ข้ามไปเนื้อหา

คลองไชยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คลองไชยา เป็นคลองสำคัญในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีต้นน้ำเกิดจากทิวเขาแดน (เทือกเขาภูเก็ต) ต้นน้ำเกิดจากการรวมกันระหว่างคลองท่าใหญ่และคลองท่าไม้แดงไหลมาบรรจบกันบริเวณปากแพรกเขตตำบลปากหมาก ไหลผ่านตำบลโมถ่าย ตำบลป่าเว

คลองไชยาเมื่อไหลผ่านพื้นที่ตอนกลางได้แตกออกหลายสายไหลลงสู่ทะเลโดยมี 3 สายหลัก ได้แก่ สายแรกไหลผ่านตำบลเวียง ตำบลเลม็ดแล้วไหลไปรวมกับคลองท่าปูน (เส้นแบ่งระหว่างอำเภอไชยาและอำเภอท่าฉาง) สายที่สองไหลผ่านตำบลเวียง ตำบลตลาดแล้วแยกออกเป็นสองสาย คือ คลองหัววัวและคลองไชยา แล้วไหลลงสู่ทะเล สายที่สามแยกจากคลองไชยาบริเวณบ้านโมถ่าย ไหลผ่านบ้านโพธิ์เรียก คลองท่าโพธิ์ ไหลบรรจบคลองตะเคียนและออกสู่ทะเล คลองไชยามีความยาวประมาณ 80 กิโลเมตร ปากน้ำกว้างประมาณ 20 เมตร[1]

ในสมัยโบราณคลองนี้เป็นเส้นทางคมนาคมและเป็นแหล่งที่ตั้งวัดโบราณหลายแห่ง อายุสมัยศรีวิชัย เช่น วัดแก้ว วัดเวียง วัดหลง วัดชยาราม และวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร แต่เดิมเมื่อราวร้อยกว่าปี เป็นแม่น้ำสายใหญ่พอที่เรือบรรทุกสินค้าเข้าไปขายได้ถึงวัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหารได้[2] ปัจจุบันเป็นแหล่งน้ำสำหรับเพาะปลูก[3] น้ำในคลองไชยาถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกับน้ำในแม่น้ำคงคาของอินเดีย ตามจารีตของชาวอินเดียที่นำเข้ามาสั่งสอนตั้งแต่สมัยนั้น[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เพลงเมธา ขาวหนูนา. "พัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนโบราณในอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
  2. "ประวัติความเป็นมาสำนักงานสาธารณสุขอำเภอไชยา". สำนักงานสาธารณสุขอำเภอไชยา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-26. สืบค้นเมื่อ 2022-10-26.
  3. "การศึกษาวิเคราะห์ศิลปะบนใบเสมาของวัด ในบริเวณแหล่งชุมชนโบราณ พื้นที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). p. 35.
  4. "จังหวัดสุราษฎร์ธานี".