ความรุนแรงทางเพศระหว่างการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย
ความรุนแรงทางเพศระหว่างการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย เกิดขึ้นจากกองทัพรัสเซีย[1][2] ซึ่งใช้การข่มขืนกระทำชำเราเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการทำสงคราม ตามรายงานของคณะกรรมการสอบสวนอิสระระหว่างประเทศในยูเครน ผู้ที่ถูกทหารรัสเซียประทุษร้ายทางเพศนั้นมีอายุตั้งแต่ 4 ปี ไปจนถึงกว่า 80 ปี[3]
ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเผยแพร่รายงานว่าด้วยการละเมิดสิทธิมนุษยชนและอาชญากรรมสงครามในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 บทคัดย่อของรายงานฉบับนี้ระบุว่า "นอกจากนี้ คณะกรรมการสอบสวนอิสระระหว่างประเทศในยูเครนยังระบุพบรูปแบบการประหารชีวิตอย่างรวบรัด การกักขังโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การทรมาน การปฏิบัติอย่างทารุณ และการข่มขืนกระทำชำเราและความรุนแรงทางเพศอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่กองทัพรัสเซียยึดครองทั่วแคว้นทั้งสี่ที่คณะกรรมการฯ เน้นสอบสวน ผู้คนถูกควบคุมตัว บางคนถูกเนรเทศไปยังสหพันธรัฐรัสเซียโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และหลายคนยังคงมีรายงานว่าสูญหาย ความรุนแรงทางเพศส่งผลกระทบต่อผู้เสียหายทุกวัย ผู้เสียหายซึ่งรวมถึงเด็กบางครั้งถูกบังคับให้รู้เห็นอาชญากรรม เด็ก ๆ ตกเป็นผู้เสียหายจากการละเมิดทุกรูปแบบที่คณะกรรมการฯ ได้สอบสวน ซึ่งรวมถึงการโจมตีโดยไม่เลือกเป้าหมาย การทรมาน และการข่มขืนกระทำชำเรา และต้องเผชิญกับผลที่ตามมาทางจิตใจซึ่งคาดได้ว่าจะเกิดขึ้น"[4]
ลักษณะและขอบเขตของความรุนแรงทางเพศ
[แก้]ในรายงานที่ครอบคลุมช่วงแรกของการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ถึง 26 มีนาคม พ.ศ. 2565 สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (โอเอชซีเอชอาร์) ได้ระบุความเสี่ยง 4 ประเภทที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงทางเพศ กล่าวคือ การปรากฏตัวและกิจกรรมทางทหารที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่พลเรือน การทำลายบ้านเรือนและโครงสร้างพื้นฐาน การพลัดถิ่นภายในประเทศ และผู้หญิงและเด็กหญิงจำนวนมากที่เดินทางออกจากยูเครนได้ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงสูงต่อความรุนแรงทางเพศและการค้ามนุษย์ที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้ง สำนักงานฯ ตั้งข้อสังเกตว่ายอดการแจ้งเหตุผ่านสายด่วนระดับชาติชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงสูงต่อความรุนแรงทางเพศ และระบุว่ามีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลให้ยอดการแจ้งเหตุต่ำกว่าความเป็นจริง[5][6][7]
หลังจากที่แคว้นเคียฟได้รับการปลดปล่อยเมื่อปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 และหลังจากที่มีรายงานการร่วมกันข่มขืนกระทำชำเรา การประทุษร้ายทางเพศโดยใช้ปืนขู่บังคับ และการข่มขืนกระทำชำเราต่อหน้าเด็ก เดอะการ์เดียน กล่าวว่าผู้หญิงยูเครนกำลังเผชิญกับภัยคุกคามจากการข่มขืนกระทำชำเราในฐานะอาวุธสงคราม[8] เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2565 สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติกล่าวว่าตนได้รับรายงานข้อกล่าวหาว่าด้วยความรุนแรงทางเพศที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้ง 108 ข้อกล่าวหา และได้พิสูจน์ยืนยันคดีต่าง ๆ ไปแล้ว 23 คดี[9] เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2565 สำนักงานฯ รายงานว่าได้จดบันทึกคดีความรุนแรงทางเพศที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้ง 86 คดี ซึ่งรวมถึงการข่มขืนกระทำชำเรา การร่วมกันข่มขืนกระทำชำเรา การบังคับให้เปลือยกาย และการบังคับให้เปลื้องผ้าในที่สาธารณะ โดยผู้ก่อคดีส่วนใหญ่คือสมาชิกกองทัพรัสเซียหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจรัสเซีย[10] สำนักงานฯ ยังรายงานด้วยว่าหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของยูเครนกำลังสืบสวนคดีความรุนแรงทางเพศ 43 คดี[10]
ความรุนแรงทางเพศในฐานะอาวุธสงคราม
[แก้]องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (โอเอสซีอี) ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ประณามการใช้ความรุนแรงทางเพศเป็นอาวุธสงคราม เฮ็ลกา มารีอา ชมิท เลขาธิการองค์การฯ "เรียกร้องให้เร่งยุติการใช้การข่มขืนกระทำชำเราและอาชญากรรมทางเพศอื่น ๆ เป็นยุทธวิธีในการทำสงครามในยูเครน" องค์การฯ เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการสอบสวนอย่างต่อเนื่อง การดำเนินคดีเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศระหว่างสงคราม และเรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศให้ความช่วยเหลือแก่ผู้รอดชีวิตจากความรุนแรงทางเพศ[11] ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 องค์การฯ เข้าร่วมการรณรงค์ 16 วันแห่งการเคลื่อนไหวต่อต้านความรุนแรงบนพื้นฐานของเพศสภาพ และเรียกร้องให้ "ยุติการใช้การข่มขืนกระทำชำเรา ความรุนแรงทางเพศ และอาชญากรรมทางเพศอื่น ๆ เป็นยุทธวิธีในการทำสงครามในยูเครน"[12]
พรามิลา แพตเทิน ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติว่าด้วยความรุนแรงทางเพศในความขัดแย้ง กล่าวว่า "เมื่อผู้หญิงถูกคุมขังไว้หลายวันและถูกข่มขืน เมื่อผู้ชายทั้งเด็กและผู้ใหญ่เริ่มถูกข่มขืน เมื่อคุณเห็น [รายงาน] การตัดอวัยวะเพศอย่างต่อเนื่อง เมื่อคุณได้ยินผู้หญิงให้การเป็นพยานว่าทหารรัสเซียพกไวอากร้ามาด้วย นั่นแหละคือกลยุทธ์ทางทหารอย่างชัดเจน"[13][14][15] เธอยังระบุด้วยว่าคดีต่าง ๆ ที่ได้รับรายงานในปัจจุบันนั้นเป็นเพียง "ยอดภูเขาน้ำแข็ง"[16] อีรือนา แวแนดิกตอวา อัยการสูงสุดยูเครน ให้ความเห็นว่าการกระทำที่รุนแรงทางเพศได้รับการรายงานน้อยมากเนื่องจากความยากลำบากที่ผู้สืบสวนต้องเผชิญในพื้นที่ที่ถูกรัสเซียยึดครองและความหวาดกลัวและความอับอายที่ผู้รอดชีวิตต้องประสบ "การสอบสวนอาชญากรรมทางเพศในดินแดนที่ถูกยึดครองขณะที่เรายังอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งทางทหารนั้นเป็นเรื่องยากมาก" แวแนดิกตอวากล่าว "มันยากมาก เพราะที่จริงแล้วผู้เสียหายก็กลัว"[17][18]
ขอบเขตของความรุนแรงทางเพศ
[แก้]ในพื้นที่ที่ได้รับการปลดปล่อยจากการยึดครองของรัสเซีย มีรายงานเหตุรุนแรงทางเพศต่อผู้หญิง ผู้ชาย และเด็กผุดขึ้นจำนวนมาก หลักฐานการร่วมก่อเหตุรุนแรงทางเพศเริ่มได้รับการเปิดเผยตั้งแต่ช่วงต้นของความขัดแย้ง[19][20][21] ข้อมูลเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศโดยทหารรัสเซียในพื้นที่ที่ถูกยึดครองสะสมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้อัยการสามารถเริ่มดำเนินคดีทางอาญาและให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อการสอบสวนได้[22] สำนักงานอัยการสูงสุดยูเครนระบุว่าพวกเขากำลังจดบันทึกการกระทำรุนแรงทางเพศต่อพลเรือนในทุกพื้นที่ที่ทหารรัสเซียยึดครอง[23] หลักฐานต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่านอกเหนือจากผู้หญิงแล้ว ยังมีการกระทำรุนแรงทางเพศต่อผู้ชายและเด็กด้วย[24][25]
สหประชาชาติ องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป และองค์การด้านมนุษยธรรมต่างยืนยันว่าทหารรัสเซียก่อความรุนแรงทางเพศอย่างกว้างขวางในยูเครน[26][27][28][29] สหประชาชาติรายงานเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 ว่าข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้จดบันทึกกรณีความรุนแรงทางเพศมากกว่า 90 กรณีในพื้นที่ที่ถูกรัสเซียยึดครอง[30]
เดอะนิวยอร์กไทมส์ รายงาน "หลักฐานที่แพร่หลายของความรุนแรงทางเพศโดยกองทัพรัสเซียซึ่งเจ้าหน้าที่สืบสวนของยูเครนและนานาชาติจดบันทึกไว้" อันนา ซอซอนสกา เจ้าหน้าที่สืบสวนในสำนักงานอัยการสูงสุดยูเครนกล่าวว่า "เรากำลังพบปัญหาความรุนแรงทางเพศนี้ในทุก ๆ ที่ที่รัสเซียยึดครอง ... ทุก ๆ ที่ ทั้งแคว้นเคียฟ แคว้นแชร์นีฮิว แคว้นคาร์กิว แคว้นดอแนตสก์ และที่แคว้นแคร์ซอนนี้ด้วย"[31] บีบีซีนิวส์รายงานหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศที่แพร่หลายในแคว้นเคียฟขณะที่ถูกรัสเซียยึดครอง[32][33]
การดักฟังการสื่อสาร
[แก้]นับตั้งแต่ที่รัสเซียเริ่มรุกรานยูเครน หน่วยความมั่นคงยูเครนได้ดักฟังและเผยแพร่คลิปเสียงการสนทนาในรูปแบบต่าง ๆ ของทหารและเจ้าหน้าที่รัสเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนทนาทางโทรศัพท์ คลิปเสียงเหล่านี้หลายคลิปมีการแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรงทางเพศ
เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2565 โทรอนโตซัน รายงานการสนทนาทางโทรศัพท์ที่ถูกดักฟัง ที่ซึ่ง "ภรรยาชาวรัสเซียคนหนึ่งตั้งกฎเหล็ก 2 ข้อหลังจากที่อนุญาตให้สามีทหารของเธอข่มขืนผู้หญิงระหว่างการรุกรานยูเครน" เธอบอกสามีว่า "ข่มขืนพวกมันเลย เออ ไม่ต้องเล่าอะไรทั้งนั้น เข้าใจนะ? ... เออ ฉันอนุญาต แค่ป้องกันก็พอ"[34]
เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2565 หน่วยความมั่นคงยูเครนเผยแพร่คลิปเสียงของทหารรัสเซียนายหนึ่งซึ่งเล่าให้คู่สนทนาฟังทางโทรศัพท์ว่า "คนท้องถิ่นเกลียดพวกเราหมด ทหารฝั่งเราไปข่มขืนผู้หญิงที่นี่"[35][36]
เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2566 อูกรายินสกาเปราดา เผยแพร่คลิปเสียงการสนทนาทางโทรศัพท์ที่ถูกดักฟัง ที่ซึ่งทหารรัสเซียนายหนึ่งเล่าประสบการณ์ความรุนแรงทางเพศของกองกำลังฝ่ายตนในยูเครนและขอบเขตอันกว้างขวางของความรุนแรงดังกล่าว:
"ตอนที่พวกเราทิ้งลือมัน พวกเราฆ่าแม่งหมดที่นั่น ... ไอ้พวกคะโคล [คำเรียกชาวยูเครนในเชิงดูหมิ่น] ... พวกเราข่มขืน แทงพวกแม่งที่นั่น ยิงพวกมัน ฆ่าพวกแม่งหมด ที่ลือมัน ที่ตอร์สแก พวกเราเดิน ๆ ไปยิงแม่งหมด ผู้ชายที่อายุน้อย ๆ พวกเราคุมตัวพวกมันไป ส่วนผู้หญิงสาว ๆ พวกนี้ โดนเย็ด โดนแทง โดนยิงทิ้ง"[37][38][39]
ความรุนแรงทางเพศระหว่างวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัย
[แก้]มีกรณีอย่างน้อย 2 กรณีที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงและเด็กซึ่งมีรายงานว่าถูกฉวยโอกาสระหว่างที่พวกเธอพยายามหนีภัยสงครามในยูเครน ในช่วงกลางเดือนมีนาคม ชายคนหนึ่งถูกจับกุมในโปแลนด์ด้วยข้อหาข่มขืนกระทำชำเราผู้ลี้ภัยอายุ 19 ปีที่แสวงหาที่พักพิงและความช่วยเหลือจากเขา นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าชาย 2 คนได้ทำร้ายวัยรุ่นชาวยูเครนคนหนึ่งซึ่งพักอยู่ในที่พักสำหรับผู้ลี้ภัยในเยอรมนี[40] ก่อนที่รัฐบาลสหราชอาณาจักรจะเปิดตัวแผนการเคหะสำหรับผู้ลี้ภัย หญิงคนหนึ่งรายงานเหตุการณ์ที่ซึ่งชายคนหนึ่งพยายามเกลี้ยกล่อมให้เธอไปอยู่กับเขา เขาเสนอที่อยู่อาศัย อาหาร ค่าใช้จ่าย และเบี้ยเลี้ยงรายเดือนฟรีเพื่อแลกกับการมีเพศสัมพันธ์ เธอพยายามปฏิเสธการรุกจีบของชายคนนั้นซึ่งหยุดรังควานเธอก็ต่อเมื่อเธอบอกเขาว่าเธอเดินทางมากับแม่[41]
เด็กและผู้สูงอายุ
[แก้]สหประชาชาติพบว่าผู้เสียหายจากความรุนแรงทางเพศที่รัสเซียก่อขึ้นในยูเครนนั้นรวมถึงเด็กที่มีอายุเพียง 4 ปี และผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 80 ปี[42]
ที่แคว้นเคียฟในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 ทหารรัสเซีย 2 นายบุกเข้าบ้านหลังหนึ่งและก่อเหตุล่วงละเมิดทางเพศต่อสมาชิกทุกคนในครอบครัวซึ่งได้แก่สามี ภรรยา และลูกสาวอายุ 4 ปี[43] หญิงอายุ 83 ปีคนหนึ่งถูกทหารรัสเซียนายหนึ่งข่มขืนกระทำชำเราในบ้านต่อหน้าต่อตาสามีพิการของเธอ และหญิงอายุ 56 ปีอีกคนหนึ่งถูกทหารรัสเซีย 2 นายรุมข่มขืนกระทำชำเราหลังจากบุกปล้นบ้าน ไม่กี่สัปดาห์ถัดมาเธอได้ทราบข่าวว่าทหารรัสเซียได้ทรมานและสังหารสามีของเธอ[43][44]
ในช่วงปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 คณะผู้สืบสวนจากคณะกรรมการสอบสวนอิสระระหว่างประเทศในยูเครน[45] ออกแถลงการณ์ที่ระบุว่าคณะกรรมการฯ "ได้จดบันทึกคดีที่ซึ่งเด็กถูกข่มขืนกระทำชำเรา ทรมาน และกักขังโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย" และเรียกพฤติการณ์เหล่านี้ว่าอาชญากรรมสงคราม รายงานเดียวกันนี้ยังกล่าวถึงเด็กที่ถูกสังหารและบาดเจ็บจากการโจมตีโดยไม่เลือกเป้าหมายของรัสเซีย ตลอดจนเด็กที่ถูกพรากจากครอบครัวและถูกลักพาตัวไปด้วย[46][44]
รายงานและแถลงการณ์
[แก้]ตามข้อมูลในชุดข้อมูลความรุนแรงทางเพศระหว่างการขัดกันด้วยอาวุธ มีรายงานความรุนแรงทางเพศโดยกองกำลังรัสเซียในช่วง 3 ปีจาก 7 ปีของความขัดแย้งในภาคตะวันออกของยูเครนนับตั้งแต่ พ.ศ. 2557[47]
- ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ทางการยูเครนและองค์การสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ รายงานว่ากองทัพรัสเซียใช้ความรุนแรงทางเพศขนานใหญ่เป็นเครื่องมือในการทำสงครามกับพลเรือน โดยมีเป้าหมายเพื่อทำลายขวัญกำลังใจของชาวยูเครนและเพื่อขัดขวางไม่ให้พวกเขาต่อต้าน[48] เมื่อวันที่ 3 เมษายน องค์การลาสตราดายูเครนซึ่งเปิดบริการสายด่วนเพื่อช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากการค้ามนุษย์ การประทุษร้ายทางเพศ และความรุนแรงในครอบครัว ระบุว่าเหตุข่มขืนกระทำชำเราได้รับการแจ้งเข้ามาน้อยมากและถูกตีตราทางสังคมในยามสงบ โดยคดีที่องค์การทราบอยู่แล้วอาจเป็นเพียง "ยอดภูเขาน้ำแข็ง" เท่านั้น[8]
- เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2565 เมลินดา ซิมมอนส์ เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำยูเครน กล่าวถึงการข่มขืนกระทำชำเราว่าเป็น "ส่วนหนึ่งของการทำสงครามที่ไม่มีผู้ใดยั่วยุของรัสเซีย ... แม้ว่าเราจะยังไม่ทราบขอบเขตของการข่มขืนกระทำชำเราทั้งหมดในยูเครน แต่ก็ชัดเจนแล้วว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของคลังอาวุธของรัสเซีย ... พวกเขาข่มขืนผู้หญิงต่อหน้าลูกของพวกเธอ ข่มขืนเด็กหญิงต่อหน้าสมาชิกครอบครัวของพวกเธอ เพื่อกดขี่ปราบปรามอย่างจงใจ"[49]
- เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2565 เมลานี โจลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศแคนาดา และลิซ ทรัสส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหราชอาณาจักร ร่วมกันเขียนบทความคิดเห็นพิเศษที่ระบุว่าทหารรัสเซียกำลังใช้การข่มขืนกระทำชำเรา "เป็นอาวุธสงคราม" ในยูเครน[50] พวกเธออธิบายการข่มขืนกระทำชำเราในฐานะอาวุธสงครามว่าเป็น "อาวุธที่ใช้ในการควบคุมและแสดงอำนาจเหนือผู้หญิงอย่างเป็นระบบ ... เป็นภัยทำลายล้างในเหตุขัดแย้งเช่นเดียวกับอาวุธเคมีหรือกับระเบิดซึ่งเป็นสิ่งต้องห้ามตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ แต่ยังไม่มีการถือปฏิบัติอย่างจริงจัง"[51][52]
- ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 อีรือนา แวแนดิกตอวา อัยการสูงสุดยูเครน กล่าวว่าเธอแน่ใจว่ากองทัพรัสเซียใช้การข่มขืนกระทำชำเราเป็นกลยุทธ์ในการทำสงครามโดยไตร่ตรองไว้ก่อน[53]
- เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2565 องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรปออกแถลงการณ์ประณามความรุนแรงทางเพศในสงครามและเอ่ยถึงการใช้ความรุนแรงทางเพศเป็นอาวุธในการทำสงครามกับยูเครน โดยระบุไว้บางส่วนว่า "ในวันนี้ ในวันขจัดความรุนแรงทางเพศในความขัดแย้งสากล เฮ็ลกา มารีอา ชมิท เลขาธิการองค์การฯ ขอเรียกร้องให้เร่งยุติการใช้การข่มขืนกระทำชำเราและอาชญากรรมทางเพศอื่น ๆ เป็นยุทธวิธีในการทำสงครามในยูเครนและในที่อื่น ๆ ทั้งในภูมิภาคโอเอสซีอีและถัดออกไปจากนั้น"[54]
- เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565 รายงานของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติระบุว่ายังไม่สามารถสรุปผลใด ๆ เกี่ยวกับขอบเขตความรุนแรงทางเพศที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งในยูเครนได้ แต่ได้จดบันทึกคดีที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง เด็กหญิง และผู้ชายไว้แล้ว[55] "หลายคดี" สำนักงานฯ ได้จดบันทึกคดีข่มขืนกระทำชำเรา 9 คดี คดีก่อความรุนแรงทางเพศเพื่อทรมาน 15 คดี และคดีบังคับบุคคลที่ถือว่าเป็น "ผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย" ให้เปลื้องผ้าในที่สาธารณะ 11 คดี[55]
- เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2565 คณะกรรมการสอบสวนอิสระระหว่างประเทศในยูเครนได้เผยแพร่รายงานที่พบว่ารัสเซียมีส่วนรับผิดชอบต่อ "รูปแบบการข่มขืนกระทำชำเราและการละเมิดอื่น ๆ ในยูเครน" โดยระบุว่ารัสเซียต้องรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนและอาชญากรรมสงครามส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นที่นั่น[44] คณะกรรมการฯ ได้นำเสนอรายงานดังกล่าวต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ[56][4]
- เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เจมส์ เคลเวอร์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร กล่าวว่าทหารรัสเซียในยูเครนมีส่วนรับผิดชอบต่อ "การร่วมกันข่มขืนกระทำชำเรา"[57]
- ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 ฮิวแมนไรตส์วอตช์ได้เผยแพร่ รายงานโลกประจำปี พ.ศ. 2566 ซึ่งเป็นรายงานสิทธิมนุษยชนฉบับที่ 33 และทบทวนเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2565 ในส่วนของยูเครน รายงานฉบับนี้ระบุว่า "ในพื้นที่ที่รัสเซียยึดครอง กองกำลังรัสเซียหรือกองกำลังที่ฝักใฝ่รัสเซียได้ก่ออาชญากรรมสงครามอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งรวมถึงการทรมาน การประหารชีวิตอย่างรวบรัด ความรุนแรงทางเพศ และการบังคับบุคคลให้สูญหาย"[58]
กรณีเด่นในสื่อ
[แก้]ในช่วงปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 อีรือนา แวแนดิกตอวา อัยการสูงสุดยูเครน เริ่มการสอบสวนข้อกล่าวหาที่ว่าทหารรัสเซียยิงชายคนหนึ่งแล้วข่มขืนกระทำชำเราภรรยาของชายคนนั้น เดอะไทมส์ เผยแพร่บทสัมภาษณ์หญิงคนดังกล่าว เธอระบุว่าเธอมาจากหมู่บ้านบอห์ดานิวกาในเขตบรอวารือ แคว้นเคียฟ ตามคำให้การของเธอ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม ทหารรัสเซียมาที่หน้าบ้านของเธอกับสามี พวกเขายิงสุนัขของที่บ้านและยิงสามีที่ออกไปเปิดประตูรั้วก่อนที่จะบุกเข้าบ้านมาบอกเธอว่า "เธอไม่มีผัวแล้ว ฉันเอาปืนนี่ยิงมัน มันเป็นพวกฟาสซิสต์" จากนั้นทหารรัสเซียก็ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราเธอหลายครั้งตลอดหลายชั่วโมงโดยถือปืนจ่อศีรษะเธอไปด้วย พวกเขาดื่มเหล้าหนักจนในที่สุดก็ "เมาแทบยืนไม่อยู่" สุดท้ายหญิงคนดังกล่าวใช้จังหวะที่ทหารรัสเซียเมาหลับ รีบหนีออกไปพร้อมกับลูกชายซึ่งอยู่ในบ้านเช่นกันขณะเกิดเหตุทั้งหมด ต่อมาผู้ถูกกล่าวโทษว่าข่มขืนกระทำชำเราถูกระบุตัวได้จากโพรไฟล์ทางสื่อสังคมออนไลน์[59][60] เมดูซา เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้และอาชญากรรมที่คล้ายคลึงกันในหมู่บ้านบอห์ดานิวกา[61] ดมีตรี เปสคอฟ โฆษกทำเนียบประธานาธิบดีรัสเซีย กล่าวว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็น "เรื่องโกหก"[1] ทางการยูเครนออกหมายจับทหารรัสเซียที่ถูกระบุตัวได้ในคดีนี้ตาม "ข้อต้องสงสัยว่าละเมิดกฎหมายและประเพณีสงคราม"[1][62] คดีนี้ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นเรื่องจริงโดยสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติและได้รับการกล่าวถึงในรายงานว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในยูเครนระหว่างการรุกรานของรัสเซียที่สำนักงานฯ เผยแพร่เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565[60]
ฮิวแมนไรตส์วอตช์รายงานว่าเมื่อวันที่ 13 มีนาคม มีการทุบตีและข่มขืนกระทำชำเราหญิงอายุ 31 ปีคนหนึ่งในหมู่บ้านมาลารอฮันในเขตคาร์กิว แคว้นคาร์กิว ซึ่งในเวลานั้นถูกกองทัพรัสเซียควบคุมอยู่ รายงานดังกล่าวยังระบุด้วยว่ามีทหารรัสเซียนายหนึ่งบุกเข้าไปในโรงเรียน จากนั้นทุบตีและใช้ปืนขู่บังคับข่มขืนกระทำชำเราหญิงคนหนึ่งที่ซ่อนตัวอยู่กับครอบครัวและชาวบ้านคนอื่น ๆ[2]
บีบีซีนิวส์สัมภาษณ์หญิงอายุ 50 ปีจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเคียฟไปทางทิศตะวันตก 70 กิโลเมตร หญิงคนนี้เล่าว่าเธอถูกนักรบเชเชนฝ่ายรัสเซียคนหนึ่งใช้ปืนขู่บังคับข่มขืนกระทำชำเราเธอและยิงสามีที่พยายามขัดขวางจนเสียชีวิต ชาวบ้านในละแวกนั้นเล่าว่าก่อนหน้านี้หญิงอายุ 40 ปีคนหนึ่งก็ถูกนักรบคนเดียวกันข่มขืนกระทำชำเราและสังหาร เหลือไว้เพียงสิ่งที่บีบีซีนิวส์บรรยายว่าเป็น "สถานที่เกิดเหตุสะเทือนขวัญ"[63]
หลังจากการปลดปล่อยแคว้นเคียฟเมื่อปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 อานาตอลีย์ แฟดอรุก นายกเทศมนตรีนครบูชา ระบุว่ามีรายงานการข่มขืนกระทำชำเราอย่างน้อย 25 ครั้งระหว่างการสังหารหมู่ที่นครบูชา[64] เดอะนิวยอร์กไทมส์ รายงานการพบร่างของ "หญิงคนหนึ่งที่ถูกจับเป็นทาสกาม ร่างกายเปลือยเปล่าเหลือเพียงเสื้อคลุมขนสัตว์ และถูกขังอยู่ในห้องเก็บมันฝรั่งก่อนถูกยิงศีรษะ" ในนครดังกล่าว[65]
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 เดอะซันเดย์ไทมส์ รายงานเกี่ยวกับอดีตทหารยูเครน 2 นายที่ถูกทหารรัสเซียทรมานและตอนอวัยวะเพศด้วยมีดระหว่างการคุมขัง ก่อนที่จะได้รับการปล่อยตัวในการแลกเปลี่ยนเชลยศึก นักจิตวิทยาที่กำลังรักษาชายทั้งสองกล่าวว่าเธอเคยได้ยินกรณีคล้ายกันนี้มาแล้วหลายกรณีจากเพื่อนร่วมงานของเธอ รายงานฉบับเดียวกันยังระบุด้วยว่าแพทย์ที่โรงพยาบาลผดุงครรภ์ในนครปอลตาวารายงานกรณีของผู้หญิงที่ถูกทหารรัสเซียข่มขืนกระทำชำเราแล้วฉีดกาวยาแนวหน้าต่างเข้าไปในอวัยวะเพศเพื่อทำให้พวกเธอไม่สามารถมีลูกได้[66]
การตอบสนอง
[แก้]การประท้วง
[แก้]ผู้หญิงหลายคนรวมตัวกันประท้วงหน้าสถานทูตและสถานกงสุลรัสเซียในประเทศต่าง ๆ เพื่อต่อต้านการข่มขืนกระทำชำเราของทหารรัสเซียระหว่างการรุกรานยูเครน พวกเธอประท้วงโดยเอาถุงคลุมศีรษะ มัดมือไพล่หลัง และเปลือยท่อนขาที่ราดด้วยของเหลวสีแดงซึ่งเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงเลือด เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2565 มีผู้หญิง 4 คนยืนประท้วงในลักษณะดังกล่าวที่กรุงดับลิน ไอร์แลนด์[67] และผู้หญิงอีก 80 คนยืนประท้วงที่กรุงวิลนีอัส ลิทัวเนีย[68] จากนั้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน มีผู้หญิง 130 คนยืนประท้วงในลักษณะเดียวกันที่หน้าสถานทูตรัสเซีย ณ กรุงรีกา ลัตเวีย[69] และผู้หญิงอีกหลายสิบคนยืนประท้วงที่หน้าสถานกงสุลใหญ่รัสเซีย ณ นครกดัญสก์ โปแลนด์[70]
การสืบสวน
[แก้]ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2565 สำนักงานอัยการสูงสุดยูเครนรายงานว่ามีการดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงทางเพศที่ทหารรัสเซียก่อขึ้น "หลายสิบคดี"[71] ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2565 มีรายงานว่าทางการยูเครนกำลังสืบสวนคดีความรุนแรงทางเพศ 43 คดี[10]
อีรือนา ดีแดนกอ อัยการยูเครน ระบุในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 ว่าสำนักงานของเธอได้เปิดคดีที่เกี่ยวข้องกับการกระทำรุนแรงทางเพศที่ทหารรัสเซียก่อขึ้นแล้ว 154 คดี แต่เตือนว่าตัวเลขอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นจริงอาจสูงกว่านี้มาก พวกเธอระบุว่าแพทย์และเจ้าหน้าที่ด้านสุขภาพจิตได้ประเมินแล้วว่าผู้หญิงหนึ่งในเก้าคนในแคว้นเคียฟเคยประสบความรุนแรงทางเพศระหว่างการยึดครองของรัสเซีย ดีแดนกอเสริมว่าผู้รุกรานจากรัสเซียมีรูปแบบพฤติกรรมที่ชัดเจน กล่าวคือ "เมื่อกองกำลังภาคพื้นดินมาถึง การข่มขืนก็จะเริ่มในวันที่สองหรือสาม"[72]
ดูเพิ่ม
[แก้]- การสังหารหมู่ที่บูชา
- การทรมานเชลยศึกชาวยูเครนที่ปรือวิลเลีย
- อาชญากรรมสงครามระหว่างการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย
บรรณานุกรม
[แก้]แหล่งที่ว่าด้วยการใช้การข่มขืนกระทำชำเราเป็นอาวุธสงครามหรือยุทธศาสตร์ทางทหาร
[แก้]- "Russians killed and raped civilians as they fled from Lyman, admits soldier in intercepted call". Ukrainska Pravda. 9 January 2023. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023 – โดยทาง Yahoo News.
The Security Service of Ukraine (SSU) has intercepted a telephone conversation between occupiers which testifies to the fact that the Russians killed civilians and raped women during their retreat from Lyman, Donetsk Oblast. ... 'When we surrendered Lyman, we slaughtered everyone out there, f**king khokhols [a derogatory Russian term for Ukrainians]... We raped them, slaughtered them, shot them. In Lyman and Torske, we just walked around shooting everyone. All the men who were younger were taken to us out there, and the women, young ones: they were all f**ked, slaughtered, shot.'
- Gall, C.; Boushnak, L. (January 5, 2023). "'Fear Still Remains': Ukraine Finds Sexual Crimes Where Russian Troops Ruled". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 5, 2023. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
We are finding this problem of sexual violence in every place that Russia occupied," said Ms. Sosonska, 33 [an investigator with the Ukraine's prosecutor general's office]. "Every place: Kyiv region, Chernihiv region, Kharkiv region, Donetsk region and also here in Kherson region.
- Ochab, D. E. U. (17 December 2022). "Mobile Justice Team In Ukraine To Assist With Cases Of Conflict Related Sexual Violence". Forbes. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
Prosecutor General of Ukraine has documented more than 100 cases of sexual violence, with the youngest victim being only 4 years old, and the oldest over 80. However, as Olena Zelenska stressed, "these are only those cases where the victims found the strength to testify."
- Barber, H. (28 November 2022), "Rape as a weapon of war will trigger UK sanctions", The Telegraph, สืบค้นเมื่อ 12 January 2023,
Most recently, following Russia’s illegal invasion of Ukraine, our sanctioning of over 1,200 individuals including members of the Russian military responsible for atrocities
- Barber, H. (28 November 2022). "Castration, gang-rape, forced nudity: How Russia's soldiers terrorise Ukraine with sexual violence". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
Since Russia's soldiers first stormed Ukraine, women have been gang-raped, men castrated, children sexually abused, and civilians forced to parade naked in the streets, according to the United Nations.
- Chandra, T. (27 November 2022). "Russia Is Using Rape as a Weapon in Ukraine. The West Must Hold Putin Accountable". The Daily Beast. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
As the war in Ukraine enters its 10th month, and as the Ukrainian military has begun to recover ground previously occupied by the Russians, new evidence of systematic campaigns of rape and torture has come to light. There had previously been troubling reports of widespread use of sexual violence against civilians, along with other clear violations of international laws that compel combatants to protect civilians.
- Macias, A. (28 October 2022). "UN report details horrifying Ukrainian accounts of rape, torture and executions by Russian troops". CNBC. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
A U.N. report says Russian forces committed an array of war crimes, including summary executions, torture, rape and other acts of sexual violence against Ukrainian civilians.
- Chen, P. W.; Tim Lister, Josh; Pennington, Heather (October 15, 2022). "Russia using rape as "military strategy" in Ukraine: UN envoy". CNN. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
Russia is using rape and sexual violence as part of its "military strategy" in Ukraine, a UN envoy said this week ... "When you hear women testify about Russian soldiers equipped with Viagra, it's clearly a military strategy," Pramila Patten, UN Special Representative on Sexual Violence in Conflict, said in an interview with AFP on Thursday.
- Gans, J. (15 October 2022). "UN official: Russia using rape as war strategy in Ukraine". The Hill. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
Pramila Patten, the U.N.'s special representative on sexual violence in conflict, told AFP in an interview that Russian forces have been carrying out sexual assault as a "deliberate tactic to dehumanize the victims," part of its military strategy. "When you hear women testify about Russian soldiers equipped with Viagra, it's clearly a military strategy," she said. Patten said the U.N. has verified more than a hundred cases of rape or sexual assault since the war began in February, and the first cases were reported just three days after Russia launched its full-scale invasion.
- "Russia's 'most hidden crime' in Ukraine war: Rape of women, girls, men and boys". The Los Angeles Times. 21 August 2022. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
The prosecutor general's office said last week there are "several dozen" criminal proceedings underway involving sexual violence committed by Russian military personnel. But police, prosecutors and counselors say the true number is likely far larger, in part because of reluctance to report such attacks.
- ""I wanted to take off my skin": Ukrainian women recount rape by Russian soldiers". ABC News. 12 August 2022. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
Stories of rape and other atrocities at the hands of Russian troops are not unheard of in small towns and suburbs of Kyiv. Residents of Bucha and Borodyanka have reported human rights violations including rape, murder and torture by Russian forces during the invasion.
- OSCE Secretariat (19 June 2022), "OSCE Secretary General condemns use of sexual violence as weapon of war, urges for international support to survivors", Organization for Security and Co-operation in Europe (OSCE), สืบค้นเมื่อ 12 January 2023,
Today, on the International Day for the Elimination of Sexual Violence in Conflict, OSCE Secretary General Helga Maria Schmid called for an urgent end to the use of rape and other sexual crimes as a tactic of war in Ukraine and elsewhere in the OSCE region and beyond.
- Morris, L. (8 June 2022). "She was raped in Ukraine. How many others have stories like hers?". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
Pramila Patten, the U.N. special representative on sexual violence in conflict, called that only the "tip of the iceberg" of "the most constantly and massively underreported allegation."
- Fadel, L., Helić, A. (3 May 2022), "In the war on Ukraine, rape has been used as a weapon", NPR, สืบค้นเมื่อ 12 January 2023,
NPR's Leila Fadel talks to British lawmaker Arminka Helić about how rape and sexual violence are being used as weapons in Russia's war on Ukraine.
- Wamsley, L. (30 April 2022). "Rape has reportedly become a weapon in Ukraine. Finding justice may be difficult". NPR. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
The number of reports that have emerged since the start of the war in late February suggests that rape in Ukraine at the hands of Russian soldiers may be widespread. Those fears were further crystallized earlier this month following the Russian withdrawal from Bucha, a suburb of the capital Kyiv, where some two dozen women and girls were "systematically raped" by Russian forces, according to Ukraine's ombudswoman for human rights, Lyudmyla Denisova.
- Sidhu, T. J.; Oleksandra Ochman, Sandi (22 April 2022). "Russian troops use rape as "an instrument of war" in Ukraine, rights groups allege". CNN. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
Ukrainian officials say Russian forces have been sexually abusing women, children and men since the invasion began, using rape and other sexual offenses as weapons of war. Human rights groups and Ukrainian psychologists who CNN spoke to say they have been working around the clock to deal with a growing number of sexual abuse cases allegedly involving Russian soldiers. A report by the Organization for Security and Cooperation in Europe (OSCE), released on April 13, found violations of international humanitarian law by Russian forces in Ukraine, noting that "reports indicate instances of conflict-related gender-based violence, such as rape, sexual violence or sexual harassment."
- Domi, T. (April 18, 2022). "In Ukraine, Russia Is Using Rape as a Weapon of War". Haaretz. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
- "Russia's war on Ukraine: Sexual violence as a weapon of war", France24, 4 April 2022, สืบค้นเมื่อ 12 January 2023,
Russia's war on Ukraine: Sexual violence as a weapon of war
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Engelbrecht, Cora (2022-03-29). "Reports of sexual violence involving Russian soldiers are multiplying, Ukrainian officials say". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-29. สืบค้นเมื่อ 2022-04-17.
- ↑ 2.0 2.1 "Ukraine: Apparent War Crimes in Russia-Controlled Areas". Human Rights Watch. 2022-04-03. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-03. สืบค้นเมื่อ 2022-04-18.
- ↑ สำหรับแหล่งที่ว่าด้วยการใช้การข่มขืนกระทำชำเราเป็นอาวุธสงคราม ดูที่แหล่งที่ว่าด้วยการใช้การข่มขืนกระทำชำเราเป็นอาวุธสงครามหรือยุทธศาสตร์ทางทหาร
- ↑ 4.0 4.1 "'Undeniable need for accountability' in Ukraine as violations mount". UN News. 18 October 2022. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
- ↑ "Update on the human rights situation in Ukraine – Reporting period: 24 February – 26 March" (PDF). Office of the High Commission for Human Rights. 2022-03-26. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-01. สืบค้นเมื่อ 2023-01-10.
- ↑ "First free national anti-trafficking hotline in Ukraine to start today". Organization for Security and Co-operation in Europe. 2002-11-18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-19. สืบค้นเมื่อ 2023-01-10.
- ↑ "La Strada Ukraine". La Strada International Association. 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-11. สืบค้นเมื่อ 2023-01-10.
- ↑ 8.0 8.1 McKernan, Bethan (2022-04-04). "Rape as a weapon: huge scale of sexual violence inflicted in Ukraine emerges". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-14. สืบค้นเมื่อ 2023-01-10.
- ↑ The situation of human rights in Ukraine in the context of the armed attack by the Russian Federation, 24 February to 15 May 2022 (Report). OHCHR. 29 June 2022. para. 96-102. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2022. สืบค้นเมื่อ 4 August 2022.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 Update on the human rights situation in Ukraine 1 August - 31 October 2022 (PDF) (Report). OHCHR. 2 December 2022. สืบค้นเมื่อ 26 December 2022.
- ↑ OSCE Secretariat (19 June 2022), OSCE Secretary General condemns use of sexual violence as weapon of war, urges for international support to survivors, Organization for Security and Co-operation in Europe (OSCE), สืบค้นเมื่อ 14 January 2023
- ↑ OSCE joins the 16 Days of Activism campaign and urges States to step up efforts to end violence against women in conflict, Organization for Security and Co-operation in Europe (OSCE), 25 November 2022, สืบค้นเมื่อ 14 January 2023,
All reaffirmed their call to put an end to the use of rape, sexual violence and other sexual crimes as a tactic of war in Ukraine and around the world. Such a heinous crime can have no place and must be stopped.
- ↑ "UN envoy: Russia uses rape as part of 'military strategy' in Ukraine", Times of Israel, Agence France-Presse, 14 October 2022, สืบค้นเมื่อ 14 January 2023
- ↑ Boezio, G., Remarks of SRSG-SVC Pramila Patten at the Summit of First Ladies and Gentlemen Hosted by the First Lady of Ukraine, 23 July 2022, สืบค้นเมื่อ 14 January 2023
- ↑ Chen, P. W.; Tim Lister, Josh; Pennington, Heather (October 15, 2022). "Russia using rape as "military strategy" in Ukraine: UN envoy". CNN. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
- ↑ Morris, L. (8 June 2022). "She was raped in Ukraine. How many others have stories like hers?". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
- ↑ Morris, L. (8 June 2022). "She was raped in Ukraine. How many others have stories like hers?". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
- ↑ "Russia's 'most hidden crime' in Ukraine war: Rape of women, girls, men and boys". The Los Angeles Times. 21 August 2022. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
police, prosecutors and counselors say the true number is likely far larger, in part because of reluctance to report such attacks.
- ↑ Domi, T. (April 18, 2022). "In Ukraine, Russia Is Using Rape as a Weapon of War". Haaretz. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
- ↑ Wamsley, L. (30 April 2022). "Rape has reportedly become a weapon in Ukraine. Finding justice may be difficult". NPR. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
The number of reports that have emerged since the start of the war in late February suggests that rape in Ukraine at the hands of Russian soldiers may be widespread. Those fears were further crystallized earlier this month following the Russian withdrawal from Bucha, a suburb of the capital Kyiv, where some two dozen women and girls were "systematically raped" by Russian forces, according to Ukraine's ombudswoman for human rights, Lyudmyla Denisova.
- ↑ Chandra, T. (27 November 2022). "Russia Is Using Rape as a Weapon in Ukraine. The West Must Hold Putin Accountable". The Daily Beast. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
As the war in Ukraine enters its 10th month, and as the Ukrainian military has begun to recover ground previously occupied by the Russians, new evidence of systematic campaigns of rape and torture has come to light. There had previously been troubling reports of widespread use of sexual violence against civilians, along with other clear violations of international laws that compel combatants to protect civilians.
- ↑ "Russia's 'most hidden crime' in Ukraine war: Rape of women, girls, men and boys". The Los Angeles Times. 21 August 2022. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
The prosecutor general's office said last week there are "several dozen" criminal proceedings underway involving sexual violence committed by Russian military personnel. But police, prosecutors and counselors say the true number is likely far larger, in part because of reluctance to report such attacks.
- ↑ Gall, C.; Boushnak, L. (January 5, 2023). "'Fear Still Remains': Ukraine Finds Sexual Crimes Where Russian Troops Ruled". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 5, 2023. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
We are finding this problem of sexual violence in every place that Russia occupied," said Ms. Sosonska, 33 [an investigator with the Ukraine's prosecutor general's office]. "Every place: Kyiv region, Chernihiv region, Kharkiv region, Donetsk region and also here in Kherson region.
- ↑ Barber, H. (28 November 2022). "Castration, gang-rape, forced nudity: How Russia's soldiers terrorise Ukraine with sexual violence". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
Since Russia's soldiers first stormed Ukraine, women have been gang-raped, men castrated, children sexually abused, and civilians forced to parade naked in the streets, according to the United Nations.
- ↑ "Russia's 'most hidden crime' in Ukraine war: Rape of women, girls, men and boys". The Los Angeles Times. 21 August 2022. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
... people who had been raped or sexually abused in the course of this conflict — most are women and girls, but many are men and boys—are often reluctant to speak even in confidence with a therapist, let alone go to police or other investigators and provide a detailed account.
- ↑ Gans, J. (15 October 2022). "UN official: Russia using rape as war strategy in Ukraine". The Hill. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
Patten [United Nations special representative on sexual violence in conflict] said the U.N. has verified more than a hundred cases of rape or sexual assault since the war began in February, and the first cases were reported just three days after Russia launched its full-scale invasion.
- ↑ OSCE Secretariat (19 June 2022), OSCE Secretary General condemns use of sexual violence as weapon of war, urges for international support to survivors, Organization for Security and Co-operation in Europe (OSCE), สืบค้นเมื่อ 12 January 2023,
I am shocked by continued reports of sexual violence against women and girls, including rape, torture, trafficking and sexual exploitation occurring in Ukraine and in other conflict areas. Men and boys are also the targets of such crimes. This violence is completely unacceptable and must stop
- ↑ "Ukraine: Russian Invasion Causing Widespread Suffering for Civilians", Human Rights Watch, 2023, สืบค้นเมื่อ 14 January 2023
- ↑ "World Report 2023: Conflict-Related Sexual Violence", Human Rights Watch, 2023, สืบค้นเมื่อ 14 January 2023,
In December, the HRMMU reported that between February 24 and October 21, it had documented 86 cases of sexual violence, most by Russian forces, including rape, gang rape, forced nudity and forced public stripping in various regions of Ukraine and in one penitentiary facility in Russia.
- ↑ Ukraine: 'Humanitarian and human rights catastrophe' continues, Security Council hears, United Nations News Service, 13 January 2023, สืบค้นเมื่อ 14 January 2023,
Turning to allegations of grave human rights violations, OHCHR has documented over 90 cases of conflict-related sexual violence since last February. Of those, men have been predominantly affected by torture and ill-treatment in detention, while women and girls in areas under Russian control have been sexually violated, including gang rape.
- ↑ Gall, C.; Boushnak, L. (January 5, 2023). "'Fear Still Remains': Ukraine Finds Sexual Crimes Where Russian Troops Ruled". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 5, 2023. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
- ↑ Ukraine conflict: "Russian soldiers raped me and killed my husband", BBC News, 11 April 2022, สืบค้นเมื่อ 14 January 2023
- ↑ Hopkins, V. (29 June 2022), "After Rapes by Russian Soldiers, a Painful Quest for Justice", The New York Times, สืบค้นเมื่อ 14 January 2023
- ↑ "Russian wife gives soldier husband permission to "rape" Ukraine women", The Toronto Sun, 14 April 2022, สืบค้นเมื่อ 14 January 2023
- ↑ ""Locals hate us. Russian soldiers] rape their women," Russian soldier says in intercepted call", Euromaidan Press, 9 September 2022, สืบค้นเมื่อ 14 January 2023
- ↑ Bhuiyan, J., Yang, M., Chao-Fong, L., Belam, M., McClure, T. (21 September 2022), "Zelenskiy lays out peace formula as arrests at Russia anti-war protests pass 1,000 – as it happened", The Guardian, สืบค้นเมื่อ 14 January 2023,
The security service of Ukraine has released a recording of an intercepted call by a Russian soldier in which he appears to complain about the setbacks faced by Russian troops in recent months. "Locals hate us here. Ours rape local women," the soldier appeared to say into the phone, adding that there was little to no chance of him returning home anytime soon.
- ↑ "Russians killed and raped civilians as they fled from Lyman, admits soldier in intercepted call". Ukrainska Pravda. 9 January 2023. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023 – โดยทาง Yahoo News.
- ↑ СБУ отримала чергове підтвердження воєнних злочинів рф: при відступі з Лиману рашисти вбивали цивільних і ґвалтували жінок (аудіо) (Ukrainian), Intercept by Security Service of Ukraine
- ↑ "Когда Лиман сдавали, всех расстреливали, баб резали": СБУ выложило перехват разговора оккупантов" (Russian)
- ↑ Reis, Chen (March 28, 2022). "Ukrainian female refugees are fleeing a war, but in some cases more violence awaits them where they find shelter". The Conversation (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-17. สืบค้นเมื่อ 2022-04-18.
- ↑ Bradley, Jane (2022-04-01). "Ukraine-Russia: Homes for Ukraine scheme exploited by men offering shelter in return for sex, Scots charity warns". The Scotsman. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-08. สืบค้นเมื่อ 2022-04-19.
- ↑ Gall, C. (6 January 2023), "Russia 'used sexual violence as weapon'", Telegraph India, สืบค้นเมื่อ 14 January 2023,
After investigating some areas Russia retreated from, an independent international commission reported to the United Nations in October that “an array of war crimes committed in Ukraine” included cases of sexual violence against women and girls. Victims ranged from older than 80 to as young as a 4-year-old girl forced to perform oral sex on a soldier, which is rape, the report said. It detailed more than a dozen cases involving gang rapes, family members forced to watch a relative being sexually assaulted and sexual violence against detainees.
- ↑ 43.0 43.1 "UN report details horrifying Ukrainian accounts of rape, torture and executions by Russian troops". CNBC. 28 October 2022.
- ↑ 44.0 44.1 44.2 "UN finds Russian 'pattern of rape' and other abuses in Ukraine". Al Jazeera. 19 October 2022. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
Victims of sexual assault in Russia-occupied areas at the start of the war were aged between four and 80, commission says
- ↑ "OHCHR | Independent International Commission of Inquiry on Ukraine". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-30. สืบค้นเมื่อ 2022-09-24.
- ↑ Cumming-Bruce, Nick (23 September 2022). "U.N. Experts find that war crimes have been committed in Ukraine". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-24.
- ↑ Hallsdóttir, Esther (2022-03-24). "Are Russian troops using sexual violence as a weapon? Here's what we know". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-19. สืบค้นเมื่อ 2022-04-11.
- ↑ Sidhu, Tara John,Oleksandra Ochman,Sandi (2022-04-22). "Russian troops use rape as 'an instrument of war' in Ukraine, rights groups allege" (ภาษาอังกฤษ). CNN. สืบค้นเมื่อ 2022-12-26.
- ↑ Krutov, M., Yehoshyna, V. (15 April 2022), Russian Soldier And Wife Discussing Rape Of Ukrainian Women Identified By RFE/RL, Radio Free Europe / Radio Liberty, สืบค้นเมื่อ 14 January 2023
- ↑ "Opinion | Sexual violence as a weapon of war in Ukraine — the world is watching". thestar.com (ภาษาอังกฤษ). 2022-04-21. สืบค้นเมื่อ 2022-12-26.
- ↑ Paas-Lang, Christian (2022-04-24). "Foreign minister decries sexual violence in Ukraine; top commander highlights information warfare". CBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-24. สืบค้นเมื่อ 2022-04-24.
- ↑ Joly, Mélanie; Truss, Liz (2022-04-21). "Sexual violence as a weapon of war in Ukraine – the world is watching". Toronto Star. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-22. สืบค้นเมื่อ 2022-04-24.
- ↑ "Russia Accused of Weaponising Rape in Ukraine". iwpr.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-12-26.
- ↑ OSCE Secretariat (19 June 2022), OSCE Secretary General condemns use of sexual violence as weapon of war, urges for international support to survivors, Organization for Security and Co-operation in Europe (OSCE), สืบค้นเมื่อ 12 January 2023
- ↑ 55.0 55.1 Report on the human rights situation in Ukraine 1 February to 31 July 2022 (PDF) (Report). OHCHR. 29 June 2022. para. 54-60. สืบค้นเมื่อ 26 December 2022.
- ↑ The Independent Commission of Inquiry on Ukraine (18 October 2022). "Summary". OHCHR A/77/533: Independent International Commission of Inquiry on Ukraine (Report). Office of the High Commissioner for Human Rights. p. 2. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
Furthermore, the Commission documented patterns of summary executions, unlawful confinement, torture, ill-treatment, and rape and other sexual violence committed in areas occupied by Russian armed forces across the four provinces on which it focused. People have been detained, some have been unlawfully deported to the Russian Federation, and many are still reported missing. Sexual violence has affected victims of all ages. Victims, including children, were sometimes forced to witness the crimes. Children have become the victims of the full spectrum of violations investigated by the Commission, including indiscriminate attacks, torture and rape, suffering the predictable psychological consequences.
- ↑ "Situation in Ukraine 31 October 2022: Foreign Secretary's statement". GOV.UK (ภาษาอังกฤษ). 31 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-12-26.
- ↑ "World Report 2023: Ukraine", Human Rights Watch, 2023, สืบค้นเมื่อ 12 January 2023
- ↑ Philp, Catherine (2022-03-28). "'One soldier raped me, then the other, as my son cried'". The Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-28. สืบค้นเมื่อ 2022-04-17.
- ↑ 60.0 60.1 The situation of human rights in Ukraine in the context of the armed attack by the Russian Federation, 24 February to 15 May 2022 (Report). OHCHR. 29 June 2022. para. 101. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2022. สืบค้นเมื่อ 11 July 2022.
- ↑ "'I can do whatever I want to you' Russian soldiers raped and murdered Ukrainian civilians in the village of Bogdanivka". Meduza. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-19. สืบค้นเมื่อ 2022-04-19.
- ↑ "Ukraine charges Russian soldier with raping a woman and murdering her husband, the first rape trial from the invasion". Business Insider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 2022-05-31.
- ↑ Limaye, Yogita (2022-04-12). "Ukraine conflict: 'Russian soldiers raped me and killed my husband'". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-16. สืบค้นเมื่อ 2022-04-16.
- ↑ Peuchot, Emmanuel (2022-04-13). "Biden Accuses Putin of Ukraine Genocide as Humanitarian Corridors Paused". The Moscow Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-17. สืบค้นเมื่อ 2022-04-18.
- ↑ Gall, Carlotta; Berehulak, Daniel (2022-04-11). "'They shot my son. I was next to him. It would be better if it had been me.' – Bucha's Month of Terror". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-14. สืบค้นเมื่อ 2022-04-18.
- ↑ Christina Lamb (17 มิถุนายน 2023), "She thought she was unshockable, then two castrated Ukrainian soldiers arrived", The Sunday Times
{{citation}}
:|url-access=
ต้องการ|url=
(help)CS1 maint: url-status (ลิงก์), Wikidata Q119707348 - ↑ Griffin, Niamg (2022-04-17). "'Rape is a weapon of war': Women protest outside Russian embassy in Dublin". Irish Examiner. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-18. สืบค้นเมื่อ 2022-04-20.
- ↑ Balčiūnaitė, Sniegė (2022-04-19). "Protest outside Russian embassy in Vilnius draws attention to Ukrainian rape victims". LRT. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-20. สืบค้นเมื่อ 2022-04-20.
- ↑ "Protest against the rape of Ukrainian women by russian army took place near russian embassy in Riga". Rubryka. 2022-04-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-20. สืบค้นเมื่อ 2022-04-20.
- ↑ "Worki na głowach, związane ręce i poplamione majtki. Protest przeciw gwałtom pod konsulatem Rosji" [Bags on their heads, tied hands and stained underwear. Protest against rape in front of the Russian consulate]. Gazeta Wyborcza (ภาษาโปแลนด์). 2022-04-20. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-20. สืบค้นเมื่อ 2022-04-20.
- ↑ "Russia's 'most hidden crime' in Ukraine war: Rape of women, girls, men and boys". Los Angeles Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-08-21. สืบค้นเมื่อ 2023-01-11.
- ↑ "Russian commanders in occupied Ukrainian territories encouraged sexual violence", Yahoo News, January 5, 2023, สืบค้นเมื่อ 14 January 2023
อ่านเพิ่มเติม
[แก้]- King, L. (21 August 2022). "Russia's 'most hidden crime' in Ukraine war: Rape of women, girls, men and boys". Los Angeles Times.
- Plucinska, J.; Deutsch, A.; Bern, S. (23 November 2022). "Some Russian commanders encouraged sexual violence, says lawyer advising Kyiv". Reuters.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Fighting conflict-related sexual violence in Ukraine". The United Nations. 4 December 2022. สืบค้นเมื่อ 10 January 2023.
- Marija Pejčinović Burić (24 November 2022). "Ukraine: We must help victims of sexual violence by Russian soldiers". Council of Europe.
- "Pushing forward: Ending conflict-related sexual violence in Ukraine". United Nations Women. 18 November 2022.
- Nordås, R. (11 April 2022). "Why Widespread Sexual Violence Is Likely in Ukraine". Peace Research Institute Oslo.