ข้ามไปเนื้อหา

คลองบางนางเกรง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถนนปู่เจ้าสมิงพราย บริเวณสะพานข้ามคลองบางนางเกรง

คลองบางนางเกรง บ้างเขียนว่า คลองบางนางเกร็ง เป็นคลองลัดทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ในอำเภอพระประแดงและอำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

ประวัติ

[แก้]

ตามประวัติกล่าวว่าคลองขุดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (ครองราชย์ พ.ศ. 2154–2171) พระองค์ทรงเห็นว่าแผ่นดินตรงปากแม่น้ำเจ้าพระยามีตลิ่งงอกออกไปจึงโปรดให้ขุดคลองแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อการสัญจรและขนส่ง ทั้งนี้ยังขุดคลองบางด้วนและคลองบางหมูด้วย โดยฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาโปรดให้ขุดคลองบางปลากด[1] แผนที่โดยเอ็งเงิลแบร์ท เค็มพ์เฟอร์ พ.ศ. 2223 ปรากฏชื่อของ Bantianphia หรือ บางเจ้าพระยา เป็นชุมชนปากน้ำหน้าด่านตั้งอยู่ปากคลองบางนางเกรง และยังมีอาคารของทางราชการตั้งอยู่ด้วย[2]

คลองบางนางเกรงมีปัญหาเรื่องมลพิษทางน้ำ เมื่อ่ พ.ศ. 2553 กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำประเทศไทย รายงานว่าตัวอย่างน้ำที่เก็บจากคลองบางนางเกรงพบปนเปื้อนสารโนนิลฟีนอลและไตร-ไอโซ-บิวทิลฟอสเฟต (TiBP) และยังพบทองแดงและนิกเกิลสูงกว่าค่ามาตรฐานน้ำผิวดินของไทยถึง 2 เท่า นอกจากนี้ตัวอย่างตะกอนดินจากคลองบางนางเกร็งยังปนเปื้อนโครเมียม ทองแดง สังกะสี และนิกเกิลสูงที่สุดในตัวอย่างตะกอนดินทั้งหมดที่เก็บในการศึกษาครั้งนี้ โดยค่าสังกะสีและนิกเกิลมีค่าสูงกว่าค่าความเข้มข้นพื้นฐานปกติถึง 30 และ 80 เท่า ตามลำดับ[3]

เมื่อ พ.ศ. 2564 มีการสร้างสถานีสูบน้ำบริเวณคลองบางนางเกรง เป็นจุดที่รองรับน้ำในพื้นที่เทศบาลตำบลบางเมืองและเทศบาลตำบลสำโรงเหนือจากคลองขุดสายย่อยต่าง ๆ ก่อนจะระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา และยังมีเครื่องสูบน้ำ เครื่องคัดแยกวัชพืชและขยะ พร้อมระบบสังเกตการณ์จากกล้องวงจรปิด มาตรวัดระดับน้ำและหอสำหรับเจ้าหน้าที่ โดยมีองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการได้ดำเนินการออกแบบก่อสร้างและควบคุมงานเอง แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2564[4]

สถานที่ริมคลอง

[แก้]

บริเวณปากคลองเป็นที่ตั้งของวัดบางนางเกรง วัดอื่นที่ตั้งอยู่ริมคลองได้แก่ วัดบางด้วนใน และวัดสวนส้ม

อ้างอิง

[แก้]
  1. สรรเกียรติ กุลเจริญ. "การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมทอ้งถิ่น: ศึกษากรณีงานประเพณีสงกรานต์พระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). มหาวิทยาลัยบูรพา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-02-11. สืบค้นเมื่อ 2022-06-10.
  2. Tricky Vandenberg. "INTERACTIVE MAP OF THE CHAO PHRAYA RIVER BY ENGELBERT KAEMPFER (Siam 1690)". Ayutthaya Historical Research.
  3. "เจ้าพระยาปนเปื้อนสารเคมีอันตราย กรีนพีซจี้รัฐออกมาตรการปกป้องแหล่งน้ำโดยด่วน". กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำประเทศไทย.
  4. "กมธ.ปกครองท้องถิ่น วุฒิสภาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการบริหารงานและงบประมาณของอบจ. สมุทรปราการ ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 สำนักงานเทศบาลนครสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ". สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. 23 ธันวาคม 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-11. สืบค้นเมื่อ 2023-02-11.