แฟลทดีไซน์
แฟลทดีไซน์ (อังกฤษ: Flat design) เป็นภาษาการออกแบบ (design language) หรือรูปแบบการออกแบบ (design style) รูปแบบที่มีความเป็นจุลนิยม (minimalist) วลีนี้ริเริ่มและทำให้เป็นที่นิยมโดย อัลลัน กรินชไตน์ (Allan Grinshtein)[1][2][3][4] ใช้ทั่วไปในการออกแบบส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (Graphical User Interface; GUI) เช่นในการออกแบบเว็บแแอปพลิเคชันหรือแอปพลิเคชันมือถือ เช่นเดียวกันกับสื่อสิ่งพิมพ์ โปสเตอร์ งานศิลปะ เอกสารแนะนำ และสินค้ากลุ่มงานพิมพ์
นิยามและเป้าหมาย
[แก้]แฟลทดีไซน์เป็นรูปแบบการออกแบบอินเตอร์เฟซที่เน้นการใช้จุลนิยม (Minimalism) ในการสร้างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการลวงตาให้เหมือนเป็นสามมิติ (illusion of three dimensions) ซึ่งใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น
- สกีวโอมอร์ฟ (Skeuomorph)[5]
- ดรอปชาโดว์ (drop shadow)
- ความลึกสมมติ (depth perception)
- การไล่สี (colour gradient)
- เส้นขอบ[6]
- ความต่างสี (colour contrast)
- การตอบกลับผ่านสัมผัส (Haptic feedback)
- การตอบกลับผ่านเสียง (Acoustic feedback)
การออกแบบแบแฟลทดีไซน์มุ่งเน้นอยู่ที่การใช้องค์ประกอบอย่างง่าย การจัดวางอักษร (typography) แบบจุลนิยม และการใช้สีแฟลท (flat colours)[7]
นักออกแบบอาจเลือกใช้การออกแบบแบบแฟลทดีไซน์เพราะมีรูปแบบอินเตอร์เฟซที่ดูเพรียว (Streamlined) กว่า และมีประสิทธิภาพกว่า การออกแบบแบบแฟลทดีไซน์ทำให้เป็นเรื่องง่ายขึ้นที่จะสื่อสารข้มูลต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันก็ยังคงมีรูปลักษณ์ที่ดึงดูดและเข้าถึงได้ง่าย[8][9] นอกจากนี้ยังงทำให้การออกแบบนั้นง่ายขึ้นในแง่ของการสร้างอินเตอร์เฟซที่มีการออกแบบการโต้ตอบ (Responsive design) ที่เปลี่ยนในขนาดของเบราว์เซอร์บนอุปกรณ์ที่แตกต่างกันไปของผู้ใช้ ที่สำคัญอีประการหนึ่งคือด้วยองค์ประกอบที่ใช้มีขนาดเล็กลงและน้อยลงตามแนวคิดแบบจุลนิยม ทำให้เว็บไซต์และโปรแกรมสามารถดาวน์โหลดได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และทำให้ปรับขนาดได้อย่างง่ายดาย ในขณะเดียวกันก็ยังคงดูคมชัดบนหน้าจอที่มีความละเอียดสูง[8] แฟลทดีไซน์ถือเป็นรูปแบบคู่ตรงข้ามกับการออกแบบแบบสกีวโอมอร์ฟ (Skeuomorphism)[10] และ ริชดีไซน์ (rich design)[8] ถึงแม้ว่าแฟลทดีไซน์อาจมีการเอาสกีวโอมอร์ฟมาประกอบด้วยก็ได้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Flat Design: An In-Depth Look". www.awwwards.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-12-23.
- ↑ Smith, Grace. "36 High-Quality Flat Design Resources". Mashable (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-12-23.
- ↑ "Flat Design Rising: Bold Changes to the Modern Website". Hoppel Design (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2013-04-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-23. สืบค้นเมื่อ 2019-12-23.
- ↑ "Everything You Wanted to Know About Flat Design". Source Digit (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2014-02-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-23. สืบค้นเมื่อ 2019-12-23.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อS4lollipop-settings
- ↑ Screenshot of Samsung Galaxy S4 telephone application with Android 4.4.2 (before update) and Android 5.0 (after update).
- ↑ Carrie Cousins (May 28, 2013). "Flat design principles". designmodo.com.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Turner, Amber Leigh (March 19, 2014). "The history of flat design: How efficiency and minimalism turned the digital world flat". The Next Web. สืบค้นเมื่อ April 11, 2014.
- ↑ Clum, Luke (May 13, 2013). "A Look at Flat Design and Why It's Significant". UX Magazine. สืบค้นเมื่อ April 11, 2014.
- ↑ Yair Grinberg (September 11, 2013). "iOS 7, Windows 8, and flat design: In defense of skeuomorphism". VentureBeat. สืบค้นเมื่อ April 13, 2014.