ความสัมพันธ์บรูไน–มาเลเซีย
![]() | |
![]() บรูไน |
![]() มาเลเซีย |
ประเทศบรูไนและประเทศมาเลเซียเริ่มต้นความสัมพันธ์ทางการทูตใน ค.ศ. 1984 โดยบรูไนมีสำนักงานข้าหลวงใหญ่ที่ปูตราจายาและกงสุลในโกตากีนาบาลูกับกูจิง[1][2] ส่วนมาเลเซียมีสำนักงานข้าหลวงใหญ่ที่บันดาร์เซอรีเบอกาวัน[3] ทั้งสองประเทศเป็นสมาชิกเต็มตัวของอาเซียนกับเครือจักรภพแห่งประชาชาติ และมีชายแดนบนพื้นดินในเกาะบอร์เนียว
เทียบประเทศ
[แก้]![]() |
![]() | |
---|---|---|
ตราแผ่นดิน | ![]() |
![]() |
ธง | ![]() |
![]() |
ประชากร | 460,345 | 32,730,000 |
พื้นที่ | 5,765 ตารางกิโลเมตร (2,226 ตารางไมล์) | 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,724 ตารางไมล์) |
ความหนาแน่นประชากร | 72.11 ต่อตารางกิโลเมตร (186.8 ต่อตารางไมล์) | 92 ต่อตารางกิโลเมตร (240 ต่อตารางไมล์) |
เขตเวลา | 1 | 1 |
เมืองหลวง | บันดาร์เซอรีเบอกาวัน | กัวลาลัมเปอร์ ปูตราจายา (การบริหาร) |
เมืองใหญ่สุด | บันดาร์เซอรีเบอกาวัน – 100,700 | กัวลาลัมเปอร์ – 1,790,000 |
รัฐบาล | รัฐเดี่ยว สมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบอิสลาม | สหพันธรัฐ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญผ่านการเลือกตั้ง ในระบบรัฐสภา |
ก่อตั้ง | 17 กันยายน ค.ศ. 1888 (จัดตั้งเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ) 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1971 (จักรวรรดิบริติชให้สถานะปกครองตนเอง) 1 มกราคม ค.ศ. 1984 (บรูไนประกาศเอกราชจากจักรวรรดิบริติช) |
31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 (สหพันธรัฐมาลายาประกาศเอกราชจากจักรวรรดิบริติช) 16 กันยายน ค.ศ. 1963 (คำประกาศมาเลเซีย) |
รัฐก่อนหน้า | สมัยราชอาณาจักรกลาง (1368–1888)![]() สมัยอาณานิคมอังกฤษ (1888–1984) ![]() ![]() สมัยครอบครองของญี่ปุ่น (1942–1945) ![]() สมัยทหารชั่วคราว (1945–1946) ![]() สมัยเอกราช (1984–ปัจจุบัน) ![]() |
สมัยอาณานิคมโปรตุเกส (1511–1641)![]() สมัยอาณานิคมดัตช์ (1641–1825) ![]() สมัยอาณานิคมอังกฤษ (1771–1946) ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() สมัยครอบครองของญี่ปุ่น (1942–1945) ![]() ![]() ![]() สมัยทหารชั่วคราว (1945–1946) ![]() ![]() สมัยรัฐบาลปกครองตนเอง (1946–1963) ![]() ![]() ![]() ![]() สมัยสหพันธรัฐ (1963–ปัจจุบัน) ![]() |
ผู้นำคนแรก | มูฮัมหมัด ชาห์ (อดีต) ฮัสซานัล โบลเกียห์ (โดยนิตินัย) |
ตวนกู อับดุล ระห์มัน (กษัตริย์) ตุนกู อับดุล ระห์มัน (นายกรัฐมนตรี) |
ประมุขแห่งรัฐ | ![]() |
![]() |
หัวหน้ารัฐบาล | ![]() |
นายกรัฐมนตรี: อิซมาอิล ซับรี ยักกบ |
รองประมุข | มกุฎราชกุมาร: อัลมุห์ตาดี บิลละห์ | ไม่มี |
นิติบัญญัติ | สภานิติบัญญัติ (ระบบสภาเดี่ยว) | รัฐสภา (ระบบสองสภา) |
สภาสูง | ไม่มี | วุฒิสภา ประธาน: ราอิซ ยาติม |
สภาล่าง | ไม่มี | สภาผู้แทนราษฎร ประธาน: อัซฮาร์ อาซีซัน ฮารุน |
ตุลาการ | สภาสูง | สภาสหพันธ์ ประธานศาล: เติงกู ไมมุน ตวน มัต |
ภาษาราชการ | มลายู | มาเลเซีย (มีอีกชื่อว่า มลายู) |
เพลงชาติ | อัลละฮ์เปอลีฮารากันซุลตัน | เนอการากู |
สกุลเงิน | ดอลลาร์บรูไน (B$) | ริงกิตมาเลเซีย (RM) |
สายการบินประจำชาติ | รอยัลบรูไนแอร์ไลน์ | มาเลเซียแอร์ไลน์ |
ท่าอากาศยานนานาชาติ | ท่าอากาศยานนานาชาติบรูไน | ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ |
การแพร่ภาพกระจายเสียงสาธารณะ | สถานีวิทยุโทรทัศน์บรูไน | สถานีวิทยุโทรทัศน์มาเลเซีย |
จีดีพี (เฉลี่ย) | 13,002 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (30,933 ดอลลาร์สหรัฐต่อหัว) | 800,169 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (25,833 ดอลลาร์สหรัฐต่อหัว) |
ประวัติ
[แก้]ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศนี้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 1984[4]
ความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม
[แก้]บรูไนและมาเลเซียมีความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะในมาเลเซียตะวันออกที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิบรูไน ใน ค.ศ. 2011 มีชาวบรูไนประมาณ 61,470 คนเดินทางเยี่ยมชมมาเลเซีย[4] ส่วนบรูไนรับนักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย 1,238,871 คนใน ค.ศ. 2013[5]
การเดินทาง
[แก้]รัฐซาราวักและรัฐซาบะฮ์ในมาเลเซียตะวันออกเชื่อมกับบรูไนที่ทางหลวงแพนบอร์เนียวในบริเวณสะพานมิตรภาพบรูไน–มาเลเซีย
ข้อพิพาท
[แก้]ก่อน ค.ศ. 2009 ชายแดนบนพื้นดินของมาเลเซียกับรูไนในบริเวณลิมบังอยู่ในเขตพิพาท[6] ทั้งบรูไนและมาเลเซียยอมรับที่จะหยุดการสำรวจน้ำมันและก๊าซในดินแดนพิพาทจนกว่าจะมีการเจรจาข้อตกลงใน ค.ศ. 2003[7] ดูเหมือนว่ามีทางแก้ปัญหาระหว่างรัฐบาลทั้งสองได้สำเร็จในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2009 โดยสื่อของมาเลเซียรายงานว่าบรูไนถอนการอ้างสิทธิ์ในลิมบังทั้งหมด ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นดินแดนของมาเลเซีย[8] อย่างไรก็ตาม บรูไนปฏิเสธรายงานข่าวของมาเลเซียทันที โดยระบุว่าในช่วงการเจรจาแลกเปลี่ยนหนังสือฯ ยังไม่มีการอภิปรายปัญหาลิมบัง [9]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Consulate General of Brunei Darussalam in Kota Kinabalu, Sabah". Ministry of Foreign Affairs and Trade, Brunei Darussalam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2017. สืบค้นเมื่อ 18 April 2017.
- ↑ "Consulate General of Brunei Darussalam in Kuching, Sarawak". Ministry of Foreign Affairs and Trade, Brunei Darussalam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2017. สืบค้นเมื่อ 18 April 2017.
- ↑ "Official Website of High Commission of Malaysia, Bandar Seri Begawan". Ministry of Foreign Affairs, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-19. สืบค้นเมื่อ 18 April 2017.
- ↑ 4.0 4.1 "Brunei-Malaysia Relations". Ministry of Foreign Affairs and Trade (Brunei). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2014. สืบค้นเมื่อ 3 February 2014.
- ↑ "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 October 2014. สืบค้นเมื่อ 2015-01-19.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ R. Haller-Trost (1994). The Brunei-Malaysia Dispute Over Territorial and Maritime Claims in International Law. IBRU. p. 13. ISBN 978-1-897643-07-5.
- ↑ Samuel Blankson (February 2007). The Practical Guide to Total Financial Freedom. Lulu Press Incorporated. p. 274. ISBN 978-1-4116-2054-4.
- ↑ "Brunei drops all claims to Limbang". The Brunei Times. 17 March 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2014. สืบค้นเมื่อ 23 August 2013.
- ↑ Azlan Othman (18 March 2009). "Brunei denies Limbang story". Borneo Bulletin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 March 2009. สืบค้นเมื่อ 23 March 2009.