ควทซ์เกอซาคท์
คําขวัญ | อินอะนัตเชลล์ (กล่าวโดยย่อ) | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ก่อตั้ง | 9 กรกฎาคม 2013 | ||||||||||||
ผู้ก่อตั้ง | ฟิลลิพ เด็ทเมอร์ | ||||||||||||
ประเภท | บริษัทเอกชน | ||||||||||||
วัตถุประสงค์ | ศึกษาบันเทิง | ||||||||||||
ที่ตั้ง | |||||||||||||
เจ้าของ | ฟิลลิพ เด็ทเมอร์ | ||||||||||||
พนักงาน (ค.ศ. 2022) | 53[2] | ||||||||||||
เว็บไซต์ | kurzgesagt.org | ||||||||||||
ข้อมูลยูทูบ | |||||||||||||
ช่อง | |||||||||||||
ปีปฏิบัติงาน | ค.ศ. 2013–ปัจจุบัน | ||||||||||||
ประเภท |
| ||||||||||||
จำนวนผู้ติดตาม | 18.7 ล้าน[3] | ||||||||||||
จำนวนผู้เข้าชม | 2.0 พันล้าน[3] | ||||||||||||
| |||||||||||||
ข้อมูลเมื่อ: 26 มิถุนายน ค.ศ. 2022 | |||||||||||||
ควทซ์เกอซาคท์ (เยอรมัน: Kurzgesagt; แปลว่า "กล่าวโดยย่อ") เป็นสตูดิโอออกแบบและแอนิเมชันจากเยอรมนีที่ก่อตั้งโดยฟิลลิพ เด็ทเมอร์ ช่องยูทูบของสตูดิโอมุ่งเน้นเกี่ยวกับเนื้อหาแอนิเมชันเพื่อการศึกษาแบบมินิมอล[4] โดยใช้รูปแบบสามมิติที่เรียบง่าย วิดีโอของช่องมักกล่าวถึงเนื้อหาวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, การเมือง, ปรัชญา และจิตวิทยา[5] แต่ละวิดีโอจะมีความยาวประมาณ 4–16 นาที ซึ่งบรรยายโดยสตีฟ เทย์เลอร์ และมีหลายวิดีโอที่ปรากฏในชองภาษาเยอรมันที่มีชื่อว่า ดิงเงอแอร์แคลร์ท – ควทซ์เกอซาคท์ (Dinge Erklärt – Kurzgesagt)[6]
ด้วยจำนวนผู้ติดตามมากกว่า 18 ล้านคน และวิดีโอมากกว่า 150 วิดีโอ ทำให้ช่องในภาษาอังกฤษของสตูดิโอติดอันดับช่องที่มีผู้ติดตามมากเป็นอันดับ 338 ของโลกในวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2022[7]
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]ชื่อของช่องมาจากวลีภาษาเยอรมันว่า "ควทซ์เกอซาคท์" (kurz-gesagt, ออกเสียง: [ˈkʊɐ̯ts gəˈzaːkt])[8] ซึ่งแปลตรงตัวได้ว่า "กล่าวโดยย่อ" ความหมายเทียบเท่าของวลีในภาษาอังกฤษอาจแปลได้เป็น 'in a few words' หรือ 'in a nutshell' โดยความหมายหลังถูกใช้เป็นชื่อของช่องในฉบับภาษาอังกฤษ[9]
ประวัติ
[แก้]ช่องควทซ์เกอซาคท์สร้างขึ้นในวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 หลังจากฟิลลิพ เด็ทเมอร์ ผู้ก่อตั้งช่อง จบจากมหาวิทยาลัยมิวนิก สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ได้ไม่นาน[10]
ใน ค.ศ. 2015 ควทซ์เกอซาคท์ได้รับหน้าที่สร้างวิดีโอเกี่ยวกับจุดจบของโรคให้แก่มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์[11]
จากนีันในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2020 ได้มีการเผยแพร่วิดีโอเกี่ยวกับการระบาดทั่วของโควิด-19 ที่มีชื่อว่า The Coronavirus Explained & What You Should Do ในสามช่อง โดยเล่าถึงร่างกายมนุษย์ว่าตอบสนองต่อโควิด-19 อย่างไร และมาตรการหลี่กเลี่ยง SARS-CoV-2 ได้ผลเพียงใด[12] วิดีโอนี้เผยแพร่ในช่วงแรกของการแพร่ระบาดทั่ว และมีข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสและมาตรการป้องกันที่จำเป็นที่เข้าถึงได้ กระจ่าง และน่าเชื่อถือ วิดีโอฉบับภาษาอังกฤษมีผู้เข้าชมมากกว่า 87 ล้านครั้ง ทำให้เป้นวิดีโอที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดของช่อง[13] งานวิจัยที่เผยแพร่ใน Visual Resources กล่าวถึงวิดีโอว่า "เป็นตัวอย่างคำอธิบายที่น่าสนใจเกี่ยวกับกระบวนการทางชีววิทยาของการติดเชื้อโควิด" และ "ได้รวมการพรรณนาที่น่าอัศจรรย์ในผ่านการสื่อข้อความในลักษณะตรงไปตรงมามากขึ้น"[14]
นอกจากรายได้จากผู้อุปถัมภ์แล้ว ควทซ์เกอซาคท์ในสาขาภาษาเยอรมันได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากเครือข่าย Funk ของ ARD และ ZDF ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2017[15][16][17]
ควทซ์เกอซาคท์ได้รับรางวัลหลายรายการ โดยใน ค.ศ. 2019 ควทซ์เกอซาคท์กลายเป็นช่องเยอรมันช่องแรกที่มีผู้ติดตามมากกว่า 10 ล้านคนบนยูทูบ[18] และในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2020 Marques Brownlee ยูทูบเบอร์คนหนึ่ง ยกย่องควทซ์เกอซาคท์ด้วยรางวัล "Streamys Creator Honor" ของเขาในสตรีมมีอะวอร์ดครั้งที่ 10[19]
ความน่าเชื่อถือของวิดีโอ
[แก้]แม้ว่ามีหลายวิดีโอของควทซ์เกอซาคท์ได้รับเสียงชื่นชมจากความน่าเชื่อถือและผ่านการตรวจสอบข้อเท็จจริง[20] บางผลงานในช่วงแรกได้รับเสียงวิจารณ์ ใน ค.ศ. 2016 สมาคมห้องสมุดศิลปะแห่งอเมริกาเหนือวิจารณ์สตูดิโอถึงการขาดแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและการให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพเป็นครั้งคราว และใช้ภาษาที่เร้าอารมณ์[21] ใน ค.ศ. 2019 ควทซ์เกอซาคท์ได้เผยแพร่วิดีโอที่ว่า ถึงแม้ในตอนนี้เราได้ส่งข้อคิดเห็นทั้งหมดไปให้ผู้เชี่ยวชาญไปตวรจสอบข้อเท็จจริง ในอดีตไม่ได้ทำเช่นนั้นตลอด และกล่าวเพิ่มเติมว่าช่องนี้ได้ลบสองวิดีโอใน ค.ศ. 2015 ที่ไม่ผ่านมาตรฐานปัจจุบัน หนึ่งในนั้นมีชื่อว่า "การเสพติด" (Addiction)[8] ซึ่งเป็นหนึ่งในวิดีโอยอดนิยมที่สุดในเวลานั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นหนึ่งในวิดีโอที่ถูกวิจารณ์ก็ตาม[22] วิดีโอถูกกล่าวหาว่าตั้งข้อสรุปที่ทำให้เข้าใจผิดจากการทดลอง Rat Park[22] ควทซ์เกอซาคท์ยอมรับว่าตนได้เสนอข้อคิดเห็นเดียวเป็นข้อเท็จจริง และไม่ได้พิจารณาทฤษฎีอื่นในเรื่องนั้นด้วย[8]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Jackson, Ryan (April 28, 2021). "The 'ultimate guide to black holes' will spaghettify your brain". CNET. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 29, 2021.
- ↑ "About". Kurzgesagt (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ June 17, 2022.
- ↑ 3.0 3.1 "About ควทซ์เกอซาคท์ – อินอะนัตเชลล์". YouTube.
- ↑ Lucas, Terry; Abd Rahim, Ruslan (March 15, 2017). "The Similarities and Nuances of Explicit Design Characteristics of Well-Received Online Instructional Animations". Animation (ภาษาอังกฤษ). SAGE Publishing. 12 (1): 80–99. doi:10.1177/1746847717690671. ISSN 1746-8477.
- ↑ Dubovi, Ilana; Tabak, Iris (2020-10-01). "An empirical analysis of knowledge co-construction in YouTube comments". Computers & Education (ภาษาอังกฤษ). Elsevier. 156: 7. doi:10.1016/j.compedu.2020.103939. ISSN 0360-1315.
- ↑ "Dinge Erklärt – Kurzgesagt - YouTube". www.youtube.com. สืบค้นเมื่อ 2022-03-19.
- ↑ "Kurzgesagt – In a Nutshell". Social Blade. สืบค้นเมื่อ September 1, 2021.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 "Can You Trust Kurzgesagt Videos?", Kurzgesagt channel on YouTube (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ June 26, 2021
- ↑ Holgate, Matilda (2020). "5 YouTube channels to keep you learning". University of Canberra. สืบค้นเมื่อ October 2, 2020.
- ↑ "Youtube: Kurzgesagt – In a Nutshell knackt als erster deutscher Kanal die 10-Millionen-Marke". t3n.de (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ November 3, 2019.
- ↑ "OPP1139276". www.gatesfoundation.org (ภาษาอังกฤษ). 2001-01-01. สืบค้นเมื่อ 2021-03-14.
- ↑ "A Look at How the Virus that Causes COVID-19 Infects People". Nerdist.
- ↑ "Video explainer on the coronavirus has more than 17.5 million views". CochraneToday.ca.
- ↑ Ehrlich, Nea (2020-07-02). "Viral Imagery: The Animated Face of Covid-19". Visual Resources. Routledge. 36 (3): 247–261. doi:10.1080/01973762.2021.1960777. ISSN 0197-3762.
- ↑ Germany, Braunschweiger Zeitung, Braunschweig (2020-11-18). "funk-Format "Kurzgesagt" fragt: "Brauchen wir Atomkraft, um den Klimawandel zu stoppen?"". www.braunschweiger-zeitung.de (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-22. สืบค้นเมื่อ 2020-11-21.
- ↑ Fehrensen, Täubner; Täubner, Mischa. "Acht Minuten Welterklärung - brand eins online". brandeins (ภาษาเยอรมัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 1, 2021. สืบค้นเมื่อ August 4, 2021.
- ↑ "So hat Kurzgesagt-Gründer Philipp Dettmer mit Erklärvideos eine Milliarde Views gemacht". Daily (ภาษาเยอรมัน). 2020-06-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-09. สืบค้นเมื่อ 2020-11-21.
- ↑ Weil, Andrew (December 5, 2019). "YouTube's 2019 Rewind focuses on the basics after 2018 video fiasco". Wusa9. สืบค้นเมื่อ February 27, 2020.
- ↑ Hale, James (December 12, 2020). "Here Are Your 2020 Streamy Award Winners". Tubefilter.
- ↑ Humprhies, Suzanne (January 9, 2021). "What We're Watching: Kurzgesagt Explores Big Questions with Bite-Size Videos". Review Geek (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 18, 2021.
- ↑ Gumb, Lindsey (April 2016). "Multimedia Technology Review — Kurzgesagt". Art Libraries Society of North America. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 15, 2021.
- ↑ 22.0 22.1 Stenn, Lili (March 14, 2019). "YouTuber Coffee Break Accuses Kurzgesagt of Being Untrustworthy, Founder Responds". Rogue Rocket (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 23, 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ
- "Dinge Erklaert Kurzgesagt" [Brief Explanations of Things] (ภาษาเยอรมัน). Funk. Jan 22, 2018.