ข้ามไปเนื้อหา

คริสตจักรทั้งเจ็ดในแคว้นเอเชีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนที่อานาโตเลียตะวันตก แสดงตำแหน่งของเกาะปัทมอสและตำแหน่งของเมืองอันเป็นที่ตั้งของคริสตจักรทั้งเจ็ด

คริสตจักรทั้งเจ็ดในแคว้นเอเชีย (อังกฤษ: Seven Churches of Asia) หรือ คริสตจักรทั้งเจ็ดแห่งวิวรณ์ (อังกฤษ: Seven Churches of Revelation หรือ Seven Churches of the Apocalypse) เป็นคริสตจักร 7 แห่งของศาสนาคริสต์ยุคแรกซึ่งกล่าวถึงในหนังสือวิวรณ์ของพันธสัญญาใหม่ คริสตจักรทั้ง 7 แห่งตั้งอยู่ในเอเชียน้อย ซึ่งปัจจุบันคือประเทศตุรกี

รายละเอียด

[แก้]

วิวรณ์ 1:11 ระบุว่าบนเกาะปัทมอสไกลออกไปทางตะวันออกทะเลอีเจียน พระเยซูตรัสสั่งยอห์นแห่งเกาะปัทมอสว่า "สิ่งที่ท่านเห็นนั้นจงเขียนไว้ในหนังสือม้วน และส่งไปให้คริสตจักรทั้งเจ็ด คือคริสตจักรที่เมืองเอเฟซัส เมืองสเมอร์นา เมืองเปอร์กามัม เมืองธิยาทิรา เมืองซาร์ดิส เมืองฟีลาเดลเฟียและเมืองเลาดีเซีย"[a] คริสตจักรในบริบทนี้หมายถึงชุมชนหรือชุมนุมของคริสต์ศาสนิกชนที่อาศัยอยู่ในแต่ละเมือง[1][2]

คริสตจักรทั้งเจ็ด

[แก้]

คริสตจักรทั้งเจ็ดเรียกด้วยชื่อตามสถานที่ตั้ง หนังสือวิวรณ์ให้รายละเอียดของแต่ละคริสตจักรดังนี้

  • เอเฟซัส (วิวรณ์ 2:1–7): เป็นที่รู้จักในเรื่องการตรากตรำและและไม่ท้อถอย แยกออกจากคนชั่ว แต่ได้รับการตักเตือนเรื่องการละทิ้งความรักครั้งแรกของตน (2:4)
  • สเมอร์นา (วิวรณ์ 2:8–11): เป็นที่ชื่นชมและเห็นใจในเรื่องความยากลำบากและยากจน ได้รับการคาดการณ์ว่าจะต้องประสบการการข่มเหง (2:10)
  • เปอร์กามัม (วิวรณ์ 2:12–17): ตั้งอยู่ในที่ที่ "บัลลังก์ของซาตาน" ตั้งอยู่ จำเป็นต้องกลับใจจากการติดตามผู้สอนเท็จ (2:16)
  • ธิยาทิรา (วิวรณ์ 2:18–29): เป็นที่รู้จักในเรื่องการกุศลซึ่ง "ตอนปลายนั้นดีกว่าตอนต้น" ทนฟังต่อคำสอนของหญิงผู้เผยพระวจนะเทียม (2:20)
  • ซาร์ดิส (วิวรณ์ 3:1–6): ได้รับการตักเตือนในเรื่องชื่อเสียงที่ตายไป และได้รับคำแนะนำให้เสริมกำลังตนเองและกลับใจมาหาพระเจ้า (3:2–3)
  • ฟีลาเดลเฟีย (เรียกว่า Alaşehir ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1350; วิวรณ์ 3:7–13): เป็นที่รู้จักในเรื่องความมั่นคงต่อความเชื่อ รักษาพระวจนะของพระเจ้า และมีความทรหดอดทน (3:10)
  • เลาดีเซีย ใกล้กับเมืองเดนิซลี (วิวรณ์ 3:14–22): ถูกเรียกว่าเป็นแต่อุ่น ๆ ไม่ร้อนและไม่เย็น (3:16)

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. NA28: λεγούσης Ὃ βλέπεις γράψον εἰς βιβλίον καὶ πέμψον ταῖς ἑπτὰ ἐκκλησίαις, εἰς Ἔφεσον καὶ εἰς Σμύρναν καὶ εἰς Πέργαμον καὶ εἰς Θυάτειρα καὶ εἰς Σάρδεις καὶ εἰς Φιλαδελφίαν / Φιλαδέλφειαν καὶ εἰς Λαοδικίαν / Λαοδίκειαν.

อ้างอิง

[แก้]
  1. John (1994). Barbara Aland; Kurt Aland; Johannes Karavidopoulos; Carlo M. Martini; Bruce M. Metzger (บ.ก.). The Greek New Testament. Deutsche Bibelgesellschaft.
  2. Walter Bauer (1979). William F. Arndt; F. Wilbur Gingrich; Frederick W. Danker (บ.ก.). A Greek-English Lexicon of the New Testament and Other Early Christian Literature. University of Chicago Press.

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]