (Collagen Type 1, 3 และ 4) คอลลาเจนไทพ์ทู จะช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของส่วนประกอบที่อยู่ในข้อ โดยกระตุ้นให้มีการสังเคราะห์เซลล์ใหม่เพิ่มขึ้น ช่วยเพิ่มระดับของกรดไฮยาลูโรนิค (Hyaluronic acid) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำหล่อเลี้ยงในข้อ และยังยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ย่อยสลายน้ำหล่อเลี้ยงข้อ มีคุณสมบัติช่วยลดอาการปวดข้อและข้อยึดได้ ทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายดีขึ้น
ลักษณะ
[แก้]คอลลาเจนไทพ์ทู (Collagen Type II) เป็นคอลลาเจนที่พบได้ในกระดูกอ่อนและหมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งทำหน้าที่รองรับน้ำหนักและให้ความแข็งแรงแก่ข้อต่อในขณะที่มีการเคลื่อนไหว โดยปกติแล้วในกระดูกอ่อนจะประกอบด้วยโครงข่ายของเส้นใยคอลลาเจนไทพ์ทู รวมตัวกับ กรดไฮยาลูโรนิค (Hyaluronic acid) และ โปรตีโอไกลแคน (Proteoglycan) ได้แก่ แอกกริแคน (Aggrecan) ซึ่งมีไกลโคอะมิโนไกลแคน (Glycoaminoglycans) คือ คอนโดอิติน ซัลเฟต(Chondroitin Sulfate) และเคอราแทน ซัลเฟต (Keratan Sulfate) เป็นส่วนประกอบ การศึกษาพบว่าในผู้ที่น้ำหนักตัวมาก และผู้สูงอายุ กระดูกอ่อนชนิด Articular Cartilages ซึ่งมีความทนต่อแรงกระแทกจะเริ่มเสื่อมลงโดยเฉพาะที่ข้อต่อที่รับน้ำหนักเช่นข้อเข่าและสะโพก จึงมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับภาวะการเกิดข้อเสื่อม ข้ออักเสบ (Osteoarthritis)
การออกฤทธิ์
[แก้]คอลลาเจนไทพ์ทู (Collagen Type II) มีการศึกษาทางคลีนิคพบว่าสามารถช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของส่วนประกอบที่อยู่ในข้อ โดยกระตุ้นให้มีการสังเคราะห์เซลล์ใหม่เพิ่มขึ้น ช่วยเพิ่มระดับของ กรดไฮยาลูโรนิค (Hyaluronic acid) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำหล่อเลี้ยงในข้อ และยังยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ย่อยสลายน้ำหล่อเลี้ยงข้อ จึงช่วยลดอาการปวดข้อและข้อยึดทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายดีขึ้น
การวิจัยระดับคลินิคโดย Crowly D.C. และคณะในปี ค.ศ.2009 พบว่าการรับประทานคอลลาเจนไทพ์ทู ขนาด 40 มิลลิกรัมต่อเนื่องกันเป็นเวลา 90 วัน มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการของภาวะโรคข้ออักเสบเป็น 2 เท่า เมื่อเทียบกับการรับประทาน กลูโคซามีน 1,500 มิลลิกรัมและ คอนดรอยติน 1,200 มิลลิกรัมโดยพิจารณาจากอาการแสดงต่างๆของผู้ที่เจ็บป่วยโรคข้อ เช่น ความสะดวกในการเคลื่อนไหวร่างกาย[1]
ถัดมาในปี 2012 Schauss A.G. และคณะ ได้ทำการศึกษาผลของคอลลาเจนไทพ์ทู ที่สกัดได้จากกระดูกช่วงอกของไก่ ซึ่งเป็นคอลลาเจนชนิดที่ผ่านกระบวนการย่อยด้วยเอนไซม์ นำมาทดสอบผลต่อโรคข้อเข่าหรือสะโพกเสื่อม ซึ่งการวิจัยเป็นแบบ Randomized double-blind, placebo-controlled study โดยทำการวิจัยในผู้ป่วยอาสาสมัครจำนวน 80 คนที่มีอาการของโรคข้อเข่าหรือสะโพกเสื่อม และมีอาการเจ็บปวดข้อ กลุ่มหนึ่งให้รับประทานคอลลาเจนไทพ์ทู 2 กรัมต่อวัน และอีกกลุ่มให้รับประทานยาหลอก ติดต่อกันเป็นเวลา 70 วัน หลังจากนั้นประเมินผลการรักษาด้วยแบบทดสอบดังนี้ VAS Score, WOMAX Score และการประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากการรักษา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มที่รับประทานคอลลาเจนไทพ์ทูจะมี VAS Score และ WOMAX Score ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และไม่มีผลข้างเคียงเกิดขึ้น นอกจากนี้กลุ่มที่รับประทานคอลลาเจนไทพ์ทู ยังมีการใช้ยาแก้ปวด (พาราเซตามอล) เพื่อบรรเทาอาการปวดข้อลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่รับประทานยาหลอก[2]
ล่าสุดในปี 2013 Lugu J. P. และคณะได้ทำการศึกษาผลของคอลลาเจนไทพ์ทู ชนิดที่เป็นคอลลาเจนที่ยังคงโครงสร้างที่สมบูรณ์ ในกลุ่มอาสาสมัครจำนวน 55 คนที่มีสุขภาพดี ไม่มีประวัติของโรคข้อเข่าเสื่อมแต่เริ่มมีอาการปวดข้อจากการใช้งานและการออกกำลังกาย ทำการวิจัยเป็นแบบ Randomized double-blind, placebo-controlled study โดยให้รับประทานคอลลาเจนไทพ์ทู 40 มิลลิกรัมต่อวัน ทุกวันต่อเนื่องเป็นเวลา 120 วัน ติดตามผลโดยดูการเปลี่ยนแปลงความยืดหยุ่นของเข่าและวัดค่าการฟื้นตัวจากการปวดเข่าหลังการออกกำลังกาย ผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ทานคอลลาเจนไทพ์ทู มีความยืดหยุ่นของข้อเข่าดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ทานและยังช่วยลดอาการปวดข้อที่เกิดขึ้นจากการออกกำลังกายอีกด้วย[3]
จากงานวิจัยเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงทางเลือกใหม่ในการดูแลสุขภาพข้อ โดยนำคอลลาเจนไทพ์ทู มาใช้รับประทานเสริม ปัจจุบันมีการศึกษาและสกัดคอลลาเจนไทพ์ทู ทั้งที่อยู่ในรูปของ อันดีเนเจอร์คอลลาเจนไทพ์ทู (Undenatured Collagen Type II) ซึ่งเป็นคอลลาเจนที่ยังคงโครงสร้างที่สมบูรณ์เอาไว้และ ไฮโดรไลซ์คอลลาเจนไทพ์ทู (Hydrolyzed Collagen Type II) ซึ่งเป็นคอลลาเจนซึ่งผ่านกระบวนการย่อยด้วยเอนไซม์ทำให้มีโครงสร้างที่เล็กลงพร้อมสำหรับการดูดซึม ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมาใช้เพิ่มมากขึ้น [4][5][6][7]
แหล่งอาหารที่พบคอลลาเจนประเภทที่ 2
[แก้]คอลลาเจนประเภทที่ 2 พบมากในอาหารประเภทกระดูกของสัตว์ โดยเฉพาะไก่ ซึ่งเหมาะสำหรับ การสร้างกระดูกอ่อน ซึ่งทำให้คอลลาเจนประเภทนี้เป็นประโยชน์ต่อข้อต่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอลลาเจนจากไก่นั้นยังให้ ชอนโดรอิตินซัลเฟต และกลูโคซาไมน์ซัลเฟต ซึ่งมีฤทธิ์ในการต่อต้านความชรา (เพิ่มเติม) อาหารเสริมส่วนใหญ่ที่มีคอลลาเจนมักใช้คอลลาเจนจากไก่และให้คอลลาเจนประเภทที่ 2 [8]
ผลข้างเคียง
[แก้]ไม่มีรายงานผลข้างเคียง แต่สำหรับผู้ที่แพ้โปรตีนจากเนื้อสัตว์อาจเกิดการแพ้ ควรหลีกเลี่ยง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Crowley D.C., et al. Safety and efficacy of undenatured type II collagen in the treatment of osteoarthritis of the knee: a clinical trial. Int J Med Sci. 2009; 6: 312-321.
- ↑ Schauss A.G., et al. Effect of the Novel Low Molecular Weight Hydrolyzed Chicken Sternal Cartilage Extract, BioCell Collagen, on Improving Osteoarthritis-Related Symptoms: A Randomized, Double-Blind,Placebo-Controlled Trial. J. Agric. Food Chem. 2012, 60, 4096-4101.
- ↑ James P Lugo, et al. Undenatured type II collagen (UC-II®) for joint support: a randomized, double-blind,placebo-controlled study in healthy volunteers. Journal of the International Society of Sports Nutrition.2013, 10; 48:1-12.
- ↑ Matthew D. Shoulders and Ronald T. Raines. Collagen structure and stability. Annu Rev Biochem. 2009; 78: 929–958.
- ↑ Ronca F, et al. Anti-inflammatory activity of chondroitin sulfate. Osteoarthritis Cartilage suppl.1998. 6(A): 14-2.
- ↑ Sheldon, E. A Randomized double blind clinical pilot trial evaluating the safety and efficacy of hydrolyzed collagen type II (Biocell Collagen) in adults with osteoarthritis. Maiami Research Associates. April 25, 2003.
- ↑ Bagchi D,et al. Effects of orally administered undenatured type II collagen against arthritic inflammatory diseases: a mechanistic exploration. Int J Clin Pharmacol Res. 2002; 22(3-4):101-10.
- ↑ Collagen คืออะไร? (แบบโพสท์เดียวจบ)[ลิงก์เสีย] สืบค้นเมื่อ 21-09-2018