แม่น้ำนครนายก
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก คลองท่าด่าน)
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
แม่น้ำนครนายก | |
---|---|
![]() แม่น้ำนครนายกบริเวณท่าวัดโพธินายก อำเภอเมืองนครนายก | |
ที่ตั้ง | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | นครนายก, ปราจีนบุรี, ฉะเชิงเทรา |
ลักษณะทางกายภาพ | |
ต้นน้ำ | จุดบรรจบระหว่างคลองวังตะไคร้ คลองนางรอง คลองท่าด่าน และลำห้วยหลายสาย |
• ตำแหน่ง | ตำบลสาริกาและตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก |
ปากน้ำ | ปากน้ำโยธะกา |
• ตำแหน่ง | ตำบลบางแตน อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี และตำบลโยธะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา |
• พิกัด | 13°53′44.4″N 101°09′41.5″E / 13.895667°N 101.161528°E |
ความยาว | 109 กิโลเมตร (68 ไมล์) |
ลุ่มน้ำ | |
ระบบแม่น้ำ | ลุ่มน้ำบางปะกง |
แม่น้ำนครนายก เป็นแม่น้ำสายสำคัญของจังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา เกิดจากคลองวังตะไคร้ คลองนางรอง คลองท่าด่าน และลำห้วยหลายสายไหลไปรวมกันที่บริเวณแนวแบ่งเขตตำบลสาริกากับตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก จากนั้นไหลผ่านตัวจังหวัดนครนายกเข้าเขตอำเภอบ้านนาและอำเภอองครักษ์ แล้วไหลเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก กับอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี และระหว่างอำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี กับอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ไปลงแม่น้ำบางปะกงที่ปากน้ำโยธะกา มีความยาวประมาณ 109 กิโลเมตร[1]
ลำห้วยสาขาในช่วงต้นน้ำ
[แก้]- คลองนางรอง (น้ำตกนางรอง)
- คลองวังตะไคร้ (น้ำตกวังตะไคร้)
- คลองท่าด่าน
- คลองลำพุงแห้ง
- คลองสาริกา (น้ำตกสาริกา)
- คลองสีสุก
- คลองบ่อ
- คลองสีเสียด
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญ
[แก้]- ศาลเจ้าพ่อองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก เป็นจุดที่คลองรังสิตไหลไปบรรจบกับแม่น้ำนครนายก ถือเป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม ๑ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2557, หน้า 136.