ข้ามไปเนื้อหา

คลองบางซื่อ (กรุงเทพมหานคร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดแก้วฟ้าจุฬามณีอยู่ตรงปากคลองบางซื่อช่วงแรก
สะพานพิบูลสงครามข้ามคลองบางซื่อ

คลองบางซื่อ เป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำเจ้าพระยา ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกเริ่มจากแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศเหนือของวัดแก้วฟ้าจุฬามณีไปทางทิศตะวันออกจนบรรจบคลองเปรมประชากร (ลำน้ำที่ตรงต่อเนื่องไปคือคูข้างสโมสรนายทหารอากาศ) ส่วนช่วงที่ 2 เริ่มจากคลองเปรมประชากรทางทิศเหนือของคลองประปาไปทางทิศตะวันออกจนบรรจบคลองลาดพร้าวบริเวณชุมชนลาดพร้าว 45 คลองบางซื่อในเขตดุสิตมีความยาว 1,550 เมตร ในเขตบางซื่อมีความยาว 500 เมตร ในเขตพญาไทมีความยาว 2,600 เมตร ในเขตดินแดงมีความยาว 1,450 เมตร และในเขตห้วยขวางมีความยาว 1,800 เมตร คลองมีความกว้าง 6–18 เมตร[1]

เมื่อ พ.ศ. 2557 มีการฟื้นฟูคลองบางซื่อขึ้นมา เช่น มีการจัดพิธีบวชคลอง มีการปลูกหญ้าแฝกลงในลำคลองเพื่อให้รากแฝกช่วยกรองน้ำเสีย และทำน้ำหมักจุลินทรีย์แล้วเทลงในคลองเพื่อให้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย จนถึงปัจจุบันนี้น้ำในคลองบางซื่อช่วงถนนรัชดาภิเษกถึงชุมชนริมคลองบางซื่อลาดพร้าว 46 น้ำในคลองใสขึ้น มีปลาแหวกว่ายให้เห็น[2] จากข้อมูล พ.ศ. 2562 ริมคลองบางซื่อช่วงใกล้คลองลาดพร้าวมีบ้านรุกล้ำแนวเขื่อน ต่อมาทางภาครัฐได้สร้างบ้านใหม่ทดแทนบ้านรุกล้ำแนวคลอง[3]

ในปัจจุบันใต้คลองบางซื่อมีอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เมตร ยาวประมาณ 6.40 กิโลเมตร นอกจากนี้ สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ยังมีโครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำตอนปลายอุโมงค์กำลังสูบ 60 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที[4] และโครงการก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเพื่อป้องกันน้ำท่วมในคลอง

อ้างอิง

[แก้]
  1. "บัญชีคลองในเขตกรุงเทพมหานคร". สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (xls)เมื่อ 23 กรกฎาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2022.
  2. "แก้น้ำเน่าคลองลาดพร้าว-บางซื่อ ฟื้นคุณภาพชีวิต-เศรษฐกิจชุมชน". คมชัดลึก. 22 พฤศจิกายน 2015.
  3. "พอช.จัดงาน"รื้อบ้าน สร้างเรือน คืนเขื่อน ให้สายคลอง" สร้างบ้านใหม่ที่ชุมชนริมคลองบางซื่อรวม 422 หลัง". ไทยโพสต์. 3 เมษายน 2019.
  4. "เจาะลึก "อุโมงค์ยักษ์" ระบายน้ำ แผนสร้าง 6 จุดวงเงิน 2.6 หมื่นล้าน!". กรุงเทพธุรกิจ. 4 ตุลาคม 2021.