ข้ามไปเนื้อหา

ครึ่งทรงกลม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การตัดแบ่งทรงกลมตามวงกลมใหญ่ ได้เป็นครึ่งทรงกลม 2 ซีกขนาดเท่ากัน
โดมรูปครึ่งทรงกลมที่โกลกุมบัซมองจากด้านใน

ครึ่งทรงกลม หมายถึงครึ่งหนึ่งของทรงกลม มักใช้ลักษณนามเป็น "ซีก"

หากเป็นทรงกลมโดยสมบูรณ์จะมีสมมาตร ดังนั้นหากตัดแบ่งครึ่งโดยตัดผ่านศูนย์กลางมวลแล้ว ไม่ว่าจะแบ่งครึ่งอย่างไรก็จะได้ครึ่งทรงกลม 2 ซีกที่มีปริมาตรเท่ากันเสมอ

ส่วนหลังคาของสิ่งก่อสร้างบางชนิดเช่นโดม สถูป อิกลู ฯลฯ อาจมีการทำโครงสร้างเป็นรูปครึ่งทรงกลม

ชื่อเรียก

[แก้]

"ครึ่งทรงกลม" ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า hemisphere ซึ่งมีที่มาจากภาษาละตินคำว่า hemisphaerium[1] ซึ่งยังมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า ἡμισφαίριον (hēmisphaírion) อีกที โดยคำว่า ἡμι- (hēmi-) หมายถึง "ครึ่ง" และ σφαῖρα (sphaîra) หมายถึง "ทรงกลม"[2]

คำว่า hemisphere นั้นอาจหมายถึงครึ่งของทรงกลมทั่ว ๆ ไป แต่นอกจากนั้นแล้วยังมักใช้เรียกครึ่งของทรงกลมดาวโลกหรือดาวฤกษ์หรือดาวเคราะห์อื่น ๆ รวมไปถึงซีกของทรงกลมท้องฟ้าด้วย นอกจากนี้แล้วก็ยังอาจใช้เรียกซีกของสมองด้วย

อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้วทั้งโลกและดาวเคราะห์ต่าง ๆ ไม่ใช่ทรงกลมโดยสมบูรณ์แต่มีความแป้นเนื่องจากการหมุนรอบตัวเอง กล่าวคือเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวนอนจะยาวกว่าแนวตั้งเล็กน้อย ดังนั้นจริง ๆ จึงต้องเรียกว่าเป็นทรงรี (ellipsoid) และครึ่งของทรงรีอาจเรียกว่า "ครึ่งทรงรี" (hemiellipsoid)[3] แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีการใช้คำว่า hemisphere เรียกซีกโลกกันโดยทั่วไป

ในภาษาจีนนั้น ครึ่งทรงกลมใช้อักษรว่า 半球 (โดยอักษร หมายถึง "ครึ่ง" และอักษร หมายถึง "ทรงกลม") ซึ่งอ่านแบบจีนกลางว่า "ป้านฉิว" (พินอิน: bànqiú) อ่านแบบกวางตุ้งว่า "ปุนเข่า" (ยฺหวิดเพ็ง: bun3 kau4) อ่านแบบแต้จิ๋วว่า "ปั๊วกิ๊ว" (เพ็งอิม: buan3 giu5) นอกจากนี้คำนี้ยังใช้ในภาษาญี่ปุ่นด้วย โดยอ่านว่า "ฮังกิว" (ฮิรางานะ: はんきゅう) และใช้ในภาษาเกาหลี อ่านว่า "พันกู" (ฮันกึล: 반구) และในภาษาเวียดนาม อ่านว่า "บ๊านเกิ่ว" (จื๋อโกว๊กหงือ: bán cầu)[4]

ท้องฟ้า

[แก้]
ภาพถ่ายครึ่งทรงกลมท้องฟ้า

ท้องฟ้าเป็นตัวอย่างของครึ่งทรงกลมที่พบได้ในชีวิตประจำวัน เมื่อเราอยู่ในที่โล่ง ๆ ไม่มีสิ่งก่อสร้างหรือภูมิประเทศบดบังเช่นกลางทะเลหรือทะเลทราย จะเห็นท้องฟ้าเป็นครึ่งทรงกลมโอบล้อมไปทั่วโดยมีตัวเราเป็นศูนย์กลาง

ในทางดาราศาสตร์มักใช้ระบบพิกัดศูนย์สูตรเพื่ออธิบายตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้าบนครึ่งทรงกลมท้องฟ้าที่มองเห็น โดยความสูงแสดงด้วยมุมเงย และทิศทางเหนือใต้ออกตกแสดงด้วยมุมทิศ ค่ามุมเงยจะต่ำสุดเป็น 0 องศาที่ขอบฟ้า และสูงสุดที่ 90 องศาที่จุดจอมฟ้า

การถ่ายภาพครึ่งทรงกลมท้องฟ้าทั้งหมดอาจทำได้โดยใช้เลนส์ตาปลาเพื่อให้ได้ขอบเขตภาพเป็นมุมกว้าง

คณิตศาสตร์

[แก้]

ปริมาตร ของครึ่งทรงกลมคำนวณได้โดย[5]

เมื่อ คือรัศมีของครึ่งทรงกลม

ส่วนพื้นที่ผิวของครึ่งทรงกลมจะเท่ากับ[6]

อย่างไรก็ตาม หากรวมพื้นที่ส่วนรอยตัดซึ่งเป็นวงกลมไปด้วยก็จะได้เป็น

ครึ่งทรงกลมที่มีความสำคัญ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]